พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,029 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3584/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ผู้ได้รับชำระหนี้มีสิทธิขอให้ยกเลิกการล้มละลายได้ตามกฎหมาย
ผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้ที่ศาลสั่งอนุญาตให้ได้รับชำระหนี้แล้วก็มีสิทธิขอให้ศาลสั่งยกเลิกการล้มละลายได้ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 135
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลายต้องดำเนินการโดยเร็ว แม้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ยังไม่สิ้นสุด ศาลต้องพิพากษาล้มละลายตามมติเจ้าหนี้
พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 13 และ 153 กำหนดให้การดำเนินกระบวนการพิจารณาคดีล้มละลายต้องดำเนินเป็นการด่วนดังนั้นหลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดและจ.พ.ท. รายงานว่า เจ้าหนี้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายแล้ว แม้คำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดจะยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม ศาลชั้นต้นก็ต้องพิพากษาให้จำเลยล้มละลายตามความในมาตรา 61 ทันที คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเป็นคำสั่งชี้ขาดคดีมีผลเป็นคำพิพากษาตามความในมาตรา 6 ดังนั้น คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รอการพิพากษาให้จำเลยล้มละลายไว้จนกว่าศาลฎีกาจะได้ชี้ขาดตัดสินเรื่องที่จำเลยฎีกาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงเป็นคำสั่งหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งระหว่างพิจารณาและไม่ต้องห้ามอุทธรณ์คำสั่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลาย ศาลต้องพิพากษาเมื่อเจ้าหนี้ลงมติ แม้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ยังไม่ถึงที่สุด คำสั่งรอการพิพากษาไม่ใช่คำสั่งระหว่างพิจารณา
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลาย กฎหมายกำหนดให้ต้องดำเนินเป็นการด่วนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 13และ 153 เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์รายงานศาลว่าเจ้าหนี้ได้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรก ขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลาย ศาลก็ต้องพิพากษาให้จำเลยล้มละลายตาม มาตรา 61 ทันทีแม้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดจะยังไม่ถึงที่สุดก็ตาม คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเป็นคำสั่งชี้ขาดคดีมีผลเป็นคำพิพากษาตามความในมาตรา 6 คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้รอการพิพากษาให้จำเลยล้มละลายไว้จนกว่าศาลฎีกาจะได้ชี้ขาดตัดสินเรื่องที่จำเลยฎีกาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด เป็นคำสั่งหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว จึงมิใช่คำสั่งในระหว่างพิจารณาและไม่ต้องห้ามอุทธรณ์ทันที
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3582/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีล้มละลายต้องดำเนินการโดยเร็ว แม้คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ยังไม่ถึงที่สุด ศาลต้องพิพากษาให้ล้มละลายตามกฎหมาย
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีล้มละลายกฎหมายกำหนดให้ต้องดำเนินเป็นการด่วน ดังนั้น หลังจากที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดและเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ รายงานว่าเจ้าหนี้ได้ลงมติในการประชุมเจ้าหนี้ครั้งแรกขอให้ศาลพิพากษาให้จำเลยล้มละลายแล้ว แม้คำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดจะยังไม่ถึงที่สุดก็ตามศาลชั้นต้นก็ต้องพิพากษาให้จำเลยล้มละลายตามความในพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 61 ทันที คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยเด็ดขาดเป็นคำสั่งชี้ขาดคดีมีผลเป็นคำพิพากษาตามความในพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 6 ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้รอการพิพากษาให้จำเลยล้มละลายไว้จนกว่าศาลฎีกาจะได้ชี้ขาดตัดสินเรื่องทีจำเลยฎีกาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว จึงเป็นคำสั่งหลังจากที่ศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาแล้ว คำสั่งดังกล่าวจึงมิใช่คำสั่งในระหว่างพิจารณา ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3538/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลคดีล้มละลาย: การเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องเมื่อศาลไม่มีอำนาจพิจารณาคดี
จำเลยไปอยู่อาศัยและประกอบอาชีพที่จังหวัดภูเก็ตตั้งแต่วันที่ 29 ธันวาคม 2531 การที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่ 26 มิถุนายน 2533 โดยส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องให้แก่จำเลยด้วยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นที่จังหวัดเชียงใหม่ จึงมีเหตุให้เชื่อได้ว่าจำเลยไม่ทราบเรื่องที่ถูกฟ้อง ต้องถือว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณา กรณีมีเหตุสมควรให้พิจารณาใหม่ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 209ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153 การที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ซึ่งมิใช่ศาลที่จำเลยมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตหรือประกอบธุรกิจอยู่ในเขตในขณะที่โจทก์ยื่นคำฟ้องหรือภายในกำหนดเวลา 1 ปี ก่อนนั้นรับคำฟ้องไว้พิจารณาในตอนแรกย่อมขัดต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 150 และเมื่อคำสั่งศาลจังหวัดเชียงใหม่ที่อนุญาตให้พิจารณาใหม่เป็นคำสั่งที่ชอบต้องถือว่าคดีกลับไปอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลจังหวัดเชียงใหม่อีกครั้ง ศาลจังหวัดเชียงใหม่ย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนคำสั่งรับฟ้องอันเป็นกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบนั้นเสียและมีคำสั่งใหม่เป็นไม่รับฟ้อง กับคืนคำฟ้องให้โจทก์เพื่อไปยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 27 ประกอบมาตรา 209และพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3527/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำขอรับชำระหนี้เกินกำหนดในคดีล้มละลาย แม้ใช้แบบพิมพ์ไม่ถูกต้องก็ไม่ถือเป็นคำขอรับชำระหนี้
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้โฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้เด็ดขาดในหนังสือพิมพ์รายวันเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม 2534 และในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2534 ครบกำหนดที่เจ้าหนี้ทั้งหลายจะยื่นคำขอรับชำระหนี้ในวันที่ 22 กรกฎาคม 2534 เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2534 ผู้ร้องได้ยื่นคำร้องตามแบบพิมพ์ (ล.54)ซึ่งเป็นแบบพิมพ์คำร้องทั่วไปของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขอเฉลี่ยหนี้ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งในวันเดียวกันนั้นว่า"คืนคำร้องไปทำมาใหม่ ให้หมายแจ้งเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้ถูกต้องตามแบบในระเบียบคดีล้มละลาย" ในตอนท้ายหน้าแรกของคำร้องได้มีหมายเหตุว่า ข้าพเจ้ารอฟังคำสั่งอยู่ ถ้าไม่รอให้ถือว่าทราบแล้วดังนั้นเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มีคำสั่งคำร้องในวันเดียวกันกับวันที่ผู้ร้องยื่นคำร้อง จึงถือว่าผู้ร้องได้ทราบคำสั่งแล้วโดยไม่ต้องมีหมายแจ้งคำสั่งให้ผู้ร้องทราบอีก ตามคำสั่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ดังกล่าวนี้เป็นการสั่งไม่รับคำร้องนั่นเอง ผู้ร้องจะต้องทำคำขอรับชำระหนี้ตามแบบพิมพ์ (ล.29)ยื่นต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ใหม่ภายในกำหนดคือภายในวันที่22 กรกฎาคม 2534 การที่ผู้ร้องได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ตามแบบ(ล.29) เข้ามาใหม่เมื่อวันที่ 9 กันยายน 2534 จึงพ้นกำหนดแล้วและจะถือว่าเป็นการยื่นคำขอรับชำระหนี้เพิ่มเติมก็ไม่ได้ เพราะยังไม่มีคำขอรับชำระหนี้เดิมเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3524/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดระยะเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลและการใช้อำนาจทั่วไปของศาลฎีกาเพื่อแก้ไขปัญหา
ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์อย่างคนอนาถา แต่ให้นำเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาลภายใน 15 วัน ต่อมาโจทก์ขอขยายเวลาไปอีก 60 วัน ศาลชั้นต้นอนุญาตเพียง 15 วันศาลอุทธรณ์พิพากษายืน เมื่อศาลอุทธรณ์มิได้สั่งในเรื่องกำหนดระยะเวลาให้โจทก์นำเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์มาวางศาล และตามฎีกาโจทก์เป็นเรื่องขอให้ศาลฎีกาใช้อำนาจทั่วไปที่มีอยู่กำหนดเวลาชำระค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ให้ใหม่ด้วย ศาลฎีกาย่อมเห็นสมควรให้เวลาแก่โจทก์ได้มีโอกาสวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3437/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันในคดีล้มละลาย: ทรัพย์สินจำนองต้องเป็นของจำเลย
จำเลยเป็นหนี้เงินกู้โจทก์ โดยมี จ.นำที่ดิน 2 แปลงจำนองเป็นประกัน ที่ดินที่จำนองไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลย โจทก์ไม่ใช่ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยในทางจำนอง โจทก์จึงไม่เป็นเจ้าหนี้มีประกันตาม พระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3437/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้มีประกันตามกฎหมายล้มละลาย: ทรัพย์สินที่จำนองต้องเป็นของจำเลย
โจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายด้วยหนี้เงินกู้ยืมซึ่งมีบุคคลอื่นจำนองที่ดินเป็นประกัน โจทก์ย่อมไม่ใช่เจ้าหนี้มีประกันตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 6 เพราะที่ดินที่จำนองไม่ใช่ทรัพย์สินของจำเลย โจทก์ไม่ใช่ผู้มีสิทธิเหนือทรัพย์สินของจำเลยในทางจำนอง จึงสามารถฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้ตามมาตรา 9 โดยมิต้องปฏิบัติตาม มาตรา 10
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการไต่สวนคำร้องขอเป็นผู้จัดการทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ ศาลมีสิทธิยกคำร้องได้หากข้อกล่าวอ้างไม่น่าเชื่อถือ
คำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการตามความใน ป.วิ.พ.มาตรา 307 ไม่มีกฎหมายบังคับว่าศาลจะต้องทำการไต่สวนคำร้องเสียก่อนแล้วจึงจะมีคำสั่งได้ การที่จะต้องไต่สวนตามคำร้องเสียก่อนแล้วจึงจะมีคำสั่งหรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาเห็นสมควรเป็นเรื่อง ๆ ไป
ตามคำร้องของจำเลยอ้างว่า ทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้นั้น จำเลยได้ใช้ประกอบกิจการหารายได้มีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดีได้ แต่ตามพฤติการณ์ในสำนวนปรากฏว่าจำเลยได้ผิดนัดชำระหนี้นับถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลคิดเป็นเวลาได้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี โดยในระหว่างนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระหนี้หรือผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่ตามคำพิพากษาของศาลก็เปิดโอกาสให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ได้ จึงเป็นที่เห็นได้ว่าข้อกล่าวอ้างของจำเลยตามคำร้องเป็นเพียงการกล่าวอ้างลอย ๆ ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องเสียได้โดยไม่จำต้องทำการไต่สวนตามคำร้องเสียก่อน
ตามคำร้องของจำเลยอ้างว่า ทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้นั้น จำเลยได้ใช้ประกอบกิจการหารายได้มีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดีได้ แต่ตามพฤติการณ์ในสำนวนปรากฏว่าจำเลยได้ผิดนัดชำระหนี้นับถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลคิดเป็นเวลาได้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี โดยในระหว่างนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระหนี้หรือผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่ตามคำพิพากษาของศาลก็เปิดโอกาสให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ได้ จึงเป็นที่เห็นได้ว่าข้อกล่าวอ้างของจำเลยตามคำร้องเป็นเพียงการกล่าวอ้างลอย ๆ ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องเสียได้โดยไม่จำต้องทำการไต่สวนตามคำร้องเสียก่อน