พบผลลัพธ์ทั้งหมด 454 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1131/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเพิกถอนคำวินิจฉัย คตส. เหตุขัดต่อธรรมนูญการปกครองฯ และเป็นการออกกฎหมายย้อนหลัง
(คำสั่งศาลฎีกาที่ 1131/2536 ประชุมใหญ่) คดีตามประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ศาลแพ่งไม่มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดด้วยตนเอง นอกจากทำความเห็นไปยัง ศาลฎีกาเพื่อวินิจฉัย และประกาศดังกล่าวได้บัญญัติให้นำ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลม ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมายและศาลฎีกาก็มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดเช่นนั้นได้ ปัญหาที่ว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 หรือไม่ซึ่งเกิดขึ้นในการพิจารณาคดีของศาล มิใช่ปัญหาเกิดขึ้นในวงงานของสภานิติบัญญัติแห่งชาติหรือคณะรัฐมนตรีขอให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติวินิจฉัยตามมาตรา 30 วรรคสองและมิใช่เป็นการกระทำหรือปฏิบัติตามที่บัญญัติในมาตรา 31แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534ทั้งมิใช่ปัญหาว่าบทบัญญัติของกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534มาตรา 5 และมาตรา 206 วรรคแรกเช่นเดียวกันอำนาจในการวินิจฉัยปัญหาดังกล่าวจึงตกอยู่แก่ ศาลตามหลักกฎหมายทั่วไป แม้ขณะที่ออกประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ไม่มีกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือธรรมนูญการปกครองใช้บังคับแต่ระหว่าง ประกาศดังกล่าวมีผลใช้บังคับอยู่ได้มีประกาศ ใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 จึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534เมื่อประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 มีผลเป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจทำการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเช่นเดียวกับศาล ทั้งออกและใช้กฎหมายที่มีโทษทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษบุคคล เป็นการขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 จึงขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534มาตรา 30 วรรคแรก ใช้บังคับมิได้ ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534มาตรา 32 เป็นการรับรองโดยทั่วไปว่า ประกาศหรือคำสั่งของ รสช.มีผลให้ใช้บังคับได้เช่นกฎหมายเท่านั้นมิได้บัญญัติรับรองไปถึงว่าให้ใช้บังคับได้แม้เนื้อหาตามประกาศหรือคำสั่งนั้นขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ. 2534 และเมื่อประกาศ รสช.ฉบับที่ 26ข้อ 2 ข้อ 6 ใช้บังคับไม่ได้ตามธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรมาตรา 30 แล้ว จึงมิใช่กฎหมายที่ยังมีผลใช้บังคับอยู่จนถึงวันประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2534 จึงจะนำมาตรา 222 แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2534 มาใช้ให้มีผลบังคับ ต่อไปมิได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตประเด็นข้อพิพาทในคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา และการวินิจฉัยค่าเสียหายที่มิใช่เรื่องนอกฟ้อง
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทไว้ข้อแรกว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันเอาเช็คจำนวน 105 ฉบับ ของโจทก์ไปหรือไม่และข้อ 2 ว่าจำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดใช้เงินตามฟ้องหรือไม่ นั้น ย่อมรวมถึงประเด็นเรื่องค่าเสียหายอันเกิดจากการเอาเช็คตามฟ้องของโจทก์ไปด้วย เพราะตามฟ้องระบุว่าโจทก์ได้รับความเสียหายจากการที่โจทก์ไม่สามารถเรียกเก็บเงินตามเช็คที่จำเลยทั้งสองเบียดบังเอาไปการที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยถึงค่าเสียหายจากการกระทำของจำเลยทั้งสองดังกล่าวจึงไม่ใช่เรื่องนอกฟ้อง นอกประเด็น โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นคดีอาญาว่ายักยอกเช็คหลายฉบับ ซึ่งมีเช็คตามฟ้องในคดีนี้อยู่ด้วย แม้คดีนี้จะเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาดังกล่าวก็ตาม แต่คดีดังกล่าวยังไม่ถึงที่สุด จึงไม่จำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2068/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของเจ้าหน้าที่สถานธนานุเคราะห์ กรณีทุจริตลักทรัพย์ จำเลยไม่มีส่วนประมาทเลินเล่อ
การที่จำเลยที่ 2 พนักงานเก็บของลางานอยู่เสมอเพราะเหตุเจ็บป่วยแล้วจำเลยที่ 3 ผู้ช่วยพนักงานเก็บของสามารถเข้าไปในห้องเก็บของได้นั้น ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 ปล่อยให้จำเลยที่ 3กระทำการแทนโดยตลอด การที่จำเลยที่ 2 ออกไปช่วยคนอื่นทำงานบ้างเล็กน้อย เนื่องจากขณะนั้นจำเลยที่ 2 ไม่มีงานของตนเองที่จะต้องทำนั้น ไม่ถือเป็นการปฏิบัติผิดหน้าที่ และการที่จำเลยที่ 3 ลักลอบเอาทรัพย์ที่รับจำนำไปจากห้องเก็บของนั้นแสดงอยู่ในตัวว่าจำเลยที่ 3 ได้กระทำโดยปกปิดมิให้ผู้อื่นโดยเฉพาะจำเลยที่ 2 ทราบ แม้แต่ผู้ตรวจการซึ่งมา ตรวจ เป็นประจำก็ยังไม่ทราบ จนกระทั่งมีการร้องขอให้มีการตรวจเป็นพิเศษจึงทราบทั้งไม่มีระเบียบกำหนดให้พนักงานเก็บของต้องตรวจสิ่งของเป็นประจำทุกเดือนหรือในกำหนดเวลาเท่าใด ประกอบกับไม่ปรากฏพฤติการณ์น่าสงสัยว่าจำเลยที่ 3 กระทำการทุจริตมาก่อน เช่นนี้พฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่ถึงขนาดที่จะรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 กระทำโดยประมาทเลินเล่อเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 708/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฆ่าโดยเจตนาและเหตุผลในการกระทำ: บันดาลโทสะ vs. ปกปิดความผิด
ตอนแรกจำเลยที่ 1 ใช้ไม้ตี ก. เพราะถูก ก. ดุ ด่า และทำร้ายร่างกาย แต่หลังจาก ก. ดุด่าและทำร้ายร่างกายจำเลยที่ 1แล้ว ก. ได้เดินเข้าไปนั่งซ่อมโทรศัพท์อยู่ในห้อง จำเลยที่ 1เดินไปหาไม้ที่หลังบ้านมีช่วงเวลาที่จะคิดได้ว่าสมควรทำร้าย ก.หรือไม่ จำเลยที่ 1 หาไม่ได้แล้วเดินเข้าไปตี ก. ในขณะที่กำลังนั่งซ่อมโทรศัพท์อยู่ ก. ยังมีลมหายใจอยู่และส่งเสียงร้องจำเลยที่ 1 เกรงว่าเพื่อนบ้านจะได้ยินเสียงร้อง จึงใช้ผ้ารัดคอโดยแรงจนกระทั่งแน่นิ่งไปซึ่งเป็นการกระทำที่มีสาเหตุมาจากเกรงว่าเพื่อนบ้านจะได้ยินเสียงร้อง มิใช่เพราะสาเหตุถูกข่มเหงจึงมิใช่การกระทำโดยบันดาลโทสะตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 72 หลังจากจำเลยที่ 1 ฆ่า ก. แล้ว ขณะกำลังหาที่ซุกซ่อนศพและกลบเกลื่อนหลักฐานอยู่นั้น ส. บุตร ก. ได้เข้ามาเห็นสภาพภายในห้องที่เกิดเหตุซึ่งมีพิรุธผิดสังเกต จำเลยที่ 1เห็นเช่นนั้นก็ใช้ไม้ตี ส. เพื่อปกปิดความผิดฐานฆ่า ก.การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงเป็นการฆ่า ส. เพื่อปกปิดความผิดอื่นและเพื่อหลีกเลี่ยงให้พ้นอาญาในความผิดอื่นที่ตนได้กระทำไว้ จำเลยที่ 1 ใช้ไม้ตี ส.หลายทีเมื่อส. ยังไม่ตาย จึงใช้ผ้ารัดคออีกจนถึงแก่ความตาย เป็นวิธีธรรมดาในการฆ่าให้ถึงแก่ความตายไป มิใช่เป็นการฆ่าโดยทารุณโหดร้าย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 639/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฉ้อโกง, เอกสารไม่สมบูรณ์ไม่เป็นเอกสารสิทธิปลอม, เจตนาใช้เอกสารปลอมเป็นรายกรรม, สามีภริยาไม่ได้หมายความว่ารู้เห็นผิดด้วยกัน
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกง รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดตั้งแต่ก่อนวันที่ไปร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวน ทั้งบันทึกคำร้องทุกข์ก็ปรากฏว่าโจทก์ร้องทุกข์เมื่อเกิน 3 เดือน นับแต่วันที่รู้เรื่องความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิด คดีโจทก์จึงขาดอายุความ ในคำขอกู้เงินกรอกข้อความไว้แต่เพียงชื่อตัว ชื่อสกุล สังกัดอำเภอ และลายมือชื่อเท่านั้น มิได้กรอกข้อความจำนวนเงินที่ขอกู้ ในหนังสือกู้เงินก็มีเพียงลายมือชื่อผู้กู้ มิได้กรอกจำนวนเงินที่ขอกู้ และในใบมอบฉันทะก็มีเพียงลายมือชื่อผู้มอบฉันทะเท่านั้นมิได้กรอกข้อความว่ามอบฉันทะให้ผู้ใด จึงเป็นเอกสารที่ข้อความยังไม่สมบูรณ์ มิใช่เอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการก่อ เปลี่ยนแปลงโอน สงวนหรือระงับซึ่งสิทธิ ผู้ใช้เอกสารดังกล่าวจึงไม่มีความผิดฐานใช้เอกสารสิทธิปลอม การที่จำเลยที่ 2 ใช้เอกสารปลอมแต่ละชุดต่างหากจากกันเพื่อหลอกเอาเงินจากโจทก์ 9 ครั้ง ต่างวันเวลากันนั้น เป็นการมีเจตนาใช้เอกสารปลอมเพื่อหลอกเอาเงินจากโจทก์เป็นรายครั้ง จึงเป็นความผิด 9 กรรมต่างกัน แม้จำเลยทั้งสองเป็นสามีภริยากันก็ตาม ก็มิใช่เหตุแสดงว่าจำเลยที่ 1 รู้เห็นกับจำเลยที่ 2 ทุกกรณี เมื่อพยานหลักฐานโจทก์รับฟังไม่ได้แน่ชัดว่า จำเลยที่ 1 มีเจตนากระทำผิดฐานใช้เอกสารปลอม จึงลงโทษจำเลยที่ 1 ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะบุคคลต่างด้าว: การได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรโดยชอบด้วยกฎหมาย
คนต่างด้าวจะมีความผิดตามพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522มาตรา 81 ต้องอยู่ในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาตหรือการอนุญาตสิ้นสุดหรือถูกเพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 336/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คนต่างด้าวได้รับการอนุญาตให้อยู่ในไทยชั่วคราว ไม่ถือเป็นความผิดตาม พ.ร.ก.คนเข้าเมือง
คนต่างด้าวที่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราวและการอนุญาตยังไม่สิ้นสุดหรือถูกเพิกถอน ไม่มีความผิดตามพระราชบัญญัติ คนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 มาตรา 81
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ยักยอกทรัพย์ – อายุความ – ยอมความ: การเบียดบังสินค้าคืนจากลูกค้าเป็นความผิดฐานยักยอก การแจ้งความหลังตรวจพบของกลางไม่ขาดอายุความ การรับปากคืนสินค้าไม่ใช่การยอมความ
จำเลยเป็นลูกจ้างขายสินค้าเวชภัณฑ์ ของโจทก์ร่วม ได้รับมอบหมายจากโจทก์ร่วมให้ไปเก็บเงินค่าสินค้ายาและรับสินค้ายาคืนจากลูกค้าจำเลยได้รับสินค้ายามาแล้ว แต่ไม่ยอมส่งมอบให้โจทก์ร่วม กลับนำไปขายต่อให้ลูกค้ารายอื่น อันเป็นการเบียดบังเป็นประโยชน์ส่วนตนโดยทุจริตย่อมมีความผิดฐานยักยอก ว.ตรวจร้านขายยาต่าง ๆ ทำให้ทราบว่าจำเลยรับสินค้ายาคืนมาแล้วไม่นำส่งโจทก์ร่วม จึงแจ้งให้ผู้อำนวยการฝ่ายการเงินของโจทก์ร่วมทราบเมื่อเดือนธันวาคม 2526 แสดงว่าโจทก์ร่วมเพิ่งทราบถึงการกระทำความผิดและรู้ตัวผู้กระทำความผิดนับแต่บัดนั้น โจทก์ร่วมร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนเมื่อเดือนมกราคม 2527 คดีจึงไม่ขาดอายุความ ปัญหาว่า ความผิดอาญาระหว่างโจทก์ร่วมกับจำเลยระงับลงโดยการยอมความแล้วหรือไม่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องคดีอาญา อันเป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ก็สามารถยกขึ้นฎีกาได้ การที่จำเลยยอมรับว่าจะนำสินค้ายาตามบันทึกรายการสินค้ายาที่รับคืนมาจากลูกค้ามาคืนให้แก่โจทก์ร่วมภายในระยะเวลาที่กำหนดนั้น ไม่ปรากฏว่าโจทก์ร่วมยอมที่จะไม่ดำเนินคดีอาญาแก่จำเลยจึงไม่เป็นการยอมความอันจะทำให้คดีอาญาระงับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 298/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยอมความระงับคดีอาญา: จำเลยฎีกาได้แม้ไม่ยกขึ้นศาลชั้นต้น หากเป็นเรื่องอำนาจฟ้องคดีและกระทบความสงบเรียบร้อย
ปัญหาที่ว่า ความผิดอาญาระหว่างโจทก์ร่วมและจำเลยระงับลงโดยการยอมความแล้วนั้น แม้จำเลยมิได้หยิบยกขึ้นว่ากล่าวในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ แต่เป็นเรื่องอำนาจฟ้องคดีอาญา อันเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย จำเลยยกขึ้นฎีกาได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 229/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลฎีกาขยายผลคำพิพากษาถึงจำเลยอื่น แม้ไม่ฎีกา โดยพิจารณาจากพยานหลักฐานร่วมกัน
เมื่อพยานหลักฐานของโจทก์ฟังไม่ได้ว่าจำเลยกับ ว. ร่วมเป็นคนร้ายฆ่าผู้ตาย คงรับฟังได้แต่เพียงว่า ว. ทำร้ายผู้ตายโดยไม่ถึงกับเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กายหรือจิตใจ แม้ ว. ซึ่งเป็นจำเลยในคดีที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 3 พิจารณาพิพากษา รวมกับคดีนี้ และถึงที่สุดไปแล้ว จะไม่ได้ฎีกาขึ้นมา ถือว่าเป็น เหตุในลักษณะคดี ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาตลอดไปถึง ว. ได้ ตามป.วิ.อ. มาตรา 213 ประกอบด้วยมาตรา 225.