พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,029 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3431/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดุลพินิจศาลในการไต่สวนคำร้องขอเป็นผู้จัดการทรัพย์สินเพื่อชำระหนี้ ศาลมีสิทธิยกคำร้องได้หากข้อกล่าวอ้างไม่น่าเชื่อถือ
คำร้องขอให้ตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์หรือการประกอบกิจการตามความใน ป.วิ.พ.มาตรา 307 ไม่มีกฎหมายบังคับว่าศาลจะต้องทำการไต่สวนคำร้องเสียก่อนแล้วจึงจะมีคำสั่งได้ การที่จะต้องไต่สวนตามคำร้องเสียก่อนแล้วจึงจะมีคำสั่งหรือไม่ ย่อมอยู่ในดุลพินิจของศาลที่จะพิจารณาเห็นสมควรเป็นเรื่อง ๆ ไป
ตามคำร้องของจำเลยอ้างว่า ทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้นั้น จำเลยได้ใช้ประกอบกิจการหารายได้มีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดีได้ แต่ตามพฤติการณ์ในสำนวนปรากฏว่าจำเลยได้ผิดนัดชำระหนี้นับถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลคิดเป็นเวลาได้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี โดยในระหว่างนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระหนี้หรือผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่ตามคำพิพากษาของศาลก็เปิดโอกาสให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ได้ จึงเป็นที่เห็นได้ว่าข้อกล่าวอ้างของจำเลยตามคำร้องเป็นเพียงการกล่าวอ้างลอย ๆ ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องเสียได้โดยไม่จำต้องทำการไต่สวนตามคำร้องเสียก่อน
ตามคำร้องของจำเลยอ้างว่า ทรัพย์สินของจำเลยที่เจ้าพนักงานบังคับคดียึดไว้นั้น จำเลยได้ใช้ประกอบกิจการหารายได้มีรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษารวมทั้งค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดีได้ แต่ตามพฤติการณ์ในสำนวนปรากฏว่าจำเลยได้ผิดนัดชำระหนี้นับถึงวันที่จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลคิดเป็นเวลาได้ไม่ต่ำกว่า 5 ปี โดยในระหว่างนั้นไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ชำระหนี้หรือผ่อนชำระหนี้ให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ทั้ง ๆ ที่ตามคำพิพากษาของศาลก็เปิดโอกาสให้จำเลยผ่อนชำระหนี้ได้ จึงเป็นที่เห็นได้ว่าข้อกล่าวอ้างของจำเลยตามคำร้องเป็นเพียงการกล่าวอ้างลอย ๆ ศาลชอบที่จะสั่งยกคำร้องเสียได้โดยไม่จำต้องทำการไต่สวนตามคำร้องเสียก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3418/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยพยานหลักฐานและการใช้ดุลพินิจตาม ป.วิ.พ. มาตรา 104
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพยานจำเลยเบิกความเจือสมพยานโจทก์ก็เพราะพยานจำเลยได้เบิกความต่อศาลในคดีนี้ว่า พยานจำเลยไม่ต้องเช่าทางเดินจากจำเลย อันเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฎในสำนวนคดีนี้ แม้ไม่ได้กล่าวถึงคำรับสารภาพของพยานจำเลยที่ให้การรับสารภาพต่อศาลอาญาธนบุรีว่าได้เบิกความในคดีนี้เป็นความเท็จ และยอมรับว่าได้เช่าทางพิพาทของจำเลยเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ ก็เป็นเพราะศาลอุทธรณ์ไม่เชื่อพยานหลักฐานของจำเลยในส่วนนี้ เป็นการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบโดยอาศัยอำนาจตาม ป.วิ.พ.มาตรา 104 ที่ให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยคลาดเคลื่อนไปจากที่ปรากฎในสำนวนคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3418/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวินิจฉัยพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์ที่ชอบแล้ว แม้มีข้อเท็จจริงใหม่ที่พยานจำเลยให้การรับสารภาพต่อศาลอื่น
ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าพยานจำเลยเบิกความเจือสมพยานโจทก์ก็เพราะพยานจำเลยได้เบิกความต่อศาลในคดีนี้ว่าพยานจำเลยไม่ต้องเช่าทางเดินจากจำเลย อันเป็นข้อเท็จจริงที่ปรากฏในสำนวนคดีนี้ แม้ไม่ได้กล่าวถึงคำรับสารภาพของพยานจำเลยที่ให้การรับสารภาพต่อศาลอาญาธนบุรีว่าได้เบิกความในคดีนี้เป็นความเท็จ และยอมรับว่าได้เช่าทางพิพาทของจำเลยเดินเข้าออกสู่ถนนสาธารณะ ก็เป็นเพราะศาลอุทธรณ์ไม่เชื่อพยานหลักฐานของจำเลยในส่วนนี้ เป็นการใช้ดุลพินิจวินิจฉัยจากพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบโดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 104 ที่ให้ศาลมีอำนาจเต็มที่ในอันที่จะวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานที่คู่ความนำสืบมานั้นเพียงพอให้เชื่อฟังเป็นยุติได้หรือไม่แล้วพิพากษาคดีไปตามนั้น ศาลอุทธรณ์มิได้วินิจฉัยคลาดเคลื่อนไปจากที่ปรากฏในสำนวนคดีนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: กำหนดเวลาและข้อยกเว้นการใช้กฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
เมื่อพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 บัญญัติให้สิทธิแก่บุคคลล้มละลายเจ้าหนี้ หรือบุคคลผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไว้โดยเฉพาะแล้ว จึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 วรรคสอง เกี่ยวกับเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการบังคับคดีฝ่าฝืนกฎหมายมาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153 ได้ เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ขายทอดตลาดทรัพย์ของผู้ร้องในคดีล้มละลายนั้น เมื่อผู้ร้องยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาด กรณีจึงอยู่ภายในกำหนดเวลา14 วัน ที่กำหนดไว้ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3370/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคัดค้านการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย: กำหนดเวลา 14 วัน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ ไม่ใช่ 8 วันตาม ป.วิ.พ.
เจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ทำการขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ (จำเลย)การขายทอดตลาดดังกล่าวจึงเป็นการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ การยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาด จึงเป็นการร้องคัดค้านการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องกระทำภายใน14 วัน นับแต่วันขายทอดตลาดตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 146 ไม่ใช่ 8 วัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน เริ่มนับจากวันถึงกำหนดใช้เงินตามหลักเกณฑ์ตั๋วชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น
ผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินมีความผูกพันเป็นอย่างเดียวกับผู้ออกตั๋ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 940 วรรคหนึ่งการฟ้องให้ผู้ออกตั๋วรับผิดตามตั๋วสัญญาใช้เงินต้องฟ้องภายใน 3 ปีนับแต่วันตั๋วถึงกำหนดใช้เงิน ตามมาตรา 1001 ดังนั้นการฟ้องผู้รับอาวัลจึงต้องฟ้องภายในกำหนดเวลาดังกล่าวด้วย ตั๋วสัญญาใช้เงินไม่ได้ระบุเวลาใช้เงิน ถือว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดพึงใช้เงินเมื่อเห็นตามมาตรา 984 วรรคสองซึ่งตั๋วประเภทนี้จะพึงใช้เงินในวันยื่นตั๋ว แต่ผู้ทรงต้องยื่นให้ใช้เงินภายในกำหนดเวลาซึ่งบังคับไว้เพื่อการยื่นให้รับรองตั๋วเงินชนิดให้ใช้เงินในเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็น ตามมาตรา 944 ประกอบมาตรา 985 สำหรับกำหนดเวลายื่นให้รับรองตั๋วเงินนั้น มาตรา 928บัญญัติให้ผู้ทรงต้องนำตั๋วยื่นเพื่อให้รับรองภายใน 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋ว หรือภายในกำหนดช้าเร็วกว่านั้นตามแต่ผู้สั่งจ่ายจะได้ระบุไว้ ดังนั้นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็นอาจนำตั๋วยื่นให้ผู้ออกตั๋วใช้เงินได้ตั้งแต่วันออกตั๋ว ซึ่งก็คือวันที่ลงในตั๋วจนถึงวันครบกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋วอันเป็นวันสุดท้ายที่อาจยื่นให้ใช้เงินได้ ตั๋วสัญญาใช้เงินลงวันที่ 31 มกราคม 2520 ครบกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋วคือวันที่ 31 กรกฎาคม 2520 ซึ่งช่วงเวลาดังกล่าวไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินนำตั๋วไปยื่นให้ใช้เงินแต่อย่างใด จึงต้องถือว่าวันที่ 31 กรกฎาคม 2520อันเป็นวันสุดท้ายที่อาจบังคับให้ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้รับอาวัลใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินได้เป็นวันถึงกำหนดใช้เงิน กำหนดอายุความ3 ปี ต้องเริ่มนับแต่วันดังกล่าว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ผู้คัดค้านเพิ่งใช้สิทธิของลูกหนี้เรียกร้องให้ผู้ร้องใช้เงินเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2530 จึงขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3340/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงิน: กำหนดใช้เงินตามตั๋วชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น และการนับอายุความ
ผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินย่อมมีความผูกพันเป็นอย่างเดียวกับลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ออกตั๋ว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 940 วรรคแรก การฟ้องให้ผู้รับอาวัลตั๋วสัญญาใช้เงินรับผิดจึงต้องฟ้องภายใน 3 ปี นับแต่วันตั๋วถึงกำหนด ตามมาตรา 1001 ตั๋วสัญญาใช้เงินที่ไม่ได้ระบุเวลาใช้เงิน ต้องถือว่าเป็นตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น ตามมาตรา 984 วรรคสองซึ่งกำหนดใช้เงินของตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดดังกล่าวต้องเป็นไปตามบทบัญญัติว่าด้วยกำหนดใช้เงินของตั๋วแลกเงินชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็น ตามมาตรา 944 ประกอบด้วยมาตรา 985 กล่าวคือในวันเมื่อยื่นตั๋ว แต่ทั้งนี้ต้องยื่นให้ใช้เงินภายในกำหนดเวลาซึ่งบังคับไว้เพื่อการยื่นให้รับรองตั๋วเงินชนิดให้ใช้เงินเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็นนั้น สำหรับกำหนดเวลาซึ่งบังคับไว้เพื่อการยื่นให้รับรอง ตั๋วเงินชนิดให้ใช้เงินในเวลาใดเวลาหนึ่งภายหลังได้เห็น มีบัญญัติไว้ในมาตรา 928 ว่า ต้องนำตั๋วเงินยื่นเพื่อให้รับรองภายในหกเดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋วเงินหรือภายในเวลาช้าเร็วกว่านั้นตามแต่ผู้สั่งจ่ายจะได้ระบุไว้ แสดงว่าผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินชนิดพึงใช้เงิน เมื่อได้เห็นอาจนำตั๋วยื่นให้ผู้ออกตั๋วใช้เงินได้ตั้งแต่วันออกตั๋วซึ่งก็คือวันที่ลงในตั๋วแต่จะยื่นให้ใช้เงินภายหลังพ้นเวลา 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋วไม่ได้ กำหนดเวลาใช้เงินตามตั๋ว สัญญาใช้เงินชนิดพึงใช้เงินเมื่อได้เห็นจึงมีได้ตั้งแต่วันที่คงในตั๋วจนถึงวันครบกำหนด 6 เดือนนับแต่วันที่ลงในตั๋ว อันเป็นวันสุดท้ายที่อาจยื่นให้ใช้เงินได้ทั้งนี้แล้วแต่ว่าจะมีการยื่นตั๋วให้ใช้เงินวันใด ตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทลงวันที่ 31 มกราคม 2520 เมื่อครบกำหนด 6 เดือน นับแต่วันที่ลงในตั๋วคือวันที่ 31 กรกฎาคม 2520ไม่ปรากฏว่าลูกหนี้ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทนำตั๋วไปยื่นให้ใช้เงิน จึงต้องถือว่าวันที่ 31 กรกฎาคม 2520 อันเป็นวันสุดท้ายที่อาจบังคับให้ผู้ร้องใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาทได้ เป็นวันถึงกำหนดใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท กำหนดอายุความ 3 ปี ตามาตรา 1001 ต้องเริ่มนับแต่วันดังกล่าวเมื่อผู้คัดค้านเพิ่งใช้สิทธิของลูกหนี้เรียกร้องให้ผู้ร้องใช้เงินเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2530 จึงขาดอายุความตามมาตรา 1001ผู้คัดค้านไม่มีสิทธิเรียกร้องให้ผู้ร้องใช้เงินตามตั๋วสัญญาใช้เงินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3282/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีที่ดินในโครงการจัดรูปที่ดิน: ข้อจำกัดด้านการโอนสิทธิและการคุ้มครองประโยชน์ของเจ้าหนี้
ที่ดินซึ่งโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปยึดไว้นั้น เป็นที่ดินในเขตโครงการจัดรูปที่ดินตามพระราชบัญญัติจัดรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2517 ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามโอนสิทธิภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ ทั้งไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีเมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้โจทก์ถอนการยึด กรณีจึงไม่มีเหตุสมควรที่จะกำหนดวิธีการคุ้มครองประโยชน์ของโจทก์ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เอกสาร 'ทดรองจ่าย' ไม่ถือเป็นหลักฐานการกู้ยืม แม้ลูกหนี้ลงลายมือชื่อรับเงิน
การที่ใบสำคัญคู่จ่ายมีข้อความเพียงว่า ทดรองจ่ายให้คุณสมศักดิ์ (ลูกหนี้) เท่านั้น แม้ลูกหนี้จะลงลายมือชื่อเป็นผู้รับเงินไว้ด้วย ก็มีความหมายเพียงว่าออกเงินหรือทรัพย์ไปก่อนไม่มีข้อความที่แสดงว่าลูกหนี้ต้องใช้เงินคืนแก่เจ้าหนี้หรือกำหนดการเสียดอกเบี้ยกันไว้อันเป็นลักษณะของการกู้ยืม จะฟังเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมไม่ได้ จึงเป็นหนี้ที่จะฟ้องร้องให้บังคับคดีไม่ได้ ต้องห้ามมิให้เจ้าหนี้ขอรับชำระหนี้ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 94(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3258/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องฎีกาของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลาย: ไม่ต้องได้รับความเห็นชอบจากกรรมการเจ้าหนี้
ในคดีที่ผู้ร้องร้องคัดค้านต่อศาลปฏิเสธหนี้ที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีหนังสือยืนยันหนี้ตาม พระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 119 นั้น เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์อยู่ในฐานเป็นคู่ความมาแต่แรก หาใช่ผู้เริ่มต้นฟ้องคดีตามที่พระราชบัญญัติล้มละลายมาตรา 145(4) กำหนดให้ต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้ก่อนไม่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงมีอำนาจฟ้องฎีกาโดยไม่ต้องได้รับความเห็นชอบของกรรมการเจ้าหนี้หรือที่ประชุมเจ้าหนี้