คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
ชูศักดิ์ บัณฑิตกุล

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 454 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2293/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุโจทก์ไม่ได้ยกเหตุผลโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เพียงกล่าวอ้างไม่เห็นด้วยกับคำสั่งศาลชั้นต้น
ฎีกาของโจทก์มิได้ยกเหตุผลขึ้นโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าไม่ชอบในข้อไหน อย่างไร คงกล่าวอ้างเพียงว่าโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของศาลชั้นต้นแล้วเท้าความถึงการพิจารณาในศาลชั้นต้นนับแต่โจทก์ยื่นคำฟ้องจนกระทั่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกฟ้อง และว่าคำสั่งศาลชั้นต้นไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ ขอให้ศาลฎีกามีคำสั่งกลับคำสั่งศาลชั้นต้นว่าศาลชั้นต้นมีอำนาจพิจารณาคดีนี้ และให้รับฟ้องของโจทก์ไว้ดำเนินการต่อไป ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายโดยชัดแจ้งในฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง และอายุความในคดีละเมิด
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งของคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 โจทก์ที่ 1 เป็นคู่ความและโจทก์ที่ 2 เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าวจึงจำต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาด้วยเมื่อคดีส่วนอาญาถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่า เหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทของโจทก์ที่ 1แต่ฝ่ายเดียว จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายขับรถประมาท คดีนี้เป็นคดีแพ่งศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา กล่าวคือต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายขับรถประมาท
โจทก์ทั้งสามฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดฐานละเมิดมาในฟ้องเดียวกันแต่แยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมาเป็นจำนวนชัดเจน และโจทก์ที่ 3 เรียกร้องค่าเสียหายมาไม่เกินสองหมื่นบาทย่อมอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 คงอุทธรณ์ได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย
โจทก์ที่ 3 มิได้เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 ไม่มีอำนาจฟ้องในคดีดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 3 จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ. มาตรา51 ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับ ต้องใช้อายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา 448 วรรคแรก เมื่อโจทก์ที่ 3 ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ต้องถือว่าคดีเฉพาะของโจทก์ที่ 3 ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1913/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลต้องยึดข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาอาญา และอายุความคดีแพ่ง
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งของคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46 โจทก์ที่ 1 เป็นคู่ความและโจทก์ที่ 2 เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาดังกล่าวจึงจำต้องผูกพันตามคำพิพากษาคดีส่วนอาญาด้วยเมื่อคดีส่วนอาญาถึงที่สุดโดยศาลฎีกาพิพากษาว่าเหตุรถชนกันเกิดจากความประมาทของโจทก์ที่ 1 แต่ฝ่ายเดียว จำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายขับรถประมาท คดีนี้เป็นคดีแพ่งศาลจึงต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา กล่าวคือต้องฟังว่าจำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายขับรถประมาท โจทก์ทั้งสามฟ้องให้จำเลยทั้งสองร่วมกันรับผิดฐานละเมิดมาในฟ้องเดียวกันแต่แยกทุนทรัพย์ที่โจทก์แต่ละคนเรียกร้องมาเป็นจำนวนชัดเจน และโจทก์ที่ 3 เรียกร้องค่าเสียหายมาไม่เกินสองหมื่นบาทย่อมอุทธรณ์ข้อเท็จจริงไม่ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 คงอุทธรณ์ได้เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย โจทก์ที่ 3 มิได้เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาที่พนักงานอัยการฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 1 โจทก์ที่ 3 ไม่มีอำนาจฟ้องในคดีดังกล่าว ถือไม่ได้ว่าพนักงานอัยการฟ้องคดีแทนโจทก์ที่ 3จึงมิใช่คดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาตามความหมายแห่ง ป.วิ.อ.มาตรา 51 ในอันที่จะนำอายุความในทางอาญาที่ยาวกว่ามาใช้บังคับต้องใช้อายุความตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก เมื่อโจทก์ที่ 3ฟ้องคดีเกินกว่า 1 ปี นับแต่วันรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน ต้องถือว่าคดีเฉพาะของโจทก์ที่ 3ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1723/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการเข้าเป็นคู่ความของผู้มีส่วนได้เสียในคดีครอบครองปรปักษ์ ศาลอนุญาตให้เข้าเป็นคู่ความตามมาตรา 57(1) ได้
ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องอ้างว่า ช. ยกที่ดินพิพาทให้ผู้ร้องสอด ผู้ร้องสอดเป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ ขอให้ศาลมีคำสั่งว่าที่ดินพิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของผู้ร้องและผู้ร้องสอด หรือสั่งว่าผู้ร้องสอดเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์แต่ผู้เดียว คำร้องของ ผู้ร้องสอดจึงเป็นคำร้องเพื่อขอให้ศาลรับรองคุ้มครองสิทธิของผู้ร้องสอดเมื่อผู้ร้องสอดเป็นผู้มีส่วนได้เสียในมูลความแห่งคดีย่อมมีสิทธิยื่นคำร้องขอเข้าเป็นคู่ความตามสิทธิของตนที่มีอยู่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 57(1)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อเท็จจริงในคดีอาญาผูกพันคดีแพ่ง: ศาลแพ่งต้องยึดตามคำพิพากษาศาลอาญาที่วินิจฉัยว่าไม่มีหลักฐานความผิด
โจทก์ได้ฟ้องจำเลยเกี่ยวกับการกระทำอันเดียวกันเป็นคดีอาญาต่อศาลแขวงในข้อหาหมิ่นประมาท ศาลฎีกาได้วินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีอาญาแล้วว่า พยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งเกี่ยวกับการกระทำดังกล่าวซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกันว่าจำเลยได้กล่าวข้อความใส่ความโจทก์ต่อผู้อื่นอันฝ่าฝืนความจริงหรือไม่ ดังนี้ ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตาม ป.วิ.อ. มาตรา 46.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1672/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา: ศาลต้องถือตามข้อเท็จจริงในคำพิพากษาคดีอาญาที่ถึงที่สุด
จำเลยเคยถูกโจทก์ฟ้องเป็นคดีอาญาต่อศาลชั้นต้นในข้อหาหมิ่นประมาท คดีถึงที่สุดโดยศาลฎีกาวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานของโจทก์ไม่มีน้ำหนักให้รับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง เมื่อโจทก์มาฟ้องจำเลยเป็นคดีแพ่ง ซึ่งมีประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยอย่างเดียวกัน ดังนี้ ต้องฟังว่าการกระทำของจำเลยไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1606/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในการร้องขอคุ้มครองประโยชน์ในคดีบังคับคดี: ผู้รับโอนสิทธิยังไม่จดทะเบียน ไม่ถือเป็นผู้มีส่วนได้เสีย
การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลอุทธรณ์ขอให้สั่งงดการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทไว้ก่อนเพื่อบรรเทาความเสียหาย เป็นเรื่องขอให้คุ้มครองประโยชน์ของผู้ร้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 264กรณีไม่ใช่เรื่องขอทุเลาการบังคับตามมาตรา 231 เมื่อศาลอุทธรณ์มีคำสั่งอนุญาตให้งดการขายทอดตลาดตามคำร้องของผู้ร้องอันเป็นคำสั่งเกี่ยวด้วยคำขอเพื่อคุ้มครองประโยชน์ของคู่ความในระหว่างการพิจารณา โจทก์ย่อมมีสิทธิฎีกาได้ตามมาตรา 228(2),247 ผู้ร้องมิใช่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษา แม้จำเลยได้ทำสัญญาโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้อง แต่ยังมิได้จดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์กัน ยังถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นผู้มีส่วนได้เสียในคดีนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 280 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิที่จะมาร้องขอให้งดการขายทอดตลาดที่ดินพิพาท.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1562/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้มาซึ่งสิทธิครอบครองที่ดินมรดกผ่านการครอบครองเพื่อตนเองและการเสียภาษีอย่างต่อเนื่อง
ที่ดินพิพาทมี ส.ค.1 เป็นมรดก โจทก์และจำเลยต่างเป็นทายาทชั้นหลานของเจ้ามรดก เมื่อเจ้ามรดกตาย มารดาโจทก์ พี่ชายโจทก์และโจทก์ได้เข้าไปปลูกบ้านในที่ดินพิพาทและเก็บเงินค่าเช่าบ้านพักที่ปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทมาบำรุงรักษาและซ่อมแซมบ้านดังกล่าว อันเป็นการครอบครองแทนทายาทอื่น แต่เมื่อจำเลยเตือน ขอให้มารดาโจทก์แบ่งที่ดินพิพาทให้แก่ทายาท มารดาโจทก์ไม่ยอมแบ่งให้และว่า ถ้าอยากได้ก็ให้ไปฟ้องเอาเอง และมารดาโจทก์ก็จัดการชำระภาษีโรงเรือนและภาษีที่ดินในนามของตนเอง พฤติการณ์ดังกล่าวแสดงว่ามารดาโจทก์ได้เปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือโดยได้แย่งการครอบครองที่ดินพิพาทเพื่อตนเองแล้ว หาใช่เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่นไม่ ทั้งไม่ปรากฏว่าได้มีทายาทคนหนึ่งคนใดดำเนินการเกี่ยวกับที่ดินพิพาทนี้แต่อย่างใดสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทจึงตกอยู่แก่มารดาโจทก์แล้วเมื่อมารดาโจทก์ถึงแก่ความตาย โจทก์ซึ่งเป็นบุตรและเป็นทายาทก็เข้าครอบครองต่อและเสียภาษีที่ดินและภาษีโรงเรือนในนามของโจทก์ทั้งโจทก์ยังได้ฟ้องขับไล่ทายาทอื่นให้ออกจากห้องแถวซึ่งปลูกอยู่บนที่ดินพิพาทอีกด้วย ที่ดินพิพาทจึงตกเป็นของโจทก์แล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การลดค่าปรับสัญญาก่อสร้าง: ศาลมีอำนาจลดค่าปรับหากสูงเกินส่วน แม้โจทก์มิได้ขอ
โจทก์ผิดสัญญาก่อสร้างส่งมอบงานแก่จำเลยล่าช้าเกินกำหนดเวลาที่ระบุไว้ในสัญญาจนถูกจำเลยปรับตามสัญญา แม้โจทก์ฟ้องเรียกค่าปรับคืนโดยอ้างว่ามิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญาและมิได้ขอให้ศาลลดค่าปรับ ถ้าศาลเห็นว่าโจทก์ผิดสัญญา แต่ค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้าเมื่อเปรียบเทียบกับความเสียหายที่แท้จริงแล้วสูงเกินไปศาลย่อมมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดค่าปรับลงแล้วคืนให้โจทก์บางส่วนได้ไม่ใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอและไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1379/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลลดค่าปรับสัญญา: ศาลมีอำนาจลดเบี้ยปรับหากสูงเกินส่วน แม้โจทก์ฟ้องขอคืนค่าปรับ
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่า โจทก์มีสิทธิเรียกร้องให้จำเลยคืนค่าปรับหรือชดใช้เงินค่าจ้างให้โจทก์เพียงใดหรือไม่ ดังนั้นค่าปรับหรือเบี้ยปรับจึงเป็นประเด็นโดยตรง เมื่อศาลชั้นต้นพิจารณาเห็นว่าค่าเสียหายที่กำหนดไว้ล่วงหน้านั้นสูงเกินไป และกำหนดลดลงบางส่วน จึงไม่ใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอและไม่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องนอกประเด็น ทั้งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 383 ให้อำนาจศาลที่จะใช้ดุลพินิจลดเบี้ยปรับลงได้หากเห็นว่าเบี้ยปรับนั้นสูงเกินส่วน.
of 46