พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,029 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต้องเป็นการโอนที่ทำให้เจ้าหนี้รายอื่นเสียเปรียบ และผู้รับโอนไม่ใช่เจ้าหนี้เดิม
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ร้องขอเพิกถอนในกรณีที่จำเลยที่ 1มุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ซึ่งมีความหมายว่าการโอนทรัพย์นั้นต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ เนื่องจากบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นต่างก็จะไม่ได้ชำระหนี้หรือไม่ได้ชำระหนี้เต็มจำนวนจากจำเลยที่ 1เพราะสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้น ได้รับความเสียหายอยู่ก่อนแล้วจากการที่ลูกหนี้มีทรัพย์สินน้อยกว่าหนี้สินซึ่งจะทำให้บรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นได้รับชำระหนี้เพียงส่วนเฉลี่ยในทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น ฉะนั้น เมื่อจำเลยที่ 1นำทรัพย์สินเท่าที่มีไปชำระให้เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะ จึงเป็นการให้เปรียบแก่เจ้าหนี้คนนั้นและทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบเพราะได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่มีโอกาสได้รับชำระโดยเฉลี่ยจากทรัพย์สินที่โอนไป กฎหมายจึงมุ่งคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ด้วยกัน ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนมิให้ได้เปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกัน และอาจให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนการโอนหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นการให้เปรียบเช่นนี้ได้ แต่กรณีการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์และพันธบัตรโทรศัพท์พิพาทอันเป็นสัญญาต่างตอบแทน ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 มาก่อน ไม่มีปัญหาเรื่องผู้รับโอนจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นหรือไม่ หากจะถือว่าการโอนของจำเลยที่ 1 เป็นการให้เปรียบแก่ผู้โอนเหนือเจ้าหนี้ที่มีอยู่แล้ว ย่อมจะทำให้ผู้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนซึ่งไม่รู้ถึงสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลยที่ 1 ต้องเสียหายไม่เป็นธรรมต่อผู้รับโอนอันไม่ใช่วัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ประสงค์จะคุ้มครองผู้สุจริตและต้องเสียค่าตอบแทน กรณีนี้จึงไม่อาจเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์และพันธบัตรโทรศัพท์พิพาทแก่ผู้คัดค้านซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 มาก่อนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 115 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1608/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย ต้องเป็นการโอนให้เจ้าหนี้เดิมเพื่อไม่ให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบ การโอนทรัพย์ให้บุคคลภายนอกโดยสุจริตและมีค่าตอบแทน ไม่อาจเพิกถอนได้
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอเพิกถอนในกรณีที่จำเลยที่ 1มุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนใดคนหนึ่งได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่น ซึ่งมีความหมายว่าการโอนทรัพย์นั้นต้องเป็นการโอนให้แก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนแล้ว และการโอนเช่นนั้นทำให้เจ้าหนี้อื่น ๆ ของจำเลยที่ 1 เสียเปรียบ เนื่องจากบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นต่างก็จะไม่ได้รับชำระหนี้หรือไม่ได้รับชำระหนี้เต็มจำนวนจากจำเลยที่ 1 เพราะสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งบรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นได้รับความเสียหายอยู่ก่อนแล้วจากการที่ลูกหนี้มีทรัพย์สินน้อยกว่าหนี้สินซึ่งจะทำให้บรรดาเจ้าหนี้เหล่านั้นได้รับชำระหนี้เพียงส่วนเฉลี่ยในทรัพย์สินของลูกหนี้เท่านั้น ฉะนั้นเมื่อจำเลยที่ 1 นำทรัพย์สินเท่าที่มีไปชำระให้เจ้าหนี้คนหนึ่งโดยเฉพาะ จึงเป็นการให้เปรียบแก่เจ้าหนี้คนนั้นและทำให้เจ้าหนี้อื่นเสียเปรียบเพราะได้รับความเสียหายเพิ่มขึ้นเนื่องจากไม่มีโอกาสได้รับชำระโดยเฉลี่ยจากทรัพย์สินที่โอนไป กฎหมายจึงมุ่งคุ้มครองบรรดาเจ้าหนี้ด้วยกันซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่ก่อนมิให้ได้เปรียบเสียเปรียบซึ่งกันและกัน และให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เพิกถอนการโอนหรือการกระทำใด ๆ ซึ่งเป็นการให้เปรียบเช่นนี้ได้ แต่กรณีการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์และพันธบัตรโทรศัพท์พิพาทอันเป็นสัญญาต่างตอบแทน ผู้คัดค้านซึ่งเป็นผู้รับโอนมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 มาก่อน ไม่มีปัญหาเรื่องผู้รับโอนจะได้เปรียบแก่เจ้าหนี้อื่นหรือไม่ หากจะถือว่าการโอนของจำเลยที่ 1เป็นการให้เปรียบแก่ผู้รับโอนเหนือเจ้าหนี้ที่มีอยู่แล้ว ย่อมจะทำให้ผู้รับโอนโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนซึ่งไม่รู้ถึงสภาพการมีหนี้สินล้นพ้นตัวของจำเลยที่ 1 ต้องเสียหายไม่เป็นธรรมต่อผู้รับโอน อันไม่ใช่วัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ประสงค์จะคุ้มครองผู้สุจริตและต้องเสียค่าตอบแทน กรณีนี้จึงไม่อาจเพิกถอนการโอนสิทธิการเช่าโทรศัพท์และพันธบัตรโทรศัพท์พิพาทแก่ผู้คัดค้านซึ่งมิได้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 มาก่อนตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 115 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้ว่าฯ ยื่นคำขอรับชำระหนี้ภาษีอากรค้าง: กรณีพิเศษตามประมวลรัษฎากร
ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างได้โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากกรมสรรพากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1598/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ภาษีอากรค้างในคดีล้มละลาย
เมื่อผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจตามกฎหมายที่จะยึดหรืออายัดและขายทอดตลาดทรัพย์สินของผู้ต้องรับผิดเสียภาษีอากรเพื่อให้ได้ชำระภาษีอากรค้างได้โดยมิต้องได้รับมอบอำนาจจากกรมสรรพากร ผู้ว่าราชการจังหวัดย่อมมีอำนาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าภาษีอากรค้างได้โดยไม่จำต้องได้รับมอบอำนาจจากกรมสรรพากรเช่นเดียวกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบเมื่อมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำฟ้องฎีกาเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(13) จึงต้องแสดงให้แจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยต้องมีข้อโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เมื่อฎีกาโจทก์บรรยายเพียงว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาอย่างไร แต่มิได้บรรยายว่าคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาอย่างไร กรณีจึงไม่อาจทราบได้ว่าข้อที่โจทก์ยกขึ้นฎีกาได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์หรือไม่ทั้งฎีกาโจทก์มีข้อความว่า "ด้วยความเคารพต่อศาลชั้นต้น โจทก์เห็นว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นยังคลาดเคลื่อน โจทก์ขอประทานกราบเรียนศาลที่เคารพโปรดพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น" ดังนี้ฎีกาโจทก์มิได้เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ หากแต่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฟ้องฎีกาโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ประกอบมาตรา 246,247 และพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1536/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาไม่ชอบเมื่อมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ แต่โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำฟ้องฎีกาเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) จึงต้องแสดงให้แจ้งชัด ซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาโดยต้องมีข้อโต้แย้งคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ และต้องเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เมื่อฎีกาโจทก์บรรยายเพียงว่า ศาลชั้นต้นพิพากษาอย่างไร แต่มิได้บรรยายว่าคู่ความฝ่ายใดอุทธรณ์ และศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาอย่างไร กรณีจึงไม่อาจทราบได้ว่าข้อที่โจทก์ยกขึ้นฎีกาได้ยกขึ้นว่ากล่าวในศาลอุทธรณ์หรือไม่ทั้งฎีกาโจทก์มีข้อความว่า "ด้วยความเคารพต่อศาลชั้นต้น โจทก์เห็นว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นยังคลาดเคลื่อน โจทก์ขอประทานกราบเรียนศาลที่เคารพโปรดพิพากษากลับคำพิพากษาศาลชั้นต้น" ดังนี้ฎีกาโจทก์มิได้เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ หากแต่เป็นการโต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้น ฟ้องฎีกาโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 ประกอบมาตรา 246,247 และพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงเมื่อครบกำหนด ไม่ต้องบอกเลิกสัญญา, การคิดดอกเบี้ย, และการหักชำระหนี้จากบัญชีเงินฝาก
การที่โจทก์บอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่จำเลยที่ 1 โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาเดิมของจำเลยร่วม ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 และไม่มีผู้รับหนังสือบอกเลิกฉบับนั้นยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปถึงจำเลยที่ 1 โดยชอบแล้วสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2527ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวัน ปรากฏว่าในวันที่ 27 เมษายน 2527จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ 301,046.27 บาท จากนั้นจนถึงวันที่สัญญาสิ้นสุดลง และในเวลาต่อมาไม่มีการเบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีจึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกต่อไป พฤติการณ์แสดงว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากันอีกต่อไปแล้ว สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงนับแต่ถึงกำหนดในสัญญา ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 856หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนสัญญาจึงจะเลิกกันไม่ เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไป โจทก์จะต้องหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้เสียในวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลง และจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้ว หากมีหนี้เหลืออยู่เท่าใดโจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ส่วนนั้น พร้อมด้วยดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1464/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงเมื่อถึงกำหนด ไม่ต้องบอกเลิกสัญญา การคิดดอกเบี้ยหลังสัญญาเลิก
การที่โจทก์บอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีแก่จำเลยที่ 1โดยส่งทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับไปยังภูมิลำเนาเดิมของจำเลยร่วม ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการห้างจำเลยที่ 1 และไม่มีผู้รับหนังสือบอกเลิกฉบับนั้น ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีไปถึงจำเลยที่ 1 โดยชอบแล้ว สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลงวันที่ 24 พฤษภาคม 2527 ตามการ์ดบัญชีกระแสรายวัน ปรากฏว่าในวันที่ 27 เมษายน 2527 จำเลยที่ 1 เป็นหนี้โจทก์อยู่ 301,046.27 บาท จากนั้นจนถึงวันที่สัญญาสิ้นสุดลง และในเวลาต่อมาไม่มีการเบิกเงินหรือนำเงินเข้าบัญชีจึงไม่มีการเดินสะพัดและหักทอนบัญชีกันอีกต่อไป พฤติการณ์แสดงว่าคู่สัญญาไม่ประสงค์จะต่ออายุสัญญากันอีกต่อไปแล้ว สัญญาบัญชีเดินสะพัดตามสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีจึงสิ้นสุดลงนับแต่ถึงกำหนดในสัญญา ตามป.พ.พ. มาตรา 856 หาจำต้องบอกเลิกสัญญาหรือบอกกล่าวทวงถามให้ชำระหนี้ก่อนสัญญาจึงจะเลิกกันไม่ เมื่อสัญญาสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ไม่มีสิทธิคิดดอกเบี้ยทบต้นต่อไป โจทก์จะต้องหักเงินจากบัญชีเงินฝากประจำของจำเลยที่ 1 ชำระหนี้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้เสียในวันที่สัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีสิ้นสุดลง และจำเลยที่ 1 ผิดนัดแล้ว หากมีหนี้เหลืออยู่เท่าใดโจทก์จึงมีสิทธิจะได้รับชำระหนี้ส่วนนั้นพร้อมด้วยดอกเบี้ยแบบไม่ทบต้นต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1392/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี และฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นรับ
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 138,140 วรรคสอง,309 วรรคสอง กระทงหนึ่ง และมีความผิดตามมาตรา 142 อีกกระทงหนึ่ง ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 140 วรรคสอง จำคุกคนละ 3 ปี และลงโทษตามมาตรา 142 จำคุกคนละ 1 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138 วรรคสอง,140 วรรคแรก ให้ลงโทษจำเลยทั้งสองตามมาตรา 140 วรรคแรก จำคุกคนละ 1 ปี รวมกับโทษฐานอื่นแล้วคงจำคุกคนละ 2 ปี นอกจากที่แก้คงให้เป็นไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ซึ่งหมายความว่าความผิดกระทงแรกศาลอุทธรณ์ภาค 2ยังคงปรับบทลงโทษตามมาตรา 309 วรรคสอง ด้วย และความผิดกระทงหลังก็ยังคงปรับบทลงโทษและกำหนดโทษตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ดังนี้ความผิดกระทงแรกศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลยทั้งสองเท่านั้น ส่วนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2พิพากษาระบุวรรคและแก้วรรคมาด้วยนั้น เป็นการระบุเพื่อให้ชัดเจนแก้ให้ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น มิได้แก้บทมาตราที่ลงโทษแต่อย่างไรคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อโทษที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 2 วางมาแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปีคดีจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จ: การแจ้งความโดยสุจริตตามความเข้าใจในขณะนั้น ไม่ถือเป็นความผิด
คำฟ้องของโจทก์สรุปได้ว่า จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าของที่พิพาทและไม่ได้เป็นผู้เช่าจาก ม. แต่ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินโดยเช่าจาก ม.และโจทก์บุกรุกเข้าไปในที่ดินตัดต้นส้มเขียวหวานของจำเลย ทำให้โจทก์ตกเป็นผู้ต้องหา ความจริงแล้วโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทโดยซื้อมาจาก บ. การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นการแจ้งความว่าโจทก์กระทำความผิดอาญาข้อหาบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งหากเป็นความเท็จ จำเลยก็อาจมีความผิดฐานแจ้งความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 ได้ ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดรวมทั้งข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว