คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชูศักดิ์ บัณฑิตกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 454 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4662/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์สถานะตัวแทนและการเป็นบริวารในสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์
ผู้ร้องไม่ได้ทำหลักฐานเป็นหนังสือตั้งจำเลยเป็นตัวแทนในการทำสัญญาเช่า ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำสัญญาเช่าในฐานะเป็นตัวแทนผู้ร้อง เมื่อจำเลยเช่าตึก พิพาทจากโจทก์ ผู้ร้องเข้ามาอาศัยอยู่ในตึก พิพาทโดยอาศัยสิทธิของจำเลยจึงเป็นบริวารจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4275/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจตนาทำร้ายเพื่อป้องกันตัว: การแทงในระหว่างการต่อสู้และภาวะถูกทำร้าย ไม่ถือเป็นเจตนาฆ่า
จำเลยได้แทงโจทก์ร่วมในขณะชุลมุนต่อสู้กับโจทก์ร่วม และขณะที่แทง โจทก์ร่วมนั่งคร่อมอยู่บนตัวจำเลยและบีบคอจำเลยอยู่ในภาวะและพฤติการณ์เช่นนั้น จำเลยย่อมไม่มีโอกาสเลือกได้ว่าจะแทงบริเวณไหน ในขณะนั้นใบหน้าของโจทก์ร่วมเป็นตำแหน่งที่จำเลยจะแทงได้ถนัดกว่าบริเวณอื่น แม้บาดแผลดังกล่าวจะเป็นบาดแผลฉกรรจ์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับอันตรายสาหัสเพราะถูกแทงโดยแรง ก็เนื่องจากจำเลยมีเจตนาจะหยุดยั้งมิให้โจทก์ร่วมบีบ คอจำเลยจนหายใจไม่ออกจำเลยจึงได้แทงส่วนออกไปด้วยความตกใจและกลัวตาย จำเลยแทงโจทก์เพียงครั้งเดียว ทั้ง ๆ ที่จำเลยจะแทงซ้ำอีกก็ย่อมกระทำได้เพราะแม้มีดจะหลุดคา อยู่ที่บาดแผลของโจทก์ร่วม แต่มีดของจำเลยเป็นมีดที่ชาวบ้านเรียกว่าเสือซ่อนเล็บเป็นมีดคู่มี 2 เล่ม เมื่อแทงโจทก์ร่วมแล้วก็ยังเหลือมีดอยู่อีกเล่มหนึ่ง แต่จำเลยก็มิได้ใช้มีดที่เหลือแทงโจทก์ร่วมอีก กลับโยนทิ้งไว้ในที่เกิดเหตุแล้วผละหนีไป ดังนี้ แสดงว่าจำเลยมิได้มีเจตนาฆ่าโจทก์ร่วมจำเลยคงมีความผิดเพียงฐานทำร้ายร่างกายผู้อื่นเป็นเหตุให้ได้รับอันตรายสาหัสตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 297.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4268/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมออกเช็ค – แม้เป็นผู้สลักหลังก็มีความผิดได้ตาม พ.ร.บ. เช็ค
พระราชบัญญัติเป็นกฎหมายในส่วนอาญาซึ่งประมวลกฎหมายอาญามาตรา 17 บัญญัติว่า บทบัญญัติในภาค 2 แห่งประมวลกฎหมายอาญาใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ดังนั้น คำว่า"ผู้ใดออกเช็ค" ตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 3 จึงมิได้มีความหมายเฉพาะผู้ออกเช็คในฐานะผู้สั่งจ่ายเท่านั้นที่จะเป็นผู้กระทำความผิดได้ บุคคลอื่นแม้มิใช่ผู้สั่งจ่ายก็อาจร่วมกระทำความผิดกับผู้ออกเช็คโดยเป็นตัวการร่วมกันตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83 ได้ โจทก์ฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยที่ 4 ร่วมกันสั่งจ่ายเช็คกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เพื่อชำระหนี้ในการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและเครื่องจักรแม้จำเลยที่ 4 จะเป็นผู้สลักหลังเช็คมิใช่ผู้สั่งจ่ายเช็ค แต่ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ออกเช็คของบริษัทจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้นั้น เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 4 จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4268/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ตัวการร่วมในความผิดเช็ค: ผู้สลักหลังเช็คก็มีความผิดได้หากมีเจตนาออกเช็คเพื่อชำระหนี้
พ.ร.บ.เป็นกฎหมายในส่วนอาญาซึ่ง ป.อ.มาตรา 17 บัญญัติว่า บทบัญญัติในภาค 2 แห่ง ป.อ. ใช้ในกรณีแห่งความผิดตามกฎหมายอื่นด้วย ดังนั้น คำว่า "ผู้ใดออกเช็ค" ตามพ.ร.บ.ดังกล่าว มาตรา 3 จึงมิได้มีความหมายเฉพาะผู้ออกเช็คในฐานะผู้สั่งจ่ายเท่านั้นที่จะเป็นผู้กระทำความผิดได้ บุคคลอื่นแม้มิใช่ผู้สั่งจ่ายก็อาจร่วมกระทำความผิดกับผู้ออกเช็คโดยเป็นตัวการร่วมกันตาม ป.อ. มาตรา 83 ได้ โจทก์ฟ้องคดีนี้ว่าจำเลยที่ 4 ร่วมกันสั่งจ่ายเช็คกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3เพื่อชำระหนี้ในการซื้อที่ดินพร้อมสิ่งปลูกสร้างและเครื่องจักรแม้จำเลยที่ 4 จะเป็นผู้สลักหลังเช็คมิใช่ผู้สั่งจ่ายเช็ค แต่ตามพฤติการณ์ถือได้ว่าจำเลยที่ 4 เป็นตัวการร่วมกับจำเลยที่ 2 ที่ 3กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ออกเช็คของบริษัทจำเลยที่ 1 เพื่อชำระหนี้นั้น เมื่อธนาคารตามเช็คปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 4 จึงมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3657/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คและเงินสด การพิสูจน์การระงับหนี้ต้องมีหลักฐานชัดเจน ผู้ค้ำประกันต้องรับผิดหากพิสูจน์การชำระหนี้ไม่ได้
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์ มีจำเลยที่ 2 เป็นผู้ค้ำประกัน แม้ จะ รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 เคยนำเช็คไปชำระหนี้เงินกู้รายพิพาท แก่ โจทก์ แต่ก็ปรากฏว่าธนาคารปฏิเสธการใช้เงินตามเช็คนั้น หนี้ เงินกู้ ราย นี้ จึงยังคงมีอยู่ตามหนังสือสัญญากู้ การที่จำเลยที่ 2 นำสืบ ว่า จำเลย ที่ 1นำเงินสดตามเช็คไปชำระแก่โจทก์จนครบและ รับ เช็ค คืน จากโจทก์แล้วนั้นเป็นการนำสืบให้ศาลฟังข้อเท็จจริงว่า หนี้ เงินกู้ ตามสัญญากู้รายพิพาทได้ระงับแล้วโดยจำเลยที่ 1 นำ เงินสด ไป ชำระ ให้แก่โจทก์ จึงเป็นการนำสืบการใช้เงินตามความหมาย แห่ง ป.พ.พ.มาตรา 653 วรรคสอง จำเลยที่ 2 ไม่มีหลักฐานเป็น หนังสือ ลง ลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง ทั้งไม่ปรากฏว่าเอกสารอันเป็น หลักฐาน แห่ง การกู้ยืมเงินนั้นได้เวนคืนแล้วหรือได้แทงเพิกถอนแล้ว จึง รับฟัง ไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้แก่โจทก์ที่ 1 สำหรับเช็ค ที่ อ้างว่า นำ ไปชำระหนี้เงินกู้นั้นก็ไม่ใช่หลักฐานแห่งการกู้ยืม จำเลย ที่ 2 จึง ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ตามฟ้อง.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3657/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระหนี้ด้วยเช็คและเงินสด การนำสืบการใช้เงิน และผลกระทบต่อผู้ค้ำประกัน
จำเลยที่ 1 กู้เงินโจทก์และได้ชำระหนี้เงินกู้รายพิพาทเป็นเช็คแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงินตามเช็ค หนี้เงินกู้จึงยังคงมีอยู่การที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นผู้ค้ำประกันนำสืบว่า จำเลยที่ 1 นำเงินสดตามเช็คไปชำระแก่โจทก์จนครบและรับเช็คคืนจากโจทก์แล้ว จึงเป็นการนำสืบการใช้เงินตามความหมายของ ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสองเมื่อจำเลยที่ 2 ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้ยืมมาแสดง และไม่ปรากฏว่าเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืมนั้นได้เวนคืนหรือได้แทงเพิกถอนลงในเอกสารนั้นแล้ว จึงรับฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ได้ชำระหนี้ให้แก่โจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3463/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนฟ้องอุทธรณ์และการรอการลงโทษ จำเลยชดใช้ค่าเสียหาย โจทก์ไม่ประสงค์ดำเนินคดี
ระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์ซึ่งเป็นผู้อุทธรณ์ยื่นคำร้องขอถอนฟ้องจำเลยทั้งเจ็ดและถอนอุทธรณ์จำเลยที่ 7ไม่ดำเนินคดีกับจำเลยทั้งเจ็ดต่อไป ดังนี้แม้ข้อหาที่โจทก์ฟ้องเป็นความผิดอันยอมความไม่ได้ ซึ่งโจทก์ไม่มีสิทธิขอถอนฟ้องในชั้นอุทธรณ์ก็ตาม แต่ย่อมถือได้ว่า โจทก์มีเจตนาที่จะถอนฟ้องอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 ด้วย การที่ศาลอุทธรณ์ไม่อนุญาตให้โจทก์ถอนอุทธรณ์จำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 คงอนุญาตให้ถอนอุทธรณ์เฉพาะจำเลยที่ 7 แล้วพิพากษาว่าจำเลยที่ 1 ถึงที่ 6 มีความผิดตามอุทธรณ์ของโจทก์นั้น คำสั่งและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3270/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องจำกัด: การข้ามขั้นตอนตาม พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ และสิทธิของผู้เช่าที่ดิน
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และขอให้บังคับจำเลยที่ 1 จัดการโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ ซึ่งเป็นการขอให้แก้ไขหรือยกเลิกมติของคณะกรรมการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล ก่อนที่จะมีการอุทธรณ์ตามพ.ร.บ. การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 56 เป็นการข้ามขั้นตอนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสอง เมื่อโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จำเลยที่ 1 จะมิได้อุทธรณ์ฎีกาขึ้นมา ศาลฎีกาก็พิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ด้วย เพราะเป็นหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245(1) ประกอบด้วยมาตรา 247.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3270/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้อง - การเช่าที่ดิน - การโอนกรรมสิทธิ์ - ข้ามขั้นตอนตามกฎหมาย - สิทธิของผู้เช่า
จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทซึ่งจำเลยที่ 1 ให้จำเลยที่ 2 เช่าทำนา นาย ป. บิดาจำเลยที่ 1 ได้ทำสัญญาแทนจำเลยที่ 1ตกลงจะขายที่ดินพิพาทแก่โจทก์โดยมิได้แจ้งให้จำเลยที่ 2 ทราบเพียงแต่ตกลงกันให้โจทก์ไปตกลงกับจำเลยที่ 2 เอง ต่อมาจำเลยที่ 2ขออายัดที่ดินพิพาท และคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลมีมติให้จำเลยที่ 1 ขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 แล้วจำเลยทั้งสองได้ทำสัญญาจะซื้อขายที่ดินพิพาทไว้ การที่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายระหว่างจำเลยทั้งสอง และขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแก่โจทก์เป็นการขอให้แก้ไขหรือยกเลิกมติของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำ ตำบล ก่อนที่จะมีการอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 56เป็นการข้ามขั้นตอนตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ และการที่โจทก์ขอให้บังคับจำเลยที่ 1 โอนที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ยังเป็นการขอให้บังคับจำเลยที่ 1 ละเว้นการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติ การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ. 2524 มาตรา 53วรรคหนึ่ง ที่ต้องแจ้งให้ผู้เช่านาทราบถึงการจะขายนาและให้ผู้เช่านาได้แสดงความจำนงจะซื้อนาก่อนอีกด้วย และเมื่อโจทก์เป็นเพียงผู้จะซื้อที่ดินพิพาทยังมิใช่เจ้าของที่ดินแปลงดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยโดยอาศัยอำนาจแห่งกรรมสิทธิ์ ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อขายและขอให้ห้ามจำเลยที่ 2 เข้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทนั้น.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3236/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร่วมกันจำหน่ายยาเสพติด (ฝิ่น) โดยการส่งมอบเงินและยา
จ่าสิบตำรวจ ส.ผู้ล่อซื้อฝิ่นส่งมอบเงินค่าซื้อฝิ่นให้แก่จำเลยที่ 1 ซึ่งมีจำเลยที่ 2ยืนอยู่ด้วย จำเลยที่ 1 นับเงินแล้วส่งให้จำเลยที่ 2 ตรวจนับเงินต่อ พร้อมทั้งจำเลยที่ 1 ได้มอบฝิ่นให้แก่จ่าสิบตำรวจ ส. การกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงเป็นการร่วมกันขายหรือจำหน่ายฝิ่นตามความหมายของพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 4 แล้ว
of 46