คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชูศักดิ์ บัณฑิตกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 454 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4609/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเอกสารราชการหลายฉบับ แต่เป็นการกระทำผิดกรรมเดียว
แม้ว่าเอกสารต่าง ๆ ที่จำเลยทำปลอมขึ้นและประทับตราปลอมคือหนังสือรับรองว่าได้รับอนุญาตเป็นผู้ขับรถจำนวน3 ฉบับ จะเป็นเอกสารต่างชนิดกับหนังสือรับรองใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถเป็นภาษาอังกฤษรวม 3 ฉบับ ซึ่งเป็นการปลอมหนังสือรับรองใบอนุญาตเป็นผู้ขับรถของบุคคลต่างคนกันก็ตามแต่เมื่อปรากฏว่าเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมจำเลยและยึดเอกสารต่าง ๆ ดังกล่าวในคราวเดียวกันโดยโจทก์ไม่ได้นำสืบให้เห็นว่า จำเลยได้กระทำการปลอมและประทับตราปลอมเอกสารเหล่านั้นโดยมีเจตนาหลายเจตนาที่จะให้เกิดผลต่างกรรมกันจึงลงโทษจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4601/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อระงับเมื่อทรัพย์สินสูญหาย ผู้เช่าซื้อไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้อคงเหลือ แต่ต้องชดใช้ค่าเสียหายที่เหมาะสม
สัญญาเช่าซื้อเป็นสัญญาเช่าทรัพย์ประเภทหนึ่ง เมื่อรถยนต์ที่เช่าซื้อสูญหาย สัญญาย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 567 นอกจากนี้ตามหนังสือบอกกล่าวของทนายโจทก์ถึงจำเลยทั้งสองก็ระบุชัดว่าโจทก์เลิกสัญญา จึงฟังได้ว่าสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้ว จำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้อที่ค้างชำระต่อไปแม้ตามสัญญาเช่าซื้อข้อ 5จะระบุให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินค่าเช่าซื้อจนครบในกรณีที่ทรัพย์สินที่เช่าซื้อถูกโจรภัยก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ต้องชำระค่าเช่าซื้ออีกต่อไปก็ถือได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้ตกลงชำระค่าเสียหายเท่ากับค่าเช่าซื้อที่ค้างให้แก่โจทก์ในกรณีนี้ซึ่งมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับที่ศาลมีอำนาจลดหย่อนลงได้หากเห็นว่าค่าเสียหายที่กำหนดไว้นั้นสูงเกินควร เมื่อสัญญาเช่าซื้อเลิกกันแล้วโจทก์ไม่มีสิทธิเรียกดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 15 ต่อไปตามสัญญาข้อ 7 แต่จำเลยทั้งสองมีหน้าที่ต้องชำระดอกเบี้ยในอัตรารอยละเจ็ดครึ่งต่อปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4117/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐ: การไม่ออกคำสั่งเวรรักษาความปลอดภัย หากมีคำสั่งเดิมอยู่แล้ว ไม่ถือเป็นประมาทเลินเล่อ
ในขณะที่มีคนร้ายลอบเข้าไปวางเพลิงสำนักงานป่าไม้จังหวัดทำให้ทรัพย์สินเสียหายไม่มีผู้อยู่เวรและตรวจเวร แต่ในระหว่างเกิดเหตุมีคำสั่งตั้งเวรยามกำหนดเจ้าหน้าที่เวรยามไว้โดยแน่ชัดสามารถปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวได้อยู่แล้ว โดยมีผู้ช่วยป่าไม้จังหวัดเป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่ตรวจเวรยามจำเลยซึ่งเป็นป่าไม้จังหวัดหาจำต้องออกคำสั่งตั้งเวรยามซ้ำอีกไม่ การที่จำเลยมิได้ออกคำสั่งตั้งเวรยามใหม่จึงไม่เป็นการกระทำโดยประมาทเลินเล่อดังที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4018/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องรับผิดในความเสียหายจากการบาดเจ็บของลูกจ้างที่เกิดจากความประมาทในการขับรถ และค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ในการเลื่อนขั้นเงินเดือน
โจทก์โดยสารรถยนต์ที่ลูกจ้างของจำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับขี่ลูกจ้างจำเลยที่ 1 ขับรถโดยประมาทเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับบาดเจ็บโจทก์ต้องลางานเพื่อพักรักษาตัวจนเกินกว่าระยะเวลาที่นายจ้างของโจทก์กำหนดให้ นายจ้างจึงไม่เลื่อนขั้นเงินเดือนให้โจทก์เพราะลาเกินสิทธิ เมื่อการพิจารณาขั้นเงินเดือนมีอัตรากำหนดแน่นอนอยู่แล้ว การที่โจทก์ไม่ได้เลื่อนขั้นเงินเดือน จึงเป็นผลโดยตรงจากการกระทำละเมิดของลูกจ้าง ซึ่งกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องรับผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3918/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดบุกรุกที่ดินสาธารณประโยชน์: ความแตกต่างขององค์ประกอบความผิดตามประมวลกฎหมายที่ดินก่อนและหลังประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 96
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยในข้อหาบุกรุกเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินสาธารณประโยชน์ของรัฐ ภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 96 ลงวันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2515 ใช้บังคับแล้ว ส่วนคดีนี้โจทก์ฟ้องว่าจำเลยเข้าไปยึดถือครอบครองที่ดินของรัฐประเภทสาธารณประโยชน์แปลงเดียวกัน โดยบุกรุกตั้งแต่ก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96ฯ ใช้บังคับ อันเป็นความผิดที่มีองค์ประกอบแต่งต่างกันกล่าวคือ ความผิดฐานบุกรุกที่ดินของรัฐก่อนวันที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96ฯ ใช้บังคับจะมีความผิดต่อเมื่อได้รับคำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ออกจากที่ดินแล้วไม่ยอมออก ส่วนความผิดฐานบุกรุกที่ดินของรัฐภายหลังที่ประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 96ฯ มีผลใช้บังคับ ผู้บุกรุกมีความผิดในทันทีที่บุกรุกที่ดินของรัฐ การกระทำความผิดของจำเลยในคดีก่อนกับในคดีนี้จึงไม่ใช่ความผิดกรรมเดียวกันฟ้องของโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3878/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสอบสวนวินัยข้าราชการ: การใช้กฎหมายเดิมตามบทเฉพาะกาล แม้มีกฎหมายใหม่ใช้บังคับ
การสอบสวนของคณะกรรมการสอบสวนทางวินัย ตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2497 และกฎ ก.พ. ฉบับที่ 60(พ.ศ. 2497) อันเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่จำเลยที่ 1ทำการสอบสวนโจทก์ผู้ถูกกล่าวหา มิได้กำหนดให้คณะกรรมการต้องสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาทราบ เพียงแต่แจ้งข้อกล่าวหาให้ทราบก็เป็นการเพียงพอแล้วส่วนการที่จะสอบพยานเพียงใดก็เป็นดุลพินิจของคณะกรรมการที่จะงดสอบสวนพยานเมื่อจะทำให้การสอบสวนล่าช้าโดยไม่จำเป็นหรือมิใช่ประเด็นสำคัญ การดำเนินการสอบสวนของจำเลยที่ 1ที่มิได้สรุปพยานหลักฐานแจ้งให้โจทก์ทราบและมิได้สอบพยานเพิ่มเติม จึงเป็นการกระทำโดยชอบ และจำเลยที่ 2 ก็ได้พิจารณาออกคำสั่งไปตามสำนวนการสอบสวนดังกล่าว จำเลยทั้งสองย่อมไม่มีความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฎิบัติหน้าที่โดยมิชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3878/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาทางวินัยข้าราชการพลเรือน การใช้กฎหมายที่เหมาะสมตามบทเฉพาะกาล และอำนาจดุลยพินิจของคณะกรรมการ
แม้ขณะที่มีการตั้งคณะกรรมการสอบสวนวินัยโจทก์ จะมีพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518 ประกาศใช้แล้ว แต่เมื่อโจทก์ถูกสอบสวนทางวินัยก่อนที่ ก.พ.กำหนดตำแหน่งข้าราชการพลเรือนตาม มาตรา 32 ของพระราชบัญญัติดังกล่าว และเมื่อกำหนดตำแหน่งแล้ว การสอบสวนทางวินัยยังไม่เสร็จคณะกรรมการสอบสวนทางวินัยต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2497 และ กฎ ก.พ.ฉบับที่ 60 (พ.ศ.2497) ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะที่สอบสวนโจทก์ ตามมาตรา 117 และ 121 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2518
การสอบสวนตามกฎ ก.พ. ฉบับที่ 20 (พ.ศ.2497) นั้น คณะกรรมการสอบสวนเพียงแต่แจ้งข้อกล่าวหาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบก็เพียงพอแล้ว ไม่ต้องสรุปพยานหลักฐานที่สนับสนุนข้อกล่าวหาให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาทราบแต่อย่างใด และเป็นดุลยพินิจของคณะกรรมการสอบสวนที่จะงดสอบสวนพยานเมื่อจะทำให้การสอบสวนล่าช้าโดยไม่จำเป็น หรือมิใช่ประเด็นสำคัญ
ฎีกาของโจทก์เป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3800/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดของนายทหารและผู้บังคับบัญชาจากการปฏิบัติหน้าที่ และสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายจากละเมิด
คืนเกิดเหตุจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นสารวัตรทหารอากาศปฏิบัติหน้าที่เวรอยู่ที่กองพันสารวัตรทหารอากาศ ได้รับคำสั่งจากนายทหารเวรซึ่งเป็นผู้บังคับบัญชาให้ไประงับเหตุที่บริเวณถนนในหมู่บ้านสวัสดิการทหารอากาศซึ่งเป็นบริเวณที่จำเลยที่ 3 จะต้องดูแลรักษาความปลอดภัยให้แก่นายทหารอากาศชั้นผู้ใหญ่ตามหน้าที่และตามข้อบังคับกระทรวงกลาโหมว่าด้วยสารวัตรทหาร พ.ศ. 2519 เมื่อจำเลยที่ 3 กระทำละเมิดเป็นเหตุให้ผู้ตายถูกกระสุนปืนถึงแก่ความตายในขณะไประงับเหตุดังกล่าว จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้บังคับบัญชาจึงต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดอันเกิดจากการปฏิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 3 ด้วย ผู้ตายเป็นบุตรมีหน้าที่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบิดามารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1563 จำเลยที่ 3กระทำละเมิดเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองต้องขาดไร้อุปการะตามกฎหมายโจทก์ทั้งสองจึงมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในส่วนนี้ไม่ว่าผู้ตายจะอยู่ในฐานะที่จะอุปการะโจทก์ทั้งสองได้หรือไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3795/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแก้ไขข้อบกพร่องใบมอบอำนาจเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ข้อบังคับบริษัทโจทก์ระบุให้กรรมการสองคนลงลายมือชื่อและประทับตราสำคัญของบริษัทจึงจะผูกพันบริษัทได้ การที่โจทก์มอบอำนาจให้ศ. ฟ้องและดำเนินคดีแทน โดยมีกรรมการ 2 คนลงลายมือชื่อในใบมอบอำนาจ แต่ไม่ได้ประทับตราสำคัญของบริษัทย่อมทำให้ใบมอบอำนาจไม่สมบูรณ์ แต่ก่อนพิพากษาศาลชั้นต้นมีอำนาจสั่งให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับใบมอบอำนาจให้ฟ้องและดำเนินคดีแทนได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3744/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการแก้ไขข้อบกพร่องของใบมอบอำนาจก่อนพิพากษาเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
แม้การที่บริษัทโจทก์มอบอำนาจให้ผู้แทนฟ้องคดีโดยกรรมการสองคนลงลายมือชื่อในใบมอบอำนาจโดยไม่ได้ประทับตราสำคัญของบริษัทโจทก์ ทำให้ใบมอบอำนาจนั้นไม่สมบูรณ์ก็ตามแต่ก่อนพิพากษาศาลย่อมมีอำนาจให้โจทก์แก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับใบมอบอำนาจให้ฟ้องและดำเนินคดีแทนได้ตามที่เห็นสมควรเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม โดยสั่งให้โจทก์ทำใบมอบอำนาจที่สมบูรณ์เข้ามาใหม่ได้
of 46