คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญส่ง วรรณกลาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,029 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1746/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำขอพิจารณาใหม่เกินกำหนดระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด แม้มีเหตุสุดวิสัยหลังการยึดทรัพย์
คำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยอ้างว่า จำเลยไม่ได้อยู่ที่บ้านในระหว่างถูกฟ้องเพราะเดินทางไปประเทศซาอุดีอาระเบีย แสดงว่าจำเลยยังมีภูมิลำเนาอยู่ตามที่ระบุในฟ้อง เจ้าพนักงานเดินหมายส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องตลอดจนคำบังคับให้จำเลยตามภูมิลำเนาดังกล่าว จึงเป็นการส่งโดยชอบแล้ว คำร้องขอพิจารณาใหม่ของจำเลยจะต้องยื่นภายในกำหนดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209ทั้งนี้ แม้จะมีพฤติการณ์นอกเหนือไม่อาจบังคับได้ แต่เมื่อมีการยึดทรัพย์เพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาแล้ว ก็ไม่อาจยื่นคำขอล่าช้าเกินกว่า 6 เดือน นับแต่วันยึดทรัพย์ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนการโอนทรัพย์สินก่อนล้มละลาย: ดอกเบี้ยเริ่มนับจากคำพิพากษา
การเพิกถอนการโอนขายที่ดินพิพาทเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยตามขอ ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการโอนขายที่ดิน: ดอกเบี้ยเริ่มนับจากคำสั่งศาล
การเพิกถอนการโอนขายที่ดินพิพาทเป็นไปโดยผลของคำสั่งหรือคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือเป็นการโอนโดยชอบอยู่ กรณียังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดนับแต่วันยื่นคำร้องอันจะเป็นเหตุให้ผู้คัดค้านต้องรับผิดในเรื่องดอกเบี้ยตามขอ ผู้ร้องคงมีสิทธิเรียกดอกเบี้ยนับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอนเป็นต้นไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1709/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การล้มละลาย: ศาลยืนตามคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย เนื่องจากมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีความสามารถในการชำระหนี้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 82,300 บาท และเป็นหนี้บุคคลอื่นอีกหลายราย รวมหนี้ทั้งหมดแล้วเป็นเงินประมาณ 1,400,000 บาทจำเลยรับราชการเป็นครูระดับ 6 มีรายได้เป็นเงินเดือน 11,230 บาทและมีรายได้จากการสอนพิเศษเดือนละ 4,000 บาท ทั้งมีรายได้จากค่าเช่าบ้านเดือนละ 1,500 บาท นับว่ารายได้ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับหนี้สิน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีความตั้งใจจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์และเจ้าหนี้รายอื่นด้วยความสุจริตใจไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1709/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคำขอให้ล้มละลายจากหนี้สินจำนวนมากและความตั้งใจชำระหนี้
จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 82,300 บาท และเป็นหนี้บุคคลอื่นอีกหลายรายรวมหนี้ทั้งหมดแล้วเป็นเงินประมาณ 1,400,000 บาท จำเลยรับราชการเป็นครูระดับ 6 มีรายได้เป็นเงินเดือน 11,230 บาท และมีรายได้จากการสอนพิเศษเดือนละ 4,000 บาท ทั้งมีรายได้จากค่าเช่าบ้านเดือนละ 1,500 บาท นับว่ารายได้ยังน้อยมากเมื่อเทียบกับหนี้สิน ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยได้แสดงให้เห็นว่าจำเลยมีความตั้งใจจะชำระหนี้ให้แก่โจทก์และเจ้าหนี้รายอื่นด้วยความสุจริตใจไม่มีเหตุที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1695/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีล้มละลาย: จำนวนทุนทรัพย์และข้อเท็จจริง
คดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 เจ้าหนี้ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ในประเด็นว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กำหนดดอกเบี้ยค้างชำระให้เจ้าหนี้แล้วหรือไม่ ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1626/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงข้อความในสัญญาซื้อขายโดยพยานบุคคล และผลกระทบต่อสินสมรสในคดีล้มละลาย
แม้การนำพยานบุคคลมาสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาซื้อขายว่า น. ซื้อบ้านพิพาทแทน ก. จะเป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 และเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อศาลฎีกาไม่เห็นสมควร ศาลฎีกาก็ไม่ยกขึ้นวินิจฉัยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1622/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย: การรับฟังพยานหลักฐานและการนับระยะเวลายื่นอุทธรณ์
ในชั้นสอบสวนคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แม้เจ้าหนี้มีเพียงผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ให้การยืนยันว่าจำเลยที่ 2 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของห้าง ฆ. แต่จำเลยที่ 2มิได้แถลงหรือให้การต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โต้แย้งคัดค้านว่าข้อเท็จจริงมิได้เป็นเช่นนั้น คำให้การของผู้รับมอบอำนาจจากเจ้าหนี้ดังกล่าวรับฟังได้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 กำหนดให้ยื่นอุทธรณ์คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้นภายใน 1 เดือน นับแต่วันอ่านคำพิพากษาหรือคำสั่งนั้น แต่ในกรณีที่มีการยื่นคำขอรับชำระหนี้ เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้แล้ว เจ้าหนี้ย่อมไม่อาจทราบได้ว่าเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะทำความเห็นส่งสำนวนเรื่องหนี้สินที่เจ้าหนี้ขอรับชำระไปยังศาลชั้นต้นเมื่อใด ทั้งไม่อาจทราบได้ว่าศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งเมื่อใด จึงต้องถือว่าวันที่เจ้าหนี้ทราบคำสั่งของศาลชั้นต้นเป็นวันที่ได้อ่านคำสั่งศาลชั้นต้นให้เจ้าหนี้ฟังและกำหนดระยะเวลายื่นอุทธรณ์เริ่มนับแต่วันนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1621/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำส่งสำเนาอุทธรณ์ตามกำหนด หากมีหลักฐานการส่ง ศาลต้องไต่สวนเพื่อพิสูจน์ก่อนสั่งจำหน่ายคดี
จำเลยยืนยันว่าได้จัดการนำส่งหมายนัดสำเนาอุทธรณ์ให้โจทก์ภายในกำหนดเวลาแล้ว โดยมีหลักฐานการรับเงินค่าส่งหมายมาแสดงซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ดังที่จำเลยฎีกา กรณีไม่อาจถือได้ว่าจำเลยทิ้งฟ้องอุทธรณ์และศาลอุทธรณ์ก็อาจไม่สั่งจำหน่ายคดี เมื่อจำเลยฎีกาอ้างข้อเท็จจริงโต้แย้งกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนชอบที่ศาลจะทำการไต่สวนเพื่อให้ได้ความจริงแน่ชัดเสียก่อน ถ้าเห็นว่าจำเลยไม่ได้เพิกเฉยที่จะปฏิบัติตามคำสั่งศาล คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์อาจเปลี่ยนแปลงไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1612/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินหลังการสมรส และผลกระทบต่อสิทธิในการอ้างเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่ถูกยึดในคดีล้มละลายของคู่สมรส
การยื่นคำร้องต่อศาลคัดค้านคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้ปล่อยทรัพย์ที่ยึด ไม่ใช่เป็นการร้องต่อศาลเพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งไม่ให้ถอนยึดทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯมาตรา 158 แต่เป็นกรณีที่ร้องต่อศาลตามมาตรา 146 ว่า คำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ให้ถอนการยึดไม่ชอบ ขอให้มีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยึดทรัพย์ต่อไป เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 เดิม ผู้ร้องร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปล่อยทรัพย์ที่ยึดจำนวน 20 รายการ เป็นเครื่องปรับอากาศและเฟอร์นิเจอร์ ซึ่งผู้ร้องนำมาติดตั้งและประดับบ้านของผู้ร้อง และผู้ร้องได้ให้จำเลยทั้งสองอยู่อาศัยกับใช้สอยทรัพย์ 20 รายการนั้น โดยมิได้ยกให้เป็นกรรมสิทธิ์แก่จำเลยทั้งสอง แต่เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าผู้ร้องได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินและบ้านดังกล่าวให้แก่บุตรสาวโดยมิได้แยกทรัพย์ที่ยึดทั้ง 20 รายการมาเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องโดยเฉพาะจึงฟังว่า ผู้ร้องได้ยกกรรมสิทธิ์ทรัพย์ที่ยึดทั้ง 20 รายการให้บุตรสาวไปแล้ว ผู้ร้องจึงไม่มีส่วนได้เสียในทรัพย์ที่ยึดทั้ง20 รายการ ไม่มีสิทธิร้องขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปล่อยทรัพย์ที่ยึดทั้ง 20 รายการ นั้น
of 103