พบผลลัพธ์ทั้งหมด 924 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิขอเฉลี่ยทรัพย์จากขายทอดตลาดเมื่อเจ้าหนี้บังคับคดีทรัพย์สินลูกหนี้ร่วมและทรัพย์สินอื่นไม่พอชำระหนี้
ผู้ร้องอ้างในคำร้องว่าผู้ร้องเป็นเจ้าหนี้จำเลยตามคำพิพากษาสืบทราบว่าโจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยและได้ขายทอดตลาดทรัพย์สินเสร็จเรียบร้อยแล้วเป็นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ที่สมบูรณ์แล้วไม่เคลือบคลุมส่วนผู้ร้องจะสามารถเอาชำระหนี้จากทรัพย์สินอื่นของจำเลยได้หรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่ต้องนำสืบกันในชั้นพิจารณาหาจำต้องบรรยายไว้ด้วยไม่ แม้ผู้ร้องจะนำยึดที่ดินของลูกหนี้ตามคำพิพากษารายหนึ่งไว้แล้วแต่ราคาที่เจ้าพนักงานบังคับคดีประเมินไว้ไม่พอชำระหนี้ตามคำพิพากษาของผู้ร้องเมื่อจำเลยซึ่งเป็น ลูกหนี้ตามคำพิพากษาอีกรายหนึ่งไม่มีทรัพย์สินอื่นๆที่ผู้ร้องสามารถบังคับคดีได้โดยสิ้นเชิงแล้วผู้ร้องจึงมีสิทธิขอเฉลี่ยเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์สินของจำเลยในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1407/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิติดตามเอาคืนทรัพย์สิน: เจ้าของกรรมสิทธิ์/ผู้ครอบครอง ย่อมมีสิทธิเรียกคืนจากผู้ไม่มีสิทธิ
โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ทรัพย์พิพาทรายการที่1ถึงที่4จึงมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยได้ ทรัพย์พิพาทรายการที่5ไม่ใช่ทรัพย์ของโจทก์แต่เป็นทรัพย์ของผู้อื่นที่โจทก์ขอยืมมาแล้วให้ ท.ยืมไปอีกต่อหนึ่งดังนี้ถือได้ว่าโจทก์เป็นผู้ทรงสิทธิครอบครองในทรัพย์พิพาทรายการนี้เมื่อทรัพย์พิพาทรายการนี้ไปตกอยู่กับจำเลยโดยจำเลยไม่มีสิทธิเป็นเจ้าของโจทก์ในฐานะเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในทรัพย์รายการนี้ย่อมมีสิทธิติดตามเอาคืนจากจำเลยผู้ไม่มีสิทธิยึดถือไว้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1280/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินสองแสนบาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองนำรถยนต์โดยสารเข้ามาจอดหรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่เช่าของโจทก์และขอให้ชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายในอนาคตอีกเดือนละ20,000บาทจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าเป็นเรื่องผิดสัญญาเช่ามิใช่ละเมิดโดยเดิมจำเลยที่2เคยเช่าโดยค่าเช่าเดือนละ10,000บาทต่อมาโจทก์ขอขึ้นค่าเช่าเป็นเดือนละ20,000บาทจึงไม่เช่าต่อดังนั้นจุดประสงค์ของคดีคือพิพาทกันเรื่องค่าเช่าที่ค้างและเงินค่าเสียหายส่วนคำขอของโจทก์ที่ห้ามจำเลยทั้งสองมิให้กระทำการดังกล่าวเป็นเพียงผลต่อเนื่องมาจากความประสงค์สำคัญที่ขอให้ศาลกำหนดเงินค่าเช่าและค่าเสียหายซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1280/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม: คดีค่าเช่าและค่าเสียหายเกินทุนทรัพย์ที่ฟ้องร้องในชั้นฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองนำรถยนต์โดยสารเข้ามาจอดหรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่เช่าของโจทก์และขอให้ชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายในอนาคตอีกเดือนละ20,000บาทจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าเป็นเรื่องผิดสัญญาเช่ามิใช่ละเมิดโดยเดิมจำเลยที่2เคยเช่าในราคาเดือนละ10,000บาทแต่ต่อมาโจทก์ขอขึ้นค่าเช่าเป็นเดือนละ20,000บาทซึ่งสูงเกินไปจึงไม่เช่าต่อดังนั้นจุดประสงค์ของคดีคือพิพาทกันเรื่องค่าเช่าที่ค้างและเงินค่าเสียหายจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แม้โจทก์มีคำขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองนำรถยนต์โดยสารเข้ามาจอดหรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่เช่าของโจทก์ก็ตามก็เป็นเพียงผลต่อเนื่องมาจากความประสงค์สำคัญที่ขอให้ศาลกำหนดเงินค่าเช่าและค่าเสียหายคดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1256/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ศาลอาญาพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งเจ็ดบุกรุกที่พิพาทของโจทก์ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362,365(2)และบังคับให้ขับไล่จำเลยทั้งเจ็ดและให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายในส่วนคดีแพ่งถือเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่าจำเลยทั้งเจ็ดบุกรุกที่ดินโจทก์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยวินิจฉัยว่าคดีฟังไม่ได้แน่ชัดว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์คดีอาญาจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา220ส่วนคดีแพ่งศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามมาตรา46ซึ่งเท่ากับศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งเจ็ด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเช่าและการบอกเลิกสัญญาเช่า: การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ชอบด้วยกฎหมายหลังสิ้นสุดสัญญาเดิม
แม้สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทระหว่างโจทก์กับ ส. จะได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ก็ไม่มีกฎหมายบังคับให้การเปลี่ยนแปลงผู้เช่าจากผู้เช่าเดิมมาเป็นผู้เช่าใหม่ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จดทะเบียนการเช่าดังกล่าวรับทราบด้วย โจทก์จำเลยและ ส. ลงลายมือชื่อรับทราบการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าตึกแถวพิพาทจาก ส. มาเป็นจำเลยถือว่าโจทก์และ ส.ได้บอกกล่าวการโอนและให้ความยินยอมการโอนสิทธิการเช่าเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306วรรคหนึ่งแล้ว แม้หนังสือเลิกการเช่าของโจทก์ที่ส่งไปยังจำเลยเป็นระยะเวลาน้อยกว่ากำหนดเวลาที่ต้องชำระค่าเช่าระยะหนึ่งซึ่งไม่ชอบด้วยมาตรา566แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อเกินกว่าชั่วกำหนดเวลาดังกล่าวถือว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าโดยชอบแล้วจึงมีสิทธิฟ้องขับไล่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าที่สมบูรณ์ แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยินยอมของผู้เช่าเดิมและผู้ให้เช่าเพียงพอ
บันทึกการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าจากส.ผู้เช่าเดิมมาเป็นจำเลยผู้เช่าใหม่ในหนังสือสัญญาเช่าตึกแถวหน้าแรกระบุไว้ว่าโจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าจำเลยในฐานะผู้เช่าใหม่และส. ในฐานะผู้เช่าเดิมได้ลงลายมือชื่อรับทราบการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าตึกแถวแล้วถือได้ว่าโจทก์และส. ได้บอกกล่าวการโอนและให้ความยินยอมการโอนสิทธิการเช่าตึกแถวเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306วรรคหนึ่งการโอนสิทธิการเช่าตึกแถวจึงสมบูรณ์ แม้หนังสือสัญญาเช่าตึกแถวระหว่างโจทก์กับส. จะได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มาก่อนแต่ก็ไม่มีกฎหมายบังคับให้การเปลี่ยนแปลงผู้เช่าจากผู้เช่าเดิมมาเป็นผู้เช่าใหม่ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหนังสือสัญญาเช่ารับทราบด้วยแม้โจทก์จำเลยหรือส. ไม่ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมบันทึกเปลี่ยนแปลงผู้เช่าก็สมบูรณ์จำเลยย่อมต้องผูกพันต่อโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่าเมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของหุ้นส่วนจำกัดและฐานะส่วนตัวในการซื้อขาย กรณีจำเลยที่ 2 เจรจาซื้อดินก่อนบริษัทจดทะเบียน
จำเลยที่ 2 ตกลงเรื่องถมดินกับโจทก์ประมาณเดือนมีนาคม 2531 แต่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2531 ดังนั้นในขณะที่จำเลยที่ 2 ไปเจรจาซื้อที่ดินจากโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงทำในฐานส่วนตัวเพราะขณะนั้นจำเลยที่ 1 ยังไม่มีตัวตน แต่เหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเพราะจำเลยที่ 2 รับราชการอยู่ จึงให้ส.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และในทางปฏิบัติจำเลยที่ 2เป็นผู้บริหารงานและดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 และหลังจากจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วจำเลยที่ 2 ได้ซื้อดินจากโจทก์ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะหุ้นส่วนจำพวกจำพวกจำกัดความรับผิดที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 ดังนั้น จำเลยที่ 2จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1 ฎีกาจำเลยทั้งสองในส่วนนี้เกี่ยวกับคำขอตามฟ้องแย้งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของจำเลยทั้งสองจากการซื้อขายที่ดิน โดยจำเลยที่ 2 ดำเนินการทั้งในฐานะส่วนตัวและนิติบุคคล
จำเลยที่ 2 ตกลงเรื่องถมดินกับโจทก์ประมาณเดือนมีนาคม2531 แต่จำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลเมื่อวันที่ 29 เมษายน 2531 ดังนั้นในขณะที่จำเลยที่ 2 ไปเจรจาซื้อที่ดินจากโจทก์ จำเลยที่ 2 จึงทำในฐานะส่วนตัวเพราะขณะนั้นจำเลยที่ 1 ยังไม่มีตัวตน แต่เหตุที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการเพราะจำเลยที่ 2 รับราชการอยู่ จึงให้ ส.เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ และในทางปฏิบัติจำเลยที่ 2 เป็นผู้บริหารงานและดำเนินการแทนจำเลยที่ 1 และหลังจากจำเลยที่ 1 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลแล้วจำเลยที่ 2 ได้ซื้อดินจากโจทก์ทั้งในฐานะส่วนตัวและในฐานะหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิดที่สอดเข้าไปเกี่ยวข้องจัดการงานของจำเลยที่ 1 ดังนี้ จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยที่ 1
ฎีกาจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับคำขอตามฟ้องแย้ง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ฎีกาจำเลยทั้งสองในส่วนที่เกี่ยวกับคำขอตามฟ้องแย้ง เป็นฎีกาในข้อเท็จจริงซึ่งมีทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1087/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทที่จำกัดและการวินิจฉัยนอกประเด็นของศาล รวมถึงการรับฟังการยอมรับของจำเลย
ในการ ชี้สองสถานศาล กำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้เพียงสองข้อคือโจทก์มี อำนาจฟ้องหรือไม่และจำเลยสั่งลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของโจทก์หรือไม่โดยมิได้กำหนดเรื่องจำเลยขอยกเลิกการลงโฆษณาไว้หรือไม่เป็น ประเด็นข้อพิพาทไว้ด้วยเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคัดค้านคำสั่งในการกำหนดประเด็นข้อพิพาทถือว่าจำเลยได้ สละประเด็นข้อนี้แล้วทั้งประเด็นข้อที่ว่าจำเลยสั่งลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของโจทก์หรือไม่กับข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยขอยกเลิกการลงโฆษณาแล้วหรือไม่เป็นข้อเท็จจริงที่แยกต่างหากจากกันได้ดังนั้นการที่ศาลอุทธรณ์เห็นว่าประเด็นที่ศาลชั้นต้นกำหนดไว้ว่าจำเลยได้สั่งลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ของโจทก์หรือไม่ย่อมหมายความถึงว่าได้มีการยกเลิกการลงโฆษณาแล้วหรือไม่ด้วยแล้วหยิบยกขึ้นวินิจฉัยด้วยนั้นเป็นการ วินิจฉัยนอกประเด็น แม้คดีจะ ต้องห้ามฎีกาใน ปัญหาข้อเท็จจริง แต่เมื่อจำเลยให้การรับว่าได้สั่งลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์จริงดังที่โจทก์ฟ้องย่อมรับฟังได้โดยไม่ต้องฟังพยานหลักฐานอีกต่อไปจำเลยจึงต้องรับผิดชำระหนี้ให้โจทก์ตามที่โจทก์ฟ้อง