พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,029 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 517/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฎีกาไม่ตัดขาด แม้มีการสละสิทธิ คดีไม่ถึงที่สุดจนกว่าเวลาฎีกาสิ้นสุด
สิทธิในการฎีกาย่อมต้องเป็นไปตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายแม้โจทก์และจำเลยจะขอสละสิทธิในการฎีกา ก็หาได้มีผลเป็นการตัดสิทธิโจทก์และจำเลยไม่ให้ฎีกาโดยเด็ดขาดไม่ โจทก์และจำเลยยังคงมีสิทธิที่จะฎีกาได้ภายในเวลาที่กำหนดไว้ตามกฎหมาย คดีจึงยังไม่ถึงที่สุดในวันที่อ่านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่จำเลยขอให้ศาลออกหมายจำคุกคดีถึงที่สุดย้อนหลังไปในวันดังกล่าวจึงไม่อาจกระทำได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขอนับคะแนนใหม่ไม่ชอบด้วยกฎหมายการเลือกตั้งส.ส. ผู้ร้องไม่มีอำนาจฟ้อง
พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 78บัญญัติให้ผู้สมัครที่เห็นว่าการเลือกตั้ง หรือการที่บุคคลใดได้รับการเลือกตั้งเป็นไปโดยมิชอบ มีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านต่อศาลเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ได้แต่คำร้อง ของ ผู้ร้องอ้างเพียงว่า ผลการนับคะแนนที่ทางราชการประกาศ ไม่ตรงกับยอดการนับคะแนนของอำเภอทำให้ผู้ร้องได้คะแนนไม่ตรงกับความจริงและตามคำขอของผู้ร้องผู้ร้องประสงค์เพียงให้นับคะแนนใหม่และให้ถือผลการนับคะแนนใหม่เท่านั้น หาได้ร้องคัดค้านเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ไม่ จึงมิใช่คำร้องตามมาตรา 78 แห่ง พ.ร.บ. ดังกล่าว และไม่มีบทบัญญัติใดให้สิทธิผู้ร้องที่จะร้องคัดค้านขอให้มีการนับคะแนนใหม่ และถือเอาผลการนับคะแนนใหม่ได้ จึงมิใช่กรณีที่จะต้องใช้สิทธิทางศาล ตามพ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 78,79ประกอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 55 ผู้ร้องไม่มีอำนาจร้องคัดค้านการเลือกตั้งเป็นคดีนี้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการร้องคัดค้านการเลือกตั้ง: คำร้องนับคะแนนใหม่ไม่ใช่คำร้องคัดค้านการเลือกตั้ง
ตามคำขอของผู้ร้อง ผู้ร้องประสงค์เพียงให้นับคะแนน ใหม่และให้ถือผลการนับคะแนนใหม่เท่านั้น มิได้ ร้องคัดค้านเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ คำร้องของ ผู้ร้องจึงมิใช่คำร้องคัดค้านการเลือกตั้งดังที่บัญญัติไว้ ในมาตรา 78 แห่งพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 และไม่มีบทบัญญัติ ใดให้สิทธิแก่ผู้ร้องที่จะร้องคัดค้านขอให้มีการนับคะแนน ใหม่และถือเอาผลการนับคะแนนใหม่ได้คำร้องของผู้ร้องจึงไม่ใช่กรณีที่จะต้องใช้สิทธิ ทางศาลตามพระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 มาตรา 78,79 ประกอบด้วย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55 ผู้ร้อง ไม่มีอำนาจร้องคัดค้านการเลือกตั้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 508/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาเหตุผลอื่นประกอบข้อสันนิษฐานว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัว เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของผู้ถูกฟ้อง
การที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลายนั้นมิใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายแต่เพียงอย่างเดียว แต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นมาประกอบที่พอแสดงให้เห็นได้ว่า จำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงดังนี้ แม้โจทก์จะนำสืบได้ว่า จำเลยได้รับหนังสือทวงถามให้ชำระหนี้จากโจทก์แล้วรวม 2 ครั้ง มีระยะห่างกันไม่น้อยกว่า 30 วัน และจำเลยยังมิได้ชำระหนี้ก็ตาม แต่เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยยังมีทรัพย์สินที่สามารถจะชำระหนี้ให้โจทก์ได้ จึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัว ที่โจทก์ฎีกาว่า จำเลยยังมีหนี้สินกับโจทก์อีก 2,895,577.87บาท ซึ่งโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่งต่อศาลชั้นต้นในคดีหมายเลขดำที่ 8088/2535 และโจทก์ได้ฟ้องจำเลยเป็นคดีล้มละลายต่อศาลชั้นต้นเป็นอีกคดีหนึ่งในคดีหมายเลขดำที่ ล.1038/2533 ซึ่งรวมหนี้สินของจำเลยทั้งหมดเป็นเงินประมาณ 7,000,000 บาทเศษ โดยจำเลยยังไม่ได้ชำระหนี้ โจทก์มิได้นำสืบถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวไว้จึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 501/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่อการขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลาย การยื่นคำขอหลังกำหนด
บทบัญญัติในมาตรา 7 แห่ง พระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการพ.ศ. 2530 มิใช่บทยกเว้นหลักการในการขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย แต่เป็นบทบัญญัติถึงความสมบูรณ์แห่งสัญญาอนุญาโตตุลาการและการตั้งอนุญาโตตุลาการว่าไม่เสียไปแม้ภายหลังคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเท่านั้น ฉะนั้น แม้อนุญาโตตุลาการจะมีคำชี้ขาดให้จำเลยชำระหนี้แก่ผู้ร้อง ผู้ร้องก็จะยกมาเป็นเหตุอ้างขอรับชำระหนี้ภายใน 2 เดือน นับจากวันที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดโดยอนุโลมตาม พระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 93 หาได้ไม่ เพราะผู้ร้องไม่ใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้าว่าคดีที่ค้างพิจารณาแทนลูกหนี้และเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แพ้คดี เมื่อผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้หลังจากพ้นกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะไม่รับคำขอของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 501/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้จากคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการหลังพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ไม่สามารถอ้างมาตรา 93 พ.ร.บ.ล้มละลายได้
ผู้ที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดให้ชนะคดี มิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 93 ทั้งบทบัญญัติมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติอนุญาโตตุลาการ พ.ศ. 2530ก็มิใช่บทยกเว้นหลักการขอรับชำระหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย ฉะนั้นเมื่อผู้ร้องยื่นคำขอรับชำระหนี้หลังจากพ้นกำหนด 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดแล้วแม้จะยังไม่พ้นกำหนด2 เดือน นับแต่วันที่อนุญาโตตุลาการชี้ขาดก็ตามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ก็ชอบที่จะไม่รับคำขอรับชำระหนี้ของผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดหลังศาลสั่งยกเลิกการล้มละลาย – ข้อตกลงประนอมหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองเพื่อเป็นการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ ซึ่งศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบแล้วได้ แม้ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายและให้จำเลยมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตน เพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังต้องมีอำนาจหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อตกลงในการประนอมหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองหลังศาลเห็นชอบการประนอมหนี้
ในการขอประนอมหนี้ครั้งแรกซึ่งถูกศาลสั่งยกเลิกและพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย จำเลยขอชำระหนี้เป็นจำนวนร้อยละ 15 ของยอดหนี้ที่ไม่มีประกัน รวมทั้งหนี้มีประกันของผู้ร้องส่วนที่ยังขาดอยู่หลังจากบังคับจำนองทรัพย์อันเป็นหลักประกันแล้วด้วย ในการขอประนอมหนี้ครั้งหลังจำเลยยื่นคำขอประนอมหนี้โดยระบุว่าจำเลยจะยอมชำระหนี้ที่ศาลมีคำสั่งอนุญาตแล้วเป็นจำนวนร้อยละ 15 แม้ว่าในคำขอประนอมหนี้ครั้งหลังจำเลยจะมิได้ระบุ รายละเอียดเหมือนการประนอมหนี้ครั้งแรก แต่การประนอมหนี้ทั้งสองครั้งได้กระทำในคดีล้มละลายเรื่องเดียวกัน เมื่อพิจารณาคำขอประนอมหนี้ทั้งสองครั้งประกอบกันแล้ว เห็นได้ว่าจำเลยมีความประสงค์จะขอประนอมหนี้เฉพาะหนี้ที่ไม่มีประกันเป็นจำนวนร้อยละ 15 ของหนี้ทั้งหมดส่วนที่เป็นหนี้มีประกันจำเลยยินยอมให้เจ้าหนี้บังคับเอาแก่ทรัพย์อันเป็นหลักประกันก่อน หากยังขาดอยู่ จำเลยจึงขอชำระหนี้จำนวนร้อยละ 15 ของหนี้ส่วนที่ขาด เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจขายทอดตลาดทรัพย์อันเป็นประกันตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ซึ่งศาลมีคำสั่งเห็นชอบแล้วได้ การที่ศาลมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายเนื่องจากจำเลยขอประนอมหนี้ภายหลังล้มละลายสำเร็จ และศาลสั่งให้จำเลยมีอำนาจเกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของตนนั้น อำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายยังมิได้สิ้นสุดลงโดยสิ้นเชิงเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังมีหน้าที่ในการที่จะปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อตกลงในการประนอมหนี้อยู่ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 486/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองหลังการประนอมหนี้และการล้มละลาย
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินจำนองเพื่อเป็นการบังคับเอาแก่ทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันตามข้อตกลงในการประนอมหนี้ ซึ่งศาลได้มีคำสั่งเห็นชอบแล้วได้ แม้ศาลจะมีคำสั่งยกเลิกการล้มละลายและให้จำเลยมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนเพราะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังต้องมีอำนาจหน้าที่ที่ต้องปฏิบัติการให้เป็นไปตามข้อตกลงในการประนอมหนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 482/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความบังคับคดีและการฟ้องล้มละลาย: การดำเนินการบังคับคดีต้องครบถ้วนก่อนฟ้อง
แม้มูลหนี้ที่โจทก์ฟ้องเดิมจะมาจากการใช้สิทธิเรียกร้องในการติดตามเอาทรัพย์คืนจากจำเลยก็ตาม แต่เมื่อศาลอาญาพิพากษาให้จำเลยคืนหรือใช้ราคาทรัพย์แล้ว การบังคับคดีก็จะต้องปฏิบัติตาม ป.วิ.พ.ว่าด้วยการบังคับคดี โจทก์จึงอ้างสิทธิเรียกร้องในการติดตามเอาทรัพย์คืน ซึ่งไม่มีอายุความมาใช้หาได้ไม่แต่เป็นกรณีที่โจทก์ต้องดำเนินการบังคับคดีภายในกำหนด 10 ปี ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 การที่โจทก์ขอศาลออกหมายบังคับคดีภายในสิบปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาโดยมิได้มีการดำเนินการบังคับคดีตามขั้นตอนให้ครบถ้วนจนถึงขณะที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ พ้นกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา จึงหมดสิทธิบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ตามคำพิพากษา จึงต้องพิจารณาเอาความจริงตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 9 หรือมาตรา 10 ดังที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 14 เมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยทั้งสองชำระหนี้ตามคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาโจทก์ก็ไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยให้ล้มละลายในมูลหนี้เดียวกันอีก.