พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,029 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้มรดกและหนี้ค้ำประกัน: ผลของการรับสภาพหนี้และการสะดุดหยุดอายุความ
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ.และในฐานะผู้ค้ำประกันให้รับผิดชำระหนี้ที่ จ.เป็นหนี้โจทก์ กรณีต้องแยกวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยในแต่ละฐานะ สำหรับความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกนั้น เมื่อจำเลยลงชื่อรับสภาพหนี้ในสัญญารับสภาพหนี้ในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ จ. จึงมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเฉพาะในส่วนมรดกของ จ.ที่ตกได้แก่จำเลยเท่านั้นสำหรับมรดกส่วนอื่นเมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่าหนึ่งปีนับแต่ จ.ถึงแก่ความตาย คดีจึงขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 ส่วนการรับสภาพหนี้ของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันนั้น อายุความย่อมสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้เดิม จำเลยไม่อาจยกข้อต่อสู้ของกองมรดกของ จ.ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ในเรื่องอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4948/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้มรดก-ผู้ค้ำประกัน: การรับสภาพหนี้ทำให้สะดุดอายุความ, แยกพิจารณาความรับผิด
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งในฐานะผู้จัดการมรดกของ จ. และในฐานะผู้ค้ำประกันให้รับผิดชำระหนี้ที่ จ. เป็นหนี้โจทก์ กรณีต้องแยกวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยในแต่ละฐานะ สำหรับความรับผิดของจำเลยในฐานะผู้จัดการมรดกนั้น เมื่อจำเลยลงชื่อรับสภาพหนี้ในสัญญารับสภาพหนี้ในฐานะทายาทผู้รับมรดกของ จ. จึงมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงเฉพาะในส่วนมรดกของ จ. ที่ตกได้แก่จำเลยเท่านั้น สำหรับมรดกส่วนอื่นเมื่อโจทก์ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่จ. ถึงแก่ความตาย คดีจึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 ส่วนการรับสภาพหนี้ของจำเลยในฐานะผู้ค้ำประกันนั้นอายุความย่อมสะดุดหยุดลง ต้องเริ่มนับอายุความขึ้นใหม่ตามอายุความแห่งมูลหนี้เดิม จำเลยไม่อาจยกข้อต่อสู้ของกองมรดกของ จ.ซึ่งเป็นลูกหนี้โจทก์ในเรื่องอายุความมรดกขึ้นต่อสู้โจทก์ได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4792/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีประกันตัว, อากรแสตมป์สัญญาประกัน, และประเภทสัญญาค้ำประกัน
พันตำรวจโท ส. ฟ้องผู้ที่ผิดสัญญาปล่อยชั่วคราวในชั้นสอบสวนในฐานะที่เป็นพนักงานสอบสวนซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ให้อำนาจไว้ตามมาตรา 106และ 113 มิได้ฟ้องในฐานะส่วนตัว แม้ว่าในขณะทำสัญญาประกันพันตำรวจโท ส. จะมิได้ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสาร แต่ในขณะยื่นฟ้องพันตำรวจโทส.ดำรงตำแหน่งพนักงานสอบสวนสถานีตำรวจนครบาลสุทธิสารจึงมีอำนาจฟ้อง หนังสือมอบอำนาจระบุว่า จำเลยที่ 1 มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 เป็นผู้มีอำนาจนำโฉนดที่ดินไปประกัน ป.กับพวกรวม 2 คน ผู้ต้องหาไปจากความควบคุมของพนักงานสอบสวนแทนจำเลยที่ 1 จนเสร็จการซึ่งเป็นการมอบอำนาจให้บุคคลคนเดียวไปกระทำการครั้งเดียว จึงต้องปิดอากรแสตมป์ 10 บาทตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 7(ก) สัญญาที่นายประกันร้องขอให้ปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวไปจากการควบคุมของพนักงานสอบสวนโดยสัญญาว่าจะส่งตัวผู้ต้องหาให้ตามกำหนดนัดของพนักงานสอบสวน ไม่อยู่ในความหมายของสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 680 จึงไม่ต้องปิดอากรแสตม์ ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายประมวลรัษฎากร ข้อ 17(ง)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุริมสิทธิในมูลจ้างทำของและการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ต้องจดทะเบียนตามกฎหมาย จึงมีผลผูกพัน
เจ้าหนี้ได้ก่อสร้างอาคารขึ้นบนที่ดินของจำเลยที่ 3 ตามสัญญาจ้างเหมา ทำให้ราคาที่ดินของจำเลยที่ 3 สูงขึ้นหนี้ค่าก่อสร้างจึงมีอยู่เป็นคุณแก่เจ้าหนี้ ทำให้เจ้าหนี้มีบุริมสิทธิในมูลจ้างทำของเหนือที่ดินของจำเลยที่ 3 ในหนี้ค่าก่อสร้างดังกล่าว แต่เจ้าหนี้มิได้ทำรายการประมาณราคาชั่วคราวไปบอกลงทะเบียนไว้ก่อน เริ่มลงมือทำการก่อสร้างอาคารเพื่อให้มีผลบริบูรณ์เป็นบุริมสิทธิพิเศษ ใช้ยันเจ้าหนี้อื่นในการที่จะได้รับชำระหนี้เหนือที่ดินของจำเลยที่ 3 ต่อไป ก่อนเจ้าหนี้อื่นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 286 ดังนั้น จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันตามความหมายใน มาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 เจ้าหนี้อยู่ในฐานะที่ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ได้อย่างเจ้าหนี้สามัญตามมาตรา 130(8) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุริมสิทธิพิเศษจากการก่อสร้างบนที่ดินของผู้อื่น และสถานะเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย
เจ้าหนี้ได้ก่อสร้างอาคารขึ้นบนที่ดินของจำเลยที่ 3 ตามสัญญาจ้างเหมา ทำให้ราคาที่ดินของจำเลยที่ 3 สูงขึ้น หนี้ค่าก่อสร้างจึงมีอยู่เป็นคุณแก่เจ้าหนี้ ทำให้เจ้าหนี้มีบุริมสิทธิในมูลจ้างทำของเหนือที่ดินของจำเลยที่ 3 ในหนี้ค่าก่อสร้างดังกล่าว แต่เจ้าหนี้มิได้ทำรายการประมาณราคาชั่วคราวไปบอกลงทะเบียนไว้ก่อน เริ่มลงมือทำการก่อสร้างอาคารเพื่อให้มีผลบริบูรณ์เป็นบุริมสิทธิพิเศษ ใช้ยันเจ้าหนี้อื่นในการที่จะได้รับชำระหนี้เหนือที่ดินของจำเลยที่ 3 ต่อไปก่อนเจ้าหนี้อื่น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 286 ดังนั้น จึงถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันตามความหมายใน มาตรา 6 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483เจ้าหนี้อยู่ในฐานะที่ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ได้อย่างเจ้าหนี้สามัญตามมาตรา 130 (8) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4791/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุริมสิทธิพิเศษในมูลจ้างทำของต้องจดทะเบียนเพื่อให้มีผลผูกพันและใช้ยันเจ้าหนี้อื่นได้
บุริมสิทธิพิเศษในมูลจ้างทำของเป็นการงานทำขึ้นบนอสังหาริมทรัพย์ เจ้าหนี้ต้องทำประมาณราคาชั่วคราวไปบอกลงทะเบียนไว้ก่อนเริ่มลงมือทำการก่อสร้างอาคาร เพื่อให้มีผลบริบูรณ์เป็นบุริมสิทธิพิเศษใช้ยันเจ้าหนี้อื่นในการที่จะได้รับชำระหนี้เหนือที่ดินของลูกหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น หากเจ้าหนี้มิได้จดทะเบียนไว้ย่อมไม่มีบุริมสิทธิพิเศษเหนือที่ดินของลูกหนี้และไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ก่อนเจ้าหนี้อื่น และถือไม่ได้ว่าเจ้าหนี้เป็นเจ้าหนี้มีประกันตามความหมายในมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลายฯเจ้าหนี้คงอยู่ในฐานะที่จะขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของจำเลยอย่างเจ้าหนี้สามัญเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมเกี่ยวกับสิทธิซื้อที่ดินตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ การฟ้องคดีใหม่จึงเป็นการฟ้องซ้ำ
คดีก่อนโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีแพ่งว่าจำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่แจ้งและเสนอขายให้โจทก์ในฐานะผู้เช่าก่อน ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524มาตรา 54 แต่ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณาจำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขอเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาท แล้วจำเลยทั้งสามได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 1 โจทก์จึงได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามดังกล่าวนั้นโดยขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษากลับอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้แล้ว การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีจำเลยทั้งสามเป็นคดีใหม่อีกโดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาประนีประนอมยอมความการจดทะเบียนโอนในโฉนดที่ดินพิพาท ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่กระทำกันในคดีที่จำเลยที่ 1ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 2 เพื่อให้ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามเดิมนั้น เป็นการฟ้องในมูลคดีเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ทรัพย์สินรายเดียวกัน มีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่าโจทก์จะมีสิทธิบังคับซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 หรือ จำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524ได้หรือไม่ เมื่อคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีอีกดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องซ้อน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความ มาตรา 173วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4655/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้อนในคดีแย่งครอบครองที่ดิน: ศาลอนุญาตแก้ไขคำฟ้องเดิมแล้ว การฟ้องคดีใหม่เป็นเรื่องเดียวกัน
คดีก่อนโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีแพ่งว่า จำเลยที่ 1ขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่แจ้งและเสนอขายให้โจทก์ในฐานะผู้เช่าก่อน ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 มาตรา 54 แต่ขณะที่คดีดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณา จำเลยที่ 1 ได้ยื่นฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขอเพิกถอนนิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาท แล้วจำเลยทั้งสามได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกันโดยจำเลยที่ 2 และที่ 3 ยอมจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนให้แก่จำเลยที่ 1โจทก์จึงได้ยื่นคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องในคดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามดังกล่าวนั้นโดยขอให้จำเลยที่ 1 จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาต โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน โจทก์ฎีกา ศาลฎีกาพิพากษากลับอนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้ ดังนั้นเมื่อศาลฎีกาได้อนุญาตให้โจทก์แก้ไขคำฟ้องได้แล้ว การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีจำเลยทั้งสามเป็นคดีใหม่อีกโดยขอให้เพิกถอนนิติกรรมสัญญาประนีประนอมยอมความการจดทะเบียนโอนในโฉนดที่ดินพิพาท ระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ที่กระทำกันในคดีที่จำเลยที่ 1ฟ้องจำเลยที่ 2 และที่ 3 เพื่อให้ที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตามเดิมนั้น เป็นการฟ้องในมูลคดีเรื่องเดียวกันกับคดีก่อน ทรัพย์สินรายเดียวกัน มีประเด็นต้องวินิจฉัยเช่นเดียวกันว่าโจทก์จะมีสิทธิบังคับซื้อที่ดินพิพาทคืนจากจำเลยที่ 1 หรือจำเลยที่ 2 และที่ 3 ตาม พ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524ได้หรือไม่ เมื่อคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น การที่โจทก์ยื่นฟ้องคดีอีกดังกล่าว จึงเป็นการฟ้องซ้อน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย แม้ผู้ซื้อจากการขายทอดตลาดสุจริต หากจำนองไม่มีค่าตอบแทน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแต่ใส่ชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนต่อมามีการจดทะเบียนจำนองแก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจำนอง เป็นการกล่าวอ้างว่าการที่มี ชื่อ น. ในโฉนดเป็นเพียงการถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยเท่านั้นมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ น. โดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ อันผู้ร้องจะต้องร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลระหว่างจำเลยกับ น.ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 ผู้ร้องจึงร้องขอให้เพิกถอนการจำนองได้โดยตรง แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะเคยมีความเห็นว่าผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจึงไม่เพิกถอนการจำนองก็ตาม แต่เมื่อได้มีการสั่งให้สอบสวน ถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกครั้งแล้ว ผู้ร้องจึงยื่นคำร้อง ขอเพิกถอนการจำนองต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 เพราะอำนาจในการร้องขอให้เพิกถอน ไม่อาจสละได้ ผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่มีค่าตอบแทนจึงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านจำนองไว้โดยไม่สุจริตไปด้วยแม้ผู้คัดค้านได้ฟ้องบังคับจำนองในระหว่างที่คดีล้มละลายอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องสอบสวนเพื่อพิจารณาร้องขอเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาทและผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้คัดค้านกลายเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดไปโดยสุจริต เมื่อผู้คัดค้านเพิ่งฟ้องบังคับจำนองหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดจึงถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องบังคับจำนองนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์การบังคับคดีและการที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้จึงใช้ยันแก่ผู้ร้องไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เพิกถอนการจำนองในคดีล้มละลาย: การถือครองกรรมสิทธิ์แทนและการรับจำนองโดยไม่สุจริต
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแต่ใส่ชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทนต่อมามีการจดทะเบียนจำนองแก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทนขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจำนอง เป็นการกล่าวอ้างว่าการที่มีชื่อน. ในโฉนดเป็นเพียงการถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยเท่านั้นมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ น.โดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบ อันผู้ร้องจะต้องร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลระหว่างจำเลยกับ น. ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 ผู้ร้องจึงร้องขอให้เพิกถอนการจำนองได้โดยตรง แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะเคยมีความเห็นว่าผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจึงไม่เพิกถอนการจำนองก็ตาม แต่เมื่อได้มีการสั่งให้สอบสวนถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกครั้งแล้ว ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนการจำนองต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114 เพราะอำนาจในการร้องขอให้เพิกถอนไม่อาจสละได้ ผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่มีค่าตอบแทนจึงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตไปด้วยแม้ผู้คัดค้านได้ฟ้องบังคับจำนองในระหว่างที่คดีล้มละลายอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องสอบสวนเพื่อพิจารณาร้องขอเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท และผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้คัดค้านกลายเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดไปโดยสุจริต เมื่อผู้คัดค้านเพิ่งฟ้องบังคับจำนองหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด จึงถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องบังคับจำนองนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์การบังคับคดีและการที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้จึงใช้ยันแก่ผู้ร้องไม่ได้