คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นาม ยิ้มแย้ม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 924 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพัน: จำนองที่ดินก่อน/หลังการให้ และความรับผิดของผู้รับให้
การให้สิ่งที่มีค่าภารติดพันตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา535(2)สิ่งที่มีค่าภารติดพันนั้นจะต้องมีอยู่ในขณะตกลงทำสัญญาให้แก่กันจำเลยเป็นผู้ไถ่ถอนจำนองที่พิพาทครั้งแรกและครั้งที่สองก่อนที่โจทก์ให้ที่พิพาทการไถ่ถอนจำนองที่ดินพิพาทครั้งแรกและครั้งที่สองจึงมิใช่สิ่งที่มีค่าภารติดพันที่เกี่ยวกับการให้ที่พิพาท การจำนองที่ดินพิพาทครั้งที่สามซึ่งโจทก์ทำขึ้นก่อนที่โจทก์ให้ที่ดินพิพาทแก่จำเลยเป็นการจำนองเพื่อประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัดศ. ซึ่งเป็นนิติบุคคลแยกต่างหากจากจำเลยแต่จำเลยก็เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการต้องรับผิดในหนี้ของห้างโดยไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา12077(2)ประกอบมาตรา1087จึงถือได้ว่าการจำนองครั้งที่สามเป็นการประกันหนี้ของจำเลยการที่โจทก์ทำสัญญายกให้ที่ดินพิพาทให้จำเลยขณะที่ยังติดจำนองครั้งที่สามเป็นประกันหนี้อันถือว่าเป็นของจำเลยผู้รับให้โดยไม่มีการไถ่ถอนจำนองไม่ถือว่าเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภารติดพันตามมาตรา535(2)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 320/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การให้ที่ดินที่มีภาระจำนอง: การให้มีค่าภาระติดพันตาม ป.พ.พ. มาตรา 535(2) จำนองต้องมีอยู่ขณะทำสัญญา
สิ่งที่มีค่าภาระติดพันที่เกี่ยวกับการให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา535(2)จะต้องมีอยู่ในขณะตกลงทำสัญญาให้แก่กัน โจทก์ให้ที่ดินแก่จำเลยโดยที่ดินมีการจำนองเพื่อประกันหนี้ของห้างหุ้นส่วนจำกัด ศ. ที่จำเลยเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการซึ่งจำเลยต้องรับผิดในหนี้ของห้างได้ไม่จำกัดจำนวนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1077(2)ประกอบมาตรา1087และจำเลยก็รับว่าเป็นการจำนองเพื่อเป็นประกันหนี้จำเลยถือได้ว่าการจำนองเป็นการประกันหนี้ของจำเลยการยกให้ที่ดินโดยไม่มีการไถ่ถอนจำนองดังกล่าวจะถือว่าเป็นการให้สิ่งที่มีค่าภาระติดพันหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมดสิทธิบังคับคดีหลัง 10 ปี แม้บังคับคดีบางส่วนไปแล้ว ประเด็นคือระยะเวลาตาม ป.วิ.พ.
โจทก์ได้บังคับคดีแก่ที่ดินจำนองของจำเลยออกขายทอดตลาด ได้เงินมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์บางส่วนเมื่อวันที่ 24 กันยายน 2530 แล้ว แต่โจทก์เพิ่งร้องขอให้บังคับคดี แก่ทรัพย์สินของจำเลยเพิ่มเติมเพื่อบังคับชำระหนี้ตาม คำพิพากษาในส่วนที่เหลือเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2536จึงพ้นกำหนดระยะเวลาสิบปีนับแต่วันที่ 31 กรกฎาคม 2524ซึ่งเป็นวันที่ศาลมีคำพิพากษา โจทก์ย่อมหมดสิทธิบังคับคดีแก่ทรัพย์สินของจำเลยได้อีกต่อไป ปัญหาข้อโต้เถียงเกี่ยวกับสิทธิในการบังคับคดีว่าโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 กำหนดไว้หรือไม่อันเป็นระยะเวลาตามที่กฎหมายวิธีสารบัญญัติกำหนดไว้โดยเฉพาะ ไม่อาจนำบทบัญญัติในเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติมาใช้ปรับแก่กรณีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดี: การบังคับคดีต้องดำเนินการภายใน 10 ปีนับจากวันมีคำพิพากษา มิฉะนั้นสิทธิระงับ
การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ครบถ้วนภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271ดังนั้นหากเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาแล้วขายทอดตลาดได้เงินไม่คุ้มหนี้และโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีอีกโจทก์จดแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้เพิ่มเติมเมื่อเกินกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาแล้วไม่ได้ ปัญหาในชั้นนี้เป็นข้อโต้เถียงเกี่ยวกับสิทธิในการบังคับคดีโดยตรงว่าโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา271กำหนดไว้หรือไม่อันเป็นระยะเวลาตามที่กฎหมายวิธีสบัญญัติกำหนดไว้โดยเฉพาะจึงไม่อาจนำบทบัญญัติในเรื่องอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติมาใช้บังคับแก่กรณีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 224/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดีตามคำพิพากษา: การดำเนินการภายใน 10 ปี และความแตกต่างจากอายุความ
การร้องขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษา เจ้าหนี้ตามคำ-พิพากษาจะต้องขอให้ศาลออกหมายบังคับคดีและแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีขอให้ยึดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้ครบถ้วนภายในสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 271 ดังนั้นหากเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของลูกหนี้ตามคำพิพากษามาแล้วขายทอดตลาดได้เงินไม่คุ้มหนี้และโจทก์ประสงค์จะบังคับคดีอีก โจทก์จะแถลงขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของลูกหนี้เพิ่มเติมเมื่อเกินกำหนดสิบปีนับแต่วันมีคำพิพากษาแล้วไม่ได้
ปัญหาในชั้นนี้เป็นข้อโต้เถียงเกี่ยวกับสิทธิในการบังคับคดีโดยตรงว่าโจทก์ได้ดำเนินการบังคับคดีภายในระยะเวลาที่ ป.วิ.พ. มาตรา 271กำหนดไว้หรือไม่ อันเป็นระยะเวลาตามที่กฎหมายวิธีสบัญญัติกำหนดไว้โดยเฉพาะจึงไม่อาจนำบทบัญญัติในเรื่องอายุความตาม ป.พ.พ. ซึ่งเป็นกฎหมายสารบัญญัติมาใช้บังคับแก่กรณีได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวม-มรดก: สิทธิฟ้องขับไล่จำกัด, การแบ่งทรัพย์สินต้องเป็นไปตามกฎหมายที่ดิน
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยกับจ.บิดาโจทก์โจทก์อยู่ในฐานะถือกรรมสิทธิ์แทนจึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท การแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมของจ.เจ้ามรดกตลอดจนวิธีการแบ่งเป็นปัญหาในการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะดำเนินการตามกฎหมายแต่ผู้จัดการมรดกหรือทายาทอื่นๆมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้สำหรับคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าวในส่วนที่ให้แบ่งทรัพย์สินพิพาทแก่จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและในฐานะทายาทโดยธรรมนั้นขัดต่อประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา86ผลต่อไปต้องเป็นไปตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 183/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กรรมสิทธิ์รวมและมรดก: สิทธิฟ้องขับไล่จำกัดเฉพาะผู้มีกรรมสิทธิ์โดยตรง การแบ่งมรดกเป็นอำนาจผู้จัดการมรดก
ที่ดินและบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมของจำเลยกับ จ.บิดาโจทก์ โจทก์อยู่ในฐานะถือกรรมสิทธิ์แทน จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่จำเลยให้ออกไปจากที่ดินและบ้านพิพาท
การแบ่งทรัพย์มรดกให้แก่ทายาทโดยธรรมของ จ.เจ้ามรดกตลอดจนวิธีการแบ่งเป็นปัญหาในการจัดการมรดกซึ่งเป็นอำนาจของผู้จัดการมรดกที่จะดำเนินการตามกฎหมาย แต่ผู้จัดการมรดก หรือทายาทอื่น ๆ มิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้ สำหรับคำขอตามฟ้องแย้งของจำเลยซึ่งเป็นบุคคลต่างด้าวในส่วนที่ให้แบ่งทรัพย์สินพิพาทแก่จำเลยในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมและในฐานะทายาทโดยธรรมนั้นขัดต่อ ป.ที่ดินมาตรา 86 ผลต่อไปต้องเป็นไปตาม ป.ที่ดินมาตรา 96

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 126/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและขาดนัดพิจารณาคดี การส่งหมายแจ้งคำฟ้องและหมายนัดพยานไปยังภูมิลำเนาจำเลย
เจ้าหน้าที่ของศาลชั้นต้นได้ส่งสำเนาคำฟ้องและหมายเรียกให้จำเลยยื่นคำให้การให้แก่ภริยาจำเลยซึ่งอยู่บ้านหลังเดียวกันกับจำเลยทั้งได้ปิดหมายนัดสืบพยานโจทก์ให้จำเลยทราบที่บ้านหลังดังกล่าวโดยชอบถือได้ว่าจำเลยได้ทราบคำฟ้องกำหนดเวลายื่นคำให้การและวันเวลานัดสืบพยานโจทก์โดยชอบแล้วเมื่อจำเลยมิได้ยื่นคำให้การในกำหนดและมิได้ไปศาลชั้นต้นตามวันเวลานัดสืบพยานโจทก์โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องจำเลยก็ตกเป็นผู้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและ จงใจขาดนัดพิจารณา ไม่อาจขอให้พิจารณาใหม่ได้ข้ออ้างของจำเลยที่ว่าขณะที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยได้ออกจากภูมิลำเนานำวัวไปเลี้ยงยังต่างท้องที่ไม่ใช่ข้ออ้างที่จะรับฟังว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดยื่นคำให้การและมิได้จงใจขาดนัดพิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเช่าที่ดิน ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ก่อน หากไม่ปฏิบัติตามเป็นการฟ้องคดีไม่ชอบ
การที่ผู้เช่านาจะฟ้องคดีขอให้ผู้รับโอนโอนนาที่เช่าให้แก่ผู้เช่าตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524โดยผู้เช่าอ้างว่าผู้ให้เช่าขายนาที่เช่าไปโดยไม่แจ้งให้ผู้เช่าทราบนั้นผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายเสียก่อนกล่าวคือต้องมีการร้องขอต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลเพื่อวินิจฉัยเสียก่อนซึ่งเป็นขั้นตอนที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามมาตรา54ของพระราชบัญญัติดังกล่าวหากผู้เช่าไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลก็ต้องอุทธรณ์ต่อไปยังคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดเพื่อวินิจฉัยซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามมาตรา56ของพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดวินิจฉัยแล้วยังไม่เป็นที่พอใจอยู่อีกผู้เช่าจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลหรือฟ้องศาลได้ตามมาตรา57ของพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่โจทก์ฟ้องคดีนี้อ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังได้กล่าวข้างต้นจึงเป็นการฟ้องคดีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฎีกาโต้แย้งเฉพาะประเด็นเรื่องโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524หรือไม่เท่านั้นแต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลสำหรับประเด็นเรื่องค่าเสียหายซึ่งโจทก์มิได้ฎีกามาด้วยจึงเป็นการเสียค่าขึ้นศาลเกินมาไม่ถูกต้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเช่าที่ดินต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ก่อน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
การที่ผู้เช่านาจะฟ้องคดีขอให้ผู้รับโอนโอนนาที่เช่าให้แก่ผู้เช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 โดยผู้เช่าอ้างว่าผู้ให้เช่าขายนาที่เช่าไปโดยไม่แจ้งให้ผู้เช่าทราบนั้น ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายเสียก่อน กล่าวคือ ต้องมีการร้องขอต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลเพื่อวินิจฉัยเสียก่อน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 54 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว หากผู้เช่าไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล ก็ต้องอุทธรณ์ต่อไปยังคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดเพื่อวินิจฉัย ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 56 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อคณะ-กรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดวินิจฉัยแล้วยังไม่เป็นที่พอใจอยู่อีก ผู้เช่าจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลหรือฟ้องศาลได้ตามมาตรา 57 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้อ้างสิทธิตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวโดยมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังได้กล่าวข้างต้น จึงเป็นการฟ้องคดีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฎีกาโต้แย้งเฉพาะประเด็นเรื่องโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524หรือไม่เท่านั้น แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลสำหรับประเด็นเรื่องค่าเสียหายซึ่งโจทก์มิได้ฎีกามาด้วย จึงเป็นการเสียค่าขึ้นศาลเกินมาไม่ถูกต้อง
of 93