คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชูศักดิ์ บัณฑิตกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 454 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1959/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ แม้ครอบครองนานเกิน 10 ปี หากเข้าใจว่าเป็นที่ดินของผู้อื่น ไม่ได้กรรมสิทธิ์
จำเลยกับพวกเข้าครอบครองที่พิพาทโดยเข้าใจว่าเป็นของกองทัพบก และรับว่าหากกองทัพบกจะเอาคืน จำเลยกับพวกก็จะคืนให้การครอบครองที่พิพาทของจำเลยกับพวกจึงมีลักษณะเป็นการครอบครองชั่วคราว มิได้ครอบครองด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ แม้จะครอบครองที่ดินพิพาทติดต่อกันเป็นเวลาเกินกว่า 10 ปี ก็หาได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1937/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ รับของโจร: การกระทำที่แสดงถึงความรู้ว่าทรัพย์เป็นของที่ได้มาจากการลักทรัพย์
จำเลยรู้ว่ายางพาราแผ่นของกลางเป็นทรัพย์ที่คนร้ายไปลักมาแล้วนำไปซ่อน ไว้ การที่จำเลยลงมือเก็บยางพาราแผ่นเตรียมขนไปจึงเป็นการช่วย พาเอาไปเสียซึ่ง ทรัพย์ที่ได้ มา จากการลักทรัพย์จำเลยจึงมีความผิดฐาน รับของโจร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องคัดค้านการยึดทรัพย์เกินกำหนดระยะเวลาตามกฎหมาย ทำให้สิทธิในการคัดค้านสิ้นสุดลง
ผู้ประกันได้ ยื่นคำร้องต่อ ศาลชั้นต้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน2532 ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดีได้ ยึดทรัพย์ของผู้ประกันโดย ไม่ถูกต้อง แสดงว่าผู้ประกันทราบเรื่องการยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่ วันที่ 20 เมษายน 2532 การที่ผู้ประกันมายื่นคำร้องต่อ ศาลชั้นต้นขอให้ยกเลิกคำสั่งยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2532 จึงเป็นการยื่นเมื่อเกินกำหนด 8 วันแล้วผู้ประกันจึงไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 296 วรรคสอง ประกอบป.วิ.อ. มาตรา 249.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องคัดค้านการยึดทรัพย์เกินกำหนดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและอาญา
ผู้ประกันซึ่งผิดสัญญาประกันยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2532 ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของผู้ประกันโดยไม่ถูกต้อง ผู้ประกันจึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการถอนการยึด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้ประกันทราบเรื่องการยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่วันดังกล่าวการที่ผู้ประกันมายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ยกเลิกคำสั่งยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2532จึงเป็นการยื่นเมื่อเกินกำหนด 8 วันแล้ว ผู้ประกันไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249 (คดีนี้มิใช่เป็นเรื่องการบังคับตามสัญญาประกันโดยตรง แต่พิพาทกันในเรื่องค่าธรรมเนียมถอนการยึด คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119ผู้ประกันฎีกาได้).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1864/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำร้องคัดค้านการยึดทรัพย์เกินกำหนดตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งและอาญา
ผู้ประกันซึ่งผิดสัญญาประกันยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้น เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2532 ว่า เจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์ของผู้ประกันโดยไม่ถูกต้อง ผู้ประกันจึงไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมในการถอนการยึด พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่าผู้ประกันทราบเรื่องการยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดีตั้งแต่วันดังกล่าวการที่ผู้ประกันมายื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ยกเลิกคำสั่งยึดทรัพย์ของเจ้าพนักงานบังคับคดี เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2532จึงเป็นการยื่นเมื่อเกินกำหนด 8 วันแล้ว ผู้ประกันไม่อาจยื่นคำร้องขอให้ยกเลิกกระบวนวิธีการบังคับคดีของเจ้าพนักงานบังคับคดีได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 296 วรรคสอง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 249(คดีนี้มิใช่เป็นเรื่องการบังคับตามสัญญาประกันโดยตรง แต่พิพาทกันในเรื่องค่าธรรมเนียมถอนการยึด คำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์จึงไม่เป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 119ผู้ประกันฎีกาได้).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1843/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นายจ้างต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างในความเสียหายที่เกิดจากการกระทำในทางการจ้าง แม้ผู้ครอบครองรถยนต์จะไม่ใช่ตน
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 6 กระทำละเมิดต่อ โจทก์ในทางการจ้าง ของจำเลยที่ 2 ถึง ที่ 6 ศาลชั้นต้นฟังว่าจำเลยที่ 1 กระทำละเมิดต่อ โจทก์ในทางการที่จ้าง ของจำเลยที่ 3 ถึง ที่ 6 ส่วนจำเลยที่ 2 พิพากษายกฟ้อง จำเลย ที่ 3 ถึง ที่ 6 มิได้อุทธรณ์ฎีกาโต้เถียง คำพิพากษาศาลชั้นต้นใน ปัญหาข้อนี้ ดังนั้น จำเลยที่ 3ถึง ที่ 6 ซึ่ง เป็นนายจ้างย่อมต้อง ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ.มาตรา 425 การที่จำเลยที่ 2 จะครอบครองรถยนต์ คันที่จำเลยที่ 1 ขับอยู่ในขณะเกิดเหตุ หรือไม่ จึงมิใช่สาระสำคัญในการวินิจฉัยความรับผิดของจำเลยที่ 3 ถึง ที่ 6.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวก่อนคดีถึงที่สุดได้ หากจำเลยไม่คัดค้าน
คดีอาญาความผิดต่อส่วนตัวโจทก์จะถอนฟ้องในเวลาใด ก่อนคดีถึงที่สุดก็ได้ เมื่อจำเลยไม่คัดค้าน และศาลอนุญาตให้ถอนฟ้องสิทธินำคดีอาญามาฟ้องย่อมระงับไปตาม ป.วิ.อ. มาตรา 39(2).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามมาตรา 234 วรรคหนึ่ง โดยนำเงินมาชำระหรือหาประกัน หากไม่ปฏิบัติตาม ศาลชอบที่จะยกคำร้อง
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยได้ และการที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไปยังศาลอุทธรณ์ทันทีโดยมิได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อบกพร่องดังกล่าวก็ไม่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบเพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 มิได้บังคับให้ศาลชั้นต้นมีหน้าที่แจ้งให้ผู้อุทธรณ์ทราบ แต่เป็นบทบัญญัติที่บังคับผู้อุทธรณ์เพียงฝ่ายเดียวให้ต้องปฏิบัติ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ต้องวางค่าฤชาธรรมเนียมและชำระค่าเสียหายตามคำพิพากษา หรือหาประกันตามกฎหมาย
ป.วิ.พ. มาตรา 234 เป็นบทบัญญัติบังคับผู้อุทธรณ์คำสั่งต้อง นำค่าฤชาธรรมเนียมมาวางศาล และนำเงินมาชำระตาม คำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อ ศาลภายในกำหนด 10 วัน นับแต่วันที่ศาลมีคำสั่งนั้น หาใช่เป็นหน้าที่ของศาลที่ต้อง แจ้งให้จำเลยทราบไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1413-1415/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขการวางเงินค่าฤชาธรรมเนียมและชำระตามคำพิพากษา หรือหาประกัน
จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ โดยมิได้นำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล เป็นการฝ่าฝืนประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 34 ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยได้ และการที่ศาลชั้นต้นส่งคำร้องอุทธรณ์คำสั่งของจำเลยไปยังศาลอุทธรณ์ทันทีโดยมิได้แจ้งให้จำเลยทราบถึงข้อบกพร่องดังกล่าวก็ไม่เป็นการพิจารณาที่ผิดระเบียบ เพราะประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 234 มิได้บังคับให้ศาลชั้นต้นต้องปฏิบัติเช่นนั้น แต่บังคับผู้อุทธรณ์เพียงฝ่ายเดียวให้ต้องปฏิบัติหาใช่เป็นหน้าที่ของศาลไม่
of 46