พบผลลัพธ์ทั้งหมด 924 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5885/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย, การโอนกรรมสิทธิ์, ค่าเสียหายจากการไม่ปฏิบัติตามสัญญา, การประเมินราคาที่ดิน
โจทก์ทั้งสองฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่1โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้โจทก์ทั้งสองหากไม่สามารถโอนได้ให้ชดใช้ค่าเสียหายต้องถือราคาทรัพย์พิพาทในขณะยื่นคำฟ้องเป็นจำนวนค่าเสียหายและการนำสืบราคาซื้อขายที่ดินไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือโจทก์ทั้งสองจึงนำสืบพยานบุคคลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5729/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การหลอกลวงลงทุนซื้อขายเงินตราต่างประเทศโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ถือเป็นความผิดฐานฉ้อโกง หากเป็นการลงทุนโดยสมัครใจ
การที่ผู้กระทำผิดฐานฉ้อโกงได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่3ต้องเป็นผลโดยตรงจากการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จหรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง บริษัทย. โดยจำเลยที่2ถึงที่5อ้างว่าได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายประกอบกิจการเกี่ยวกับการเป็นโบรคเกอร์ให้กับผู้ลงทุนในการติดต่อซื้อขายในสัญญาสกุลเงินตราต่างประเทศกับตลาดแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศทั่วโลกโดยบริษัทย.เป็นคอมมิสชั่นเฮ้าส์ของตลาดโลกซึ่งไม่เป็นความจริงจึงเป็นการหลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้งแต่การที่โจทก์และบุคคลอื่นนำเงินไปลงทุนกับบริษัทย. เพื่อประกอบกิจการสั่งซื้อสั่งขายเงินตราต่างประเทศมีลักษณะเป็นการเก็งกำไรการที่จะได้กำไรหรือขาดทุนขึ้นอยู่กับความเสี่ยงทั้งการประกอบกิจการดังกล่าวก็เป็นวัตถุประสงค์ข้อหนึ่งของบริษัทย. หากแต่ยังไม่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังเท่านั้นจึงเป็นความสมัครใจในการร่วมลงทุนการได้ไปซึ่งทรัพย์สินในการร่วมลงทุนมิได้เกิดจากผลโดยตรงจากการถูกหลอกลวงว่าบริษัทย. ได้จดทะเบียนถูกต้องตามกฎหมายดังกล่าวการกระทำของจำเลยที่2ถึงที่5จึงไม่เป็นความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมในละเมิด: จำเลยที่ 2 ต้องพิสูจน์ความเป็นลูกจ้างและกระทำในทางการจ้าง
การที่จำเลยที่2ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่1ก่อขึ้นต้องได้ความว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างและกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่2เมื่อพยานโจทก์เบิกความเพียงว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่2มาชนรถยนต์ของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายส่วนข้อที่ว่าจำเลยที่1จะเป็นลูกจ้างและกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่2หรือไม่พยานมิได้เบิกความถึงประกอบกับจำเลยที่2ก็นำสืบปฎิเสธว่าจำเลยที่1ไม่ได้เป็นลูกจ้างของตนด้วยโจทก์จึงนำสืบได้ไม่สมฟ้องการที่ศาลสันนิษฐานหรือถือว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างและกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่2จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5435/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตการฟ้องจำเลยนายจ้างร่วมรับผิดในละเมิดของลูกจ้าง และผลของการประนีประนอมยอมความ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 2 ต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดด้วย อันเป็นการฟ้องจำเลยที่ 2 นายจ้างให้ร่วมรับผิดในมูลละเมิดของจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างตามป.พ.พ. มาตรา 425 คดีจึงไม่มีประเด็นว่า จำเลยที่ 2 ต้องรับผิดตามสัญญาประนี-ประนอมยอมความหรือไม่ แม้ข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยที่ 2 ทำสัญญาประนีประนอมยอมความยอมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ ก.อันทำให้สิทธิเรียกร้องในมูลละเมิดระงับสิ้นไปและทำให้แต่ละฝ่ายได้สิทธิตามที่แสดงไว้ในสัญญาศาลก็จะพิพากษาให้จำเลยที่ 2 รับผิดตามสัญญาประนีประนอมยอมความไม่ได้ เพราะเป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้องไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 142
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5319/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้เงินยืม, พยานหลักฐานการยืมเงิน, การชำระหนี้เงินยืม, สิทธิเรียกร้องของทางราชการ
เอกสารหมายล.3เป็นสำเนาภาพถ่ายเอกสารผลการตรวจพิสูจน์เอกสารของกองพิสูจน์หลักฐานกรมตำรวจว่าลายมือชื่อจำเลยที่1ในใบยืมเงินเอกสารหมายจ.11และจ.12ว่าไม่ใช่ลายมือชื่อจำเลยที่1เมื่อโจทก์มีหนังสือตอบปฏิเสธว่าไม่ได้ดำเนินการส่งเรื่องไปตรวจพิสูจน์เท่ากับไม่รับรองว่าสำเนาเอกสารถูกต้องจำเลยที่1ไม่แสดงเหตุขัดข้องที่ไม่ส่งต้นฉบับและไม่นำผู้รับรองสำเนามาเบิกความรับรองจึงไม่อาจรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้ สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่มีต่อจำเลยที่1ซึ่งยืมเงินงบประมาณนำไปใช้จ่ายในการปฏิบัติงานแล้วต้องนำใบสำคัญคู่จ่ายเงินส่งใช้ใบยืมหากมีเงินเหลือให้ส่งใช้ใบยืมเงินมิฉะนั้นต้องชดใช้เงินคืนให้ทางราชการจนครบไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ10ปีนับแต่ที่จำเลยที่1มีหน้าที่คืนเงินและการฟ้องเรียกคืนเช่นนี้ไม่ใช่การเรียกร้องค่าเสียหายจะนำอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448มาใช้บังคับไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5319/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานเอกสารและการบังคับอายุความสิทธิเรียกร้องเงินคืน
เอกสารหมาย ล.3 ที่จำเลยอ้างเป็นเพียงสำเนาภาพถ่ายเอกสารและโจทก์ก็มีหนังสือตอบปฏิเสธว่าไม่ได้ดำเนินการส่งเรื่องไปตรวจพิสูจน์เท่ากับโจทก์ไม่รับรองว่าสำเนาเอกสารถูกต้อง เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่แสดงเหตุขัดข้องที่ไม่ส่งต้นฉบับและไม่นำผู้รับรองสำเนาเอกสารมาเบิกความรับรอง จึงไม่อาจรับฟังเอกสารดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานได้
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินของโจทก์ และได้ยืมเงินงบประมาณเพื่อนำไปใช้จ่ายหมุนเวียนและปฏิบัติงานตามโครงการ เมื่อปฏิบัติเสร็จแล้วต้องนำใบสำคัญคู่จ่ายเงินส่งใช้ใบยืม หากมีเงินเหลือให้ส่งใช้ใบยืมเงิน เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งใช้ใบยืมจนครบ จำเลยที่ 1ก็จะต้องชดใช้เงินคืนให้ทางราชการจนครบ ดังนี้ถือว่าเงินที่จะต้องคืนนั้นเป็นเงินของทางราชการที่ยังอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 1 ตามหน้าที่ ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในเรื่องนี้ไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่ (มาตรา 164 เดิม) คือมีอายุความ 10 ปี เมื่อนับแต่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่คืนเงินจนถึงวันฟ้องเรียกเงินคืนยังไม่พ้น 10 ปี คดีจึงไม่ขาดอายุความ กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเช่นนี้ไม่ใช่การเรียกร้องค่าเสียหายจะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายในกำหนด 1 ปี ตามมาตรา 448 มาใช้บังคับ
จำเลยที่ 1 มีหน้าที่และความรับผิดชอบเกี่ยวกับการเงินของโจทก์ และได้ยืมเงินงบประมาณเพื่อนำไปใช้จ่ายหมุนเวียนและปฏิบัติงานตามโครงการ เมื่อปฏิบัติเสร็จแล้วต้องนำใบสำคัญคู่จ่ายเงินส่งใช้ใบยืม หากมีเงินเหลือให้ส่งใช้ใบยืมเงิน เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ส่งใช้ใบยืมจนครบ จำเลยที่ 1ก็จะต้องชดใช้เงินคืนให้ทางราชการจนครบ ดังนี้ถือว่าเงินที่จะต้องคืนนั้นเป็นเงินของทางราชการที่ยังอยู่ในความดูแลรักษาของจำเลยที่ 1 ตามหน้าที่ ซึ่งสิทธิเรียกร้องของโจทก์ในเรื่องนี้ไม่มีบทบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะจึงต้องบังคับตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 ที่แก้ไขใหม่ (มาตรา 164 เดิม) คือมีอายุความ 10 ปี เมื่อนับแต่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่คืนเงินจนถึงวันฟ้องเรียกเงินคืนยังไม่พ้น 10 ปี คดีจึงไม่ขาดอายุความ กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกคืนเช่นนี้ไม่ใช่การเรียกร้องค่าเสียหายจะนำอายุความเรียกร้องค่าเสียหายในกำหนด 1 ปี ตามมาตรา 448 มาใช้บังคับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5266/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลภายนอกคดีและสิทธิในการปล่อยทรัพย์: การเพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและการอ้างว่าเป็นสินสมรส
แม้ผู้ร้องจะเป็นภริยาของจำเลยแต่ก็มิได้ถูกฟ้องด้วยจึงเป็นบุคคลภายนอกและชอบที่จะนำคดีตามที่กล่าวอ้างว่าสัญญาประนีประนอมยอมความระหว่างโจทก์กับจำเลยในคดีนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมายเพราะเป็นการจัดการสินสมรสโดยผู้ร้องมิได้ให้ความยินยอมด้วยไปฟ้องขอให้ศาลเพิกถอนเป็นอีกคดีหนึ่งจะยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนในคดีซึ่งตนมิได้เป็นคู่ความด้วยหาได้ไม่ การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งปล่อยทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา288ต้องเป็นเรื่องที่ผู้ร้องกล่าวอ้างว่าจำเลยไม่ใช่เจ้าของทรัพย์ดังกล่าวเมื่ออ้างว่าทรัพย์นั้นเป็นสินสมรสระหว่างผู้ร้องกับจำเลยร่วมกันเท่ากับยอมรับว่าจำเลยเป็นเจ้าของทรัพย์ด้วยผู้ร้องจึงหามีสิทธิขอให้ปล่อยทรัพย์ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและภาระการพิสูจน์ ศาลวินิจฉัยจากพยานหลักฐานโดยรวม
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นการกำหนดเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นพิพาทของคู่ความ ส่วนการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นใดก่อนหรือหลัง ย่อมเป็นไปเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินกระบวนการพิจารณา แต่การวินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้น ต้องวินิจฉัยจากถ้อยคำพยานที่คู่ความนำสืบมาประกอบกัน โดยพิจารณาตามภาระหน้าที่ในการพิสูจน์ของแต่ละฝ่าย หาใช่ว่าฝ่ายใดมีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อนแล้วจะต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของฝ่ายนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่
โจทก์ฟ้องว่า บ้านและที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 กึ่งหนึ่งอีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของสามีโจทก์ที่ 1 ตกได้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยในฐานะทายาทคนละส่วนเท่า ๆ กัน จำเลยต่อสู้ว่าบ้านและที่ดินพิพาทจำเลยครอบครองเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวตามข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์สิน และจำเลยครอบครองมาด้วยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมากกว่า 10 ปี แล้วจึงได้สิทธิครอบครอง โจทก์มิได้ดำเนินคดีภายในกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์ขาดอายุความจึงเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวอ้างว่า บ้านและที่ดินพิพาทได้มีการแบ่งปันตกเป็นของจำเลยโดยชอบ จนกระทั่งจำเลยได้มาซึ่งสิทธิครอบครองตาม น.ส.3 ก. แม้จำเลยเป็นผู้มีชื่อใน น.ส.3 ก. และได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ว่า เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง แต่จำเลยยังต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์สินตามข้อตกลงของทายาทโดยชอบ และได้ครอบครองเพื่อตนและโดยสุจริต อันเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นมาใหม่อีกด้วย ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า "โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยได้ตกลงแบ่งทรัพย์พิพาทตามฟ้องหรือไม่ และฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่" แล้วให้จำเลยเป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนทั้งสองประเด็นโดยที่ประเด็นข้อหลังภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาความแล้ว
โจทก์ฟ้องว่า บ้านและที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่ 1 กึ่งหนึ่งอีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของสามีโจทก์ที่ 1 ตกได้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยในฐานะทายาทคนละส่วนเท่า ๆ กัน จำเลยต่อสู้ว่าบ้านและที่ดินพิพาทจำเลยครอบครองเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวตามข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์สิน และจำเลยครอบครองมาด้วยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมากกว่า 10 ปี แล้วจึงได้สิทธิครอบครอง โจทก์มิได้ดำเนินคดีภายในกำหนด 1 ปี ฟ้องโจทก์ขาดอายุความจึงเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวอ้างว่า บ้านและที่ดินพิพาทได้มีการแบ่งปันตกเป็นของจำเลยโดยชอบ จนกระทั่งจำเลยได้มาซึ่งสิทธิครอบครองตาม น.ส.3 ก. แม้จำเลยเป็นผู้มีชื่อใน น.ส.3 ก. และได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ว่า เป็นผู้มีสิทธิครอบครอง แต่จำเลยยังต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์สินตามข้อตกลงของทายาทโดยชอบ และได้ครอบครองเพื่อตนและโดยสุจริต อันเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นมาใหม่อีกด้วย ดังนั้น ที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า "โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยได้ตกลงแบ่งทรัพย์พิพาทตามฟ้องหรือไม่ และฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่" แล้วให้จำเลยเป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนทั้งสองประเด็นโดยที่ประเด็นข้อหลังภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาความแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภาระการพิสูจน์ในคดีทรัพย์สิน การแบ่งทรัพย์มรดก และผลของหนังสือรับรองการทำประโยชน์
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นการกำหนดเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นข้อพิพาทของคู่ความแต่การกำหนดให้ฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นข้อใดก่อนหรือหลังย่อมเป็นไปเพื่อความสะดวกและรวดเร็วในการดำเนินกระบวนพิจารณาส่วนการวินิจฉัยข้อเท็จจริงต้องวินิจฉัยจากถ้อยคำพยานที่โจทก์จำเลยนำสืบประกอบกันโดยพิจารณาตามภาระหน้าที่ในการพิสูจน์ของแต่ละฝ่ายหาใช่ฝ่ายใดมีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อนแล้วจะต้องวินิจฉัยจากพยานหลักฐานของฝ่ายนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ โจทก์กล่าวอ้างว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่1กึ่งหนึ่งอีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของจ. สามีโจทก์ที่1ซึ่งตกได้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยในฐานะทายาทส่วนละเท่าๆกันจำเลยต่อสู้ว่าบ้านและที่ดินพิพาทจำเลยเป็นเจ้าของแต่ผู้เดียวตามข้อตกลงของทายาทจำเลยครอบครองโดยสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมากกว่า10ปีแล้วจึงได้สิทธิครอบครองเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวอ้างว่าบ้านและที่ดินพิพาทมีการแบ่งปันตกมาเป็นของจำเลยแม้จำเลยเป็นผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์และได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373จำเลยยังต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์สินตามข้อตกลงของทายาทโดยชอบและได้ครอบครองเพื่อตนและโดยสุจริตอันเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นใหม่อีกด้วย หนังสือรับรองการทำประโยชน์เป็นเอกสารสิทธิอันเป็นเอกสารราชการซึ่งเจ้าพนักงานได้ออกให้เพื่อแสดงว่าผู้มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้ครอบครองและได้ทำประโยชน์ในที่ดินดังกล่าวถือได้ว่าเป็นอสังหาริมทรัพย์ที่ได้จดไว้ในทะเบียนที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทและภาระการพิสูจน์ ศาลวินิจฉัยจากพยานหลักฐานทั้งสองฝ่าย
การกำหนดประเด็นข้อพิพาทเป็นการกำหนดเพื่อให้ได้ความชัดในประเด็นพิพาทของคู่ความส่วนการกำหนดให้คู่ความฝ่ายใดนำพยานหลักฐานมาสืบในประเด็นใดก่อนหรือหลังย่อมเป็นไปเพื่อความสะดวกรวดเร็วในการดำเนินกระบวนพิจารณาแต่การวินิจฉัยข้อเท็จจริงนั้นต้องวินิจฉัยจากถ้อยคำพยานที่คู่ความนำสืบมาประกอบกันโดยพิจารณาตามภาระหน้าที่ในการพิสูจน์ของแต่ละฝ่ายหาใช้ว่าฝ่ายใดมีหน้าที่นำพยานเข้าสืบก่อนแล้วจะต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของฝ่ายนั้นแต่เพียงฝ่ายเดียวไม่ โจทก์ฟ้องว่าบ้านและที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ที่1กึ่งหนึ่งอีกกึ่งหนึ่งเป็นมรดกของสามีโจทก์ที่1ตกได้แก่โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยในฐานะทายาทคนละส่วนเท่าๆกันจำเลยต่อสู้ว่าบ้านและที่ดินพิพาทจำเลยครอบครองเป็นเจ้าของแต่เพียงผู้เดียวตามข้อตกลงในการแบ่งทรัพย์สินและจำเลยครอบครองมาด้วยความสงบเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของมากกว่า10ปีแล้วจึงได้สิทธิครอบครองโจทก์มิได้ดำเนินคดีภายในกำหนด1ปีฟ้องโจทก์ขาดอายุความจึงเป็นเรื่องที่จำเลยกล่าวอ้างว่าบ้านและที่ดินพิพาทได้มีการแบ่งปันตกเป็นของจำเลยโดยชอบจนกระทั่งจำเลยได้มาซึ่งสิทธิครอบครองตามน.ส.3ก.แม้จำเลยเป็นผู้มีชื่อในน.ส.3กและได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373ว่าเป็นผู้มีสิทธิครอบครองแต่จำเลยยังต้องพิสูจน์ให้เห็นว่าจำเลยได้รับส่วนแบ่งในทรัพย์สินตามข้อตกลงของทายาทโดยชอบและได้ครอบครองเพื่อตนและโดยสุจริตอันเป็นข้อเท็จจริงที่จำเลยยกขึ้นมาใหม่อีกด้วยดังนั้นที่ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า"โจทก์ทั้งเจ็ดและจำเลยได้ตกลงแบ่งทรัพย์พิพาทตามฟ้องหรือไม่และฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่"แล้วให้จำเลยเป็นฝ่ายมีหน้าที่นำสืบก่อนทั้งสองประเด็นโดยที่ประเด็นข้อหลังภาระการพิสูจน์ตกแก่โจทก์ชอบด้วยกระบวนวิธีพิจารณาความแล้ว