พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,029 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3954/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง และสิทธิไล่เบี้ยของนายจ้างต่อลูกจ้างผู้กระทำละเมิด
แม้โจทก์กับจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วยกันในคดีก่อนก็ต้องถือว่าโจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลในคดีก่อน คำพิพากษาในคดีก่อนจึงมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 1คดีนี้ด้วย ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 วรรคแรก ในคดีก่อนจำเลยที่ 1 ถูกฟ้องเป็นจำเลยด้วย จำเลยที่ 1สามารถต่อสู้คดีได้เต็มที่ รวมทั้งยื่นคำร้องขอให้ศาลหมายเรียก อ.เข้าเป็นจำเลยร่วม และเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษาแล้ว จำเลยที่ 1ก็มีสิทธิยื่นฎีกาได้ การที่โจทก์ไม่ขอให้ศาลหมายเรียก อ.เข้ามาเป็นจำเลยร่วมและไม่ฎีกาก็เป็นสิทธิของโจทก์ เมื่อจำเลยที่ 1ไม่ขอให้ศาลหมายเรียก อ. เข้ามาเป็นจำเลยร่วมและยื่นฎีกาเองทั้ง ๆ ที่ตนมีสิทธิกระทำได้ จะถือว่าโจทก์กระทำโดยไม่ชอบหาได้ไม่ จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อ พ. และการกระทำดังกล่าวเป็นการกระทำตามหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นผู้แทนของโจทก์ซึ่งเป็นนิติบุคคล โจทก์จึงต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเพื่อความเสียหายนั้น แต่โจทก์มีสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยที่ 1 ได้เมื่อโจทก์ได้ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ผู้ที่ได้รับความเสียหายไปแล้ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3950/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เหตุสุดวิสัยในการขับรถ ชนกันเนื่องจากจักรยานยนต์ตัดหน้า จำเลยที่ 1 ไม่ประมาท
แม้จำเลยที่ 1 จะขับรถยนต์ด้วยความเร็วสูง แต่ทางพิจารณาก็ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ขับรถยนต์ด้วยความเร็วเกินกว่าอัตราที่กฎหมายกำหนด ประกอบกับมีรอยห้ามล้อของรถยนต์ก่อนถึงจุดชนเป็นระยะทางประมาณ 6 เมตร ย่อมแสดงว่าจำเลยที่ 1 ได้พยายามหยุดรถยนต์เพื่อหลีกเลี่ยงมิให้เกิดการชนกันขึ้น แต่สาเหตุที่หลีกเลี่ยงไม่พ้นก็เนื่องจากจำเลยที่ 2 ได้ขับรถจักรยานยนต์เลี้ยวตัดหน้ารถยนต์ที่จำเลยที่ 1 ขับในระยะกระชั้นชิดจนเหลือวิสัยที่จำเลยที่ 1จะหยุดรถได้ทัน กรณีจึงเป็นเหตุสุดวิสัยที่บุคคลในภาวะเช่นจำเลยที่ 1 ไม่อาจหลีกเลี่ยงให้พ้นได้ การที่รถทั้งสองคันเกิดชนกันจึงหาได้เกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3946/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจพนักงานสอบสวน-การฟ้องคดีอาญา-การถอนคำร้องทุกข์-ไม่เป็นละเมิด
การสอบสวนคดีเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนที่จะสืบหาพยานหลักฐานมาประกอบในการดำเนินคดีตามที่ได้รับแจ้ง และเป็นดุลพินิจของพนักงานสอบสวนที่จะเรียกบุคคลใดมาเป็นพยานหรือหมายเรียกเอกสารที่เกี่ยวข้องมาเป็นพยาน การที่จำเลยซึ่งเป็นพนักงานสอบสวนเชื่อคำให้การของผู้เสียหายและไม่สืบสวนสอบสวนพยานหลักฐานอื่นอีก เป็นดุลพินิจของจำเลย เมื่อพนักงานอัยการฟ้องโจทก์ต่อศาลแล้ว แม้ผู้เสียหายจะถอนคำร้องทุกข์ ก็มิได้หมายความว่าคดีที่โจทก์ถูกฟ้องไม่มีมูลความผิด การกระทำของจำเลยจึงไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การมอบอำนาจฟ้องคดีล้มละลายครอบคลุมการขอรับชำระหนี้ หากละเลยการดำเนินการตามกำหนด เจ้าหนี้ใช้สิทธิไม่สุจริต
หนังสือมอบอำนาจมีข้อความว่า เจ้าหนี้มอบอำนาจให้ ม. มีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องหรือดำเนินการตามกฎหมายทั้งปวง รวมทั้งดำเนินคดีล้มละลายเจ้าหนี้ไม่ได้เจาะจงให้ ม. ดำเนินคดีเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นการเฉพาะแทน ใบมอบอำนาจเป็นการตั้งตัวแทนเฉพาะการเพื่อให้ฟ้องคดีหาใช่เป็นการตั้งตัวแทนเฉพาะการเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีเรื่องหนึ่งเรื่องใดเป็นการเฉพาะไม่ ส่วนคำว่าให้มีอำนาจดำเนินคดีล้มละลายได้นั้น ก็ไม่ได้เจาะจงว่าคดีล้มละลายเรื่องใด ย่อมหมายถึงคดีล้มละลายทุกคดีที่เกี่ยวกับเจ้าหนี้ ไม่ว่าเจ้าหนี้จะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ ม. ก็มีอำนาจดำเนินการแทนได้และการดำเนินคดีล้มละลายนั้นหมายความรวมถึงการขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย เมื่อ ม. เป็นตัวแทนเจ้าหนี้ในการดำเนินคดีล้มละลาย แต่ ม. กลับละเลยมิได้ขอรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้จนพ้นกำหนดสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แล้วจึงให้เจ้าหนี้มอบอำนาจใหม่ให้บุคคลอื่นมาขอรับชำระหนี้แทน และขอขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ นับว่าเจ้าหนี้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่สมควรที่จะขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้ แม้เจ้าหนี้จะอยู่นอกราชอาณาจักรก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3940/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจตัวแทนฟ้องคดีล้มละลายและการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต
เจ้าหนี้มอบอำนาจให้ ม. มีอำนาจดำเนินการฟ้องร้องหรือดำเนินการตามกฎหมายทั้งปวง รวมทั้งดำเนินคดีล้มละลาย ถือได้ว่าเป็นการตั้งตัวแทนเฉพาะการเพื่อให้ฟ้องคดี หาใช่เป็นการตั้งตัวแทนเฉพาะการเพื่อฟ้องร้องดำเนินคดีเรื่องหนึ่งเรื่องใดโดยเฉพาะ คำว่าให้มีอำนาจดำเนินคดีล้มละลายได้นั้นก็ย่อมหมายถึงคดีล้มละลายทุกคดีที่เกี่ยวกับเจ้าหนี้ ไม่ว่าเจ้าหนี้จะเป็นเจ้าหนี้หรือลูกหนี้ และการดำเนินคดีล้มละลายหมายความรวมถึงการขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ด้วย
การที่เจ้าหนี้มีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักร ตั้ง ม. เป็นตัวแทนมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีล้มละลายได้ แต่ ม. ละเลยมิได้ขอรับชำระหนี้ในคดีนี้แทนเจ้าหนี้จนพ้นกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แล้วจึงให้เจ้าหนี้มอบอำนาจใหม่ให้บุคคลอื่นมายื่นคำขอรับชำระหนี้แทนโดยขอขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ นับได้ว่าเจ้าหนี้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่สมควรขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้
การที่เจ้าหนี้มีภูมิลำเนาอยู่นอกราชอาณาจักร ตั้ง ม. เป็นตัวแทนมีอำนาจฟ้องและดำเนินคดีล้มละลายได้ แต่ ม. ละเลยมิได้ขอรับชำระหนี้ในคดีนี้แทนเจ้าหนี้จนพ้นกำหนดเวลา 2 เดือน นับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แล้วจึงให้เจ้าหนี้มอบอำนาจใหม่ให้บุคคลอื่นมายื่นคำขอรับชำระหนี้แทนโดยขอขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ นับได้ว่าเจ้าหนี้ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตไม่สมควรขยายกำหนดเวลาขอรับชำระหนี้ให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3936/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์บ้านพิพาทในคดีล้มละลาย: ผลผูกพันคำวินิจฉัยเดิม และอำนาจฟ้อง
ในคดีก่อน ผู้ร้องทั้งสี่ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้คัดค้านดำเนินการโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งสี่ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านพิพาทแต่คดีนี้ผู้ร้องทั้งสี่ยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านถอนการยึดบ้านพิพาทโดยกล่าวอ้างว่า บ้านพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องทั้งสี่ตามสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านพิพาทก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1 คำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ทั้งสองคดีมิได้มีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกัน คำร้องขอของผู้ร้องทั้งสี่ในคดีนี้ จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลอันเกี่ยวกับคดีที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153แต่ที่ผู้ร้องทั้งสี่กับผู้คัดค้านเป็นคู่ความเดียวกันในคดีก่อนและทั้งสองคดีก็พิพาทกันในมูลกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทเดียวกัน การที่ผู้ร้องทั้งสี่ยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านโอนบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งสี่ตามสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านในคดีก่อน เท่ากับยอมรับว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ยกคำร้องในส่วนนี้ และผู้ร้องทั้งสี่มิได้อุทธรณ์ คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในคดีก่อนจึงผูกพันผู้ร้องทั้งสี่และผู้คัดค้าน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 ศาลในคดีนี้จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ของผู้ร้องทั้งสี่ ผู้ร้องทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ผู้คัดค้านเพิกถอนการยึดได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้อง ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3936/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในบ้านพิพาท: ผลผูกพันคำวินิจฉัยศาลเดิมและอำนาจฟ้อง
ในคดีก่อน ผู้ร้องทั้งสี่ยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ผู้คัดค้านดำเนินการโอนที่ดินและบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งสี่ตามสัญญาจะซื้อจะขายที่ดิน และสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านพิพาท แต่คดีนี้ผู้ร้องทั้งสี่ยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านถอนการยึดบ้านพิพาทโดยกล่าวอ้างว่า บ้านพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องทั้งสี่ตามสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านพิพาทก่อนที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 1คำร้องของผู้ร้องทั้งสี่ทั้งสองคดีมิได้มีประเด็นข้อพิพาทอย่างเดียวกัน คำร้องขอของผู้ร้องทั้งสี่ในคดีนี้ จึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลอันเกี่ยวกับคดีที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้ว ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 144 ประกอบด้วย พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 แต่ที่ผู้ร้องทั้งสี่กับผู้คัดค้านเป็นคู่ความเดียวกันในคดีก่อนและทั้งสองคดีก็พิพาทกันในมูลกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทเดียวกัน การที่ผู้ร้องทั้งสี่ยื่นคำร้องขอให้ผู้คัดค้านโอนบ้านพิพาทให้แก่ผู้ร้องทั้งสี่ตามสัญญาว่าจ้างปลูกสร้างบ้านในคดีก่อน เท่ากับยอมรับว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 เมื่อศาลชั้นต้นวินิจฉัยให้ยกคำร้องในส่วนนี้ และผู้ร้องทั้งสี่มิได้อุทธรณ์ คำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นในคดีก่อนจึงผูกพันผู้ร้องทั้งสี่และผู้คัดค้าน ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 145ประกอบ พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 153 ศาลในคดีนี้จึงต้องฟังข้อเท็จจริงว่าบ้านพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่ของผู้ร้องทั้งสี่ ผู้ร้องทั้งสี่จึงไม่มีสิทธิร้องขอให้ผู้คัดค้านเพิกถอนการยึดได้ ปัญหาดังกล่าวเป็นเรื่องอำนาจฟ้องศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยเองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3885/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งการขายทอดตลาดโดยผู้เยาว์ทำให้การแจ้งไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการขายทอดตลาดเป็นโมฆะ
การส่งประกาศขายทอดตลาดโดยทางไปรษณีย์ตอบรับหากผู้รับประกาศขายทอดตลาดมีอายุ 17-18 ปี การส่งเอกสาร ดังกล่าวก็ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 73 ทวิ,76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3885/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การส่งประกาศขายทอดตลาดทางไปรษณีย์ถึงผู้เยาว์ (อายุ 17-18 ปี) ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การส่งประกาศขายทอดตลาดโดยทางไปรษณีย์ตอบรับ หากผู้รับประกาศขายทอดตลาดมีอายุ 17 - 18 ปี การส่งเอกสารดังกล่าวก็ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 73 ทวิ, 76
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3764/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีล้มละลาย: ทรัพย์สินมากกว่าหนี้ ไม่เข้าข่ายล้มละลาย
คดีที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยเป็นบุคคลล้มละลายนั้น ประเด็นสำคัญแห่งคดีมีอยู่ว่า จำเลยซึ่งถูกฟ้องขอให้ล้มละลายเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวซึ่งมีกำหนดจำนวนหนี้สินแน่นอนเกินกว่าห้าหมื่นบาทหรือไม่ คดีนี้ศาลล่างทั้งสองพิพากษาต้องกันว่าจำเลยมีทรัพย์สินมากกว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้อง ยังไม่มีเหตุสมควรให้จำเลยล้มละลายและพิพากษายกฟ้อง ดังนี้เมื่อจำเลยนำสืบฟังได้ว่า จำเลยมีทรัพย์สินรวมกันมีมูลค่าสูงกว่าหนี้ที่โจทก์นำมาฟ้อง ปัญหาว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์ตามฟ้องจริงหรือไม่ จึงไม่ใช่ประเด็นที่จะต้องชี้ขาดในชั้นนี้ ดังนั้นการที่จะวินิจฉัยว่าจำเลยไม่ได้เป็นหนี้โจทก์ดังที่จำเลยฎีกามานั้น ก็หาทำให้ผลแห่งคำพิพากษาคดีนี้เปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใดไม่ ฎีกาของจำเลยจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย