คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญส่ง วรรณกลาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,029 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 793/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: การชำระเงินค่าซื้อขาย vs. เงินมัดจำ และผลของการบอกเลิกสัญญา
สัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายที่ดินระหว่างผู้ร้องกับจำเลยที่ 2เป็นสัญญาจะซื้อจะขายเพราะมีรายการวางมัดจำเป็นเงิน 100,000 บาท และมีรายการกำหนดวันเวลาชำระเงินไว้ครบถ้วนโดยแบ่งชำระเงิน 2 งวด ตามสัญญาข้อ 2.1 และ 2.2 ต่อมาเมื่อถึงกำหนดชำระเงินงวดแรก ผู้ร้องกับจำเลยที่ 2 ได้ทำสัญญาเพิ่มเงินมัดจำขึ้นอีก แต่ข้อความในสัญญาระบุชัดว่าผู้จะขายได้รับเงินจำนวน 2,382,261 บาท ไว้จากผู้จะซื้อซึ่งมีจำนวนเท่ากับจำนวนเงินที่ระบุไว้ในสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายข้อ 2.1 แม้ผู้ร้องจะมีพยานมาเบิกความสนับสนุนอธิบายสัญญาเพิ่มเงินมัดจำว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินมัดจำก็ขัดกับข้อความในเอกสารฟังได้ว่าสัญญาเพิ่มเงินมัดจำคือหลักฐานการชำระเงินค่าซื้อขายที่ดินตามสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายนั่นเอง ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิริบเงิน จำนวน 2,382,261 บาท ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 378(2) ได้ เมื่อได้ความว่าจำเลยที่ 2 บอกเลิกสัญญาวางมัดจำจะซื้อจะขายแล้ว ผู้ร้องและจำเลยที่ 2 ต่างต้องกลับคืนสู่ฐานะเดิมตามมาตรา 391 วรรคแรก ผู้ร้องจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวแก่จำเลยที่ 2 และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เรียกให้ผู้ร้องชำระเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 792/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้เกิดจากเจตนาช่วยเหลือลูกหนี้ที่มีหนี้สินล้นพ้นตัว ไม่อาจขอรับชำระหนี้ได้ตามกฎหมายล้มละลาย
ลูกหนี้เป็นบริษัทจำกัดที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบธุรกิจเครดิตฟองซิเอร์ การที่ลูกหนี้ประกอบธุรกิจตามที่ได้รับอนุญาตแล้วเกิดปัญหาขาดสภาพคล่องทางการเงินถึงขนาดที่ธนาคารแห่งประเทศไทยซึ่งมีหน้าที่คอย ควบคุมดูแลการประกอบธุรกิจของลูกหนี้และสมาคมไทยเงินทุนและหลักทรัพย์ต้องขอร้องให้เจ้าหนี้ทั้งสามรายเข้าไปช่วยเหลือย่อมแสดงว่าในขณะนั้นลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว และขาดความเชื่อถือจากสถาบันการเงินอื่น จึงไม่สามารถกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินอื่น ๆ โดยลำพังตนเองเพื่อมาพยุงฐานะของตนได้ การที่เจ้าหนี้ทั้งสามให้ลูกหนี้กู้ยืมเงินแม้จะเป็นการกระทำโดยสุจริตเพื่อช่วยเหลือลูกหนี้ตามที่ได้รับการขอร้อง แต่ก็เป็นการยอมให้ลูกหนี้ก่อหนี้เพิ่มขึ้นทั้ง ๆ ที่รู้อยู่ว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว จึงเป็นหนี้ที่ขอรับชำระหนี้ไม่ได้ตามมาตรา 94(2) แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 ปัญหาที่ว่าหนี้รายใดจะต้องห้ามมิให้ขอรับชำระหนี้ในคดี ล้มละลายหรือไม่ เป็นปัญหาที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นเจ้าหนี้ผู้โต้แย้งก็ชอบที่จะหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นเป็นข้ออุทธรณ์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 225 วรรคสอง ประกอบกับพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา: ศาลต้องถือข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีอาญา แต่ยังต้องสืบพยานประเด็นอื่นเพิ่มเติม
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา การพิพากษาคดีส่วนแพ่งจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญา และพิพากษายกฟ้องโจทก์นั้น เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่ถือเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม มาตรา 227 โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ ตามมาตรา 226 คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46 ในคดีส่วนอาญาศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยฟังข้อเท็จจริงว่าที่จำเลยรับเงินจากล. เป็นการรับชำระหนี้ค่าซื้อเชื่อทอง ดังนั้น จากข้อเท็จจริงดังกล่าว จำเลยจึงรับเงินไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้มิใช่รับไว้ในฐานลาภมิควรได้ แต่ฟ้องของโจทก์ยังระบุด้วยว่าจำเลยทราบอยู่แล้วว่าเงินดังกล่าวเป็นเงินของโจทก์และ ล. ได้มาโดยการหลอกลวงโจทก์และได้มาโดยไม่สุจริต แต่จำเลยกลับยึดเงินดังกล่าวไว้ จึงเป็นการฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยอ้างเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1331 ด้วย คดียังมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวอยู่ซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้สืบพยานฟังข้อเท็จจริงให้ยุติ ศาลฎีกาย่อมย้อนสำนวนให้ศาลชั้นต้นสืบพยานแล้วพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งงดสืบพยานในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลต้องพิจารณาประเด็นที่ยังไม่ได้ความชัดเจน
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาและพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 227 โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยเป็นมูลคดีเดียวกับคดีอาญาที่โจทก์เคยเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการฟ้องจำเลยว่าจำเลยร่วมกับ ล. ฉ้อโกงโจทก์ จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 46 ซึ่งในคดีส่วนอาญานั้น ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วโดยฟังข้อเท็จจริงว่า ที่จำเลยรับเงินจาก ล. เป็นการรับชำระหนี้ค่าซื้อเชื่อทอง ฉะนั้น จากข้อเท็จจริงที่ฟังยุติดังกล่าว จำเลยจึงรับเงินไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ มิใช่รับไว้ในฐานลาภมิควรได้อย่างไรก็ตาม นอกจากโจทก์จะฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้แล้ว ยังฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยอ้างเหตุตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1331 ด้วย คดียังมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวอยู่ ซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้สืบพยานฟังข้อเท็จจริงให้ยุติ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 782/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ งดสืบพยานในคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลฎีกาชี้ว่าต้องสืบพยานประเด็นเพิ่มเติม หากมีข้อพิพาทนอกเหนือจากข้อเท็จจริงที่ยุติในคดีอาญา
การที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีนี้เป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา จึงมีคำสั่งให้งดสืบพยานแล้วฟังข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาและพิพากษายกฟ้องนั้น เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามป.วิ.พ. มาตรา 227 โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้งดสืบพยานโดยไม่ต้องโต้แย้งไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226
คดีนี้โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยเป็นมูลคดีเดียวกับคดีอาญาที่โจทก์เคยเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการฟ้องจำเลยว่าจำเลยร่วมกับ ล.ฉ้อโกงโจทก์ จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 ซึ่งในคดีส่วนอาญานั้น ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วโดยฟังข้อเท็จจริงว่า ที่จำเลยรับเงินจาก ล. เป็นการรับชำระหนี้ค่าซื้อเชื่อทอง ฉะนั้น จากข้อเท็จจริงที่ฟังยุติดังกล่าว จำเลยจึงรับเงินไว้โดยมีมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ มิใช่รับไว้ในฐานลาภมิควรได้อย่างไรก็ตาม นอกจากโจทก์จะฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยในฐานลาภมิควรได้แล้ว ยังฟ้องเรียกเงินคืนจากจำเลยโดยอ้างเหตุตาม ป.พ.พ. มาตรา 1331 ด้วย คดียังมีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวอยู่ ซึ่งศาลชั้นต้นยังมิได้สืบพยานฟังข้อเท็จจริงให้ยุติ ฉะนั้นที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้งดสืบพยานและพิพากษายกฟ้องโจทก์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 778/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมการบริษัทลงลายมือชื่อเช็คเพื่อการลงทุน บริษัทเป็นผู้รับผิด ไม่ใช่กรรมการส่วนตัว
เจ้าหนี้มอบเงินให้บริษัทจำเลยที่ 1 เพื่อร่วมลงทุนแล้วจำเลยที่ 1 ออกเช็คพิพาทมอบให้เจ้าหนี้ไว้เพื่อเป็นหลักประกันเงินลงทุนของเจ้าหนี้ โดย ป. และจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายแม้จะไม่ได้ประทับตราของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2 ได้ลงลายมือชื่อไว้โดยมิได้เขียนว่าทำการแทนก็ตาม แต่การลงลายมือชื่อของ ป.กับจำเลยที่ 2 ก็เป็นการลงลายมือชื่อในฐานะกรรมการของบริษัทจำเลยที่ 1 เป็นการแสดงออกถึงความประสงค์ของนิติบุคคลโดยผู้แทนของนิติบุคคลดังที่บัญญัติไว้ใน ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 75 เดิม (มาตรา 70 ที่แก้ไขใหม่) การกระทำของ ป. กับจำเลยที่ 2 จึงเป็นการกระทำในนามของจำเลยที่ 1 มิใช่การกระทำของตัวแทนที่ลงลายมือชื่อของตนในตั๋วเงินแทนตัวการ แต่มิได้เขียนแถลงว่ากระทำการแทนบุคคลอื่น ซึ่งบุคคลนั้นต้องรับผิดตามความในตั๋วเงินดังที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 901จำเลยที่ 2 จึงไม่ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์โทษจำคุกที่ศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษลดลง โจทก์ฎีกาขอให้กลับไปใช้โทษเดิม ถือเป็นการโต้เถียงดุลพินิจ จึงต้องห้ามฎีกา
ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะโทษที่ลงจากจำคุก 33 ปี 4 เดือน เป็นจำคุก 13 ปี4 เดือน นั้น เป็นการแก้ไขเล็กน้อย ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้โจทก์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสองแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา (ฉบับที่ 17)พ.ศ. 2532 มาตรา 11

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 757/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการชำระหนี้ก่อนล้มละลายเพื่อคุ้มครองเจ้าหนี้รายอื่น ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 115
ศาลนัดสืบพยานผู้คัดค้านรวม 6 นัด ผู้คัดค้านไม่เคยมาศาลเลย ได้สืบพยานผู้คัดค้านคือทนายผู้คัดค้านได้เพียงปากเดียวในนัดที่ 2 ส่วนนัดแรกและนัดที่ 3 ถึงนัดที่ 6 ทนายผู้คัดค้านขอเลื่อนคดี 4 นัดติดต่อกัน ถือได้ว่าผู้คัดค้านมีเจตนาประวิงคดี การที่ลูกหนี้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความชำระหนี้ให้ผู้คัดค้านในระหว่างระยะ 3 เดือน ก่อนที่ลูกหนี้จะถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลาย โดยที่ลูกหนี้มีเจ้าหนี้รายอื่นอีกจำนวนมากซึ่งขอรับชำระหนี้ไว้ในคดีนี้ถึง 15 ราย การชำระหนี้ดังกล่าวเป็นการกระทำที่มุ่งหมายให้ผู้คัดค้านได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 115 ศาลให้เพิกถอนการชำระหนี้ได้ โดยไม่ต้องพิจารณาว่าผู้คัดค้านรับชำระหนี้ไว้โดยสุจริตหรือไม่ การเพิกถอนการชำระหนี้เป็นไปโดยผลของคำพิพากษา ระหว่างที่ศาลยังมิได้พิพากษาให้เพิกถอนการชำระหนี้ถือว่าเป็นการชำระหนี้โดยชอบ ยังถือไม่ได้ว่ามีการผิดนัดตั้งแต่วันยื่นคำร้อง สิทธิเรียกดอกเบี้ยเริ่มนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา และถือว่าเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเวนคืนที่ดิน: ศาลกำหนดค่าทดแทนที่เป็นธรรมเมื่อจำเลยกำหนดราคาไม่เหมาะสม
โจทก์จำเลยโต้เถียงกันในประเด็นที่ว่า จำเลยกำหนด ค่าทดแทนที่ดินของโจทก์ชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ประเด็นดังกล่าวเกิดจากที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่งธนบุรีถูกเวนคืนมูลแห่งคดีจึงเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลแพ่งธนบุรีเมื่อโจทก์ขออนุญาตฟ้องและศาลแพ่งธนบุรีอนุญาตให้โจทก์ฟ้องที่ศาลแพ่งธนบุรีแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องที่ศาลแพ่งธนบุรีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2) การกำหนดค่าทดแทนให้แก่เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินที่ถูกเวนคืน มีกฎหมายบัญญัติไว้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมทั้งฝ่ายรัฐบาลและเอกชน จำเลยไม่อาจกำหนดค่าทดแทนให้ตามใจชอบ เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยกำหนดค่าทดแทนให้ไม่เป็นธรรม โจทก์ก็มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลกำหนดค่าทดแทนให้อย่างเป็นธรรมและเหมาะสมได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 739/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลและการกำหนดค่าทดแทนที่ดินเวนคืน: ประเด็นความถูกต้องของราคาและเขตอำนาจศาล
โจทก์จำเลยโต้เถียงกันว่าจำเลยกำหนดค่าทดแทนที่ดิน ของโจทก์ที่ถูกเวนคืนชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ประเด็นที่โจทก์จำเลยโต้เถียงกันดังกล่าวเกิดจากที่ดินของโจทก์ซึ่งอยู่ในเขตอำนาจของศาลแพ่งธนบุรีถูกเวนคืน มูลแห่งคดีจึงเกิดขึ้นในเขตอำนาจของศาลแพ่งธนบุรีเมื่อโจทก์ขออนุญาตฟ้องและศาลแพ่งธนบุรีอนุญาตให้โจทก์ฟ้องที่ศาลแพ่งธนบุรีแล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องที่ศาลแพ่งธนบุรีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4(2)
of 103