พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,029 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1004/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภารจำยอมไม่จำกัดการติดกันของที่ดิน แม้มีคลองคั่นก็อาจเป็นภารจำยอมได้
ทางภารจำยอมนั้นสามยทรัพย์และภารยทรัพย์ไม่จำเป็นต้องอยู่ติดกัน ดังนี้ แม้จะมีคลองสาธารณะคั่นอยู่ก็อาจเป็นทางภารจำยอมได้ โจทก์ที่ 1 ไม่ได้ฟ้องว่าทางพิพาทเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 ดังนั้น การที่จำเลยฎีกาว่าทางพิพาทไม่เป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ที่ 1 จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้อง, การควบคุมอาคาร, ระยะร่น, และการบังคับใช้กฎหมายอาคารชุด กรณีการก่อสร้างผิดแบบ
พระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 ไม่ได้บัญญัติให้กรุงเทพมหานคร จำเลยที่ 1 เข้าไปเกี่ยวข้องควบคุมอาคารแต่อย่างใดแต่เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ทั้งจำเลยที่ 1 มิได้มีคำสั่งรื้ออาคารของโจทก์ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่องกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะร่นโดยรอบอาคาร ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2521 ออกโดยอาศัยประกาศที่ชอบด้วยกฎหมาย และใช้บังคับก่อนพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 โดยมิได้ถูกยกเลิกและขัดแย้งกับพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ ด้วย ประกาศดังกล่าวจึงใช้บังคับได้โดยชอบด้วยกฎหมายตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคารฯ มาตรา 79พระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และประกาศกรุงเทพมหานครเรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะร่นโดยรอบอาคารเป็นกฎหมายพิเศษที่มีวัตถุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยของประชาชนเป็นสำคัญ เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนอาคารที่สร้างผิดแบบแปลนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่ โจทก์ก่อสร้างอาคารผิดแบบแปลน เจ้าพนักงานท้องถิ่นสั่งให้โจทก์ระงับการก่อสร้างอาคาร วันที่ 25 มิถุนายน 2518 และสั่งให้รื้อถอนเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2529 แต่โจทก์ได้จดทะเบียนอาคารเป็นอาคารชุดเมื่อวันที่ 11 มีนาคม 2529 และจดทะเบียนนิติบุคคลอาคารชุดเมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม 2529 การจดทะเบียนเกิดขึ้นหลังจากที่โจทก์ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว เป็นการหลีกเลี่ยงการรับผิดชอบตามคำสั่งดังกล่าว โจทก์มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นจะอ้างกฎหมายอาคารชุดคุ้มครองความรับผิดของโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 939/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีรื้อถอนอาคาร และการใช้ประกาศกรุงเทพมหานครควบคุมการก่อสร้าง
คำสั่งอนุญาตหรือไม่อนุญาตให้ผู้ใด ก่อสร้าง ดัดแปลง รื้อถอนหรือเคลื่อนย้ายอาคาร ตามพระราชบัญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522นั้น เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานท้องถิ่น ซึ่งหมายถึงผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร สำหรับในเขตกรุงเทพมหานครคือจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3 ในฐานะผู้ปฏิบัติการแทนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกคำสั่งให้โจทก์รื้อถอนอาคาร คำสั่งดังกล่าวไม่ใช่คำสั่งของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมิใช่ผู้ที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 ประกาศกรุงเทพมหานคร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะร่นโดยรอบอาคาร ฉบับลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2520 ซึ่งออกโดยชอบด้วยกฎหมาย ได้ประกาศใช้บังคับก่อน พระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ. 2522 และยังไม่ได้ถูกยกเลิก อีกทั้งมิได้ขัดแย้งกับพระราชบัญญัติ ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 แต่อย่างใด ประกาศดังกล่าวจึงใช้บังคับได้ ข้อกำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะร่นโดยรอบอาคารตามประกาศกรุงเทพมหานคร ฉบับลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2520 นั้นเป็นเรื่องป้องกันมิให้ปลูกสร้างอาคารใกล้ชิดกันมากเกินไป อันเป็นการรักษาสภาพแวดล้อม และความปลอดภัยของประชาชนซึ่งมีวัตถุประสงค์ต่างกับกฎกระทรวงฉบับที่ 12(พ.ศ. 2528) ที่เป็นการกำหนดเกี่ยวกับโครงสร้างของอาคาร จึงนำกฎกระทรวงดังกล่าวมาใช้บังคับเกี่ยวกับระยะร่นโดยรอบอาคารไม่ได้พระราชบัญญัติ ญญัติควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 และประกาศกรุงเทพมหานครเรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับระยะร่นโดยรอบอาคาร เป็นกฎหมายพิเศษ มีวัตถุประสงค์คุ้มครองประโยชน์และความปลอดภัยของประชาชน เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้รื้อถอนได้เสมอตราบเท่าที่อาคารซึ่งฝ่าฝืนกฎหมายยังคงอยู่ โจทก์จดทะเบียนอาคารชุด ภายหลังจากที่ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นแล้ว จึงอ้างกฎหมายอาคารชุดมาคุ้มครองความรับผิดชอบของโจทก์หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังคำให้การซัดทอดของผู้ร่วมกระทำผิด และคำรับสารภาพประกอบการพิจารณาคดีอาญา
ชั้นสอบสวนจำเลยที่ 1 ให้การซัดทอดจำเลยที่ 2 ซึ่งคำให้การซัดทอดดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนทันทีในวันที่จำเลยที่ 1 ถูกจับเป็นการยากที่จำเลยที่ 1 จะปรุงแต่งขึ้นไว้เพื่อต่อสู้คดีหรือปรักปรำจำเลยที่ 2 ทั้งเป็นคำให้การที่มิได้เกิดจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญหลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และคำให้การชั้นสอบสวนของผู้กระทำผิดด้วยกันก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟังแต่อย่างไร ดังนั้นคำให้การของจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวนศาลย่อมนำมาฟังประกอบการพิจารณาลงโทษจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 937/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การร่วมของผู้ต้องหา, คำรับสารภาพ, และพยานหลักฐานประกอบการลงโทษ
แม้โจทก์จะไม่มีประจักษ์พยานเบิกความยืนยันว่าจำเลยที่ 2เป็นคนร้ายร่วมกันฆ่าผู้ตายก็ตาม แต่โจทก์ก็มีคำให้การของจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวนที่ให้การซัดทอดว่าจำเลยที่ 2 ร่วมกับพวกอีก 2 คน ใช้อาวุธปืนยิงและใช้ไม้ตีผู้ตายถึงแก่ความตาย ซึ่งคำให้การชั้นสอบสวนดังกล่าว จำเลยที่ 1 ได้ให้การต่อพนักงานสอบสวนทันทีในวันที่จำเลยที่ 1 ถูกจับ เป็นการยากที่จำเลยที่ 1จะปรุงแต่งขึ้นไว้เพื่อต่อสู้คดีหรือปรักปรำจำเลยที่ 2 ทั้งเป็นคำให้การที่มิได้เกิดจากการจูงใจ มีคำมั่นสัญญา ขู่เข็ญหลอกลวงหรือโดยมิชอบประการอื่น และคำให้การชั้นสอบสวนของผู้กระทำผิดด้วยกันก็ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามมิให้ศาลรับฟังแต่อย่างไร ดังนั้น คำให้การของจำเลยที่ 1 ในชั้นสอบสวนศาลย่อมนำมาฟังประกอบการพิจารณาได้ คดีนี้ปรากฏว่าในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนจำเลยที่ 2 ให้การรับสารภาพ ทั้งยังได้นำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพและมีการถ่ายรูปไว้ด้วย โดยคำให้การรับสารภาพของจำเลยที่ 2 มีรายละเอียดมากมาย ซึ่งยากที่พนักงานสอบสวนจะปรุงแต่งขึ้นเอง นอกจากนี้ในการนำชี้สถานที่เกิดเหตุประกอบคำรับสารภาพของจำเลยที่ 2 ก็ได้กระทำในที่สาธารณะมีประชาชนหลายคนมามุงดูด้วย พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักมั่นคงฟังลงโทษจำเลยที่ 2 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 864/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฟ้องคดีระหว่างแม่ลูก: คดีอุทลุมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562
ที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นมารดาโจทก์และเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายร่วมกับโจทก์ว่ายื่นคำร้องขอออก น.ส.3ทับที่ดินโจทก์อันเป็นการแย่งการครอบครองที่ดินของโจทก์นั้นเป็นการฟ้องในฐานะส่วนตัว หาใช่ฟ้องในฐานะผู้จัดการมรดกไม่จึงเป็นคดีอุทลุม ต้องห้ามมิให้ฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1562
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 833/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นในที่ดินของผู้อื่น เมื่อที่ดินถูกล้อมรอบและไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ
โจทก์ปลูกบ้านอยู่ในที่ดินที่โจทก์ครอบครอง ที่ดินแปลงดังกล่าวมีที่ดินของผู้อื่นล้อมอยู่ทุกด้านรวมทั้งที่ดินของจำเลยด้านทิศใต้ซึ่งอยู่ติดกับทางสาธารณะโจทก์ใช้ทางเดินผ่านที่ดินของจำเลยออกสู่ทางสาธารณะมาแล้ว 30 ปีเศษ แม้จะปรากฏว่าโจทก์ใช้ทางเดินตามแนวคันนาด้านทิศตะวันออกผ่านที่ดินของบุคคลอื่นบ้าง ก็ต้องถือว่ามีที่ดินแปลงอื่นล้อมที่ดินของโจทก์อยู่ โจทก์จึงมีสิทธิใช้ทางพิพาทในที่ดินของจำเลยเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 813/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลล้มละลาย: พิจารณาฐานะทรัพย์สินและรายได้ของจำเลยเพื่อวินิจฉัยความสามารถในการชำระหนี้
จำเลยเป็นข้าราชการตำแหน่งนักสำรวจดิน 6 กรมพัฒนาที่ดินนอกจากมีรายได้ประจำจากเงินเดือนยังประกอบกิจการค้าขายอาหารร่วมกับภรรยา บ้านของจำเลยแม้จะปลูกอยู่ในที่ดินบุคคลอื่นและรถยนต์อยู่ในระหว่างสัญญาเช่าซื้อแต่ทั้งบ้านและสิทธิตามสัญญาเช่าซื้อก็เป็นทรัพย์สินของจำเลยซึ่งจำเลยย่อมนำไปแสวงหาประโยชน์ได้เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยมีความประพฤติเสียหายในเรื่องการเงินและมิได้เป็นหนี้บุคคลอื่นใดอีก จำเลยจึงอยู่ในฐานะที่สามารถจะขวนขวายหาเงินมาชำระหนี้ให้โจทก์ได้ มิได้เป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัว ค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา ในคดีล้มละลายต้องเสียเพียง 50 บาท ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลายฯ มาตรา 179(1) โจทก์เสียมา 200 บาท จึงต้องคืนส่วนที่เกินให้โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 810/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: พยานหลักฐานน้ำหนักกว่าการโต้แย้งของจำเลย และการรับฟังเอกสารหลังฟ้อง
โจทก์มีตัวโจทก์ และพ.ซึ่งนั่งมาในรถยนต์กระบะของโจทก์ เบิกความยืนยันว่า รถบรรทุกสิบล้อที่จำเลยที่ 1ขับตามหลังพุ่งเข้าชนท้าย รถยนต์กระบะของโจทก์หลังเกิดเหตุจำเลยที่ 1 เข้ามอบตัวต่อพนักงานสอบสวนและถูกฟ้องในข้อหาขับรถโดยประมาท เป็นเหตุให้รถยนต์กระบะของโจทก์เสียหายและโจทก์ได้รับบาดเจ็บยิ่งเมื่อนำภาพถ่ายที่จำเลยที่ 2 นำสืบว่าโจทก์ขับรถยนต์กระบะแซงรถยนต์บรรทุกสิบล้อคันหนึ่ง ทางเดินรถของจำเลยที่ 1 นั้น จำเลยที่ 2 คงมีแต่ตัวจำเลยที่ 1เพียงปากเดียวเบิกความลอย ๆ โดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นสนับสนุน พยานหลักฐานของโจทก์มีน้ำหนักดีกว่าพยานหลักฐานของจำเลย เอกสารใบเสร็จรับเงินค่าลำโพง และเสาอากาศโจทก์อาจจะไปขอมาหลังจากฟ้องก็ได้ กรณีไม่ถึงกับจะทำให้รับฟังเอกสารดังกล่าวไม่ได้ ฎีกาจำเลยที่ 2 ที่ว่าเอกสารบางรายการมีการคิด ค่าเสียหายซ้ำซ้อนกัน 2 ครั้ง มิได้ระบุให้ชัดแจ้งว่าเอกสารในรายการใดบ้างที่มีการคิดค่าเสียหายซ้ำซ้อน กันศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้ เหตุที่โจทก์ไม่ส่งสำเนาเอกสารหมาย จ.8, จ.10และ จ.11 ให้แก่จำเลยก่อนวันสืบพยาน เนื่องจากโจทก์เพิ่งค้นพบเอกสารดังกล่าวและได้ยื่นบัญชีระบุพยาน เพิ่มเติมในวันนั้น และโจทก์ก็ยังสืบพยานไม่เสร็จ จำเลยย่อมมีโอกาสตรวจดูเอกสารดังกล่าวและนำพยานหลักฐาน มาสืบหักล้างได้ ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบในเชิงคดี แต่อย่างใด เพื่อให้การวินิจฉัยชี้ขาดข้อสำคัญแห่งประเด็น เป็นไปด้วยความเที่ยงธรรม จำเป็นต้องสืบพยานหลักฐาน เช่นว่านั้น ศาลมีอำนาจรับฟังพยานหลักฐาน ดังกล่าวได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 87(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายและเงินมัดจำ: การตีความเอกสารสัญญาเมื่อข้อความขัดแย้งกัน
สัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ระบุว่าตกลงวางมัดจำในวันทำสัญญา 100,000 บาท และมีรายการกำหนดเวลาชำระเงินส่วนที่เหลือไว้เป็น 2 งวด เมื่อครบกำหนดชำระงวดแรกผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาเพิ่มเงินมัดจำขึ้นอีก แต่ข้อความในสัญญาดังกล่าวระบุชัดว่าผู้จะขายได้รับเงินเท่ากับจำนวนเงินที่ต้องชำระงวดแรก ตามที่ระบุไว้ในสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขาย แม้ผู้ร้องจะมีพยานมานำสืบอธิบายสัญญาว่า เงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินมัดจำก็ขัดกับข้อความในเอกสาร ฟังได้ว่าสัญญาเพิ่มเงินมัดจำคือหลักฐานการชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายนั่นเอง ผู้ร้องหามีสิทธิรับเงินจำนวนดังกล่าวไม่เมื่อมีการเลิกสัญญาแล้วผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ต่างต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิม