พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,029 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาโดยรู้ว่าไม่มีความผิด เพื่อกลั่นแกล้งผู้อื่น เป็นความผิดตามมาตรา 173 ประกอบ 174 วรรคสอง
จำเลยเป็นทนายความไม่ได้รับแลกเช็คจากคุณหญิง ศ. จริงเพียงแต่รับสมอ้างดังกล่าว จึงไม่ได้เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายจำเลยไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าเป็นผู้ทรงเช็คไม่ว่าจะโดยรับมาจากโจทก์หรือจากคุณหญิง ศ.ก็ตาม โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าโจทก์ไม่ได้ลงวันที่สั่งจ่ายในเช็ค เป็นเช็คที่ไม่มีมูลความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวการกระทำของจำเลยจึงเป็นการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาต่อเจ้าพนักงานซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนโดยรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น เพื่อแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษ ได้รับความเสียหายถูกจับกุมดำเนินคดี เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 173 ประกอบ มาตรา 174 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทบัญญัติเฉพาะไม่ผิดมาตรา 137 ซึ่งเป็นบทบัญญัติว่าด้วยการแจ้งข้อความอันเป็นเท็จแก่เจ้าพนักงานทั่ว ๆ ไปอีกและไม่เป็นความผิดตามมาตรา 172
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1088/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แจ้งความเท็จเกี่ยวกับเช็คที่ไม่มีมูลความผิด เพื่อให้ดำเนินคดีผู้อื่น เป็นความผิดอาญา
จำเลยมิได้แลกเช็คจาก ศ. เพียงแต่รับสมอ้าง จึงไม่เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย การที่จำเลยไปแจ้งความแก่พนักงานสอบสวนว่าเป็นผู้ทรงโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นเช็คที่ไม่มีมูลความผิดเพราะโจทก์มิได้ลงวันที่สั่งจ่าย เพื่อให้พนักงานสอบสวนดำเนินคดีแก่โจทก์อันจะแกล้งให้โจทก์ต้องรับโทษ จึงเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 ประกอบมาตรา 174 วรรคสอง เมื่อการกระทำของจำเลยเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 173 ประกอบ มาตรา 174 วรรคสอง ซึ่งเป็นบทเฉพาะแล้วย่อมไม่เป็นความผิดตามมาตรา 137 ซึ่งเป็นบททั่วไปอีก และไม่เป็นความผิดตาม มาตรา 172
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1083/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: อำนาจฟ้อง, การยอมรับเอกสาร, และสถานะหนี้สินล้นพ้นตัว
ถ. ฟ้องคดีอ้างว่าได้รับมอบอำนาจจากโจทก์ให้ฟ้องจำเลยจำเลยได้รับสำเนาหนังสือมอบอำนาจพร้อมกับฟ้องแล้ว ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านการนำเอกสารมาสืบก่อนวันสืบพยานว่าไม่มีต้นฉบับหรือว่าต้นฉบับนั้นปลอมทั้งฉบับหรือบางส่วน สำเนานั้นไม่ถูกต้องกับต้นฉบับ และไม่ได้ขออนุญาตคัดค้านในภายหลัง ถือได้ว่าจำเลยยอมรับถึงการมีอยู่ของต้นฉบับและความถูกต้องแท้จริงของต้นฉบับเอกสารนั้น รวมทั้งยอมรับว่าสำเนานั้นตรงกับต้นฉบับ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 125 ชั้นพิจารณาศาลย่อมมีอำนาจรับฟังสำเนาหนังสือมอบอำนาจแทนต้นฉบับได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(1) จำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามคำพิพากษาเป็นเวลาเกือบ 4 ปี ไม่เคยชำระหนี้ให้โจทก์ แสดงว่าจำเลยไม่สามารถชำระหนี้ได้ นอกจากนี้โจทก์ยังได้ดำเนินการบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยออกขายทอดตลาดได้เงินชำระหนี้บางส่วน ยังค้างชำระหนี้ถึงวันฟ้องเป็นเงิน8,538,400.98 บาท ข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1065/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้อื่นในคดีล้มละลาย
ขณะจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองครั้งที่ 4 แก่ผู้คัดค้าน นอกจากจำเลยจะเป็นหนี้ผู้คัดค้าน จำเลยยังเป็นหนี้เจ้าหนี้รายอื่นรวมทั้งหมด 5 ราย เป็นเงินกว่า 11,000,000 บาท การที่ อ.ซึ่งเป็นประธานสหกรณ์จำเลยรู้อยู่ว่าจำเลยเป็นหนี้บรรดาเจ้าหนี้อื่นอยู่เป็นจำนวนมาก ยังไปกระทำการจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองเป็นประกันดังกล่าวให้ผู้คัดค้าน โดยที่ขณะนั้นจำเลยไม่มีทรัพย์สินอื่นพอชำระหนี้เจ้าหนี้อื่น การจดทะเบียนขึ้นเงินจำนองเป็นประกันดังกล่าวจึงเป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ศาลต้องเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองดังกล่าวตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 115 กรณีพิพาทแห่งคดีผู้คัดค้านไม่ใช่บุคคลภายนอกตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 116 ไม่จำต้องวินิจฉัยว่าผู้คัดค้านกระทำไปโดยสุจริตและมีค่าตอบแทนก่อนมีการขอให้ล้มละลายหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1049/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนขายที่ดินในคดีล้มละลาย ต้องมีนิติสัมพันธ์เจ้าหนี้-ลูกหนี้ที่ผูกพันบังคับได้ก่อน
แม้จำเลยได้จดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้ผู้คัดค้านที่ 1ภายในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนที่จำเลยจะถูกฟ้องให้ล้มละลายก็ตาม แต่ปรากฏว่าจำเลยกับผู้คัดค้านที่ 1 ไม่เคยผูกนิติสัมพันธ์ที่มีผลบังคับได้ตามกฎหมายมาก่อน หรือผู้คัดค้านที่ 1 ได้ชำระค่าที่ดินไปแล้ว ผู้คัดค้านที่ 1 จึงไม่อยู่ในฐานะเจ้าหนี้จำเลยขณะจดทะเบียนโอนขายที่ดินเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการโอนโดยอาศัย พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 115 มิได้(วินิจฉัยตามแนวฎีกา 854/2534 ญ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1032/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย ต้องมีนิติสัมพันธ์ระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้ก่อนการโอน
การโอนที่จะต้องถูกเพิกถอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 115นั้น ต้องเป็นการโอนภายในระยะเวลา 3 เดือน ก่อนมีการขอให้ล้มละลายและภายหลังนั้นให้แก่เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดซึ่งเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนโอน และการโอนนั้นทำให้เจ้าหนี้คนอื่น ๆ เสียเปรียบที่ว่าต้องเป็นเจ้าหนี้อยู่แล้วก่อนโอนนั้น หมายความว่าเจ้าหนี้กับลูกหนี้มีนิติสัมพันธ์กันมาก่อนแล้ว อันเป็นการก่อสิทธิแก่เจ้าหนี้ที่จะเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ต่อไป จำเลยกับ ว. ไม่เคยมีนิติสัมพันธ์กันมาก่อนโอน ไม่ว่าจะเป็นในรูปของสัญญาจะซื้อจะขายหรือคำมั่นจะซื้อจะขาย อันจะเป็นการก่อสิทธิแก่ ว. ที่จะเรียกร้องให้จำเลยโอนขายที่ดินพิพาทพร้อมสิ่งปลูกสร้างแก่ตนได้ จึงถือไม่ได้ว่า ว. เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยอยู่แล้วก่อนโอน เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่อาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนรายนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 115
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสิ้นสุดอำนาจร้องขอเพิกถอนการโอนทรัพย์เมื่อศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลาย
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายของจำเลยแล้วผู้ร้องยังคงมีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทอยู่ต่อไปหรือไม่ปัญหาข้อนี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา แต่เป็นปัญหา เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกา มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งให้ยกเลิกการล้มละลายของจำเลย จึงมีผลเท่ากับเป็นการยกเลิกการพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลย ไปในตัว อำนาจที่จะร้องขอให้เพิกถอนการโอน ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สิ้นสุดลง ผู้ร้องจึง ไม่มีอำนาจร้องขอให้เพิกถอนการโอนที่ดินพร้อมตึกแถวพิพาทต่อไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1026/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนการโอนทรัพย์สินในคดีล้มละลาย: ดอกเบี้ยเริ่มนับจากวันศาลมีคำสั่งเพิกถอน
การเพิกถอนการโอนตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 114 เป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ตราบใดที่ยังไม่มีคำสั่งหรือคำพิพากษาให้เพิกถอนการโอน ก็ยังถือว่าเป็นการโอนโดยชอบ และจะถือว่ามีการผิดนัดกันแล้วหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1017/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาจำกัดสิทธิในการอุทธรณ์คดีอาวุธปืน แก้ไขโทษจำคุกเล็กน้อย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ พ.ศ. 2490 มาตรา 7,55,78 จำคุก 4 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนพ.ศ. 2490 มาตรา 38,55,78 จำคุก 2 ปี เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ไม่เกิน 5 ปี จำเลยที่ 1 จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่จำกัดการติดกันของที่ดิน แม้มีคลองคั่นก็อาจเป็นภารจำยอมได้
ทางภารจำยอมนั้นสามยทรัพย์และภารยทรัพย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกัน ดังนี้ แม้จะมีคลองสาธารณะคั่นอยู่ก็อาจเป็นทางภารจำยอมได้ โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ดังนั้น การที่จำเลยฎีกาว่าทางพิพาทไม่เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย