พบผลลัพธ์ทั้งหมด 924 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5795/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเกษตรกรรม: สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลบังคับใช้ ยุติข้อพิพาทตามพ.ร.บ.เช่าที่ดิน
การซื้อขายที่ดินเพื่อเกษตรกรรม ซึ่งต้องปฏิบัติตามพระราช-บัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้น ต้องให้ คชก. รับทราบและวินิจฉัย และต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนตามที่พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้ แต่ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเสมอไป หากจะต้องปฏิบัติก็เฉพาะการซื้อขายที่มีข้อพิพาทกันระหว่างเจ้าของที่ดินและผู้เช่าเท่านั้น ถ้าเป็นการซื้อขายที่ไม่มีข้อพิพาทต่อกัน ก็หาต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ จำเลยได้ยื่นเรื่องราวขอขายที่พิพาทให้แก่ผู้อื่นโดยมิได้แจ้งความประสงค์ที่จะขายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าก่อน โจทก์จึงได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อ คชก.ตำบล แต่ คชก.ตำบลไม่ได้วินิจฉัย เพราะประธาน คชก.ตำบลได้นำโจทก์จำเลยไปพบปลัดอำเภอทำการไกล่เกลี่ยและสามารถตกลงกันได้ โดยจำเลยตกลงขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และได้บันทึกข้อตกลงกันไว้ บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 850 มีผลบังคับได้ข้ออ้างตามคำคัดค้านของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจึงได้ยุติลงแล้วโดยข้อตกลงดังกล่าวและไม่มีกรณีพิพาทให้ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอีกต่อไป การที่จำเลยไม่ยอมขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้เป็นการผิดสัญญาและโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงทื่ทำกันไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5795/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเพื่อเกษตรกรรม สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลบังคับ และอำนาจฟ้องบังคับตามสัญญา
การซื้อขายที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้นต้องให้คชก.รับทราบและวินิจฉัยและต้องปฎิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้แต่ก็ไม่จำเป็นต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเสมอไปหากจะต้องปฎิบัติก็เฉพาะการซื้อขายที่มีข้อพิพาทระหว่างเจ้าของที่ดินและผู้เช่าเท่านั้นถ้าเป็นการซื้อขายที่ไม่มีข้อพิพาทต่อกันก็หาต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่จำเลยได้ยื่นเรื่องราวขอขายที่พิพาทให้แก่ผู้อื่นโดยมิได้แจ้งความประสงค์ที่จะขายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าก่อนโจทก์จึงได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อคชก.ตำบลแต่คชก.ตำบลไม่ได้วินิจฉัยเพราะประธานคชก.ตำบลได้นำโจทก์จำเลยไปพบปลัดอำเภอทำการไกล่เกลี่ยและสามารถตกลงกันได้โดยจำเลยตกลงขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และได้บันทึกข้อตกลงกันไว้บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850มีผลบังคับได้ข้ออ้างตามคำคัดค้านของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่ปฎิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจึงได้ยุติลงแล้วโดยข้อตกลงดังกล่าวและไม่มีกรณีพิพาทให้ต้องปฎิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอีกต่อไปการที่จำเลยไม่ยอมขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้เป็นการผิดสัญญาและโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฎิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5795/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินเกษตรกรรม: สัญญาประนีประนอมยอมความมีผลบังคับใช้ แม้ไม่ปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ หากไม่มีข้อพิพาท
การซื้อขายที่ดินเพื่อเกษตรกรรมซึ่งต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมนั้นต้องให้คชก.รับทราบและวินิจฉัยและต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนตามที่พระราชบัญญัติดังกล่าวบัญญัติไว้แต่ก็ไม่จำเป็นต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวเสมอไปหากจะต้องปฏิบัติก็เฉพาะการซื้อขายที่มีข้อพิพาทกันระหว่างเจ้าของที่ดินและผู้เช่าเท่านั้นถ้าเป็นการซื้อขายที่ไม่มีข้อพิพาทต่อกันก็หาต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติดังกล่าวไม่จำเลยได้ยื่นเรื่องราวขอขายที่พิพาทให้แก่ผู้อื่นโดยมิได้แจ้งความประสงค์ที่จะขายให้แก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เช่าก่อนโจทก์จึงได้ยื่นคำร้องคัดค้านต่อคชก.ตำบลแต่คชก.ตำบลไม่ได้วินิจฉัยเพราะประธานคชก.ตำบลได้นำโจทก์จำเลยไปพบปลัดอำเภอทำการไกล่เกลี่ยและสามารถตกลงกันได้โดยจำเลยตกลงขายที่พิพาทให้แก่โจทก์และได้บันทึกข้อตกลงกันไว้บันทึกข้อตกลงดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทซึ่งมีอยู่หรือจะมีขึ้นให้เสร็จสิ้นไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850มีผลบังคับได้ข้ออ้างตามคำคัดค้านของโจทก์ที่ว่าจำเลยไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมจึงได้ยุติลงแล้วโดยข้อตกลงดังกล่าวและไม่มีกรณีพิพาทให้ต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมอีกต่อไปการที่จำเลยไม่ยอมขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ตามที่ตกลงกันไว้เป็นการผิดสัญญาและโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามข้อตกลงที่ทำกันไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5668/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเดินเรือกลโดยไม่ได้รับอนุญาต ก่อให้เกิดละเมิดต่อผู้มีสิทธิเดินเรือเดิม
จำเลยเพียงแต่ได้รับอนุญาตให้ใช้เรือกลจากกรมเจ้าท่าและอยู่ในระหว่างยื่นเรื่องราวขออนุญาตเดินเรือกลประจำทางในเส้นทางพิพาทต่อกรมเจ้าท่าเพื่อประกอบกิจการเดินเรือกลรับส่งคนโดยสารแต่ยังมิได้รับอนุญาตให้เดินเรือกลประจำทางได้ในเส้นทางเดินเรือเดียวกับโจทก์และทับเส้นทางที่โจทก์เดินเรือใช้ท่าเรือร่วมกันบางส่วนและเก็บค่าโดยสารเช่นเดียวกับโจทก์เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายและจงใจให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์เป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา420 จำเลยเพียงแต่มีสิทธิเดินเรือกลตามปกติในลำน้ำเจ้าพระยาตามที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เรือกลในลำน้ำเจ้าพระยาเท่านั้นตราบใดที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เดินเรือกลประจำทางจากกรมเจ้าท่าจำเลยหามีสิทธิรับส่งคนโดยสารในเส้นทางเช่นเดียวกับโจทก์ที่ได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่าให้เดินเรือก่อนและเรือด่วนพิเศษไม่เพราะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยกระทำการดังกล่าวได้ตลอดระยะเวลาที่จำเลยยังมิได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่ากรณีดังกล่าวหาเป็นเรื่องระหว่างจำเลยและกรมเจ้าท่าไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5668/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเดินเรือโดยไม่ได้รับอนุญาตละเมิดสิทธิผู้ได้รับอนุญาตก่อน
จำเลยเพียงแต่ได้รับอนุญาตให้ใช้เรือกลจากกรมเจ้าท่า และอยู่ในระหว่างยื่นเรื่องราวขออนุญาตเดินเรือกลประจำทางในเส้นทางพิพาทต่อกรมเจ้าท่าเพื่อประกอบกิจการเดินเรือกลรับส่งคนโดยสาร แต่ยังมิได้รับอนุญาตให้เดินเรือกลประจำทางได้ในเส้นทางเดินเรือเดียวกับโจทก์และทับเส้นทางที่โจทก์เดินเรือ ใช้ท่าเรือร่วมกันบางท่าและเก็บค่าโดยสารเช่นเดียวกับโจทก์เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายและจงใจให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการละเมิดต่อโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420
จำเลยเพียงแต่มีสิทธิเดินเรือกลตามปกติในลำน้ำเจ้าพระยาตามที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เรือกลในลำน้ำเจ้าพระยาเท่านั้น ตราบใดที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เดินเรือกลประจำทางจากกรมเจ้าท่า จำเลยหามีสิทธิรับส่งคนโดยสารในเส้นทางเช่นเดียวกับโจทก์ที่ได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่าให้เดินเรือก่อนและเรือด่วนพิเศษไม่ เพราะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยกระทำการดังกล่าวได้ตลอดระยะเวลาที่จำเลยยังมิได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่ากรณีดังกล่าวหาเป็นเรื่องระหว่างจำเลยและกรมเจ้าท่าไม่
จำเลยเพียงแต่มีสิทธิเดินเรือกลตามปกติในลำน้ำเจ้าพระยาตามที่ได้รับอนุญาตให้ใช้เรือกลในลำน้ำเจ้าพระยาเท่านั้น ตราบใดที่ยังไม่ได้รับอนุญาตให้เดินเรือกลประจำทางจากกรมเจ้าท่า จำเลยหามีสิทธิรับส่งคนโดยสารในเส้นทางเช่นเดียวกับโจทก์ที่ได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่าให้เดินเรือก่อนและเรือด่วนพิเศษไม่ เพราะเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์มีสิทธิห้ามจำเลยกระทำการดังกล่าวได้ตลอดระยะเวลาที่จำเลยยังมิได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่ากรณีดังกล่าวหาเป็นเรื่องระหว่างจำเลยและกรมเจ้าท่าไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5668/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเดินเรือกลประจำทาง: การละเมิดสิทธิผู้ได้รับอนุญาตเมื่อยังไม่ได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่า
โจทก์ได้รับสิทธิให้เดินเรือกลประจำทางรับส่งผู้โดยสารตามลำน้ำเจ้าพระยาโดยเก็บค่าโดยสารแต่ผู้เดียว จำเลยเพียงแต่ได้รับอนุญาตให้ใช้เรือกลจากกรมเจ้าท่า และอยู่ในระหว่างยื่นเรื่องราวขออนุญาตเดินเรือกลประจำทาง ในเส้นทางพิพาทต่อกรมเจ้าท่า การที่จำเลยเดินเรือกลประจำทางในเส้นทางเดินเรือเดียวกับโจทก์และทับเส้นทางที่โจทก์เดินเรืออยู่ ใช้ท่าเรือร่วมกันบางท่าและเก็บค่าโดยสารเช่นเดียวกับโจทก์ เป็นการกระทำโดยผิดกฎหมายและจงใจให้เกิด ความเสียหายแก่โจทก์เป็นละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลย และห้ามมิให้จำเลยกระทำการดังกล่าวได้ตลอดระยะเวลาที่จำเลย ยังมิได้รับอนุญาตจากกรมเจ้าท่า กรณีมิใช่เป็นเรื่องระหว่างจำเลยและกรมเจ้าท่าเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5667/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือยอมรับหนี้ค่าบริการโทรศัพท์ ไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ มีอายุความ 2 ปี
เอกสารมีใจความว่า จำเลยยอมรับว่าเป็นหนี้โจทก์และยินยอมผ่อนชำระเป็น 3 งวด หากผิดนัดงวดใดงวดหนึ่งยินยอมชำระดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อปี หากจำเลยถูกฟ้องเป็นคดีล้มละลายและศาลมีคำสั่งพิทักษ์-ทรัพย์หรือจำเลยถูกเจ้าหนี้ตามคำพิพากษายึดหรืออายัดทรัพย์ให้ถือว่าสัญญาสิ้นสุดจำเลยยินยอมชำระเงินที่ค้าง แต่หนี้ที่โจทก์เรียกร้องจากจำเลยเป็นมูลหนี้อันเนื่องมาจากค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ โจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้จึงมีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยชำระหนี้ค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ เมื่อ ท. ผู้รับมอบอำนาจจากจำเลยมาทำเอกสารดังกล่าวยอมใช้หนี้แก่โจทก์ เอกสารฉบับนี้จึงเป็นเพียงหนังสือที่ฝ่ายจำเลยผู้เป็นลูกหนี้ยอมรับสภาพหนี้ต่อโจทก์ ผู้เป็นเจ้าหนี้ตามสิทธิเรียกร้องหาใช่เป็นสัญญาประนีประนอมยอมความไม่
โจทก์เป็นผู้จัดให้มีบริการพูดโทรศัพท์ถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกร้องเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับในการนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (7) เดิม หรือ 193/37 (7) ใหม่ สิทธิเรียกร้องค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ติดต่อไปต่างประเทศของโจทก์มีอายุความ 2 ปี
โจทก์เป็นผู้จัดให้มีบริการพูดโทรศัพท์ถือได้ว่าเป็นผู้ประกอบธุรกิจในการรับทำการงานต่าง ๆ เรียกร้องเอาสินจ้างอันพึงจะได้รับในการนั้นตาม ป.พ.พ. มาตรา 165 (7) เดิม หรือ 193/37 (7) ใหม่ สิทธิเรียกร้องค่าบริการในการพูดโทรศัพท์ติดต่อไปต่างประเทศของโจทก์มีอายุความ 2 ปี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องขับไล่และโมฆะสัญญาซื้อขายที่ดินนิคมฯ ผู้ขายโอนไม่ได้
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจให้เช่าได้ค่าเช่าเดือนละ 5,000 บาท แม้โจทก์จะขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ในอัตราปีละ 200,000 บาท นับถัดจากวันฟ้องเป็นต้นไป แต่โจทก์ก็มิได้เรียกร้องค่าเสียหายนี้มาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่น หากแต่เรียกร้องมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่ผู้เช่าออกจากอสังหาริมทรัพย์ คดีจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคสอง
แม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้ตั้งประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ด้วยก็ตามแต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของนิคมสร้างตนเอง ยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จึงเป็นที่ดินที่ต้องห้ามมิให้สมาชิกของนิคมหรือทายาทผู้รับมรดกโอนไปยังบุคคลภายนอกตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511มาตรา 12 วรรคหนึ่ง การที่ผู้รับมรดกที่ดินพิพาทโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมาย สัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม แม้จะมอบการครอบครองในระยะเวลาห้ามโอนผลก็เท่ากับเป็นการฝ่าฝืนวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ห้ามโอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะเข้าไปหาประโยชน์ ยึดถือหรือครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
แม้ศาลชั้นต้นจะไม่ได้ตั้งประเด็นเรื่องอำนาจฟ้องไว้ด้วยก็ตามแต่เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินของนิคมสร้างตนเอง ยังไม่มีโฉนดหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ จึงเป็นที่ดินที่ต้องห้ามมิให้สมาชิกของนิคมหรือทายาทผู้รับมรดกโอนไปยังบุคคลภายนอกตาม พ.ร.บ.จัดที่ดินเพื่อการครองชีพ พ.ศ.2511มาตรา 12 วรรคหนึ่ง การที่ผู้รับมรดกที่ดินพิพาทโอนขายที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ถือเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามของกฎหมาย สัญญาซื้อขายที่ดินและบ้านพิพาทตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ.มาตรา 113 เดิม แม้จะมอบการครอบครองในระยะเวลาห้ามโอนผลก็เท่ากับเป็นการฝ่าฝืนวัตถุประสงค์ของกฎหมายที่ห้ามโอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิจะเข้าไปหาประโยชน์ ยึดถือหรือครอบครองที่ดินและบ้านพิพาท จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5389/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนที่ดินนิคมสร้างตนเองก่อนครบกำหนดระยะเวลาตามกฎหมายเป็นโมฆะ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจให้เช่าได้ค่าเช่าเดือนละ5,000บาทแม้มีคำขอให้จำเลยชดใช้ค่าเสียหายปีละ200,000บาทนับถัดจากวันฟ้องก็เป็นการเรียกร้องมาเป็นส่วนหนึ่งของการฟ้องขับไล่มิได้เรียกร้องมาอย่างเอกเทศในข้อหาอื่นจึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคสอง เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ศาลชั้นต้นไม่ได้ตั้งประเด็นเรื่องนี้ไว้ก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของนิคมสร้างตนเองจัดสรรให้ ฉ.ทำกินจะโอนไปยังบุคคลภายนอกได้ต้องเป็นที่ดินมีโฉนดที่ดินหรือหนังสือรับรองการทำประโยชน์ในที่ดินแล้วและต้องให้เลยเวลาห้าปีนับแต่วันที่ได้รับเอกสารนั้นก่อนตามพระราชบัญญัติจัดที่ดินเพื่อการครองชีพพ.ศ.2511มาตรา12,15การที่ ล.ภริยาผู้รับมรดกของ ฉ.ซึ่งถึงแก่ความตายโอนขายและส่งมอบการครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งยังไม่มีเอกสารดังกล่าวให้แก่โจทก์เป็นการฝ่าฝืนต่อข้อห้ามตามกฎหมายตกเป็นโมฆะตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา113เดิมโจทก์ไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปหาประโยชน์ยึดถือหรือครอบครองที่ดินพิพาทจึงไม่มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5357/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีสัญญาจ้างทำของ และการประเมินค่าจ้างรวมค่าความคิดสร้างสรรค์
โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องผิดสัญญาจ้างทำของเพียงข้อหาเดียวจำเลยที่2ให้การว่าฟ้องโจทก์ขาดอายุความเป็นคำให้การชัดแจ้งว่าข้อเท็จจริงเรื่องจ้างทำของทั้งหมดขาดอายุความแล้วคำให้การจำเลยที่2จึงชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรคสอง โจทก์ทำงานเสร็จและส่งมอบงานให้จำเลยที่2เมื่อวันที่22สิงหาคม2530โจทก์ฟ้องคดีวันที่21สิงหาคม2532ยังไม่เกิน2ปีคดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา165เดิม(มาตรา193/34ที่แก้ไขใหม่) จำเลยที่2เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโบสถ์แม่พระแห่งเหรียญอัศจรรย์ จำเลยที่2จึงมีนิติสัมพันธ์ในฐานะคู่สัญญาจ้างทำของกับโจทก์แม้โบสถ์ดังกล่าวจะมิใช่ทรัพย์สินส่วนตัวของจำเลยที่2หากแต่เป็นทรัพย์สินของมิสซังโรมันคาทอลิก กรุงเทพมหานครก็ตามแต่เมื่อจำเลยที่2เป็นคู่สัญญาจ้างทำของในฐานะผู้ว่าจ้างโจทก์ในการก่อสร้างโบสถ์แห่งนั้นแล้วจำเลยที่2ผิดสัญญาชำระค่าจ้างให้โจทก์ไม่ครบถ้วนโจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยที่2ได้ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเพียงว่าจำเลยค้างชำระค่าวัสดุและค่าแรงงานโจทก์เป็นจำนวน1,500,000บาทศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าโจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่2จ้างโจทก์ให้ทำการแก้ไขออกแบบก่อสร้างตกแต่งเพิ่มเติมภายในและภายนอกอาคาร โบสถ์แม่พระแห่งเหรียญอัศจรรย์และอื่นๆโดยหมดค่าจ้างเป็นเงิน2,000,000บาทกับค่าวัสดุและค่าแรงอีกเป็นเงิน3,000,000บาทเศษจำเลยที่2ชำระให้โจทก์แล้วบางส่วนคงค้างอยู่รวมต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นเงิน2,412,996.10บาทแต่โจทก์ขอเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองเพียง1,500,000บาทขอให้บังคับจำเลยที่2ชำระเงินจำนวนดังกล่าวโดยมิได้ขอให้บังคับจำเลยที่2ชำระราคาความคิดสร้างสรรค์ด้วยดังนั้นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาจึงชอบแล้วเช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่าตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ปรากฎว่าศาลอุทธรณ์ได้ประเมินราคาผลงานของโจทก์โดยรวมเอาค่าความคิดสร้างสรรค์ตามความเห็นของ บ. มารวมเป็นค่าจ้างให้แก่โจทก์แต่อย่างใดดังนั้นฎีกาจำเลยที่2ที่ว่าโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าความคิดสร้างสรรค์เอาแก่จำเลยที่2การที่ศาลอุทธรณ์ประเมินผลงานของโจทก์โดยรวมเอาค่าความคิดสร้างสรรค์ตามความเห็นของบ.มารวมเป็นค่าจ้างแรงงานของโจทก์ด้วยเป็นการไม่ถูกต้องจำเลยที่2ย่อมไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าความคิดสร้างสรรค์ตามราคาประเมินของ บ. จึงเป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาไม่ชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย