พบผลลัพธ์ทั้งหมด 454 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5896/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิยึดหน่วงการส่งมอบสินค้า จนกว่าจะได้รับชำระค่าจ้างในสัญญาต่างตอบแทน
โจทก์ว่าจ้างจำเลยตัดเย็บเสื้อผ้า เมื่อจำเลยตัดเย็บเสื้อผ้าผิดแบบ โจทก์ก็ส่งเสื้อไปให้จำเลยทำการแก้ไขโดยขยายระยะเวลาให้จำเลยส่งมอบเสื้อที่แก้ไขแล้วให้แก่โจทก์ภายใน 10 วัน นับแต่วันที่ส่งไปให้แก้ไข จำเลยได้แก้ไขเสื้อเสร็จเรียบร้อยแล้ว แต่ไม่ได้ส่งกลับคืนไปให้โจทก์ภายในกำหนด 10 วัน เพราะโจทก์ยังไม่ได้ชำระค่าจ้างตัดเย็บเสื้อให้แก่จำเลยดังนี้ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญา เพราะจำเลยมีสิทธิไม่ยอมส่งมอบเสื้อที่แก้ไขแล้วให้แก่โจทก์ได้ จนกว่าโจทก์จะชำระสินจ้างหรือขอปฏิบัติการชำระสินจ้าง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5781/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย โมฆะ แม้จำเลยยอมรับชำระ ศาลฎีกายกขึ้นวินิจฉัยได้
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้จำนวน 84,000บาท แต่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้จำนวนดังกล่าวเมื่อจำเลยให้การว่าเป็นหนี้โจทก์จำนวน 33,000 บาท โดยได้ความว่าแยกเป็นหนี้ต้นเงินจำนวน 10,000 บาท ส่วนที่เหลือ 23,000 บาท เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระต้นเงินจำนวน 10,000 บาทได้ ส่วนเงินอีก 23,000 บาท เป็นดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จึงตกเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะให้การยอมรับจะชำระเงินจำนวนนี้ ก็บังคับให้ไม่ได้ เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246,247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5781/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ดอกเบี้ยเกินอัตราตามกฎหมาย: สัญญาเงินกู้ที่มีดอกเบี้ยสูงกว่าที่กฎหมายกำหนดถือเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะยอมรับ
โจทก์ฟ้องขอให้บังคับจำเลยชำระหนี้ตามสัญญากู้จำนวน 84,000 บาท แต่โจทก์นำสืบรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นหนี้จำนวนดังกล่าวเมื่อจำเลยให้การว่าเป็นหนี้โจทก์จำนวน 33,000 บาท โดยได้ความว่าแยกเป็นหนี้ต้นเงินจำนวน 10,000 บาท ส่วนที่เหลือ 23,000 บาท เป็นดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 5 ต่อเดือน ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระต้นเงินจำนวน 10,000 บาทได้ ส่วนเงินอีก 23,000 บาท เป็นดอกเบี้ยเกินอัตราที่กฎหมายกำหนด จึงตกเป็นโมฆะ แม้จำเลยจะให้การยอมรับจะชำระเงินจำนวนนี้ ก็บังคับให้ไม่ได้
เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246, 247.
เมื่อได้ความว่าโจทก์เรียกดอกเบี้ยเกินอัตราเป็นการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติห้ามเรียกดอกเบี้ยเกินอัตรา พุทธศักราช 2475 มาตรา 3ประกอบด้วยประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 654 อันเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจยกขึ้นปรับแก่คดีได้เอง ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5),246, 247.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5728/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนประทานบัตรเพื่อประโยชน์สาธารณะและการใช้อำนาจของรัฐในการแก้ไขเปลี่ยนแปลงเขตประทานบัตร
การวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ กระทำเพื่อประโยชน์แก่การอันเป็นสาธารณูปโภคและเพื่อประโยชน์สาธารณะของรัฐ การสร้างท่าเรือน้ำลึกก็เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปและประเทศชาติ ถือได้ว่ากระทำไปเพื่อประโยชน์สาธารณะของรัฐ จำเลยที่ 2 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจึงมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ในเขตประทานบัตรของโจทก์ทั้งสองได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5728/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนประทานบัตรเพื่อประโยชน์สาธารณะ รัฐมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงได้ ผู้ถือประทานบัตรไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
การวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติ กระทำเพื่อประโยชน์แก่การอันเป็นสาธารณูปโภคและเพื่อประโยชน์สาธารณะของรัฐ การสร้างท่าเรือน้ำลึกก็เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปและประเทศชาติ ถือได้ว่ากระทำไปเพื่อประโยชน์สาธารณะของรัฐ จำเลยที่ 2 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจึงมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงเนื้อที่ในเขตประทานบัตรของโจทก์ทั้งสองได้โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5728/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้ประโยชน์ที่ดินประทานบัตรเพื่อสาธารณูปโภคและการพัฒนาประเทศ ผู้ถือประทานบัตรไม่มีสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
การที่การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 5 ใช้เนื้อที่ดินในเขตประทานบัตรของโจทก์ในการวางท่อส่งก๊าซจากแหล่งก๊าซที่อ่าวไทยมาขึ้นฝั่งเป็นการประกอบการเพื่อประโยชน์แก่ประชาชนทั่วไป ถือว่าเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์แก่การอันเป็นสาธารณูปโภคและเพื่อประโยชน์สาธารณะของรัฐ และที่การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยจำเลยที่ 7 ใช้เนื้อที่ดินในประทานบัตรดังกล่าวเพื่อสร้างท่าเรืออุตสาหกรรม ก็เป็นประโยชน์ต่อประชาชนทั่วไปและประเทศชาติ ซึ่งถือว่าเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์สาธารณะของรัฐเช่นกัน ดังนั้นจำเลยที่ 2 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรมโดยอนุมัติของคณะรัฐมนตรีจึงมีอำนาจแก้ไขเปลี่ยนเนื้อที่ในเขตประทานบัตรได้โจทก์เป็นผู้ถือประทานบัตรจึงไม่มีอำนาจฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยตาม พ.ร.บ. แร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 9 ตรี .
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถผิดกฎหมายจราจร: การพิจารณาพยานหลักฐานและการตีความบทบัญญัติ
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดโดยฟังหรืออาศัยพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์ แล้วมิได้พิจารณาพยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบแก้เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณานั้น เป็นการโต้แย้งดุลยพินิจของศาลในการวินิจฉัยพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่จำเลยจอดรถชิด ขอบทางด้านที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดแต่หันหัวรถสวนทางกับรถคันอื่นที่จะแล่นเข้ามาในซอย ที่เกิดเหตุเป็นการจอดรถด้านขวาของทางเดินรถของจำเลยไม่จอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิด กับขอบทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตร จึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคสองโดยไม่จำต้องคำนึงว่าจอดรถกีดขวางการจราจรและเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ทางเดินรถหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถผิดวิธีตาม พ.ร.บ.จราจรทางบก แม้ไม่กีดขวางการจราจรหรือก่ออันตราย
การที่จำเลยจอดรถชิด ขอบทางด้านที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดแต่หันหัวรถสวนทางกับรถคันอื่นที่จะแล่นเข้ามาในซอย ที่เกิดเหตุเป็นการจอดรถด้านขวาของทางเดินรถของจำเลยไม่จอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิด กับขอบทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตรจึงเป็นความผิดตาม พ.ร.บ. จราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคสองโดยชัดแจ้งโดยไม่จำเป็นต้องคำนึงว่า การจอดรถดังกล่าวเป็นการกีดขวางการจราจรหรือไม่ และเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ทางเดินรถหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5556/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจอดรถผิดกฎหมายจราจร ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยถูกต้องตามกฎหมาย แม้จำเลยอ้างเหตุผลอื่น
ที่จำเลยฎีกาว่า ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยเป็นความผิดโดยฟังหรืออาศัยพยานหลักฐานของฝ่ายโจทก์ แล้วมิได้พิจารณาพยานหลักฐานที่จำเลยนำสืบแก้เป็นการไม่ชอบด้วยวิธีพิจารณานั้น เป็นการโต้แย้งดุลยพินิจของศาลในการวินิจฉัยพยานหลักฐานที่ปรากฏในสำนวนเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
การที่จำเลยจอดรถชิด ขอบทางด้านที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดแต่หันหัวรถสวนทางกับรถคันอื่นที่จะแล่นเข้ามาในซอย ที่เกิดเหตุเป็นการจอดรถด้านขวาของทางเดินรถของจำเลยไม่จอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิด กับขอบทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตร จึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคสองโดยไม่จำต้องคำนึงว่าจอดรถกีดขวางการจราจรและเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ทางเดินรถหรือไม่.
การที่จำเลยจอดรถชิด ขอบทางด้านที่เจ้าพนักงานจราจรกำหนดแต่หันหัวรถสวนทางกับรถคันอื่นที่จะแล่นเข้ามาในซอย ที่เกิดเหตุเป็นการจอดรถด้านขวาของทางเดินรถของจำเลยไม่จอดรถให้ด้านซ้ายของรถขนานชิด กับขอบทางในระยะห่างไม่เกินยี่สิบห้าเซนติเมตร จึงเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติจราจรทางบก พ.ศ. 2522 มาตรา 54 วรรคสองโดยไม่จำต้องคำนึงว่าจอดรถกีดขวางการจราจรและเกิดอันตรายแก่ผู้ใช้ทางเดินรถหรือไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5527/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองกัญชาแบ่งเป็นถุงเล็กหลายถุง แสดงเจตนาเพื่อจำหน่าย
การที่จำเลยมีกัญชาเป็นถุงใหญ่ ๑ ถุง และแบ่งเป็นถุงเล็ก อีก ๘ ถุงไว้ในครอบครอง แสดงว่าจำเลยแบ่งกัญชาเตรียมไว้เพื่อ จำหน่าย จึงมีความผิดฐานมีกัญชาไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย.