คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
บุญส่ง วรรณกลาง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,029 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4582/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เพิกถอนจำนองในคดีล้มละลาย: การกระทำอันไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องอ้างว่าจำเลยเป็นเจ้าของที่ดินแต่ใส่ชื่อ น. เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์แทน ต่อมามีการจดทะเบียนจำนองแก่ผู้คัดค้านในระหว่างระยะเวลา 3 ปี ก่อนมีการขอให้ล้มละลาย โดยไม่สุจริตและไม่มีค่าตอบแทน ขอให้ศาลสั่งเพิกถอนการจำนอง เป็นการกล่าวอ้างว่าการที่มีชื่อ น.ในโฉนดเป็นเพียงการถือกรรมสิทธิ์แทนจำเลยเท่านั้น มิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยได้โอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินให้แก่ น. โดยรู้อยู่ว่าจะเป็นทางให้เจ้าหนี้เสียเปรียบอันผู้ร้องจะต้องร้องขอเพิกถอนการฉ้อฉลระหว่างจำเลยกับ น. ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 113 ผู้ร้องจึงร้องขอให้เพิกถอนการจำนองได้โดยตรง
แม้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องจะเคยมีความเห็นว่าผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินไว้โดยสุจริตและมีค่าตอบแทนจึงไม่เพิกถอนการจำนองก็ตาม แต่เมื่อได้มีการสั่งให้สอบสวนถึงข้อเท็จจริงในเรื่องนี้อีกครั้งแล้ว ผู้ร้องจึงยื่นคำร้องขอเพิกถอนการจำนองต่อศาลได้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 114เพราะอำนาจในการร้องขอให้เพิกถอนไม่อาจสละได้
ผู้คัดค้านรับจำนองที่ดินพิพาทไว้โดยไม่มีค่าตอบแทน จึงฟังได้ว่า ผู้คัดค้านรับจำนองไว้โดยไม่สุจริตไปด้วย แม้ผู้คัดค้านได้ฟ้องบังคับจำนองในระหว่างที่คดีล้มละลายอยู่ในชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้ร้องสอบสวนเพื่อพิจารณาร้องขอเพิกถอนการจำนองที่ดินพิพาท และผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อได้จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลก็ตาม ก็ไม่ทำให้ผู้คัดค้านกลายเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดไปโดยสุจริต เมื่อผู้คัดค้านเพิ่งฟ้องบังคับจำนองหลังจากที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาด จึงถือไม่ได้ว่าการบังคับคดีที่ผู้คัดค้านฟ้องบังคับจำนองนั้นได้สำเร็จบริบูรณ์แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ การบังคับคดีและการที่ผู้คัดค้านเป็นผู้ซื้อทรัพย์ได้ จึงใช้ยันแก่ผู้ร้องไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4537/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารในสำนวนคดีล้มละลาย: การเปิดเผยเอกสารและอำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
สำนวนการสอบสวนของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย เอกสารใน สำนวนการสอบสวนดังกล่าวถือได้ว่าเป็นเอกสารในสำนวนคดีเรื่องอื่น ผู้ร้องสามารถตรวจตราให้ทราบได้โดยง่ายถึงความมีอยู่และความแท้จริงแห่งเอกสารนั้นกรณีเข้าข้อยกเว้น ที่ผู้คัดค้านไม่ต้องส่งสำเนาให้ผู้ร้องก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่าสามวันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 90(1) ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดสิทธิฎีกาในประเด็นข้อเท็จจริง: การโต้แย้งดุลพินิจศาลในการลงโทษ
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี โจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218วรรคสอง ที่โจทก์ร่วมฎีกาว่า การรับสารภาพของจำเลยเป็นการจำนนต่อพยานหลักฐานของโจทก์ ไม่มีเหตุบรรเทาโทษตาม ป.อ. มาตรา 78 นั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาล จึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมฎีกาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4469/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการบรรเทาโทษตามมาตรา 78 และข้อจำกัดในการฎีกาของโจทก์ร่วม
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างและให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี โจทก์จึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง ที่โจทก์ร่วมฎีกาว่า การรับสารภาพของจำเลยเป็นการจำนนต่อพยานหลักฐานของโจทก์ ไม่มีเหตุบรรเทาโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 78 นั้นเป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการลงโทษของศาล จึงเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามมิให้โจทก์ร่วมฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระบัญชีห้างหุ้นส่วน, หนี้ส่วนแบ่งกำไร, และความรับผิดของหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิด
การที่บัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นนั้น จัดทำขึ้นจากหลักฐานไม่ตรงกับความเป็นจริง แม้เมื่อผู้ชำระบัญชีจัดทำบัญชีเสร็จ เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้โต้แย้งบัญชีดังกล่าวต่อศาลและเมื่อผู้ชำระบัญชีขอให้ห้างฯ ล้มละลาย ลูกหนี้ก็มิได้คัดค้านว่าห้างฯมีกำไร ทั้งยังร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ ร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามห้างฯ ก็ตาม แต่เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้รับรองบัญชีดังกล่าว คงมีแต่ผู้ชำระบัญชีและผู้สอบบัญชีฝ่ายลูกหนี้ลงชื่อรับรอง การที่เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้รับรองบัญชีดังกล่าวย่อมไม่เป็นการตัดสิทธิเจ้าหนี้ทั้งสองที่จะกล่าวอ้างในคดีนี้ว่าบัญชีที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นไม่ถูกต้อง และในคดีที่ผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ห้างฯ ล้มละลายนั้น พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 88 วรรคสอง บัญญัติว่าเมื่อผู้ชำระบัญชีมีคำร้องขอ ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดทันที เจ้าหนี้ทั้งสองจึงไม่มีโอกาสคัดค้าน ส่วนที่เจ้าหนี้ไปร่วมกับเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามห้างฯ ก็ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยชอบเพื่อเยียวยาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ห้างฯ มีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งสอง จะถือว่าเป็นการยอมรับบัญชีที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นแล้วมิได้
ห้างฯ มีกำไรสุทธิในวันเลิกห้างฯ 7,813,932.48 บาท เจ้าหนี้ทั้งสองมีหุ้นรวมกันร้อยละ 30 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเงินปันผลกำไรของห้างฯ เป็นเงิน2,344,179.74 บาท ส่วนแบ่งเงินปันผลกำไรดังกล่าวเป็นเงินที่เจ้าหนี้ทั้งสองมีสิทธิได้รับจากห้างฯ เมื่อปรากฏว่าห้างฯ ไม่อาจชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ทั้งสองได้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างฯ โดยไม่จำกัดจำนวน ย่อมต้องร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้ทั้งสอง เจ้าหนี้ทั้งสองมีสิทธิขอรับชำระหนี้เงินจำนวนดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้
การชำระบัญชีอันเป็นมูลเหตุให้เกิดหนี้ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในชั้นชำระบัญชีที่เจ้าหนี้ทั้งสองขอรับชำระหนี้ เกิดขึ้นจากข้อตกลงของเจ้าหนี้ทั้งสองและลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่าย ทั้งสองฝ่ายย่อมต้องรับผิดชอบในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวร่วมกัน
สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการเลิกห้างมีข้อความว่ากิจการ ทรัพย์สินและโรงน้ำแข็งของห้าง ให้ประมูลขายทอดตลาดนำเงินมอบแก่ผู้ชำระบัญชีเพื่อจัดการตามส่วน แต่ต่อมามีคำพิพากษาฎีกาคดีระหว่างเจ้าหนี้ร่วม โจทก์ และผู้ชำระบัญชีกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ จำเลย ให้ผู้ชำระบัญชีและเจ้าพนักงาน-พิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ รับเงิน 50,000 บาท จากเจ้าหนี้ร่วม แล้วให้จดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1089 อันเป็นทรัพย์สินของห้างฯ คืนให้แก่เจ้าหนี้ร่วมโดยปลอดจากการจำนอง หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผู้ชำระบัญชีของห้างฯ ไม่มีเงินจากกองทรัพย์สินของห้างฯ พอที่จะทำการไถ่ถอนจำนอง ให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯรับผิดในหนี้ของห้างฯ ลูกหนี้จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4260/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้จากกองทรัพย์สินลูกหนี้ในคดีล้มละลาย รวมถึงการรับผิดในหนี้ของห้างฯ และการชำระหนี้ค่าธรรมเนียม
การที่บัญชีกำไรขาดทุนที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นนั้น จัดทำขึ้นจากหลักฐานไม่ตรงกับความเป็นจริง แม้เมื่อผู้ชำระบัญชีจัดทำบัญชีเสร็จ เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้โต้แย้งบัญชีดังกล่าวต่อศาลและเมื่อผู้ชำระบัญชีขอให้ห้างฯ ล้มละลาย ลูกหนี้ก็มิได้คัดค้านว่าห้างฯ มีกำไร ทั้งยังร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ ร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามห้างฯ ก็ตาม แต่เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้รับรองบัญชีดังกล่าว คงมีแต่ผู้ชำระบัญชีและผู้สอบบัญชีฝ่ายลูกหนี้ลงชื่อรับรอง การที่เจ้าหนี้ทั้งสองมิได้รับรองบัญชีดังกล่าวย่อมไม่เป็นการตัดสิทธิเจ้าหนี้ทั้งสองที่จะกล่าวอ้างในคดีนี้ว่าบัญชีที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นไม่ถูกต้องและในคดีที่ผู้ชำระบัญชีร้องขอให้ห้างฯ ล้มละลายนั้นพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 88 วรรคสอง บัญญัติว่าเมื่อผู้ชำระบัญชีมีคำร้องขอ ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดทันทีเจ้าหนี้ทั้งสองจึงไม่มีโอกาสคัดค้าน ส่วนที่เจ้าหนี้ไปร่วมกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ร้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายตามห้างฯ ก็ถือได้ว่าเป็นการใช้สิทธิโดยชอบเพื่อเยียวยาความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นในกรณีที่ห้างฯ มีทรัพย์สินไม่พอชำระหนี้แก่เจ้าหนี้ทั้งสอง จะถือว่าเป็นการยอมรับบัญชีที่ผู้ชำระบัญชีจัดทำขึ้นแล้วมิได้ ห้างฯ มีกำไรสุทธิในวันเลิกห้างฯ 7,813,932.48 บาทเจ้าหนี้ทั้งสองมีหุ้นรวมกันร้อยละ 30 มีสิทธิได้รับส่วนแบ่งเงินปันผลกำไรของห้างฯ เป็นเงิน 2,344,179.74 บาท ส่วนแบ่งเงินปันผลกำไรดังกล่าวเป็นเงินที่เจ้าหนี้ทั้งสองมีสิทธิได้รับจากห้างฯเมื่อปรากฏว่าห้างฯ ไม่อาจชำระเงินจำนวนดังกล่าวแก่เจ้าหนี้ทั้งสองได้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนไม่จำกัดความรับผิดซึ่งต้องร่วมรับผิดในหนี้ของห้างฯ โดยไม่จำกัดจำนวน ย่อมต้องร่วมรับผิดต่อเจ้าหนี้ทั้งสอง เจ้าหนี้ทั้งสองมีสิทธิขอรับชำระหนี้เงินจำนวนดังกล่าวจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ได้ การชำระบัญชีอันเป็นมูลเหตุให้เกิดหนี้ค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายในชั้นชำระบัญชีที่เจ้าหนี้ทั้งสองขอรับชำระหนี้เกิดขึ้นจากข้อตกลงของเจ้าหนี้ทั้งสองและลูกหนี้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีแพ่งของศาลชั้นต้น เพื่อประโยชน์ของทั้งสองฝ่ายทั้งสองฝ่ายย่อมต้องรับผิดชอบในค่าธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายดังกล่าวร่วมกัน สัญญาประนีประนอมยอมความเกี่ยวกับการเลิกห้างมีข้อความว่ากิจการ ทรัพย์สินและโรงน้ำแข็งของห้าง ให้ประมูลขายทอดตลาดนำเงินมอบแก่ผู้ชำระบัญชีเพื่อจัดการตามส่วน แต่ต่อมามีคำพิพากษาฎีกาคดีระหว่างเจ้าหนี้ร่วม โจทก์ และผู้ชำระบัญชีกับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ จำเลย ให้ผู้ชำระบัญชีและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของห้างฯ รับเงิน 50,000 บาท จากเจ้าหนี้ร่วม แล้วให้จดทะเบียนโอนที่ดินโฉนดเลขที่ 1089 อันเป็นทรัพย์สินของห้างฯ คืนให้แก่เจ้าหนี้ร่วมโดยปลอดจากการจำนองหากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผู้ชำระบัญชีของห้างฯ ไม่มีเงินจากกองทรัพย์สินของห้างฯ พอที่จะทำการไถ่ถอนจำนอง ให้ลูกหนี้ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของห้างฯ รับผิดในหนี้ของห้างฯ ลูกหนี้จึงต้องผูกพันตามคำพิพากษาฎีกาดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4259/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประชุมเจ้าหนี้ล้มละลาย: อำนาจสถานที่, การออกเสียง, และผลผูกพันคำสั่งศาล
การประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเป็นกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายชั้นเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 31 มิได้บังคับว่า เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะต้องจัดประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกภายในเขตศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลายนั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองจัดการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกที่ราชตฤณมัยสมาคม โดยคำนึงถึงความสะดวกของเจ้าหนี้ผู้เข้าร่วมประชุมซึ่งมีจำนวนหลายพันคนเป็นสำคัญ มิได้มีเจตนากลั่นแกล้งจำเลยทั้งสอง การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองจัดให้มีการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกนอกเขตศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีล้มละลายคดีนี้ จึงกระทำได้โดยชอบ ในวันประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก การที่เจ้าหนี้บางรายกลับไปก่อนโดยไม่ร่วมพิจารณาคำขอประนอมหนี้ก็เป็นสิทธิเฉพาะตัวของเจ้าหนี้เพราะไม่มีกฎหมายบังคับว่าเจ้าหนี้ต้องอยู่ร่วมด้วยทุกคนเสมอไป ก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยทั้งสองไว้เด็ดขาด ศาลชั้นต้นพิจารณาพยานหลักฐานแล้วเห็นว่าจำเลยทั้งสองเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว คำสั่งดังกล่าวย่อมผูกพันจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองไม่อาจอ้างว่าตนไม่ใช่ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวต่อที่ประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกเพื่อขอให้ศาลรอการพิพากษาให้จำเลยทั้งสองล้มละลายไว้ก่อนได้อีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4156/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิอุทธรณ์แทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์: คำสั่งศาลชั้นต้นปฏิเสธการส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์เป็นที่สุด
คำร้องขอใช้สิทธิอุทธรณ์แทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ยื่นมาพร้อมอุทธรณ์ แม้แยกต่างหากจากอุทธรณ์ก็ถือเป็นเพียงคำร้องแสดงเหตุประกอบการยื่นอุทธรณ์เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องว่ารวมสั่งในอุทธรณ์ และมีคำสั่งในอุทธรณ์ว่าไม่รับอุทธรณ์จึงเป็นคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 230 วรรคสี่ และมาตรา 232ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153เมื่อผู้ขอใช้สิทธิอุทธรณ์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้อง ดังนี้ เป็นคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 236 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4156/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปฏิเสธการส่งอุทธรณ์ในคดีล้มละลาย: คำร้องอุทธรณ์แทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และผลกระทบต่อคำสั่งศาล
คำร้องขอใช้สิทธิอุทธรณ์แทนเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่ยื่นมาพร้อมอุทธรณ์ แม้แยกต่างหากจากอุทธรณ์ก็ถือเป็นเพียงคำร้องแสดงเหตุประกอบการยื่นอุทธรณ์เท่านั้น เมื่อศาลชั้นต้นสั่งในคำร้องว่ารวมสั่งในอุทธรณ์ และมีคำสั่งในอุทธรณ์ว่าไม่รับอุทธรณ์ จึงเป็นคำสั่งปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ตามป.วิ.พ. มาตรา 230 วรรคสี่ และมาตรา 232 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 มาตรา 153 เมื่อผู้ขอใช้สิทธิอุทธรณ์ยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าว และศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ยกคำร้อง ดังนี้ เป็นคำสั่งยืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ปฏิเสธไม่ส่งอุทธรณ์ไปยังศาลอุทธรณ์ คำสั่งของศาลอุทธรณ์ย่อมเป็นที่สุดตาม ป.วิ.พ.มาตรา 236 ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4155/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจการเพิกถอนการโอนทรัพย์ในคดีล้มละลาย: เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจเฉพาะ
การยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการโอนทรัพย์สินหรือการกระทำใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 114,115 นั้นเป็นอำนาจโดยเฉพาะของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เมื่อโจทก์หรือเจ้าหนี้ยื่นคำร้องต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอให้ดำเนินการเพิกถอนการโอนทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 114,115แต่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์สั่งยกคำร้อง โจทก์หรือเจ้าหนี้ชอบที่จะยื่นคำร้องต่อศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย มาตรา 146 ได้ แต่ไม่มีอำนาจที่จะยื่นคำร้องต่อศาลโดยตรง เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนการโอนทรัพย์สินรายนี้
of 103