พบผลลัพธ์ทั้งหมด 924 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5357/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความสัญญาจ้างทำของและการประเมินค่าจ้าง: ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยฎีกาที่ไม่ชัดแจ้ง
โจทก์ฟ้องจำเลยเรื่องผิดสัญญาจ้างทำของเพียงข้อหาเดียวจำเลยที่ 2 ให้การว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเป็นคำให้การชัดแจ้งว่า ข้อเท็จจริงเรื่องจ้างทำของทั้งหมดขาดอายุความแล้ว คำให้การจำเลยที่ 2 จึงชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสอง
โจทก์ทำงานเสร็จและส่งมอบงานให้จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 22สิงหาคม 2530 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 21 สิงหาคม 2532 ยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/34 ที่แก้ไขใหม่)
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโบสถ์แม่พระแห่งเหรียญอัศจรรย์ จำเลยที่ 2 จึงมีนิติสัมพันธ์ในฐานะคู่สัญญาจ้างทำของกับโจทก์ แม้โบสถ์ดังกล่าวจะมิใช่ทรัพย์สินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 หากแต่เป็นทรัพย์สินของมิสซังโรมันคาทอลิก กรุงเทพมหานคร ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญาจ้างทำของในฐานะผู้ว่าจ้างโจทก์ในการก่อสร้างโบสถ์แห่งนั้นแล้วจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาชำระค่าจ้างให้โจทก์ไม่ครบถ้วน โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยที่ 2 ได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเพียงว่า จำเลยค้างชำระค่าวัสดุและค่าแรงงานโจทก์เป็นจำนวน 1,500,000 บาท ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 จ้างโจทก์ให้ทำการแก้ไขออกแบบก่อสร้างตกแต่งเพิ่มเติมภายในและภายนอกอาคารโบสถ์แม่พระแห่งเหรียญอัศจรรย์และอื่น ๆ โดยหมดค่าจ้างเป็นเงิน2,000,000 บาท กับค่าวัสดุและค่าแรงอีกเป็นเงิน 3,000,000 บาทเศษ จำเลยที่ 2 ชำระให้โจทก์แล้ว บางส่วนคงค้างอยู่รวมต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นเงิน2,412,996.10 บาท แต่โจทก์ขอเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองเพียง 1,500,000บาท ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวนดังกล่าวโดยมิได้ขอให้บังคับจำเลยที่ 2ชำระราคาความคิดสร้างสรรค์ด้วย ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาจึงชอบแล้ว เช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า ตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ปรากฏว่า ศาลอุทธรณ์ได้ประเมินราคาผลงานของโจทก์โดยรวมเอาค่าความคิดสร้างสรรค์ตามความเห็นของ บ. มารวมเป็นค่าจ้างให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น ฎีกาจำเลยที่ 2ที่ว่าโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าความคิดสร้างสรรค์เอาแก่จำเลยที่ 2 การที่ศาลอุทธรณ์ประเมินผลงานของโจทก์โดยรวมเอาค่าความคิดสร้างสรรค์ตามความเห็นของ บ. มารวมเป็นค่าจ้างแรงงานของโจทก์ด้วย เป็นการไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าความคิดสร้างสรรค์ตามราคาประเมินของ บ. จึงเป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์ทำงานเสร็จและส่งมอบงานให้จำเลยที่ 2 เมื่อวันที่ 22สิงหาคม 2530 โจทก์ฟ้องคดีวันที่ 21 สิงหาคม 2532 ยังไม่เกิน 2 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิม (มาตรา 193/34 ที่แก้ไขใหม่)
จำเลยที่ 2 เป็นผู้ว่าจ้างโจทก์ก่อสร้างโบสถ์แม่พระแห่งเหรียญอัศจรรย์ จำเลยที่ 2 จึงมีนิติสัมพันธ์ในฐานะคู่สัญญาจ้างทำของกับโจทก์ แม้โบสถ์ดังกล่าวจะมิใช่ทรัพย์สินส่วนตัวของจำเลยที่ 2 หากแต่เป็นทรัพย์สินของมิสซังโรมันคาทอลิก กรุงเทพมหานคร ก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 เป็นคู่สัญญาจ้างทำของในฐานะผู้ว่าจ้างโจทก์ในการก่อสร้างโบสถ์แห่งนั้นแล้วจำเลยที่ 2 ผิดสัญญาชำระค่าจ้างให้โจทก์ไม่ครบถ้วน โจทก์ก็ชอบที่จะฟ้องบังคับเอาแก่จำเลยที่ 2 ได้
ศาลชั้นต้นวินิจฉัยเพียงว่า จำเลยค้างชำระค่าวัสดุและค่าแรงงานโจทก์เป็นจำนวน 1,500,000 บาท ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 2 จ้างโจทก์ให้ทำการแก้ไขออกแบบก่อสร้างตกแต่งเพิ่มเติมภายในและภายนอกอาคารโบสถ์แม่พระแห่งเหรียญอัศจรรย์และอื่น ๆ โดยหมดค่าจ้างเป็นเงิน2,000,000 บาท กับค่าวัสดุและค่าแรงอีกเป็นเงิน 3,000,000 บาทเศษ จำเลยที่ 2 ชำระให้โจทก์แล้ว บางส่วนคงค้างอยู่รวมต้นเงินและดอกเบี้ยถึงวันฟ้องเป็นเงิน2,412,996.10 บาท แต่โจทก์ขอเรียกร้องจากจำเลยทั้งสองเพียง 1,500,000บาท ขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระเงินจำนวนดังกล่าวโดยมิได้ขอให้บังคับจำเลยที่ 2ชำระราคาความคิดสร้างสรรค์ด้วย ดังนั้นที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยมาจึงชอบแล้ว เช่นนี้ย่อมเป็นที่เห็นได้ว่า ตามคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวไม่ปรากฏว่า ศาลอุทธรณ์ได้ประเมินราคาผลงานของโจทก์โดยรวมเอาค่าความคิดสร้างสรรค์ตามความเห็นของ บ. มารวมเป็นค่าจ้างให้แก่โจทก์แต่อย่างใด ดังนั้น ฎีกาจำเลยที่ 2ที่ว่าโจทก์มิได้ฟ้องเรียกค่าความคิดสร้างสรรค์เอาแก่จำเลยที่ 2 การที่ศาลอุทธรณ์ประเมินผลงานของโจทก์โดยรวมเอาค่าความคิดสร้างสรรค์ตามความเห็นของ บ. มารวมเป็นค่าจ้างแรงงานของโจทก์ด้วย เป็นการไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 2 ย่อมไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าความคิดสร้างสรรค์ตามราคาประเมินของ บ. จึงเป็นฎีกาที่มิได้โต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาไม่ชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5319/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สิน: กรณีจำเลยเคยเช่าแล้วสัญญาหมดอายุ โจทก์มีสิทธิฟ้อง
ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือครอบครองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1336 แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยเคยเช่าบ้านพิพาทของโจทก์เป็นเวลา 3 ปี โดยไม่ได้ทำสัญญาเช่ากันไว้ แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องต่อมาว่า สัญญาเช่าบ้านพิพาทที่จำเลยมีต่อโจทก์ได้ครบกำหนดแล้ว และโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าบ้านพิพาทอีกต่อไป การบรรยายฟ้องของโจทก์ในลักษณะนี้เป็นการบรรยายท้าวความย้อนให้จำเลยเข้าใจว่า เหตุที่จำเลยมีสิทธิเข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทของโจทก์ในเบื้องแรกก็เนื่องมาจากโจทก์เคยให้จำเลยเช่าบ้านพิพาทเป็นเวลา 3 ปี มาก่อนเท่านั้น เมื่อสัญญาเช่าบ้านระหว่างโจทก์กับจำเลยครบกำหนดแล้ว จำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะอาศัยอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวต่อไป คำฟ้องโจทก์มิใช่คำฟ้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ จึงมิได้ตกอยู่ในบังคับของมาตรา 538 แห่ง ป.พ.พ. โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5319/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สิน - การฟ้องขับไล่ผู้บุกรุก - ไม่ใช่ฟ้องบังคับตามสัญญาเช่า
ฟ้องโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านพิพาทใช้สิทธิติดตามเอาคืนซึ่งทรัพย์สินของโจทก์จากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิจะยึดถือครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่าจำเลยเคยเช่าบ้านพิพาทของโจทก์เป็นเวลา3ปีโดยไม่ได้ทำสัญญาเช่ากันไว้แต่โจทก์ก็บรรยายฟ้องต่อมาว่าสัญญาเช่าบ้านพิพาทที่จำเลยมีต่อโจทก์ได้ครบกำหนดแล้วและโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าบ้านพิพาทอีกต่อไปการบรรยายฟ้องของโจทก์ในลักษณะนี้เป็นการบรรยายท้าวความย้อนให้จำเลยเข้าใจว่าเหตุที่จำเลยมีสิทธิเข้าไปอาศัยอยู่ในบ้านพิพาทของโจทก์ในเบื้องแรกก็เนื่องมาจากโจทก์เคยให้จำเลยเช่าบ้านพิพาทเป็นเวลา3ปีมาก่อนเท่านั้นเมื่อสัญญาเช่าบ้านระหว่างโจทก์กับจำเลยครบกำหนดแล้วจำเลยก็ไม่มีสิทธิที่จะอาศัยอยู่ในบ้านหลังดังกล่าวต่อไปคำฟ้องโจทก์มิใช่คำฟ้องขอให้บังคับคดีตามสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์จึงมิได้ตกอยู่ในบังคับของมาตรา538แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5241/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิไล่เบี้ยของผู้ค้ำประกันเมื่อชำระหนี้แทนลูกหนี้ และอายุความในการรับช่วงสิทธิ
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 696 วรรคหนึ่งผู้ค้ำประกันจะสิ้นสิทธิไล่เบี้ยเอาแก่ลูกหนี้ก็ต่อเมื่อได้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ไปโดยมิได้บอกลูกหนี้และลูกหนี้ได้ชำระหนี้ซ้ำอีกเพียงกรณีเดียวเท่านั้น เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกัน ป. ชำระหนี้จำนวน 390,000 บาท ให้แก่บริษัท ธ. เจ้าหนี้ของ ป. ไปแล้ว คงเหลือยังไม่ได้ชำระอยู่อีกจำนวน 43,441.43 บาท หนี้จำนวนที่ยังไม่ได้ชำระนี้ต่อมาจำเลยซึ่งเป็นทายาทของ ป. ซึ่งถึงแก่กรรมในเวลาต่อมาถูกฟ้องและได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความชดใช้ให้แก่ บริษัท ธ. โดยไม่ได้ซ้ำกับยอดหนี้ส่วนที่โจทก์ได้ชำระแทนไปแล้ว ดังนั้นแม้โจทก์จะไม่ได้บอกแก่จำเลยว่าโจทก์ ได้ชำระหนี้แทน ป. ให้จำเลยทราบก็ตามก็ชอบที่จะรับช่วงสิทธิฟ้องไล่เบี้ยเงินจำนวน 390,000 บาทเอาแก่จำเลยได้ สิทธิเรียกร้องที่โจทก์มีต่อจำเลยซึ่งเป็นทายาทของป. เกิดจากการที่โจทก์ได้ชำระหนี้เงินกู้ที่ ป.เจ้ามรดกมีอยู่ต่อบริษัท ธ. ในฐานะที่โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันหนี้ดังกล่าว โจทก์จึงเป็นผู้รับช่วงสิทธิที่ฟ้องไล่เบี้ยเอาแก่จำเลยได้ สิทธิไล่เบี้ยของโจทก์เพิ่งมีขึ้นในวันที่โจทก์ได้ชำระหนี้ไปอันเป็นเวลาหลังจากที่เจ้ามรดกตาย เนื่องจากไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยเรื่องอายุความแห่งการรับช่วงสิทธิไว้โดยเฉพาะ จึงต้องใช้อายุความทั่วไปตามมาตรา 164 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์คืออายุความสิบปี จะนำอายุความหนึ่งปีตามมาตรา 1754 วรรคสาม ซึ่งเป็นอายุความสิทธิเรียกร้องที่เจ้าหนี้มีต่อเจ้ามรดก มาใช้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5179/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำที่ถูกห้ามตามกฎหมาย: ประเด็นสัญญาเช่าและการเช่าช่วง
โจทก์ จำเลย และผู้ร้องสอดในคดีนี้เป็นคู่ความรายเดียวกับคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3772/2529 เมื่อคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าววินิจฉัยว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าต่อจำเลยด้วยการนำตึกแถวพิพาทไปให้ผู้ร้องสอดเช่าช่วงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีนั้นย่อมผูกพันโจทก์จำเลยและผู้ร้องสอดตามป.วิ.พ.มาตรา 145 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีนี้โจทก์นำสืบและฎีกามาว่า การที่โจทก์ให้ผู้ร้องสอดเช่าช่วงตึกแถวพิพาท โจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าเพราะมีบันทึกท้ายหนังสือสัญญาเช่าตึกแถวมีกำหนด 25 ปี และสัญญาเช่าตึกแถวยินยอมให้โจทก์นำตึกแถวพิพาทออกให้เช่าช่วงได้ และแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยเรื่องผิดสัญญาตัวแทนที่ดูประหนึ่งว่ามิได้เกี่ยวกับประเด็นในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3772/2529 ของศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ตามเนื้อหาแห่งคดีที่โจทก์นำสืบและเนื้อความแห่งฎีกาของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์โต้เถียงว่าโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าต่อจำเลยในการที่โจทก์ให้ผู้ร้องสอดเช่าตึกแถวพิพาท ซึ่งเป็นการโต้เถียงในประเด็นเดียวกันกับในคดีดังกล่าวนั่นเอง ฟ้องโจทก์จึงเป็นการฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว ต้องห้ามตามป.วิ.พ.มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5179/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-ขาดประโยชน์ฟ้อง: คำพิพากษาถึงที่สุดผูกพันคู่ความ ห้ามฟ้องประเด็นเดียวกันซ้ำ
โจทก์ จำเลย และผู้ร้องสอดในคดีนี้เป็นคู่ความรายเดียวกับคู่ความในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 3772/2529 เมื่อคำพิพากษาอันถึงที่สุดของศาลชั้นต้นในคดีดังกล่าววินิจฉัยว่า โจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าต่อจำเลยด้วยการนำตึกแถวพิพาทไปให้ผู้ร้องสอดเช่าช่วงโดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในคดีนั้นย่อมผูกพันโจทก์จำเลยและผู้ร้องสอดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา145 วรรคหนึ่ง เมื่อคดีนี้โจทก์นำสืบและฎีกามาว่า การที่โจทก์ให้ผู้ร้องสอดเช่าช่วงตึกแถวพิพาท โจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าเพราะมีบันทึกท้ายหนังสือสัญญาเช่าตึกแถวมีกำหนด25 ปี และสัญญาเช่าตึกแถวยินยอมให้โจทก์นำตึกแถวพิพาทออกให้เช่าช่วงได้ และแม้โจทก์จะฟ้องจำเลยเรื่องผิดสัญญาตัวแทนที่ดูประหนึ่งว่ามิได้เกี่ยวกับประเด็นในคดีแพ่งหมายเลขแดงที่3772/2529 ของศาลชั้นต้นก็ตาม แต่ตามเนื้อหาแห่งคดีที่โจทก์นำสืบและเนื้อความแห่งฎีกาของโจทก์เป็นเรื่องที่โจทก์โต้เถียงว่าโจทก์มิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาเช่าต่อจำเลยในการที่โจทก์ให้ผู้ร้องสอดเช่าตึกแถวพิพาท ซึ่งเป็นการโต้เถียงประเด็นเดียวกันกับในคดีดังกล่าวนั่นเอง ฟ้องโจทก์จึงเป็นการฟ้องซ้ำกับคดีดังกล่าว ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132-5135/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดหลายกรรมต่างกัน การรวมโทษ และวันสิ้นสุดคดี ศาลชอบแล้วที่จะออกหมายจำคุกแยกตามวันถึงที่สุดแต่ละสำนวน
จำเลยถูกฟ้องรวม4สำนวนซึ่งเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันแม้จะเกี่ยวพันกันแต่ศาลชั้นต้นก็มิได้ให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันและมิได้อ่านคำพิพากษาในวันเดียวกันวันถึงที่สุดของแต่ละสำนวนย่อมแตกต่างกันจึงไม่ชอบที่จำเลยจะขอให้ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดในวันเดียวกันและในหมายจำคุกฉบับเดียวกันได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5112/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเป็นถนนสาธารณะ และการกระทำละเมิดต่อสาธารณสมบัติของแผ่นดิน แม้ไม่มีการใช้งานก็ยังคงสภาพเป็นสาธารณสมบัติ
จำเลยที่1และต.สามีจำเลยที่1ผู้เป็นบิดาของจำเลยที่2และที่3ได้อุทิศที่ดินบางส่วนอันเป็นที่ดินของจำเลยที่1และของจำเลยที่2กับที่3ที่มีแนวเขตติดต่อกันให้ใช้ตัดถนนสายพิพาทถนนสายพิพาทตลอดสายได้ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)ทันทีที่จำเลยที่1และต.ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่2และที่2แสดงเจตนาอุทิศให้แม้ทางราชการตัดถนนสายใหม่ซึ่งอยู่ใกล้กับถนนสายพิพาททำให้ไม่มีประชาชนใช้ถนนเฉพาะส่วนที่เป็นที่พิพาทอีกหรือแม้ต.จะได้อุทิศที่พิพาทให้ตัดถนนสายพิพาทโดยมีเงื่อนไขต่อผู้มาเจรจาขอให้อุทิศส่วนที่เป็นที่พิพาทไว้ว่าหากทางราชการได้ตัดถนนสายใหม่แล้วให้ยกเลิกถนนสายพิพาทส่วนที่เป็นที่พิพาทเสียก็ตามก็หาทำให้ถนนสายพิพาทตลอดสายสิ้นสภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปไม่ ถนนส่วนที่เป็นที่พิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้วสภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาได้สูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ไม่แม้จำเลยจะได้ครอบครองถนนบริเวณที่เป็นที่พิพาทเป็นเวลานานเท่าใดก็ตามก็ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือเอาที่ดินส่วนที่เป็นที่พิพาทกลับคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยได้อีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1306การที่จำเลยร่วมกันขุดไถ่ทำลายถนนส่วนที่เป็นที่พิพาทรวมทั้งการร่วมกันนำเสาคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาไม้จำนวนหลายต้นไปปักลงในส่วนของถนนที่ถูกขุดไถทำลายและการที่จำเลยร่วมกันนำเสาไปปักติดป้ายบอกข้อความว่าถนนดังกล่าวเป็นทางส่วนบุคคลที่จำเลยสงวนสิทธิย่อมเป็นการทำให้สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่อยู่ในความครอบครองดูแลรักษาของกรุงเทพมหานครโจทก์เสียหายการกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5112/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สาธารณสมบัติของแผ่นดิน: การอุทิศที่ดินเป็นถนนสาธารณะ แม้ไม่มีผู้ใช้หรือมีการตัดถนนใหม่ ก็ยังคงสภาพเป็นสาธารณสมบัติ
ถนนพิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1304(2)ทันทีที่มีผู้แสดงเจตนาอุทิศให้แม้ไม่มีประชาชนใช้ถนนพิพาทอีกหรือแม้ผู้อุทิศให้จะได้แสดงเจตนาโดยมีเงื่อนไขว่าหากทางราชการได้ตัดถนนสายใหม่ให้ยกเลิกถนนพิพาทก็หาทำให้ถนนพิพาทสิ้นสภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปไม่หรือแม้จะได้ครอบครองถนนพิพาทเป็นเวลานานเท่าใดก็ไม่มีสิทธิยึดถือเอาถนนพิพาทกลับมาเป็นกรรมสิทธิ์ของตนได้อีกตามมาตรา1306
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5112/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทิศที่ดินเพื่อถนนสาธารณะ: สภาพความเป็นสาธารณสมบัติไม่สิ้นสุดแม้ไม่ได้ใช้และถูกทำลาย
จำเลยที่ 1 และ ต. สามีจำเลยที่ 1 ผู้เป็นบิดาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ได้อุทิศที่ดินบางส่วนอันเป็นที่ดินของจำเลยที่ 1 และของจำเลยที่ 2กับที่ 3 ที่มีแนวเขตติดต่อกันให้ใช้ตัดถนนสายพิพาท ถนนสายพิพาทตลอดสายได้ตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกัน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1304 (2) ทันทีที่จำเลยที่ 1 และ ต.ในฐานะผู้แทนโดยชอบธรรมของจำเลยที่ 2 และที่ 3 แสดงเจตนาอุทิศให้ แม้ทางราชการตัดถนนสายใหม่ซึ่งอยู่ใกล้กับถนนสายพิพาททำให้ไม่มีประชาชนใช้ถนนเฉพาะส่วนที่เป็นที่พิพาทอีก หรือแม้ ต.จะได้อุทิศที่พิพาทให้ตัดถนนสายพิพาทโดยมีเงื่อนไขต่อผู้มาเจรจาขอให้อุทิศส่วนที่เป็นที่พิพาทไว้ว่า หากทางราชการได้ตัดถนนสายใหม่แล้ว ให้ยกเลิกถนนสายพิพาท ส่วนที่เป็นที่พิพาทเสียก็ตาม ก็หาทำให้ถนนสายพิพาทตลอดสายสิ้นสภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินไปไม่
ถนนส่วนที่เป็นที่พิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้ว สภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาได้สูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ไม่ แม้จำเลยจะได้ครอบครองถนนบริเวณส่วนที่เป็นที่พิพาทเป็นเวลานานเท่าใดก็ตาม ก็ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือเอาที่ดินส่วนที่เป็นที่พิพาทกลับคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยได้อีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1306 การที่จำเลยร่วมกันขุดไถทำลายถนนส่วนที่เป็นที่พิพาท รวมทั้งการร่วมกันนำเสาคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาไม้จำนวนหลายต้นไปปักลงในส่วนของถนนที่ถูกขุดไถทำลาย และการที่จำเลยร่วมกันนำเสาไปปักติดป้ายบอกข้อความว่าถนนดังกล่าวเป็นทางส่วนบุคคลที่จำเลยสงวนสิทธิ ย่อมเป็นการทำให้สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่อยู่ในความครอบครองดูแลรักษาของกรุงเทพมหานครโจทก์เสียหายการกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
ถนนส่วนที่เป็นที่พิพาทตกเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินประเภททรัพย์สินสำหรับพลเมืองใช้ร่วมกันแล้ว สภาพความเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดินหาได้สูญสิ้นไปเพราะการไม่ได้ใช้ไม่ แม้จำเลยจะได้ครอบครองถนนบริเวณส่วนที่เป็นที่พิพาทเป็นเวลานานเท่าใดก็ตาม ก็ไม่มีสิทธิที่จะยึดถือเอาที่ดินส่วนที่เป็นที่พิพาทกลับคืนมาเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยได้อีกตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1306 การที่จำเลยร่วมกันขุดไถทำลายถนนส่วนที่เป็นที่พิพาท รวมทั้งการร่วมกันนำเสาคอนกรีตเสริมเหล็กและเสาไม้จำนวนหลายต้นไปปักลงในส่วนของถนนที่ถูกขุดไถทำลาย และการที่จำเลยร่วมกันนำเสาไปปักติดป้ายบอกข้อความว่าถนนดังกล่าวเป็นทางส่วนบุคคลที่จำเลยสงวนสิทธิ ย่อมเป็นการทำให้สาธารณสมบัติของแผ่นดินที่อยู่ในความครอบครองดูแลรักษาของกรุงเทพมหานครโจทก์เสียหายการกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์