คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชูศักดิ์ บัณฑิตกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 454 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1365/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดโทษจำเลยในคดีฆ่าเนื่องจากพฤติการณ์ที่ให้การเป็นประโยชน์ต่อการพิจารณา
จำเลยกับ ส. ฝ่ายหนึ่ง และผู้ตาย โจทก์ร่วม กับ ม.อีกฝ่ายหนึ่งได้ ชกต่อยกัน สาเหตุที่ทั้งสองฝ่ายชกต่อยกันเป็นการสมัครใจวิวาทกัน การที่จำเลยให้การยอมรับว่าได้ ใช้ อาวุธปืนยิงผู้ตายจริง และนำสืบว่าจำเลยเรียก ส. ซึ่ง เป็นหลานของจำเลยให้ออกมาชกต่อยกับโจทก์ร่วม นับว่าเป็นประโยชน์แก่การพิจารณาและมิได้เกิดจากการจำนนต่อ พยานหลักฐาน จึงมีเหตุสมควรที่จะลดโทษให้จำเลยตาม ป.อ. มาตรา 78.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายโดยตรงในคดีฉ้อโกง การฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่งแยกต่างหากไม่ถือเป็นความเสียหายโดยตรง
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกู้ยืมเงินโจทก์โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นหลักประกัน โดยตกลงกันว่าจำเลยทั้งสองจะต้องไถ่ถอนคืนภายในกำหนด 2 ปี ต่อมาจำเลยที่ 1 อ้างว่าจำเลยที่ 2 ให้นำเงินมาชำระและยินยอมให้โจทก์โอนที่ดินดังกล่าวใส่ชื่อจำเลยที่ 1 โจทก์หลงเชื่อจึงโอนที่ดินใส่ชื่อจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ยื่นฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งข้อหาผิดสัญญาเรียกค่าเสียหาย ดังนี้ การที่จำเลยที่ 2 ยื่นฟ้องโจทก์เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหาก มิใช่การกระทำในคดีนี้ เพราะคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ความเสียหายที่จะได้รับจะต้องเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการถูกหลอกลวงนั้นโดยตรง แม้โจทก์จะได้รับความเสียหายจากการถูกฟ้อง ความเสียหายดังกล่าวก็มิใช่ความเสียหายโดยตรงในคดีนี้โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายโดยตรงจากการฉ้อโกง: การฟ้องร้องดำเนินคดีแพ่งแยกต่างหากมิใช่ความเสียหายโดยตรงในคดีอาญา
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกู้ยืมเงินโจทก์โดยโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นหลักประกัน โดยตกลงกันว่าจำเลยทั้งสองจะต้องไถ่ถอนคืนภายในกำหนด 2 ปี ต่อมาจำเลยที่ 1 อ้างว่าจำเลยที่ 2 ให้นำเงินมาชำระและยินยอมให้โจทก์โอนที่ดินดังกล่าวใส่ชื่อจำเลยที่ 1 โจทก์หลงเชื่อจึงโอนที่ดินใส่ชื่อจำเลยที่ 1ต่อมาจำเลยที่ 2 ได้ยื่นฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งข้อหาผิดสัญญาเรียกค่าเสียหาย ดังนี้ การที่จำเลยที่ 2 ยื่นฟ้องโจทก์เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหาก มิใช่การกระทำในคดีนี้ เพราะคดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 341 ความเสียหายที่จะได้รับจะต้องเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการถูกหลอกลวงนั้นโดยตรง แม้โจทก์จะได้รับความเสียหายจากการถูกฟ้อง ความเสียหายดังกล่าวก็มิใช่ความเสียหายโดยตรงในคดีนี้โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหาย ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากฉ้อโกงต้องเป็นผลโดยตรง การฟ้องร้องทางแพ่งไม่ใช่ความเสียหายโดยตรงในคดีอาญา
จำเลยทั้งสองได้ร่วมกันกู้ยืมเงินโจทก์ด้วยวิธีโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินของจำเลยที่ 2 เป็นหลักประกัน โดยตกลงกันว่าจำเลยทั้งสองจะต้องไถ่ถอนคืนภายในกำหนด 2 ปี ต่อมาจำเลยที่ 1 อ้างว่าจำเลยที่ 2 ให้นำเงินมาชำระหนี้และยินยอมให้โจทก์โอนที่ดินดังกล่าวใส่ชื่อจำเลยที่ 1 โจทก์หลงเชื่อจึงโอนที่ดินใส่ชื่อจำเลยที่ 1 แล้วโจทก์ถูกจำเลยที่ 2 ฟ้องเป็นคดีแพ่งข้อหาผิดสัญญาเรียกค่าเสียหาย ดังนี้การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองว่ากระทำความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341 เป็นคดีนี้ ความเสียหายที่โจทก์ได้รับจะต้องเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการถูกหลอกลวงนั้นโดยตรงแม้โจทก์จะได้รับความเสียหายจากการถูกจำเลยที่ 2 ฟ้อง ก็เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหาก มิใช่การกระทำในคดีนี้ ความเสียหายดังกล่าวมิใช่ความเสียหายโดยตรงในคดีนี้ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1357/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเสียหายจากการฉ้อโกงต้องเป็นผลโดยตรง การถูกฟ้องเป็นความเสียหายต่างหาก
ผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงจะต้อง ได้ รับความเสียหายอันเป็นผลที่เกิดขึ้นจากการถูก หลอกลวงนั้นโดยตรง การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยร่วมกันหลอกลวงโจทก์ และผลการหลอกลวงเป็นเหตุให้จำเลยฟ้องโจทก์เป็นคดีแพ่งเพื่อเรียกค่าเสียหายนั้น ถึง แม้โจทก์จะได้ รับความเสียหายจากการถูก ฟ้อง ความเสียหายดังกล่าวก็มิใช่ความเสียหายโดยตรงในคดีนี้ และการที่จำเลยได้ ยื่นฟ้องโจทก์เป็นการกระทำอีกส่วนหนึ่งต่างหาก มิใช่การกระทำในคดีนี้ โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายในคดีนี้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1228/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ที่ดินซื้อระหว่างสมรส: การโอนที่ดินให้มารดาจำเลยไม่ทำให้ที่ดินนั้นพ้นจากความเป็นสินสมรส
จำเลยยื่นความจำนง ขอซื้อ ที่ดิน พิพาทจากกองทัพอากาศ และจำเลยยอมให้กองทัพอากาศหัก เงินเดือน ของจำเลยทุกเดือนเป็นการผ่อนชำระราคาที่ดิน เมื่อผ่อนชำระครบถ้วนแล้ว ผู้ขายได้ จดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยในระหว่างสมรส ดังนี้ ที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์จำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1185/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาเช่าซื้อรถยนต์ข้ามประเทศ การไม่ปฏิบัติตามสัญญาเนื่องจากเหตุผลทางการเมืองไม่ถือเป็นพ้นวิสัย
จำเลยนำรถยนต์ เข้ามาในราชอาณาจักรไทย โดย จำเลยทำสัญญาไว้ต่อ โจทก์ว่าจะส่งรถยนต์ คันดังกล่าวกลับออกไปภายในเวลาที่กำหนด มิฉะนั้นจำเลยยอมรับผิดชำระเงินแก่โจทก์ การที่จำเลยไม่ปฏิบัติตาม สัญญา อ้างว่าเป็นการพ้นวิสัยเนื่องจากประเทศที่จำเลยจะส่งรถยนต์ กลับออกไปตาม สัญญานั้นเปลี่ยนแปลงการปกครองโดยใช้ สิทธิการปกครองแตกต่าง กับประเทศไทย จำเลยไม่กล้านำรถยนต์ กลับออกไปยังประเทศดังกล่าว ดังนี้ เป็นเพียงจำเลยไม่กล้านำรถยนต์ กลับออกไปเท่านั้น ไม่ใช่จำเลยกระทำไม่ได้ การชำระหนี้ของจำเลยไม่เป็นการพ้นวิสัย จำเลยต้อง ชำระเงินแก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1183/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนำสืบพยานนอกประเด็น และการพิพากษาตามข้อต่อสู้ของจำเลยในคดีสัญญากู้ยืม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินตาม สัญญากู้ยืม จำเลยให้การต่อสู้ คดีว่าโจทก์ให้จำเลยลงลายมือชื่อในแบบพิมพ์สัญญากู้ที่ยังไม่ได้กรอกข้อความ ดังนี้จำเลยจึงมีสิทธินำสืบว่า พยานในแบบพิมพ์ดังกล่าวยังไม่มี ก. พยานโจทก์มิได้ลงลายมือชื่อและมิได้รู้เห็นเหตุการณ์ทั้งศาลกำหนดให้จำเลยนำสืบก่อนจำเลยจึงไม่อาจถามค้านโจทก์ไว้ก่อนได้ การนำสืบของจำเลยดังกล่าวจึงไม่ เป็นการนำสืบนอกคำคู่ความและนอกประเด็น โจทก์ฟ้องเรียกหนี้ 14,000 บาท ได้ความว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์3,532.25 บาท ดังนี้ศาลพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้ตาม ที่ได้ความได้.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1174/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อจะขาย: การนำสืบกำหนดเวลาชำระเงินส่วนที่เหลือ ไม่เป็นการแก้ไขสัญญา
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินระบุว่า จำเลยได้ ขายที่ดินให้แก่โจทก์ในราคา 40,000 บาท ชำระเงินแล้ว 10,000 บาท แต่ เอกสารดังกล่าวไม่ได้กำหนดให้โจทก์ผ่อนชำระเงินที่เหลืออีก 30,000 บาทภายในกำหนดเวลาเท่าใด การที่โจทก์นำพยานบุคคลสืบถึง กำหนดเวลาที่ต้อง ชำระเงินส่วนที่เหลือจึงเป็นการนำสืบถึง ข้อตกลงต่างหาก จากสัญญาจะซื้อขายเพื่อให้ชัดเจน ดังนี้ ไม่เป็นการนำสืบแก้ไขเพิ่มเติมเอกสาร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1129/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีฟ้องขับไล่ผู้เช่า: การต่อสู้เรื่องนิติกรรมอำพรางที่ไม่ใช่การโต้แย้งกรรมสิทธิ์ ทำให้ต้องห้ามอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224
โจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากที่ดินอันมี ค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือน ละสองพัน บาท และเรียกค่าเช่าอันมีทุนไม่เกินสองหมื่นบาท จำเลยให้การต่อสู้ ว่าโจทก์ตกลง ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินตาม ฟ้องให้จำเลย แต่ จำเลยไม่มีเงินชำระจึงตกลง ว่าในระหว่างที่จำเลยยังไม่ ได้ ชำระค่าที่ดินงวดสุดท้ายโจทก์ให้จำเลยเช่า ที่ดินดังกล่าวโดย ชำระค่าเช่าเป็นรายปีจนกว่าจะโอน สัญญาเช่าเป็นนิติกรรมอำพราง ดังนี้ จำเลยเพียงแต่อ้างว่าจำเลยมีสิทธิที่จะอยู่ในที่ดินพิพาทได้ ตาม สัญญา มิใช่กล่าวแก้ ข้อพิพาทด้วย กรรมสิทธิ์และการที่จำเลยให้การต่อสู้ ว่าสัญญาเช่าที่ดินพิพาทเป็นนิติกรรมอำพราง ก็ไม่ใช่ยกข้อโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายแห่งข้อความในสัญญาเช่า คดีจึงต้องห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224.
of 46