พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,029 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องล้มละลาย: เจ้าหนี้มีสิทธิฟ้องแม้หนี้ยังไม่ถึงกำหนด หากมีหนี้สินล้นพ้นตัวและมีหนี้โจทก์เกินห้าหมื่น
โจทก์ฟ้องขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลาย ศาลชั้นต้นพิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวและเป็นหนี้โจทก์ไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาทจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดจำเลยชอบที่จะอุทธรณ์ฎีกาคัดค้านตามประเด็นดังกล่าวหรืออุทธรณ์ฎีกาว่าจำเลยอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดหรือมีเหตุที่ไม่สมควรให้จำเลยล้มละลายตามความใน พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14แต่จำเลยกลับอุทธรณ์ฎีกาว่าได้สั่งจ่ายเช็คชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว แต่โจทก์นำคดีมาฟ้องก่อนเช็คถึงกำหนด การที่โจทก์ยอมรับเช็คดังกล่าวถือได้ว่าโจทก์ยอมขยายระยะเวลาในการชำระหนี้ให้จำเลยแล้วและทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏว่าขณะที่โจทก์ฟ้อง จำเลยตกเป็นลูกหนี้ผู้ใดอีก ซึ่งแม้ข้อเท็จจริงจะเป็นเช่นที่จำเลยฎีกาก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป เพราะแม้จำเลยจะเป็นหนี้โจทก์เพียงคนเดียว แต่เมื่อหนี้มีจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นบาท และหนี้ยังไม่ถึงกำหนดชำระก็ตาม โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายได้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 9 ฎีกาของจำเลยในส่วนนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบ พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การไม่อนุญาตให้สืบพยานเพิ่มเติม, อำนาจฟ้อง, และการประเมินภาษีที่ถึงที่สุด
ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติมเพราะเห็นว่าไม่เกี่ยวกับประเด็น จำเลยแถลงคัดค้านและอุทธรณ์ คำสั่งศาลชั้นต้นว่า หากศาลเปิดโอกาสให้นำพยานหลักฐานที่ระบุเพิ่มเติมเข้าสืบจะทำให้ศาลเห็นว่าการประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบ เพราะราคาค่าซื้อขายไม้ที่เจ้าพนักงานประเมินนำมาคำนวณเป็นรายรับ เป็นไม้ที่จำเลยยังนำออกมาจำหน่ายไม่ได้ เนื่องจากมีคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ 32/2532ห้ามเข้าทำไม้และเคลื่อนย้ายไม้โดยเด็ดขาด ศาลอุทธรณ์ภาค 1วินิจฉัยว่าคำสั่งศาลชั้นต้นชอบแล้ว จำเลยฎีกาว่า หากศาลอนุญาตให้จำเลยระบุพยานเพิ่มเติม จำเลยสามารถนำพยานเข้าสืบให้เป็นที่ประจักษ์แก่ศาลได้ว่า ทรัพย์สินของจำเลยยังมีอยู่และมีมูลค่าไม่น้อยกว่า 5,000,000 บาท จำเลยจึงมิใช่ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งเป็นเหตุผลคนละอย่างกับที่จำเลยเคยให้ไว้ในคำแถลงคัดค้านและในอุทธรณ์ ฎีกาของจำเลยจึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้งคัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1 ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่อธิบดีกรมโจทก์มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ ในศาล มิใช่การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนอันจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรี และทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่ออธิบดีกรมโจทก์ปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 แล้วผู้รับมอบอำนาจชอบที่จะฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่นแทนโจทก์ได้ เมื่อจำเลยได้รับหนังสือแจ้งการประเมินภาษีการค้า ภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่าย จำเลยมิได้อุทธรณ์ การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากรมาตรา 30 การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานจึงถึงที่สุด เมื่อจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวโจทก์ย่อมมีอำนาจบังคับเอากับจำเลยได้เช่นเดียวกับหนี้ที่เกิดจากคำพิพากษา จำเลยจะกล่าวอ้างว่าการประเมินของเจ้าพนักงานไม่ชอบอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 596/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ล้มละลาย: การประเมินภาษีอากรถึงที่สุด การไม่โต้แย้งถือเป็นหนี้บังคับได้ และอำนาจฟ้องของเจ้าพนักงาน
