พบผลลัพธ์ทั้งหมด 924 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานที่เป็นญาติ และการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดอาวุธทำร้าย ไม่ถือเป็นข้อแตกต่างสาระสำคัญ
ไม่มีบทกฎหมายใดห้ามมิให้รับฟังคำเบิกความของพยานที่เป็นญาติกันหากศาลเห็นว่าพยานเช่นว่านั้นเป็นผู้รู้เห็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นและชอบด้วยเหตุผลพอให้รับฟังได้ว่าเป็นความจริงศาลก็มีอำนาจรับฟังคำเบิกความของพยานดังกล่าวนั้นได้ ข้อแตกต่างในข้อสาระสำคัญตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา192วรรคสองหมายถึงแตกต่างในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการกระทำความผิดหาใช่แตกต่างเพียงรายละเอียดที่จะต้องกล่าวในฟ้องไม่สำหรับข้อเท็จจริงในเรื่องทำร้ายร่างกายก็คือการทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจของผู้อื่นดังนั้นที่โจทก์กล่าวในฟ้องว่าจำเลยที่4ใช้ไม้ตีโจทก์ทั้งสองแต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบได้ความว่าจำเลยที่4ใช้เหล็กแป๊บตีโจทก์ทั้งสองผลก็คือโจทก์ทั้งสองได้รับอันตรายแก่กายจากการกระทำของจำเลยที่4จึงเป็นการแตกต่างกันมิใช่ข้อสาระสำคัญทั้งจำเลยที่4ให้การต่อสู้อ้างฐานที่อยู่และมิได้หลงข้อต่อสู้แต่ประการใดจึงลงโทษจำเลยที่4ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1351/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร่วมกันทำร้ายร่างกายจนเป็นเหตุให้เกิดอันตรายสาหัส พยานหลักฐานเชื่อมโยงจำเลย การเปลี่ยนแปลงอาวุธที่ใช้ไม่ถึงขั้นเปลี่ยนแปลงสาระสำคัญ
โจทก์กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าจำเลยใช้ไม้ตี แต่ทางพิจารณาโจทก์นำสืบได้ความว่าจำเลยใช้เหล็กแป๊บตีโจทก์ ผลก็คือโจทก์ได้รับอันตรายแก่กายจากการกระทำของจำเลย จึงเป็นการแตกต่างกันมิใช่ข้อสาระสำคัญ ทั้งจำเลยให้การต่อสู้คดีอ้างฐานที่อยู่และมิได้หลงข้อต่อสู้ ศาลลงโทษจำเลยฐานทำร้ายร่างกายได้ แม้การพิจารณาและสืบพยานในคดีก่อน มิได้กระทำต่อหน้าจำเลยที่ 4 ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 172และจำเลยที่ 4 มิได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวก็ตามศาลก็สามารถนำพยานหลักฐานในคดีก่อนมารับฟังประกอบพยานหลักฐานอื่นของโจทก์ในส่วนที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 4ให้มีน้ำหนักมั่นคงยิ่งขึ้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฆ่าเฉพาะตัว การกระทำร่วมกัน และความรับผิดทางอาญา
จำเลยที่ 1 และผู้ตายชกต่อยกัน จำเลยที่ 3 เข้าไปเตะที่กลางหลังผู้ตาย ส่วนจำเลยที่ 2 เข้าไปตบหน้าผู้ตายเป็นเหตุให้ผู้ตายเสียหลักล้มแล้วจำเลยที่ 1 เข้ากระทืบที่ร่างผู้ตายตรงบริเวณลำคอหลายครั้งจนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตาย ดังนี้ เมื่อทางนำสืบของพยานโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2และที่ 3 มีเจตนาร่วมกันไปฆ่าผู้ตายแต่แรก ประกอบกับจำเลยทั้งสามไม่ได้ใช้อาวุธทำร้ายผู้ตายแต่อย่างใด อีกทั้งการกระทำของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ล้วนแต่มิได้ก่อให้เกิดบาดแผลแก่ผู้ตายถึงขนาดจะเป็นเหตุแห่งความตายได้ ส่วนที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากจำเลยที่ 1 กระทืบที่ลำตัวและคอผู้ตาย เป็นการกระทำและเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวจำเลยที่ 1 ที่ต้องการให้ผู้ตายถึงแก่ความตายซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่อาจคาดหมายหรือเล็งเห็นมาก่อนว่าจำเลยที่ 1อาจฆ่าผู้ตาย จึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีเจตนาร่วมกันเป็นตัวการฆ่าผู้ตาย ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตายมาก่อนเหตุทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นระหว่างเดินทางไปด้วยกัน น่าเชื่อว่าเหตุทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นทันทีทันใด จึงต้องสันนิษฐานให้เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดว่าจำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาร่วมกันทำร้ายผู้ตาย แต่เป็นกรณีที่ต่างคนต่างทำร้ายผู้ตายเป็นการเฉพาะตัวจำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงต้องรับผิดเฉพาะการกระทำของตน ซึ่งเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 ประกอบมาตรา 83 เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 992/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาในการทำร้ายร่างกายร่วมกัน การประเมินความรับผิดชอบทางอาญาเฉพาะตัว และการลดโทษ
จำเลยที่1และผู้ตายชกต่อยกันจำเลยที่3เข้าไปเตะที่กลางหลังผู้ตายส่วนจำเลยที่2เข้าไปตบหน้าผู้ตายเป็นเหตุให้ผู้ตายเสียหลักล้มแล้วจำเลยที่1เข้ากระทืบที่ร่างผู้ตายบริเวณลำคอหลายครั้งจนกระทั่งผู้ตายถึงแก่ความตายดังนี้เมื่อทางนำสืบของพยานโจทก์ไม่ปรากฎว่าจำเลยที่2และที่3มีเจตนาร่วมกันไปฆ่าผู้ตายแต่แรกประกอบกับจำเลยทั้งสามไม่ได้ใช้อาวุธทำร้ายผู้ตายแต่อย่างใดอีกทั้งการกระทำของจำเลยที่2และที่3ล้วนแต่มิได้ก่อให้เกิดบาดแผลแก่ผู้ตายถึงขนาดจะเป็นเหตุแห่งความตายได้ส่วนที่ผู้ตายถึงแก่ความตายเนื่องจากจำเลยที่1กระทืบที่ลำตัวและคอผู้ตายเป็นการกระทำและเป็นเจตนาที่เกิดขึ้นเฉพาะตัวจำเลยที่1ที่ต้องการให้ผู้ตายถึงแก่ความตายซึ่งจำเลยที่2และที่3ไม่อาจคาดหมายหรือเล็งเห็นมาก่อนว่าจำเลยที่1อาจฆ่าผู้ตายจึงไม่อาจถือได้ว่าจำเลยที2และที3มีเจตนาร่วมกันเป็นตัวการฆ่าผู้ตายทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยที่2และที่3มีสาเหตุโกรธเคืองกับผู้ตายมาก่อนเหตุทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นระหว่างเดินทางไปด้วยกันน่าเชื่อว่าเหตุทำร้ายร่างกายเกิดขึ้นทันทีทันใดจึงต้องสันนิษฐานให้เป็นคุณแก่ผู้กระทำความผิดว่าจำเลยทั้งสามไม่มีเจตนาร่วมกันทำร้ายผู้ตายแต่เป็นกรณีที่ต่างคนต่างทำร้ายผู้ตายเป็นการเฉพาะตัวจำเลยที่2และที่3จึงต้องรับผิดเฉพาะการกระทำของตนซึ่งเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา295ประกอบมาตรา83เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายขนส่งสินค้า: การพิสูจน์การทุจริตของผู้ขนส่งเป็นข้อยกเว้น
ผู้รับตราส่งรับสินค้าไปเมื่อวันที่29มิถุนายน2533โจทก์รับช่วงสิทธิจากห้างหุ้นส่วนจำกัด ย. ผู้ส่งสินค้ามาฟ้องเรียกค่าสินไหมทดแทนเพื่อความสูญหายของสินค้าตามฟ้องเมื่อวันที่2กรกฎาคม2534ซึ่งพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่วันส่งมอบสินค้าคดีของโจทก์จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624 ตามทางนำสืบของโจทก์ปรากฏแต่เพียงว่าสินค้าที่สูญหายน่าจะถูกขโมยก่อนออกจากต้นทางเท่านั้นโจทก์มิได้นำสืบให้เห็นว่าสินค้าดังกล่าวสูญหายไปเพราะจำเลยผู้ขนส่งกระทำการทุจริตอย่างไรอันเป็นเหตุให้สินค้าสูญหายในระหว่างการขนส่งของจำเลยทั้งโจทก์ก็มิได้กล่าวอ้างในคำฟ้องว่าสินค้าสูญหายไปเพราะจำเลยกระทำการทุจริตการฟ้องคดีของโจทก์จึงอยู่ในบังคับอายุความ1ปีตามมาตรา624ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 714/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องค่าเสียหายจากการขนส่งสินค้าสูญหาย: ต้องพิสูจน์การทุจริตของผู้ขนส่ง
โจทก์มิได้กล่าวอ้างในฟ้องและนำสืบให้เห็นว่าจำเลยผู้ขนส่งกระทำการทุจริตอย่างไรอันเป็นเหตุให้สินค้าสูญหายในระหว่างการขนส่งการฟ้องคดีของโจทก์จึงอยู่ในบังคับอายุความ1ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา624
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 612/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาคดีอาญาอาศัยพยานหลักฐานบุคคลและสภาพแวดล้อมในที่เกิดเหตุ เชื่อได้ว่าจำเลยเป็นผู้กระทำผิด
บริเวณที่เกิดเหตุมีแสงสว่างจากไฟฟ้าที่หน้าร้านค้าและเสาไฟฟ้าสาธารณะซึ่งปักอยู่เป็นระยะๆน่าเชื่อว่าบริเวณที่เกิดเหตุมีแสงสว่างมากพอที่ผู้เสียหายที่1กับ ส. จะสามารถมองเห็นเหตุการณ์ต่างๆได้ชัดเจนประกอบกับ ส. รู้จักจำเลยมาก่อนทั้งก่อนเกิดเหตุประมาณ1ชั่วโมงจำเลยขับรถจักรยานยนต์มีธ. นั่งซ้อนท้ายไปพบผู้เสียหายที่1กับ ส. และ ส.ได้พูดคุยกับจำเลยด้วยก่อนที่จะเกิดเหตุ ธ. ใช้อาวุธปืนยิงผู้เสียหายทั้งสองโดยจำเลยเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์ให้ ธ.นั่งซ้อนท้ายไปจึงเชื่อว่าผู้เสียหายที่1กับ ส. มีโอกาสเห็นและจำคนร้ายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการวินิจฉัยการประพฤติผิดมรรยาททนายความเพื่อพิจารณาความรับผิดทางแพ่ง และการแต่งตั้งทนายความ
พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528มิได้บัญญัติห้ามศาลที่จะวินิจฉัยว่าทนายความผู้มีพฤติกรรมที่ขัดต่อมรรยาททนายความตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความพ.ศ.2529เป็นผู้ประพฤติ ผิดมรรยาททนายความเพื่อวินิจฉัย ความรับผิดทางแพ่งในกรณี ละเมิด แม้จำเลยทั้งสองจะเป็น ลูกจ้างของบริษัทประกันภัยและรับเข้าเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์ในฐานะลูกจ้างของบริษัทประกันภัยก็ตามแต่การที่ได้ลงลายมือชื่อใน ใบแต่งทนายความแต่งตั้งจำเลยทั้งสองถือว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นทนายความว่าความให้แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความทอดทิ้งคดี ละเมิดต่อลูกความ - ศาลมีอำนาจวินิจฉัยและชดใช้ค่าเสียหายได้
แม้ พ.ร.บ. ทนายความ พ.ศ.2528 จะได้บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการมรรยาททนายความไว้โดยเฉพาะแล้ว แต่ก็มิได้บัญญัติห้ามศาลที่จะวินิจฉัยว่าทนายความผู้มีพฤติกรรมที่ขัดต่อมรรยาททนายความตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 เป็นผู้ประพฤติผิดมรรยาททนายความ เพื่อวินิจฉัยความรับผิดทางแพ่งในกรณีละเมิด การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นว่า จำเลยทั้งสองประพฤติผิดข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความ พ.ศ.2529 หมวด 3 ข้อ 12 (1) ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ ไม่เป็นการก้าวล่วงอำนาจของคณะกรรมการมรรยาททนายความของสภาทนายความ
แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นลูกจ้างของบริษัท บ. และรับเข้าเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์ในคดีแพ่ง ในฐานะลูกจ้างของบริษัท บ. ก็ตาม แต่การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความ แต่งตั้งให้จำเลยทั้งสองเป็นทนายความแก้ต่างให้ในคดีแพ่งดังกล่าว โดยนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคหนึ่งถือได้ว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นทนายความว่าความให้แล้ว จำเลยทั้งสองมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแทนโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62เมื่อจำเลยทั้งสองทอดทิ้งคดีของโจทก์ ทำให้โจทก์ตกเป็นผู้แพ้คดีโดยความผิดของจำเลยทั้งสอง โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเอาจากจำเลยทั้งสองได้
