คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
นาม ยิ้มแย้ม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 924 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 48/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีอาญาอุกฉกรรจ์ พยานหลักฐานโจทก์ไม่หนักแน่นเพียงพอที่จะพิสูจน์ความผิดจำเลยได้ ศาลฎีกายกฟ้อง
คดีอุกฉกรรจ์มีโทษหนักถึง ประหารชีวิต พยานหลักฐานโจทก์จะต้องชัดแจ้งหนักแน่นมั่นคงโดยไม่มีข้อตำหนิใดๆให้เป็นที่ประจักษ์ได้เมื่อโจทก์ ไม่มีประจักษ์พยานคงมีแต่พยานเหตุผลแวดล้อมกรณีซึ่งเบิกความไม่สอดคล้องกันจึงไม่น่าเชื่อถือประกอบกับจำเลยให้ การปฏิเสธตลอดมาตั้งแต่ต้นคดีฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้กระทำความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 37/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำชำเราเด็กหญิงอายุไม่เกิน 13 ปี: ปัญหาอายุผู้เสียหาย, พยานหลักฐาน, และการพิพากษาลงโทษ
แม้โจทก์ ไม่มีประจักษ์พยาน แต่ก็ มีคำรับสารภาพของจำเลยทั้ง ชั้นจับกุมและ สอบสวนซึ่งรับว่าได้ กระทำชำเรา ผู้เสียหายเมื่อฟังประกอบกับหลักฐานที่ฟังได้ว่าผู้เสียหายได้บอกว่าถูกจำเลยกระทำชำเราจริงแล้วจึง ฟังได้ว่าผู้เสียหายถูกจำเลยกระทำชำเราจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำหน่ายคดีออกจากสารบบความหลังจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ต้องยื่นคำขอภายในกำหนดเวลา
เมื่อจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การเจ้าหน้าที่ศาลจะทำรายงานต่อศาลชั้นต้นว่าโจทก์ไม่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การเมื่อใดไม่ใช่ข้อสำคัญและหามีผลให้รายงานของเจ้าหน้าที่ศาลเป็นรายงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายไม่เพราะไม่มีกฎหมายบัญญัติบังคับไว้ ศาลชั้นต้นให้ส่งหมายเรียกและสำเนาคำฟ้องแก่จำเลยทั้งสองโดยวิธีประกาศหนังสือพิมพ์ให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การภายในวันที่20พฤศจิกายน2534โจทก์จะต้องมีคำขอเพื่อให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดในวันที่5ธันวาคม2534แต่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการโจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำขอได้ในวันที่6ธันวาคม2534แม้ในวันดังกล่าวเจ้าหน้าที่ศาลจะรายงานต่อศาลว่าครบกำหนดที่จำเลยทั้งสองจะต้องยื่นคำให้การมานานแล้วแต่โจทก์มิได้ดำเนินการยื่นคำร้องขอให้จำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การซึ่งไม่ถูกต้องแต่เมื่อช่วงเวลาดังกล่าวโจทก์ไม่ได้มีคำขอข้างต้นการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความในวันที่9ธันวาคม2534ซึ่งเป็นเวลาภายหลังวันครบกำหนดให้โจทก์มีคำขอจึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 34/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขาดนัดยื่นคำให้การและการเสนอรายงานต่อศาล
โจทก์ต้องยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การภายใน 15 วัน นับแต่ระยะเวลาที่กำหนดให้จำเลยทั้งสองยื่นคำให้การสิ้นสุดลงคือวันที่ 5 ธันวาคม 2534 แต่วันดังกล่าวเป็นวันหยุดราชการ โจทก์จึงมีสิทธิยื่นคำขอดังกล่าวได้ในวันที่ 6 ธันวาคม 2534 แต่โจทก์มิได้มีคำขอดังกล่าวแม้เจ้าหน้าที่ศาลเสนอรายงานต่อศาลในวันเดียวกันว่าโจทก์ไม่ยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าจำเลยทั้งสองขาดนัดยื่นคำให้การก็หาเป็นข้อสำคัญและทำให้รายงานดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ประเด็นข้อพิพาทใหม่ในฎีกา: การยกข้อเท็จจริงที่ไม่ได้พิจารณาในศาลชั้นต้นถือเป็นการไม่ชอบ
ข้อโต้เถียงที่ว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะที่ประชาชน ใช้ประโยชน์ร่วมกันหรือไม่ ศาลชั้นต้นไม่ได้ตั้งเป็นประเด็นข้อพิพาทไว้ การที่โจทก์กล่าวในฎีกาว่าทางพิพาทเป็นทางสาธารณะที่ประชาชนใช้ประโยชน์ร่วมกัน จำเลยไม่มีสิทธิ ทำลายหรือปิดกั้นทางดังกล่าว รวมทั้งไม่มีสิทธิห้ามโจทก์มิให้ใช้ทางพิพาท เป็นการยกข้อเท็จจริงที่มิได้ว่ากล่าวกันมาตั้งแต่ชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้นขึ้นมาใหม่ เป็นการไม่ชอบต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7471/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งปริมาณการผลิตล่าช้าถือเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกำหนดราคาสินค้า แม้ไม่มีผลเสียต่อราชการ
ประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด กำหนดให้ผู้ผลิตสินค้าควบคุมแจ้งปริมาณการผลิตหรือการนำเข้าของแต่ละเดือนเป็นประจำทุกไตรมาส (3 เดือน) ต่อเลขาธิการภายในเดือนแรกของไตรมาส(3 เดือน) ถัดไป ย่อมหมายถึงว่าผู้ผลิตสินค้าควบคุมมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแจ้งปริมาณการผลิตภายในเวลาที่กำหนด การที่จำเลยจัดทำแบบแจ้งปริมาณการผลิตเสร็จเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2528 แล้วไม่ยื่นแบบแจ้งต่อเลขาธิการคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดภายในวันที่ 30 เมษายน 2528 จะถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด มาตรา 43
การที่จำเลยแจ้งปริมาณการผลิตหรือการนำเข้าของแต่ละเดือนเป็นประจำทุกไตรมาสล่าช้ากว่ากำหนด 4 วัน และจำเลยไม่ได้รับประโยชน์และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ก็ถือว่าจำเลยมีเจตนาฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดแล้ว เพราะประกาศดังกล่าวประกาศใช้เพื่อควบคุมสินค้าบางประเภทที่ทางราชการเห็นว่าผู้ผลิตผู้จำหน่ายอาจจะเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7458/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์สินหลังข้อตกลงเบื้องต้น สิทธิในการครอบครองและการฟ้องขับไล่
ปัญหาว่า โจทก์ได้มอบการครอบครองทรัพย์สินที่จะซื้อขายแก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการชำระหนี้บางส่วน สัญญาจะซื้อขายจึงเกิดขึ้นโดยมิต้องทำเป็นหนังสือกันอีก จึงไม่ต้องห้ามที่จะฟ้องร้องหรือต่อสู้คดี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456 วรรคสอง นั้น เป็นข้อที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
สัญญามีข้อความระบุว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ผู้เริ่มก่อการตั้งจำเลยที่ 2 เข้าครอบครองทรัพย์สินพิพาทเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการทำสัญญาจะซื้อจะขายเสร็จ ทั้งนี้การครอบครองชั่วคราวจะไม่เกินวันที่ 31กรกฎาคม 2530 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2 ไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกันจำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิอยู่ในทรัพย์สินพิพาทจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2530หลังจากนั้นเป็นการอยู่โดยละเมิด โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 โดยไม่จำต้องบอกกล่าวได้
การที่โจทก์มีหนังสือหลังจากวันดังกล่าวแจ้งให้จำเลยที่ 2ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากทรัพย์สินพิพาทให้แล้วเสร็จโดยเร็ว แต่ต้องไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2530 หาใช่โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ครอบครองทรัพย์สินพิพาทถึงวันดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่โจทก์เตือนให้จำเลยที่ 2 ออกไปจากทรัพย์สินพิพาท หนังสือดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะอยู่ในทรัพย์สินที่พิพาทโดยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7458/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองทรัพย์สินหลังสัญญาจะซื้อขายไม่สมบูรณ์ และอำนาจฟ้องขับไล่
ปัญหาว่า โจทก์ได้มอบการครอบครองทรัพย์สินที่จะซื้อขายแก่จำเลยที่ 2 อันเป็นการชำระหนี้บางส่วน สัญญาจะซื้อขายจึงเกิดขึ้นโดยมิต้องทำเป็นหนังสือกันอีก จึงไม่ต้องห้ามที่จะฟ้องร้องหรือต่อสู้คดี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสองนั้น เป็นข้อที่จำเลยที่ 2 ไม่ได้ให้การต่อสู้คดีไว้ จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย สัญญามีข้อความระบุว่า โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 1 ผู้เริ่มก่อการตั้งจำเลยที่ 2 เข้าครอบครองทรัพย์สินพิพาทเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะมีการทำสัญญาจะซื้อจะขายเสร็จ ทั้งนี้การครอบครองชั่วคราวจะไม่เกินวันที่ 31 กรกฎาคม 2530 เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 2ไม่ได้ทำสัญญาจะซื้อจะขายกัน จำเลยที่ 2 ก็มีสิทธิอยู่ในทรัพย์สินพิพาทจนถึงวันที่ 31 กรกฎาคม 2530 หลังจากนั้นเป็นการอยู่โดยละเมิดโจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยที่ 2 โดยไม่จำต้องบอกกล่าวได้ การที่โจทก์มีหนังสือหลังจากวันดังกล่าวแจ้งให้จำเลยที่ 2ขนย้ายทรัพย์สินและบริวารออกไปจากทรัพย์สินพิพาทให้แล้วเสร็จโดยเร็วแต่ต้องไม่เกินวันที่ 30 กันยายน 2530 หาใช่โจทก์ยินยอมให้จำเลยที่ 2 ครอบครองทรัพย์สินพิพาทถึงวันดังกล่าว แต่เป็นเรื่องที่โจทก์เตือนให้จำเลยที่ 2 ออกไปจากทรัพย์สินพิพาท หนังสือดังกล่าวไม่ก่อให้เกิดสิทธิที่จะอยู่ในทรัพย์สินที่พิพาทโดยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7409/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้ออ้างเรื่องที่ดินสาธารณสมบัติของแผ่นดินในชั้นฎีกาที่ไม่ชอบตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
โจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า ที่ดินพิพาทเป็นสาธารณสมบัติของแผ่นดิน โจทก์เพิ่งยกปัญหาข้อนี้ขึ้นกล่าวอ้างในชั้นฎีกาจึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรกศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7331/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนกรรมสิทธิ์ก่อนสัญญาเช่าทำให้สัญญาเช่าไม่ผูกพันผู้ซื้อ และมีสิทธิฟ้องขับไล่ได้
เมื่อ ส. จดทะเบียนโอนขายที่ดินและตึกแถวพิพาทให้แก่โจทก์ก่อนสัญญาเช่าระหว่างจำเลยกับ ส. จะมีผลบังคับ สัญญาเช่าจึงไม่มีผลผูกพันโจทก์เมื่อโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอยู่ในตึกแถวพิพาทต่อไป และบอกกล่าวแล้ว จำเลยจึงต้องออกไปจากตึกแถวพิพาท เมื่อจำเลยเพิกเฉย โจทก์มีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทได้ในฐานะเจ้าของกรรมสิทธิ์
of 93