ฎีกาจำเลยที่ว่าคำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยยื่นบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 4 ไม่ชอบด้วยเหตุผลโดยให้เหตุผลคนละอย่างกับที่จำเลยเคยให้ไว้ในคำแถลงคัดค้านและในชั้นอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาที่ไม่ได้โต้แย้ง คัดค้านคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 1ย่อมเป็นฎีกาที่ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่อธิบดีกรมสรรพากรโจทก์มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องคดีและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆในศาล มิใช่การมอบอำนาจให้ปฏิบัติราชการแทนอันจะต้องได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีและทำเป็นคำสั่งและประกาศในราชกิจจานุเบกษา ตามที่บัญญัติไว้ในประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 218 ข้อ 42ฉะนั้นเมื่ออธิบดีกรมโจทก์มอบอำนาจให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ แทนโจทก์โดยปฏิบัติถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 60 แล้วผู้รับมอบอำนาจจึงชอบที่จะฟ้องและดำเนินกระบวนพิจารณาอื่น ๆ แทนโจทก์ได้ จำเลยได้รับแบบแจ้งการประเมินภาษีการค้าหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและหนังสือแจ้งการประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาหัก ณ ที่จ่ายจากโจทก์แล้ว จำเลยมิได้อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และไม่ชำระหนี้ค่าภาษีอากรเมื่อจำเลยไม่อุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30 การประเมินภาษีอากรของเจ้าพนักงานจึงถึงที่สุด และเมื่อจำเลยไม่ยอมชำระหนี้ภาษีอากรดังกล่าวโจทก์ย่อมมีอำนาจที่จะบังคับจำเลยได้เช่นเดียวกับหนี้ที่เกิดจากคำพิพากษา จำเลยจะกล่าวอ้างว่าการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินไม่ชอบอีกไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระโดดหนีเจ้าพนักงานไม่ถึงขั้นต่อสู้ขัดขวางการจับกุม
จ่าสิบตำรวจ ส.กับพวกพบจำเลยกับพวกสะพายอาวุธปืนยาวมาคนละกระบอก จ่าสิบตำรวจ ส.กับพวกจึงขอตรวจค้น จำเลยส่งอาวุธปืนยาวให้เจ้าพนักงานตำรวจแล้วได้กระโดดหนี เจ้าพนักงานตำรวจ และจ่าสิบตำรวจ ส.จึงได้กระโดดเข้าจับจำเลยและกอดปล้ำกันตกลงไปตามทางลาดชัน การที่จำเลยกระโดดหนีเจ้าพนักงานตำรวจนี้ ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการต่อสู้ขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ.มาตรา138
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระโดดหนีเจ้าพนักงานไม่ถึงขั้นต่อสู้ขัดขวางการจับกุม และข้อสงสัยในการใช้ปืน
จ่าสิบตำรวจ ส.กับพวกพบจำเลยกับพวกสะพาย อาวุธปืนยาวมาคนละกระบอก จ่าสิบตำรวจ ส. กับพวกจึงขอตรวจค้น จำเลยส่งอาวุธปืนยาวให้เจ้าพนักงานตำรวจแล้วได้กระโดดหนีเจ้าพนักงานตำรวจ และจ่าสิบตำรวจ ส.จึงได้กระโดดเข้าจับจำเลยและกอดปล้ำกันตกลงไปตามทางลาดชัน การที่จำเลยกระโดดหนีเจ้าพนักงานตำรวจนี้ ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการต่อสู้ขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษความผิดฐานปลอมแปลงเหรียญกษาปณ์ ศาลฎีกาแก้ไขโทษตามมาตรา 248 โดยลงโทษเฉพาะกระทงเดียว
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 248 บัญญัติว่า "ถ้าผู้กระทำความผิดตามมาตรา 240 มาตรา 241 หรือมาตรา 247 ได้กระทำความผิดตามมาตราอื่นที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้อันเกี่ยวกับสิ่งที่ตนปลอมหรือแปลงนั้นด้วย ให้ลงโทษผู้นั้นตามมาตรา 240 มาตรา 241 หรือมาตรา 247แต่กระทงเดียว" ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตามมาตรา 240,244 และ 246 แล้วเรียงกระทงลงโทษจำเลยทั้งสองเป็น 3 กระทง จึงขัดต่อบทกฎหมายดังกล่าว กรณีนี้ต้องถือว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองตามมาตรา 240เพียงกระทงเดียว มีกำหนด 14 ปี คดีสำหรับจำเลยที่ 1 แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ความผิดตามมาตรา 244 ซึ่งลงโทษจำคุกไว้ 4 ปีก็ไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และคดีสำหรับจำเลยที่ 2สมควรคำนวณลดโทษเสียใหม่ให้ถูกต้อง ปัญหานี้แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา แต่เป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้ ทั้งเป็นเหตุลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 553/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดโทษความผิดฐานปลอมแปลงเหรียญกษาปณ์: ศาลฎีกาแก้ไขโทษจำคุกตามมาตรา 248
การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาว่าจำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 240,244 และ 246แล้วให้เรียงกระทงลงโทษจำเลยทั้งสองเป็น 3 กระทง เป็นการขัดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 248 ที่บัญญัติว่า "ถ้าผู้กระทำความผิดตามมาตรา 240 มาตรา 241 หรือมาตรา 247 ได้กระทำความผิดตามมาตราอื่นที่บัญญัติไว้ในหมวดนี้อันเกี่ยวกับสิ่งที่ตนปลอมหรือแปลงนั้นด้วย ให้ลงโทษผู้นั้นตามมาตรา 240 มาตรา 241 หรือมาตรา 247แต่กระทงเดียว กรณีจึงต้องถือว่าศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองตามมาตรา 240 เพียงกระทงเดียว ดังนี้คดีในส่วนของจำเลยที่ 1 แม้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นที่ให้ลงโทษจำคุกจำเลยที่ 1 ในข้อหาความผิดตามมาตรา244 มีกำหนด 4 ปี จึงไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง และเนื่องจากปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาขึ้นมา ทั้งกรณีเป็นเหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกาจึงมีอำนาจพิพากษาไปถึงจำเลยที่ 2 ที่มิได้ฎีกาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมจากการกู้ยืมระหว่างสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียน การแบ่งทรัพย์สินและผลกระทบต่อหนี้
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยาโดยไม่จดทะเบียนสมรส ระหว่างอยู่กินด้วยกันมีทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกันหลายรายการ ต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภริยากันต่อไป ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ครึ่งหนึ่ง จำเลยให้การไว้แล้วว่า โจทก์จำเลยกู้ยืมเงินจากนาง ย. และนางสาว อ. มาเพื่อใช้ปลูกบ้านซึ่งเป็นทรัพย์รายการหนึ่งที่ต้องแบ่ง หากโจทก์ประสงค์จะแบ่งทรัพย์ก็จะต้องนำหนี้รายนี้มาแบ่งรับผิดชอบด้วย คดีจึงมีประเด็นว่า โจทก์จะต้องร่วมแบ่งความรับผิดหนี้กู้ยืมนี้หรือไม่ โดยจำเลยไม่ต้องฟ้องแย้ง
หนี้เงินกู้ยืมที่จำเลยให้การว่า โจทก์จะต้องร่วมรับผิด ตามสัญญากู้จำเลยผู้เดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ แม้จะฟังว่ามีจริง โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ก็ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้จนกว่าหนี้นั้นจะได้รับชำระเสร็จสิ้นตามป.พ.พ. มาตรา 291 และแม้จะแบ่งความรับผิดชอบก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้จากโจทก์หรือจำเลยคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น โจทก์และจำเลยยังคงต้องรับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าวเป็นส่วนเท่า ๆ กันอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 296 เมื่อไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าหนี้ตามสัญญากู้เจ้าหนี้ได้เรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ หรือจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวไปแล้ว จำเลยจะขอให้โจทก์แบ่งความรับผิดในหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวในชั้นนี้ไม่ได้
หนี้เงินกู้ยืมที่จำเลยให้การว่า โจทก์จะต้องร่วมรับผิด ตามสัญญากู้จำเลยผู้เดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ แม้จะฟังว่ามีจริง โจทก์และจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ก็ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้จนกว่าหนี้นั้นจะได้รับชำระเสร็จสิ้นตามป.พ.พ. มาตรา 291 และแม้จะแบ่งความรับผิดชอบก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้จากโจทก์หรือจำเลยคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้น โจทก์และจำเลยยังคงต้องรับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าวเป็นส่วนเท่า ๆ กันอยู่ตาม ป.พ.พ. มาตรา 296 เมื่อไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าหนี้ตามสัญญากู้เจ้าหนี้ได้เรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ หรือจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวไปแล้ว จำเลยจะขอให้โจทก์แบ่งความรับผิดในหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวในชั้นนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 524/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแบ่งทรัพย์สินระหว่างสามีภรรยาที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส และความรับผิดในหนี้สินร่วม
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์จำเลยเป็นสามีภรรยาโดยไม่จดทะเบียนสมรสระหว่างอยู่กินด้วยกันมีทรัพย์ที่ทำมาหาได้ร่วมกันหลายรายการต่อมาโจทก์ไม่ประสงค์จะอยู่กินฉันสามีภรรยากันต่อไป ฟ้องขอแบ่งทรัพย์ครึ่งหนึ่ง จำเลยให้การไว้แล้วว่า โจทก์จำเลยกู้ยืมเงินจากนาง ย.และนางสาวอ. มาเพื่อใช้ปลูกบ้านซึ่งเป็นทรัพย์รายการหนึ่งที่ต้องแบ่ง หากโจทก์ประสงค์จะแบ่งทรัพย์ก็จะต้องนำหนี้รายนี้มาแบ่งรับผิดชอบด้วย คดีจึงมีประเด็นว่า โจทก์จะต้องร่วมแบ่งความรับผิดหนี้กู้ยืมนี้หรือไม่ โดยจำเลยไม่ต้องฟ้องแย้ง หนี้เงินกู้ยืมที่จำเลยให้การว่า โจทก์จะต้องร่วมรับผิดตามสัญญากู้จำเลยผู้เดียวลงลายมือชื่อเป็นผู้กู้ แม้จะฟังว่ามีจริงโจทก์และจำเลยซึ่งเป็นลูกหนี้ร่วมกัน ก็ต้องผูกพันต่อเจ้าหนี้จนกว่าหนี้นั้นจะได้รับชำระเสร็จสิ้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 291 และแม้จะแบ่งความรับผิดชอบก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงสิทธิของเจ้าหนี้ที่จะบังคับชำระหนี้จากโจทก์หรือจำเลยคนใดคนหนึ่ง หรือทั้งสองคนจนกว่าจะได้รับชำระหนี้เสร็จสิ้นโจทก์และจำเลยยังคงต้องรับผิดตามสัญญากู้ดังกล่าวเป็นส่วนเท่า ๆ กันอยู่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 296เมื่อไม่ปรากฏชัดแจ้งว่าหนี้ตามสัญญากู้เจ้าหนี้ได้เรียกร้องให้จำเลยรับผิดชำระหนี้ หรือจำเลยได้ชำระหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวไปแล้วจำเลยจะขอให้โจทก์แบ่งความรับผิดในหนี้ตามสัญญากู้ดังกล่าวในชั้นนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 518/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย ศาลและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจพิจารณาปรับลดหนี้ได้
การที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาของคดีอื่น คำพิพากษานั้นไม่ผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาล ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้สอบสวนและทำความเห็นเสนอต่อศาลว่าเจ้าหนี้ควรได้รับชำระหนี้น้อยกว่าหนี้ตามคำพิพากษาที่เจ้าหนี้ขอรับชำระ และศาลพิจารณาแล้วมีคำสั่งให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้ตามความเห็นของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าว จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายโดยชอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ. 2483 แล้ว เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาอุทธรณ์และฎีกาคำสั่งศาลในเรื่องคำขอรับชำระหนี้ต้องเสียค่าขึ้นศาล เพียงศาลละ 25 บาท เท่านั้น.