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองประพฤติผิดมรรยาททนายความฐานทอดทิ้งคดีทำให้โจทก์เสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหาย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยทั้งสองตกลงรับเป็นทนายความของโจทก์ตามคำรับเป็นทนายความ เมื่อจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดหรือทอดทิ้งคดี ทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของโจทก์ผู้เป็นลูกความของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์อยู่แล้ว ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า การทอดทิ้งคดีของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ไม่สามารถฟ้องไล่เบี้ยเอาจากบริษัท บ. ผู้รับประกันภัยได้ เพราะบริษัทดังกล่าวได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยไปแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองโดยตรงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ เพราะผู้เอาประกันภัยรถยนต์ในคดีแพ่ง คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ไม่ใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับบริษัท บ. นั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรจะได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เพราะไม่อาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นลูกจ้างของบริษัท บ. และรับเข้าเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์ในคดีแพ่ง ในฐานะลูกจ้างของบริษัท บ. ก็ตาม แต่การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความ แต่งตั้งให้จำเลยทั้งสองเป็นทนายความแก้ต่างให้ในคดีแพ่งดังกล่าว โดยนัยแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 60 วรรคหนึ่งถือได้ว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นทนายความว่าความให้แล้ว จำเลยทั้งสองมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแทนโจทก์ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 62เมื่อจำเลยทั้งสองทอดทิ้งคดีของโจทก์ ทำให้โจทก์ตกเป็นผู้แพ้คดีโดยความผิดของจำเลยทั้งสอง โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเอาจากจำเลยทั้งสองได้
เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 มีอำนาจวินิจฉัยว่า จำเลยทั้งสองประพฤติผิดมรรยาททนายความฐานทอดทิ้งคดีทำให้โจทก์เสียหาย การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์ เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหาย ศาลอุทธรณ์ภาค 3 ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นนอกฟ้องนอกประเด็น
จำเลยทั้งสองตกลงรับเป็นทนายความของโจทก์ตามคำรับเป็นทนายความ เมื่อจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดหรือทอดทิ้งคดี ทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของโจทก์ผู้เป็นลูกความของจำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์อยู่แล้ว ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 วินิจฉัยว่า การทอดทิ้งคดีของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ไม่สามารถฟ้องไล่เบี้ยเอาจากบริษัท บ. ผู้รับประกันภัยได้ เพราะบริษัทดังกล่าวได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยไปแล้ว โจทก์จึงไม่ได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองโดยตรงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบ เพราะผู้เอาประกันภัยรถยนต์ในคดีแพ่ง คือ ห้างหุ้นส่วนจำกัด ว. ไม่ใช่โจทก์ โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับบริษัท บ. นั้น ฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรจะได้รับการวินิจฉัยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง เพราะไม่อาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไป ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทนายความทอดทิ้งคดี ทำให้ลูกความเสียหาย มีหน้าที่รับผิดชดใช้ค่าเสียหาย
แม้พระราชบัญญัติทนายความพ.ศ.2528จะได้บัญญัติถึงอำนาจหน้าที่ของคณะกรรมการมรรยาททนายความไว้โดยเฉพาะแล้วแต่ก็มิได้บัญญัติห้ามศาลที่จะวินิจฉัยว่าทนายความผู้มีพฤติกรรมที่ขัดต่อมรรยาททนายความตามข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความพ.ศ.2529เป็นผู้ประพฤติผิดมรรยาททนายความเพื่อวินิจฉัยความรับผิดทางแพ่งในกรณีละเมิดการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3เห็นว่าจำเลยทั้งสองประพฤติผิดข้อบังคับสภาทนายความว่าด้วยมรรยาททนายความพ.ศ.2529หมวดข้อ3ข้อ12(1)ศาลอุทธรณ์ภาค3ก็มีอำนาจที่จะวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการประพฤติผิดมรรยาททนายความอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ไม่เป็นการก้าวล่วงอำนาจของคณะกรรมการมรรยาททนายความของสภาทนายความ แม้จำเลยทั้งสองจะเป็นลูกจ้างของบริษัทป. และรับเข้าเป็นทนายความแก้ต่างให้โจทก์ในคดีแพ่งในฐานะลูกจ้างของบริษัทบ.ก็ตามแต่การที่โจทก์ลงลายมือชื่อในใบแต่งทนายความแต่งตั้งให้จำเลยทั้งสองเป็นทนายความแก้ต่างให้คดีแพ่งดังกล่าวโดยนัยแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา60วรรคหนึ่งถือได้ว่าโจทก์ได้แต่งตั้งจำเลยทั้งสองเป็นทนายความว่าความให้แล้วจำเลยทั้งสองมีอำนาจว่าความและดำเนินกระบวนพิจารณาคดีแทนโจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา62เมื่อจำเลยทั้งสองทอดทิ้งคดีของโจทก์ทำให้โจทก์ตกเป็นผู้แพ้คดีโดยความผิดของจำเลยทั้งสองโจทก์ก็มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายเอาจากจำเลยทั้งสองได้ เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค3มีอำนาจวินิจฉัยว่าจำเลยทั้งสองประพฤติผิดมรรยาททนายความฐานทอดทิ้งคดีทำให้โจทก์เสียหายการกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการละเมิดต่อโจทก์เมื่อโจทก์ได้รับความเสียหายศาลอุทธรณ์ภาค3ก็ชอบที่จะพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ได้ไม่เป็นนอกฟ้องนอกประเด็น จำเลยทั้งสองตกลงรับเป็นทนายความของโจทก์ตามคำรับเป็นทนายความเมื่อจำเลยทั้งสองจงใจขาดนัดหรือทอดทิ้งคดีทำให้เสื่อมเสียประโยชน์ของโจทก์ผู้เป็นลูกความของจำเลยทั้งสองจำเลยทั้งสองต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้โจทก์อยู่แล้วที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่าการที่ศาลอุทธรณ์ภาค3วินิจฉัยว่าการทอดทิ้งคดีของจำเลยทั้งสองทำให้โจทก์ไม่สามารถฟ้องไล่เบี้ยเอาจากบริษัทบ.ผู้รับประกันภัยได้เพราะบริษัทดังกล่าวได้ถูกเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจประกันวินาศภัยไปแล้วโจทก์จึงได้รับความเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองโดยตรงเป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบเพราะผู้เอาประกันภัยรถยนต์ในคดีแพ่งคือห้างหุ้นส่วนจำกัดว. ไม่ใช่โจทก์โจทก์จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับบริษัทบ.นั้นฎีกาของจำเลยทั้งสองในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรจะได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา249วรรคหนึ่งเพราะไม่อาจทำให้ผลของคดีเปลี่ยนแปลงไปศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย