คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญส่ง วรรณกลาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,029 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1354/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ: การแจ้งความโดยสุจริตตามความเข้าใจในขณะนั้น ไม่ถือเป็นความผิด
คำฟ้องของโจทก์สรุปได้ว่า จำเลยไม่ได้เป็นเจ้าของที่พิพาทและไม่ได้เป็นผู้เช่าจาก ม. แต่ไปแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยเป็นผู้ครอบครองที่ดินโดยเช่าจาก ม.และโจทก์บุกรุกเข้าไปในที่ดินตัดต้นส้มเขียวหวานของจำเลย ทำให้โจทก์ตกเป็นผู้ต้องหา ความจริงแล้วโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทโดยซื้อมาจาก บ. การกระทำของจำเลยตามฟ้องเป็นการแจ้งความว่าโจทก์กระทำความผิดอาญาข้อหาบุกรุกและทำให้เสียทรัพย์ ซึ่งหากเป็นความเท็จ จำเลยก็อาจมีความผิดฐานแจ้งความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญา ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 172 ได้ ฟ้องของโจทก์ได้บรรยายการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยกระทำความผิดรวมทั้งข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวข้องพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1344/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ข้อเท็จจริงในคดีทุนทรัพย์น้อยกว่า 50,000 บาท ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
คดีที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกิน 50,000 บาทต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 วรรคแรก ที่โจทก์ที่ 2 อุทธรณ์ว่า ศาลชั้นต้นหยิบยกพยานนอกสำนวนมาวินิจฉัยอ้างเป็นปัญหาข้อกฎหมาย เมื่อไม่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นหยิบยกพยานนอกสำนวนมาวินิจฉัยแต่อย่างใด แต่เป็นเรื่องโต้แย้งให้ศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต่างไปจากศาลชั้นต้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน เป็นอุทธรณ์ข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจกรรมการและการประชุมที่ชอบด้วยกฎหมายภายใต้ พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ และประกาศคณะปฏิวัติ
การที่พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524มาตรา 7(2) ระบุ บุคคลที่เป็นคณะกรรมการโดยมิได้มีข้อความให้อำนาจบุคคลอื่นทำการแทน ดังนั้นกรรมการคนใดคนหนึ่งจะมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นมาประชุมแทนในฐานะกรรมการตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 ดังกล่าวย่อมเป็นไปตามประกาศคณะปฏิวัติฉบับ 218 ข้อ 44 วรรคสอง(ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะนั้น) ซึ่งบัญญัติให้ผู้ดำรงตำแหน่งใดหรือผู้รักษาราชการแทนผู้ดำรงตำแหน่งนั้นสามารถมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนได้โดยให้ผู้ปฏิบัติราชการแทนมีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับผู้ซึ่งมอบหมายหรือมอบอำนาจ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1288/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การมอบอำนาจกรรมการในคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ชอบด้วยกฎหมายตามประกาศ คปฎ.ฉบับที่ 218
แม้ พระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 จะบัญญัติให้คณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจังหวัดประกอบด้วยข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งต่าง ๆ เป็นกรรมการ โดยมิได้ระบุคำว่าหรือ "ผู้แทน" ไว้ก็ตาม แต่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 218 เรื่องระเบียบบริหารราชการแผ่นดินบัญญัติให้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งมอบหมายหรือมอบอำนาจให้ผู้ดำรงตำแหน่งอื่นปฏิบัติราชการแทนได้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งซึ่งเป็นกรรมการในคณะกรรมการดังกล่าวจึงมอบหมายให้ข้าราชการผู้ดำรงตำแหน่งอื่นประชุมแทนได้และถือว่าการประชุมคณะกรรมการชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดี และผลของคำสั่งยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวในกรณีมีเหตุฉุกเฉิน
คำสั่งให้งดการไต่สวนพยานจำเลยที่ 1 ในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา หากคู่ความฝ่ายใดไม่เห็นด้วยและประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นในภายหลัง จะต้องโต้แย้งคำสั่งให้ศาลจดลงไว้ในรายงาน คู่ความฝ่ายที่โต้แย้งจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 แต่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นสั่งงดไต่สวนเมื่อวันที่ 21กุมภาพันธ์ 2534 และนัดฟังคำสั่งในวันรุ่งขึ้นเวลา 9 นาฬิกาทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว ดังนั้น ในช่วงเวลาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะอ่านคำสั่ง ย่อมมีเวลาเพียงพอที่โจทก์จะโต้แย้งคัดค้านได้ แต่ก็หาได้มีการโต้แย้งคัดค้านไม่ โจทก์จึงหมดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว อีกทั้งไม่อาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์จึงต้องห้ามฎีกาตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก (เดิม) แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาข้อนี้ของโจทก์ขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องคดีพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ศาลนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้ โดยยื่นคำร้องขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินรวมเข้ามาด้วยกรณีจึงเป็นไปตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 267 ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นำวิธีการชั่วคราวในกรณีมีเหตุฉุกเฉินมาใช้บังคับตามคำขอของโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอโดยพลันให้ศาลชั้นต้นยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเสีย ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วได้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเดิมตามคำขอของจำเลยที่ 1 คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุด ทั้งนี้โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือพิจารณาฝ่ายเดียวหรือสองฝ่ายหรือไม่เพราะแม้จะได้ความว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1 ในกรณีธรรมดาเพราะไม่มีเหตุฉุกเฉิน หรือพิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1ชนิดสองฝ่ายก็ตาม คำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมของศาลชั้นต้นก็เป็นการสั่งตามความใน ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267วรรคสอง ที่บัญญัติว่า คำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุดอยู่นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1142/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การงดไต่สวนพยานและคำสั่งชั่วคราวก่อนพิพากษา: การโต้แย้งสิทธิอุทธรณ์และการสิ้นสุดของคำสั่ง
คำสั่งให้งดการไต่สวนพยานจำเลยที่ 1 ในชั้นขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นก่อนที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์คำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณา หากคู่ความฝ่ายใดไม่เห็นด้วยและประสงค์จะใช้สิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นในภายหลังจะต้องโต้แย้งคำสั่งให้ศาลจดลงไว้ในรายงาน คู่ความฝ่ายที่โต้แย้งจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งนั้นได้ภายในกำหนดหนึ่งเดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดีตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 แต่ปรากฏว่า ศาลชั้นต้นสั่งงดไต่สวนเมื่อวันที่21 กุมภาพันธ์ 2534 และนัดฟังคำสั่งในวันรุ่งขึ้นเวลา 9 นาฬิกาทนายโจทก์ได้ทราบคำสั่งในวันนั้นแล้ว ดังนั้น ในช่วงเวลาก่อนที่ศาลชั้นต้นจะอ่านคำสั่ง ย่อมมีเวลาเพียงพอที่โจทก์จะโต้แย้งคัดค้านได้ แต่ก็หาได้มีการโต้แย้งคัดค้านไม่ โจทก์จึงหมดสิทธิอุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าว อีกทั้งไม่อาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นข้อฎีกาได้ เนื่องจากเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในชั้นอุทธรณ์ จึงต้องห้ามฎีกาตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก (เดิม)แม้ศาลชั้นต้นจะสั่งรับฎีกาข้อนี้ของโจทก์ขึ้นมาด้วย ศาลฎีกาก็ไม่รับวินิจฉัย โจทก์ฟ้องคดีพร้อมกับยื่นคำร้องขอให้ศาลนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาใช้โดยยื่นคำร้องขอในกรณีมีเหตุฉุกเฉินรวมเข้ามาด้วยกรณีจึงเป็นไปตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 267 ปรากฏว่าหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้นำวิธีการชั่วคราวในกรณีมีเหตุฉุกเฉินมาใช้บังคับตามคำขอของโจทก์แล้วจำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอโดยพลันให้ศาลชั้นต้นยกเลิกคำสั่งดังกล่าวเสีย ต่อมาเมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วได้มีคำสั่งยกเลิกคำสั่งเดิมตามคำขอของจำเลยที่ 1 คำสั่งดังกล่าว ย่อมเป็นที่สุด ทั้งนี้โดยมิพักต้องคำนึงถึงว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือพิจารณาฝ่ายเดียวหรือสองฝ่ายหรือไม่ เพราะแม้จะได้ความว่าศาลชั้นต้นได้พิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1 ในกรณีธรรมดาเพราะไม่มีเหตุฉุกเฉิน หรือพิจารณาคำขอของจำเลยที่ 1 ชนิดสองฝ่ายก็ตาม คำสั่งเพิกถอนคำสั่งเดิมของศาลชั้นต้นก็เป็นการสั่งตามความในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง ที่บัญญัติว่าคำสั่งดังกล่าวให้เป็นที่สุดอยู่นั่นเอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1125/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาการโอนหุ้น: แม้ไม่มีข้อความซื้อขาย ศาลต้องพิจารณาเจตนาของผู้โอนและผู้รับโอนเป็นสำคัญเพื่อวินิจฉัยว่าเป็นการรับโอนไว้แทนหรือไม่
แม้ในเอกสารโอนหุ้นจะไม่มีข้อความว่า ผู้ร้องรับโอนหุ้นไว้แทนแต่ก็ไม่มีข้อความว่าการโอนหุ้นรายนี้เป็นการซื้อขายหุ้น จึงต้องพิเคราะห์ถึงเจตนาของผู้โอนและผู้รับโอนเป็นสำคัญ จะฟังว่าเมื่อไม่มีคำว่ารับโอนไว้แทนย่อมเป็นการซื้อขายหาได้ไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า ผู้ร้องรับโอนหุ้นของบริษัทลูกหนี้ไว้แทนคณะกรรมการควบคุมบริษัทลูกหนี้ ผู้ร้องจึงไม่ต้องรับผิดชำระหนี้ตามหนังสือทวงหนี้ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้สามัญเป็นเจ้าหนี้มีประกัน: ศาลพิจารณาเป็นรายกรณี โดยคำนึงถึงความพลั้งเผลอ
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 97
การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483 นั้น มาตราดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาในการขอแก้ไขไว้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ไม่ว่าระยะเวลาใด ๆ แม้จะได้มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุดแล้วก็ตาม การที่ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งคดีเป็นราย ๆ ไป คดีนี้เมื่อศาลสั่งปิดคดีแล้ว ผู้ร้องเป็นผู้แจ้งต่อผู้คัดค้านว่าลูกหนี้ที่ 2 ยังมีที่ดินที่ลูกหนี้ที่ 2 จำนองไว้แก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านจึงรายงานศาลขอให้มีคำสั่งเปิดคดี ผู้คัดค้านทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ก็โดยผู้ร้องเป็นผู้เสนอข้อเท็จจริงต่อผู้คัดค้าน การทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้อื่น พฤติการณ์เช่นนี้ศาลอาจอนุญาตให้แก้ไขคำขอรับชำระหนี้ได้หากการขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ
ผู้ร้องเป็นนิติบุคคล การดำเนินงานแบ่งเป็นแผนกต่าง ๆ แม้การดำเนินงานจะต้องสัมพันธ์กันแต่ก็อาจพลั้งเผลอได้ การเป็นเจ้าหนี้มีประกันกับเจ้าหนี้สามัญย่อมได้รับประโยชน์ต่างกันมากหากไม่ใช่ความพลั้งเผลอก็คงไม่ละเลยยื่นคำขอ-รับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ เห็นว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้หลังแบ่งทรัพย์สิน: ศาลอนุญาตได้หากมีเหตุผลสมควร และความพลั้งเผลอเป็นไปได้ในนิติบุคคล
การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้มีบัญญัติไว้ในมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งบทบัญญัติในมาตราดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาในการขอแก้ไขไว้เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ไม่ว่าระยะเวลาใด ๆ แม้จะได้มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุดแล้วก็ตาม ส่วนการที่ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขได้หรือไม่นั้นย่อมขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งคดีเป็นราย ๆ ไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1097/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันหลังแบ่งทรัพย์สิน - ศาลอนุญาตได้หากมีเหตุผลสมควร
การขอแก้ไขคำขอรับชำระหนี้จากเจ้าหนี้ไม่มีประกันเป็นเจ้าหนี้มีประกันตามมาตรา 97 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 นั้นมาตราดังกล่าวมิได้กำหนดเวลาในการขอแก้ไขไว้ เจ้าหนี้จึงมีสิทธิยื่นคำร้องขอแก้ไขได้ไม่ว่าระยะเวลาใด ๆ แม้จะได้มีการแบ่งทรัพย์สินครั้งที่สุดแล้วก็ตาม การที่ศาลจะอนุญาตให้แก้ไขหรือไม่ย่อมขึ้นอยู่กับพฤติการณ์แห่งคดีเป็นราย ๆ ไป คดีนี้เมื่อศาลสั่งปิดคดีแล้ว ผู้ร้องเป็นผู้แจ้งต่อผู้คัดค้านว่าลูกหนี้ที่ 2 ยังมีที่ดินที่ลูกหนี้ที่ 2 จำนองไว้แก่ผู้ร้อง ผู้คัดค้านจึงรายงานศาลขอให้มีคำสั่งเปิดคดี ผู้คัดค้านทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ก็โดยผู้ร้องเป็นผู้เสนอข้อเท็จจริงต่อผู้คัดค้าน การทราบถึงทรัพย์สินของลูกหนี้ย่อมเป็นประโยชน์แก่เจ้าหนี้อื่น พฤติการณ์เช่นนี้ศาลอาจอนุญาตให้แก้ไขคำขอรับชำระหนี้ได้หากการขอรับชำระหนี้โดยไม่แจ้งว่าเป็นเจ้าหนี้มีประกันนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ ผู้ร้องเป็นนิติบุคคล การดำเนินงานแบ่งเป็นแผนกต่าง ๆแม้การดำเนินงานจะต้องสัมพันธ์กันแต่ก็อาจพลั้งเผลอได้การเป็นเจ้าหนี้มีประกันกับเจ้าหนี้สามัญย่อมได้รับประโยชน์ต่างกันมากหากไม่ใช่ความพลั้งเผลอก็คงไม่ละเลยยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญ เห็นว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้อย่างเจ้าหนี้สามัญนั้นเกิดขึ้นโดยพลั้งเผลอ
of 103