พบผลลัพธ์ทั้งหมด 924 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุทางรถยนต์: นายจ้างไม่มีสิทธิเรียกค่ารักษาพยาบาลลูกจ้างจากผู้กระทำละเมิดโดยตรง
จำเลยที่1ขับรถโดยประมาทชนรถยนต์ของโจทก์เป็นเหตุให้รถยนต์ของโจทก์เสียหายเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับรถยนต์ของโจทก์เท่านั้นส่วนการที่ พ. ลูกจ้างโจทก์กับ ม. ซึ่งเป็นภริยาของ พ. ซึ่งโดยสารมาในรถยนต์ของโจทก์ได้รับบาดเจ็บด้วยก็เป็นเรื่องที่จำเลยที่1กระทำละเมิดต่อ พ. และ ม.โดยตรงการที่โจทก์จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้แก่ พ. และ ม.ไปเป็นการจ่ายตามระเบียบเกี่ยวกับสวัสดิการค่ารักษาพยาบาลของโจทก์ให้แก่ลูกจ้างรวมทั้งคู่สมรสไม่มีกฎหมายให้โจทก์มีสิทธิหรือรับช่วงสิทธิเรียกค่ารักษาพยาบาลที่จ่ายไปคืนได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการเวนคืน: กทม.ละเลยแจ้งข้อมูลเวนคืน ทำให้ผู้ซื้อเสียหาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2497บัญญัติไว้โดยเด็ดขาดให้เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา 9 เมื่อพระราช-กฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสายรัชดาภิเษก ตอนแขวงบางซื่อ - แขวงลาดยาว พ.ศ. 2517 มาตรา 4 บัญญัติไว้ว่า ให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ดังนั้น กรุงเทพมหานครจำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานที่ดินกรุงเทพ-มหานครทราบตามมาตรา 9 ค. เมื่อจำเลยที่ 1 มิได้แจ้ง จึงเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมาย หากจำเลยที่ 1 ไม่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อโจทก์มาจดทะเบียนการซื้อขาย เจ้าพนักงานที่ดินก็จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารพิพาทจะต้องถูกเวนคืน โจทก์ก็คงจะไม่ซื้อที่ดินและอาคารพิพาท การละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่ 1ดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรงก่อให้บังเกิดความเสียหายแก่โจทก์ ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์
การที่จำเลยที่ 2 ไม่แจ้งให้บริษัท ธ.ทราบ เป็นการกระทำละเมิดต่อบริษัท ธ. หากมีความเสียหายเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่บริษัท ธ.จะไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 2 ส่วนโจทก์ซึ่งรับโอนอาคารพิพาทจากบริษัท ธ. ตามสัญญาซื้อขายอีกต่อหนึ่งนั้น โจทก์หาได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 ไม่ ความเสียหายที่โจทก์ได้รับเพราะที่ดินถูกเวนคืนและอาคารพิพาทถูกรื้อ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าครอบครองและรื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2529 ถือได้ว่ามูลละเมิดเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่กล่าวนี้เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2530 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่มูลละเมิดเกิดขึ้น คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
การที่จำเลยที่ 2 ไม่แจ้งให้บริษัท ธ.ทราบ เป็นการกระทำละเมิดต่อบริษัท ธ. หากมีความเสียหายเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่บริษัท ธ.จะไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่ 2 ส่วนโจทก์ซึ่งรับโอนอาคารพิพาทจากบริษัท ธ. ตามสัญญาซื้อขายอีกต่อหนึ่งนั้น โจทก์หาได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่ 2 ไม่ ความเสียหายที่โจทก์ได้รับเพราะที่ดินถูกเวนคืนและอาคารพิพาทถูกรื้อ จึงถือไม่ได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์
จำเลยที่ 1 ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าครอบครองและรื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อวันที่ 14 ตุลาคม 2529 ถือได้ว่ามูลละเมิดเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่กล่าวนี้เป็นต้นไป โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2530 ยังไม่เกิน 1 ปี นับแต่มูลละเมิดเกิดขึ้น คดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการเวนคืนและแจ้งข้อมูลไม่ถูกต้อง ทำให้ผู้ซื้อได้รับความเสียหาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497บัญญัติไว้โดยเด็ดขาดให้เจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามบทบัญญัติมาตรา9เมื่อพระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงเทศบาลสาย รัชดาภิเษก ตอนแขวงบางซื่อ-แขวงลาดยาวพ.ศ.2517มาตรา4บัญญัติไว้ว่าให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครเป็นเจ้าหน้าที่ดำเนินการตามพระราชกฤษฎีกานี้ดังนั้นกรุงเทพมหานครจำเลยที่1จึงมีหน้าที่ต้องแจ้งให้สำนักงานที่ดินกรุงเทพมหานครทราบตามมาตรา9ค.เมื่อจำเลยที่1มิได้แจ้งจึงเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายหากจำเลยที่1ไม่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยแจ้งต่อเจ้าพนักงานที่ดินเมื่อโจทก์มาจดทะเบียนการซื้อขายเจ้าพนักงานที่ดินก็จะต้องแจ้งให้โจทก์ทราบว่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารพิพาทจะต้องถูกเวนคืนโจทก์ก็คงจะไม่ซื้อที่ดินและอาคารพิพาทการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของจำเลยที่1ดังกล่าวจึงเป็นผลโดยตรงก่อให้บังเกิดความเสียหายแก่โจทก์ย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ การที่จำเลยที่2ไม่แจ้งให้บริษัท ธ.ทราบเป็นการกระทำละเมิดต่อบริษัท ธ. หากมีความเสียหายเกิดขึ้นก็เป็นเรื่องที่บริษัท ธ.จะไปว่ากล่าวเอาแก่จำเลยที่2ส่วนโจทก์ซึ่งรับโอนอาคารพิพาทจากบริษัท ธ.ตามสัญญาซื้อขายอีกต่อหนึ่งนั้นโจทก์หาได้มีนิติสัมพันธ์กับจำเลยที่2ไม่ความเสียหายที่โจทก์ได้รับเพราะที่ดินถูกเวนคืนและอาคารพิพาทถูกรื้อจึงถือไม่ได้ว่าเป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่2จำเลยที่2มิได้ทำละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่1ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าครอบครองและรื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อวันที่14ตุลาคม2529ถือได้ว่ามูลละเมิดเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่กล่าวนี้เป็นต้นไปโจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่1มิถุนายน2530ยังไม่เกิน1ปีนับแต่มูลละเมิดเกิดขึ้นคดีโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 373/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเลยเวนคืนแจ้งเจ้าของ-เจ้าพนักงานที่ดิน ทำให้เสียหายจากการเวนคืน ชดใช้ค่าเสียหายเฉพาะส่วนที่เหลือ
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ.2497มาตรา9บัญญัติไว้โดยเด็ดขาดว่านอกจากจะต้องประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้เจ้าหน้าที่มอบสำเนาอันแท้จริงแห่งพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ในมาตรา6และมาตรา8พร้อมทั้งแผนที่ท้ายพระราชกฤษฎีกาและพระราชบัญญัตินั้นๆไว้ณสถานที่ที่ทำการเจ้าหน้าที่ที่ทำการผู้ว่าราชการจังหวัดและที่ว่าการอำเภอหรือหอทะเบียนที่ดินในตำบลซึ่งทรัพย์สินที่ต้องเวนคืนนั้นตั้งอยู่เมื่อจำเลยที่1ในฐานะเจ้าหน้าที่มิได้ปฏิบัติหน้าที่ดังกล่าวจึงเป็นการละเว้นไม่ปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายเป็นผลโดยตรงก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ที่ไม่ทราบว่าที่ดินซึ่งเป็นที่ตั้งของอาคารพิพาทที่โจทก์ซื้อมาจากบริษัท ธ. ผู้ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารจะต้องถูกเวนคืนทำให้อาคารพิพาทที่โจทก์ซื้อต้องถูกรื้อย่อมเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ส่วนจำเลยที่2ซึ่งเป็นผู้แทนของจำเลยที่1แม้มิได้แจ้งให้บริษัท ธ. ทราบเรื่องดังกล่าวขณะขออนุญาตปลูกสร้างอาคารก็หาได้มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ไม่ถือไม่ได้ว่าความเสียหายของโจทก์เป็นผลโดยตรงจากการทำละเมิดของจำเลยที่2จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่2ทำละเมิดต่อโจทก์ แม้โจทก์จะได้ทราบถึงการแจ้งการครอบครองและให้รื้อถอนอาคารพิพาทตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์2526แต่ในขณะนั้นอาคารพิพาทยังไม่ถูกเข้าครอบครองและรื้อถอนมูลละเมิดจึงยังไม่เกิดเมื่อจำเลยที่1ได้ส่งเจ้าหน้าที่เข้าครอบครองและรื้อถอนอาคารพิพาทเมื่อวันที่14ตุลาคม2529ถือว่ามูลละเมิดเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไปโจทก์ฟ้องคดีวันที่1มิถุนายน2530ยังไม่เกิน1ปีคดีจึงยังไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์ & โฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย: ศาลกลับคำพิพากษาให้เพิกถอนโฉนดและคืนสิทธิครอบครอง
เมื่อโจทก์ บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตาม หนังสือรับรองการทำประโยชน์ โจทก์จึงมีแต่เพียง สิทธิครอบครองในที่ดินดังกล่าวเท่านั้นแม้โจทก์จะอ้างว่ากรณีเป็นเรื่องการเรียกทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ก็เป็นการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนซึ่งสิทธิครอบครองต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ4ลักษณะ3และ สิทธิฟ้องคดีดังกล่าวนี้เป็น ข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้มิได้กำหนดประเด็นไว้ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5)ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์หยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นมาวินิจฉัยจึงหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการออกโฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย ศาลเพิกถอนโฉนดคืนสิทธิผู้ครอบครองเดิม
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทในเรื่องฟ้องโจทก์ขาดสิทธิเอาคืนซึ่งการครอบครองไว้เพราะจำเลยให้การต่อสู้ว่าคดีโจทก์ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1375อันเป็นบทบัญญัติในเรื่องระยะเวลาในการใช้สิทธิฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองแม้โจทก์จะอ้างว่ากรณีเป็นเรื่องการเรียกทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336ก็เป็นการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนซึ่งสิทธิครอบครองซึ่งจะต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งกฎหมายว่าด้วยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ4ลักษณะ3และประเด็นดังกล่าวนี้เป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้มิได้กำหนดประเด็นไว้ศาลก็มีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา142(5) เมื่อที่ดินของจำเลยที่6มีการออกโฉนดซึ่งที่ดินทั้งแปลงแล้วน.ส.3ของที่ดินแปลงนั้นย่อมเป็นอันยกเลิกไปโฉนดที่ดินเลขที่13130ซึ่งจำเลยที่6รังวัดออกมาจากที่ดินน.ส.3ดังกล่าวนั้นอีกจึงเป็นโฉนดที่ดินที่ออกมาโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา61 เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ทั้งสามเป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทตลอดมาการที่จำเลยที่6ขอออกโฉนดที่ดินเลขที่13130ทับที่ดินน.ส.3ของโจทก์ทั้งสามและจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์สืบต่อกันมาจนถึงจำเลยที่4โดยมิได้เข้าครอบครองที่พิพาทกรณีจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินพิพาทจากโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้แม้จะเกิน1ปีนับแต่วันที่ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลยที่6
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 369/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินต่อเนื่อง + โฉนดที่ดินไม่ชอบด้วยกฎหมาย = ผู้ครอบครองมีสิทธิ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่ดินตามน.ส.3โจทก์จึงมีแต่เพียงสิทธิครอบครองแม้โจทก์จะอ้างว่าเป็นการเรียกทรัพย์คืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1336แต่ก็เป็นการฟ้องคดีเพื่อเรียกคืนซึ่งสิทธิครอบครองต้องอยู่ภายใต้บังคับประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ4ลักษณะ3ว่าด้วยการครอบครองต้องฟ้องเอาคืนซึ่งการครอบครองภายในหนึ่งปีตามมาตรา1375 ที่ดินน.ส.3ของจำเลยมีการออกโฉนดที่ดินทั้งแปลงแล้วน.ส.3ย่อมเป็นอันยกเลิกโฉนดที่ดินซึ่งจำเลยรังวัดออกมาจากที่ดินน.ส.3ดังกล่าวจึงเป็นโฉนดที่ดินที่ออกมาโดยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา61 โจทก์เป็นฝ่ายครอบครองที่ดินการที่จำเลยขอออกโฉนดที่ดินทับที่ดินน.ส.3ของโจทก์และมีการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์สืบต่อกันมาโดยมิได้เข้าครอบครองที่ดินจึงยังถือไม่ได้ว่าจำเลยแย่งการครอบครองที่ดินจากโจทก์โจทก์จึงมีสิทธิฟ้องคดีได้แม้จะเกิน1ปีนับแต่วันที่ทางราชการออกโฉนดที่ดินให้แก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321-322/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำสัญญาซื้อขายแม้ใช้แบบพิมพ์สัญญาผิดประเภท ศาลพิจารณาจากข้อความในสัญญาเป็นหลัก
การทำสัญญาจะใช้แบบพิมพ์สัญญาประเภทใดไม่ใช่ข้อสำคัญหากแต่ความสำคัญอยู่ที่ว่าข้อความที่ทำกันไว้ในแบบพิมพ์สัญญาดังกล่าวเข้าลักษณะเป็นสัญญาประเภทใดเมื่อสัญญาที่โจทก์จำเลยทำกันไว้มีข้อความที่เขียนไว้ว่าจำเลยขายที่พิพาทให้แก่โจทก์ในราคา100,000บาทโดยโจทก์ได้ชำระราคาจำนวน72,000บาทให้แก่จำเลยส่วนจำเลยได้มอบที่พิพาทพร้อมหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้แก่โจทก์ในวันทำสัญญาสำหรับราคาค่าที่พิพาทส่วนที่เหลือโจทก์จะชำระให้แก่จำเลยในภายหลังจึงเข้าลักษณะเป็นสัญญาซื้อขายมิใช่สัญญาเช่าซื้อ บทบัญญัติประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา171หมายถึงในกรณีนิติกรรมที่ทำกันไว้มีข้อความไม่ชัดแจ้งอาจตีความได้หลายนัยจึงให้ตีความการแสดงเจตนาโดยเพ่งเล็งถึงเจตนาอันแท้จริงเป็นสำคัญยิ่งกว่าถ้อยคำสำนวนหรือตัวอักษรแต่สัญญาที่โจทก์จำเลยทำกันไว้มีข้อความชัดแจ้งว่าเป็นสัญญาซื้อขายไม่ใช่สัญญาเช่าซื้อจึงนำมาตรา171มาบังคับให้ต้องสืบพยานประกอบเพื่อตีความถึงเจตนาอันแท้จริงของคู่สัญญาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 535(2) ต้องมีอยู่ในขณะทำสัญญา
การให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา535(2)นั้นสิ่งที่มีค่าภาระติดพันนั้นจะต้องมีอยู่ในขณะตกลงทำสัญญาให้แก่กันแม้จะฟังว่าจำเลยเป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทครั้งแรกและครั้งที่สองก่อนการให้คดีนี้นานแล้วก็เป็นเหตุการณ์คนละตอนจึงมิใช่สิ่งที่มีค่าภาระติดพันที่เกี่ยวกับการให้ที่ดินพิพาทในคดีนี้ การทำสัญญายกให้ที่ดินและบ้านพิพาทขณะที่ยังติดจำนองเป็นประกันหนี้ครั้งที่สามอันถือว่าเป็นหนี้ของจำเลยผู้รับให้โดยไม่มีการไถ่ถอนจำนองไม่ถือว่าเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา535(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน: จำนองที่ดินก่อน/หลังการให้ และความรับผิดของผู้รับให้
การให้สิ่งที่มีค่าภารติดพันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา535(2)สิ่งที่มีค่าภารติดพันนั้นจะต้องมีอยู่ในขณะตกลงทำสัญญาให้แก่กันจำเลยเป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่พิพาทครั้งแรกและครั้งที่สองก่อนที่โจทก์ให้ที่พิพาทการไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทครั้งแรกและครั้งที่สองจึงมิใช่สิ่งที่มีค่าภารติดพันที่เกี่ยวกับการให้ที่พิพาท การจำนองที่ดินพิพาทครั้งที่สามซึ่งโจทก์ทำขึ้นก่อนที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยเป็นการจำนองเพื่อประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดศ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยแต่จำเลยก็เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา12077(2)ประกอบมาตรา1087จึงถือได้ว่าการจำนองครั้งที่สามเป็นการประกันหนี้ของจำเลยการที่โจทก์ทำสัญญายกให้ที่ดินพิพาทให้จำเลยขณะที่ยังติดจำนองครั้งที่สามเป็นประกันหนี้อันถือว่าเป็นของจำเลยผู้รับให้โดยไม่มีการไถ่ถอนจำนองไม่ถือว่าเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพันตามมาตรา535(2)