พบผลลัพธ์ทั้งหมด 924 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5032/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ที่ดินมีทางออกสู่ถนนสาธารณะ แม้เป็นทางบนสันเขื่อน ไม่ถือเป็นที่ดินถูกปิดล้อม ไม่มีสิทธิขอผ่านที่ดินผู้อื่น
โจทก์มีทางเดินออกสู่ถนนสาธารณะโดยเดินบนทางสันเขื่อน ริมคลองบางซ่อน ซึ่งเป็นซ่อน ซึ่งเป็นเขื่อนกั้นคลองระบายน้ำของกรุงเทพมหานครออกไปสู่ถนนประชาราษฎร์ สาย 1 อันเป็นถนนสาธารณะ แม้ทางดังกล่าวจะเป็นทางบนสันเขื่อน แต่กรุงเทพมหานครสร้างขึ้นเพื่อให้ประชาชนสัญจรไปมา ที่ดินโจทก์จึงไม่เป็นที่ดินที่ถูกปิดล้อมไม่มีทางออกสู่ ทางสาธารณะ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง จึงไม่มีสิทธิขอผ่านที่ดินของจำเลยโดยอ้างเหตุจำเป็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4884/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายรถยนต์พิพาท สิทธิเจ้าของกรรมสิทธิ์ และการฟ้องแย้งเรียกคืนทรัพย์
การซื้อขายรถยนต์พิพาทเป็นการซื้อขายสังหาริมทรัพย์ซึ่งตกลงกันเป็นราคากว่าห้าร้อยบาทขึ้นไป ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือหรือได้วางประจำไว้หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้วจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 456วรรคท้าย การตั้งตัวแทนเพื่อกิจการดังกล่าว หากไม่มีการวางมัดจำหรือชำระหนี้บางส่วนแล้ว ก็ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ทั้งนี้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 798 วรรคสอง
จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 มิได้แต่งตั้งหรือแสดงออกว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 เป็นตัวแทนในการขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ และในขณะโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 นั้น กรรมสิทธิ์ยังเป็นของจำเลยที่ 3 อยู่ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจนำรถยนต์ดังกล่าวไปขายให้แก่โจทก์
ที่โจทก์ฎีกาว่าได้รถยนต์พิพาทมาโดยการซื้อจากพ่อค้าได้ค้าขายกันในท้องตลาดมีค่าตอบแทนโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 โจทก์จึงไม่จำต้องคืนรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 5 หรือใช้ราคาตามฟ้องแย้งนั้น โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแต่เพียงว่า โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในราคาตามท้องตลาด ชำระราคาครบถ้วนและรับมอบรถยนต์แล้วโดยสุจริต มิได้ให้การว่าได้รถยนต์พิพาทโดยการซื้อจากพ่อค้าในท้องตลาดตามมาตรา 1332 แต่อย่างใด ฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 3 ฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนรถยนต์พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืนและเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ครอบครองทรัพย์ไว้โดยมิชอบ เพราะซื้อทรัพย์จากบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าของอันเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด โจทก์ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ดังนั้น ก่อนฟ้องแย้งจำเลยที่ 3 หาจำต้องมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนหรือให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์ไม่ จำเลยที่ 3จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์
จำเลยที่ 5 เป็นเพียงหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ต่างหากจากจำเลยที่ 3 โดยไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทร่วมกับจำเลยที่ 3 ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 ในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ถูกโต้แย้งสิทธิอันเนื่องจากรถยนต์พิพาท จำเลยที่ 5 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกคืนรถยนต์พิพาทและเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ในการใช้รถยนต์พิพาท อำนาจฟ้องแย้งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองรถยนต์พิพาทย่อมเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 3 อยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์พิพาทคืน จำเลยที่ 3 มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ และเมื่อจำเลยที่ 3 เรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปซึ่งโจทก์ยังครอบครองรถยนต์พิพาทอันเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 3 อยู่ จึงไม่มีปัญหาเรื่องอายุความว่าจะนับแต่เมื่อใด คดีจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448
จำเลยที่ 3 ที่ 4 ที่ 5 มิได้แต่งตั้งหรือแสดงออกว่าจำเลยที่ 1ที่ 2 เป็นตัวแทนในการขายรถยนต์พิพาทให้แก่โจทก์ และในขณะโจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 นั้น กรรมสิทธิ์ยังเป็นของจำเลยที่ 3 อยู่ จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจนำรถยนต์ดังกล่าวไปขายให้แก่โจทก์
ที่โจทก์ฎีกาว่าได้รถยนต์พิพาทมาโดยการซื้อจากพ่อค้าได้ค้าขายกันในท้องตลาดมีค่าตอบแทนโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1332 โจทก์จึงไม่จำต้องคืนรถยนต์พิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 5 หรือใช้ราคาตามฟ้องแย้งนั้น โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งแต่เพียงว่า โจทก์ซื้อรถยนต์พิพาทจากจำเลยที่ 1 ที่ 2 ในราคาตามท้องตลาด ชำระราคาครบถ้วนและรับมอบรถยนต์แล้วโดยสุจริต มิได้ให้การว่าได้รถยนต์พิพาทโดยการซื้อจากพ่อค้าในท้องตลาดตามมาตรา 1332 แต่อย่างใด ฎีกาของโจทก์ในส่วนนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
จำเลยที่ 3 ฟ้องแย้งขอให้โจทก์คืนรถยนต์พิพาทในฐานะเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ติดตามเอาทรัพย์สินของตนคืนและเรียกค่าเสียหายเนื่องจากโจทก์ครอบครองทรัพย์ไว้โดยมิชอบ เพราะซื้อทรัพย์จากบุคคลที่ไม่ใช่เจ้าของอันเป็นการกระทำละเมิดต่อจำเลยที่ 3 จึงเป็นหนี้อันเกิดแต่มูลละเมิด โจทก์ได้ชื่อว่าผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด ดังนั้น ก่อนฟ้องแย้งจำเลยที่ 3 หาจำต้องมีหนังสือทวงถามให้โจทก์ส่งมอบรถยนต์พิพาทคืนหรือให้ชดใช้ค่าขาดประโยชน์ไม่ จำเลยที่ 3จึงมีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์
จำเลยที่ 5 เป็นเพียงหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ซึ่งมีสิทธิและหน้าที่ต่างหากจากจำเลยที่ 3 โดยไม่ได้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รถยนต์พิพาทร่วมกับจำเลยที่ 3 ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 5 ในฐานะส่วนตัวหรือในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 3 ถูกโต้แย้งสิทธิอันเนื่องจากรถยนต์พิพาท จำเลยที่ 5 จึงไม่มีอำนาจฟ้องแย้งเรียกคืนรถยนต์พิพาทและเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ในการใช้รถยนต์พิพาท อำนาจฟ้องแย้งเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้โจทก์จะมิได้ยกขึ้นฎีกา ศาลฎีกาก็ยกขึ้นวินิจฉัยได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา249 วรรคสอง
เมื่อโจทก์ยังคงครอบครองรถยนต์พิพาทย่อมเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 3 อยู่ตลอดเวลาจนกว่าจะส่งมอบรถยนต์พิพาทคืน จำเลยที่ 3 มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากโจทก์ และเมื่อจำเลยที่ 3 เรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องแย้งเป็นต้นไปซึ่งโจทก์ยังครอบครองรถยนต์พิพาทอันเป็นการละเมิดต่อจำเลยที่ 3 อยู่ จึงไม่มีปัญหาเรื่องอายุความว่าจะนับแต่เมื่อใด คดีจึงไม่ขาดอายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4781/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่เป็นผู้เสียหายในคดีอาญา เนื่องจากไม่มีความเสียหายโดยตรงจากข้อพิพาทระหว่างผู้อื่น
โจทก์ที่1ส่งมอบเครื่องกลึงโลหะและอุปกรณ์การกลึงเรียวให้แก่จำเลยที่1ตามสัญญาซื้อขายจำเลยที่1ได้รับมอบตลอดจนอนุมัติให้จ่ายเงินค่าเครื่องกลึงโลหะและอุปกรณ์การกลึงเรียวให้แก่โจทก์ที่1ครบถ้วนแล้วต่อมาเมื่อจำเลยที่1บอกเลิกสัญญาและเครื่องกลึงโลหะกับอุปกรณ์การกลึงเรียวมิได้นำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่2กับที่1เท่านั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ทั้งสองโจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4781/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาซื้อขายและการขาดความเสียหายของโจทก์
โจทก์ที่ 1 ส่งมอบเครื่องกลึงโลหะและอุปกรณ์การกลึงเรียวให้แก่จำเลยที่ 1 ตามสัญญาซื้อขาย จำเลยที่ 1 ได้รับมอบตลอดจนอนุมัติให้จ่ายเงินค่าเครื่องกลึงโลหะและอุปกรณ์การกลึงเรียวให้แก่โจทก์ที่ 1 ครบถ้วนแล้ว ต่อมาเมื่อจำเลยที่ 1 บอกเลิกสัญญาและเครื่องกลึงโลหะกับอุปกรณ์การกลึงเรียวมิได้นำไปใช้ประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ก็เป็นเรื่องระหว่างจำเลยที่ 2 กับที่ 1เท่านั้น ย่อมไม่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ทั้งสอง โจทก์ทั้งสองจึงไม่ใช่ผู้เสียหายในความผิดฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4343/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: ข้อสันนิษฐานตาม น.ส.3 และภาระการพิสูจน์ของผู้ครอบครอง
การที่โจทก์มีชื่อในหนังสือรับรองการทำประโยชน์(น.ส.3)นั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา1373ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลผู้มีรายชื่อในทะเบียนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองจำเลยกล่าวอ้างว่าจำเลยซื้อที่ดินมาจากถ. เจ้าของที่ดินเดิมและครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาจำเลยจึงมีภาระการพิสูจน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3093/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรอการลงโทษสำหรับความผิดน้ำหนักบรรทุกเกินกำหนด พิจารณาจากพฤติการณ์และโอกาสให้กลับตัว
แม้ความผิดฐานขับรถบรรทุกน้ำมันเกินอัตราที่จำเลยก่อขึ้นจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่เศรษฐกิจของชาติตลอดจนชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนโดยส่วนรวมดังที่โจทก์ฎีกาแต่ความเสียหายดังกล่าวก็ใช่ว่าจะเกิดขึ้นโดยพลันทันทีไม่เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเคยกระทำความผิดใดๆมาก่อนย่อมน่าจะให้โอกาสจำเลยได้กลับตัวประพฤติตนเป็นพลเมืองดีต่อไปที่ศาลอุทธรณ์ภาค2พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่ลงโทษจำคุกและปรับแต่ให้รอการลงโทษจำคุกไว้โดยกำหนดเงื่อนไขเพื่อคุมความประพฤติด้วยจึงเหมาะสมแก่พฤติการณ์แห่งคดีแล้วส่วนที่ศาลฎีกาเคยพิพากษาลงโทษจำคุกโดยไม่รอการลงโทษในคดีเช่นเดียวกันก็เป็นดุลพินิจเฉพาะในแต่ละคดีจะถือเอามาเป็นบรรทัดฐานสำหรับคดีนี้หรือคดีอื่นๆหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระงับหนี้ตามสัญญาจำนองและการสมัครใจใช้หนี้แทนลูกหนี้อื่น จำเลยมีสิทธิยึดถือโฉนดได้
โจทก์ทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเมื่อโจทก์ได้ใช้เงินแก่จำเลยครบถ้วนตามสัญญาจำนองแล้วหนี้ตามสัญญาจำนองที่โจทก์มีต่อจำเลยจึงเป็นอันระงับสิ้นไปสัญญาจำนองที่โจทก์ทำไว้แก่จำเลยย่อมระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา744(1)จำเลยจึงมีหน้าที่ไปขอจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินดังกล่าว โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยขอมอบที่ดินให้จำเลยทำการแทนในการซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นการชำระหนี้บางส่วนของพ. จึงเป็นกรณีที่โจทก์สมัครใจเข้ามาใช้หนี้ของพ.ลูกหนี้โจทก์แทนพ. โดยยอมให้จำเลยขายที่ดินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ย่อมก่อให้เกิดผลผูกพันโจทก์จำเลยจึงมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินตามฟ้องไว้จนกว่าความรับผิดในหนี้ของพ. จะสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2758/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำนองระงับเมื่อชำระหนี้ & การใช้หนี้แทนลูกหนี้ก่อให้เกิดผลผูกพัน
โจทก์ทำสัญญาจำนองที่ดินเป็นประกันหนี้ของโจทก์ที่มีต่อจำเลยเมื่อโจทก์ได้ใช้เงินแก่จำเลยครบถ้วนตามสัญญาจำนองแล้ว หนี้ตามสัญญาจำนองที่โจทก์มีต่อจำเลยจึงเป็นอันระงับสิ้นไป สัญญาจำนองที่โจทก์ทำไว้แก่จำเลยย่อมระงับสิ้นไปตาม ป.พ.พ. มาตรา 744 (1) จำเลยจึงมีหน้าที่ไปขอจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองที่ดินดังกล่าว
โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยขอมอบที่ดินให้จำเลยทำการแทนในการซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นการชำระหนี้บางส่วนของ พ. จึงเป็นกรณีที่โจทก์สมัครใจเข้ามาใช้หนี้ของ พ.ลูกหนี้โจทก์แทน พ.โดยยอมให้จำเลยขายที่ดินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ ย่อมก่อให้เกิดผลผูกพันโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินตามฟ้องไว้จนกว่าความรับผิดในหนี้ของ พ.จะสิ้นไป
โจทก์มีหนังสือถึงจำเลยขอมอบที่ดินให้จำเลยทำการแทนในการซื้อขายและโอนกรรมสิทธิ์เพื่อเป็นการชำระหนี้บางส่วนของ พ. จึงเป็นกรณีที่โจทก์สมัครใจเข้ามาใช้หนี้ของ พ.ลูกหนี้โจทก์แทน พ.โดยยอมให้จำเลยขายที่ดินของโจทก์นำเงินมาชำระหนี้ ย่อมก่อให้เกิดผลผูกพันโจทก์ จำเลยจึงมีสิทธิยึดถือโฉนดที่ดินตามฟ้องไว้จนกว่าความรับผิดในหนี้ของ พ.จะสิ้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิบอกเลิกสัญญาซื้อขายและการบังคับค้ำประกัน กรณีผู้ขายผิดสัญญา
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายเครื่องสูบน้ำสปริงเกอร์พร้อมท่อและอุปกรณ์ประกอบด้วยเครื่องยนต์กำลัง จำนวน 13 ชุด จากจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2เป็นผู้ออกสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ให้แก่โจทก์ ต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1ไม่ปฏิบัติตามสัญญา โจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว เมื่อตามสัญญาซื้อขายข้อ 8 วรรคแรกระบุว่า เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ วรรคสองระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร และถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวน หรือเฉพาะจำนวนที่ขาดแล้วแต่กรณีภายใน 12 เดือน นับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาโดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้น ผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วย ส่วนสัญญาซื้อขายข้อ 9 วรรคแรก ระบุว่า ในกรณีผู้ซื้อไม่ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วน ส่วนวรรคสองระบุว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8 วรรคสองนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ไม่สามารถส่งมอบเครื่องสูบน้ำและสปริงเกอร์ที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามที่สัญญากำหนดไว้ให้แก่โจทก์ ทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้ให้โอกาสจำเลยที่ 1 ส่งมอบเครื่องสูบน้ำและสปริงเกอร์ที่มีคุณสมบัติตามสัญญาแล้วโจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่ 1 ทั้งยังใช้สิทธิเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคาร สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันด้วยเหตุที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันได้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาซื้อขายข้อ 8 วรรคสอง หรือข้อ 9 วรรคสองแม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถใช้ของได้ทันกำหนดเวลา จำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับให้โจทก์เป็นรายวัน ก็เป็นเพียงการบรรยายความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ หาใช่ว่าโจทก์ต้องการเพียงให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 เฉพาะเรื่องค่าปรับเป็นรายวันแต่เพียงอย่างเดียวไม่ ส่วนจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ตามสัญญาค้ำประกันซึ่งมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรมอาชีวศึกษาโจทก์ เป็นเงินไม่เกิน96,525 บาท กล่าวคือ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าว ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินให้แทนทันที แสดงว่าจำนวนเงินตามหนังสือค้ำประกันเป็นหลักประกันที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระให้โจทก์ทันทีเมื่อโจทก์เรียกร้อง โดยโจทก์ไม่จำต้องพิสูจน์ความเสียหายแต่อย่างใด ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวน 96,525 บาทพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 วรรคสองหรือตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2654/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายผิดนัดและสัญญาค้ำประกัน: ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดตามจำนวนเงินที่ระบุในสัญญาค้ำประกัน
โจทก์ทำสัญญาซื้อขายเครื่องสูบน้ำสปริงเกอร์พร้อมท่อและอุปกรณ์ประกอบด้วยเครื่องยนต์กำลัง จำนวน 13 ชุด จากจำเลยที่ 1 ส่วนจำเลยที่ 2 เป็นผู้ออกสัญญาค้ำประกันจำเลยที่ 1 ไว้ให้แก่โจทก์ ต่อมาปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามสัญญาโจทก์ได้บอกเลิกสัญญาแล้ว เมื่อตามสัญญาซื้อขายข้อ 8 วรรคแรก ระบุว่า เมื่อครบกำหนดส่งมอบสิ่งของตามสัญญานี้แล้ว ถ้าผู้ขายไม่ส่งมอบสิ่งของที่ตกลงขายให้แก่ผู้ซื้อ หรือส่งมอบสิ่งของทั้งหมดไม่ถูกต้อง หรือส่งมอบสิ่งของไม่ครบจำนวน ผู้ซื้อมีสิทธิบอกเลิกสัญญาได้ วรรคสองระบุว่า ในกรณีที่ผู้ซื้อใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7เป็นจำนวนเงินทั้งหมดหรือแต่บางส่วนก็ได้แล้วแต่ผู้ซื้อจะเห็นสมควร และถ้าผู้ซื้อจัดซื้อสิ่งของจากบุคคลอื่นเต็มจำนวน หรือเฉพาะจำนวนที่ขาดแล้วแต่กรณีภายใน 12 เดือนนับแต่วันที่บอกเลิกสัญญาโดยให้นับวันที่บอกเลิกสัญญาเป็นวันเริ่มต้น ผู้ขายยอมรับผิดชดใช้ราคาที่เพิ่มจากราคาที่กำหนดไว้ในสัญญานี้ด้วย ส่วนสัญญาซื้อขายข้อ 9 วรรคแรกระบุว่า ในกรณีผู้ซื้อไม่ใช่สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 ผู้ขายยอมให้ผู้ซื้อปรับเป็นรายวันในอัตราร้อยละ 0.2 ของราคาสิ่งของที่ยังไม่ได้รับมอบนับแต่วันถัดจากวันครบกำหนดตามสัญญาจนถึงวันที่ผู้ขายได้นำสิ่งของมาส่งให้แก่ผู้ซื้อจนถูกต้องครบถ้วนส่วนวรรคสองระบุว่าในระหว่างที่มีการปรับนั้น ถ้าผู้ซื้อเห็นว่าผู้ขายไม่อาจปฏิบัติตามสัญญาต่อไปได้ ผู้ซื้อจะใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาและริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันตามสัญญาข้อ 7 กับเรียกร้องให้ชดใช้ราคาที่เพิ่มขึ้นตามที่กำหนดไว้ในสัญญาข้อ 8 วรรคสองนอกเหนือจากการปรับจนถึงวันบอกเลิกสัญญาด้วยก็ได้ ดังนี้ เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายผิดสัญญาที่ไม่สามารถส่งมอบเครื่องสูบน้ำและสปริงเกอร์ที่มีคุณสมบัติถูกต้องตามที่สัญญากำหนดไว้ให้แก่โจทก์ ทั้ง ๆ ที่โจทก์ได้ให้โอกาสจำเลยที่ 1 ส่งมอบเครื่องสูบน้ำและสปริงเกอร์ที่มีคุณสมบัติตามสัญญาแล้ว โจทก์จึงได้มีหนังสือบอกเลิกสัญญาไปยังจำเลยที่ 1 ทั้งยังใช้สิทธิเรียกให้จำเลยที่ 2 ชำระเงินตามสัญญาค้ำประกันของธนาคาร สัญญาซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 จึงเป็นอันเลิกกันด้วยเหตุที่โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญา ซึ่งโจทก์มีสิทธิที่จะริบหลักประกันหรือเรียกร้องจากธนาคารผู้ออกสัญญาค้ำประกันได้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาซื้อขายข้อ 8 วรรคสอง หรือข้อ 9 วรรคสอง แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องว่า การที่จำเลยที่ 1 ผิดสัญญาต่อโจทก์ ทำให้โจทก์เสียหายไม่สามารถใช้ของได้ทันกำหนดเวลาจำเลยที่ 1 จะต้องรับผิดชดใช้ค่าปรับให้โจทก์เป็นรายวัน ก็เป็นเพียงการบรรยายความรับผิดของจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ หาใช่ว่าโจทก์ต้องการเพียงให้จำเลยที่ 2 ผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 1 เฉพาะเรื่องค่าปรับเป็นรายวันแต่เพียงอย่างเดียวไม่ ส่วนจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ตามสัญญาค้ำประกันซึ่งมีข้อความระบุว่า จำเลยที่ 2 ยอมผูกพันตนเป็นผู้ค้ำประกันจำเลยที่ 1 ต่อกรมอาชีวศึกษาโจทก์ เป็นเงินไม่เกิน96,525 บาท กล่าวคือ หากจำเลยที่ 1 ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขข้อหนึ่งข้อใดของสัญญาดังกล่าว ซึ่งโจทก์มีสิทธิริบหลักประกันหรือเรียกค่าปรับหรือค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 แล้ว จำเลยที่ 2 ยอมชำระเงินให้แทนทันที แสดงว่า จำนวนเงินตามหนังสือค้ำประกันเป็นหลักประกันที่จำเลยที่ 2 จะต้องชำระให้โจทก์ทันทีเมื่อโจทก์เรียกร้อง โดยโจทก์ไม่จำต้องพิสูจน์ความเสียหายแต่อย่างใด ดังนั้น จำเลยที่ 2 จึงต้องรับผิดชำระเงินจำนวน96,525 บาท พร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าชำระเสร็จแก่โจทก์ โดยไม่จำต้องวินิจฉัยว่า โจทก์ใช้สิทธิบอกเลิกสัญญาตามสัญญาข้อ 8 วรรคสองหรือตามสัญญาข้อ 9 วรรคสอง เพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง