พบผลลัพธ์ทั้งหมด 8 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3865/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานป่าไม้ละเลยหน้าที่ตรวจสอบคำขอตัดไม้ ทำให้เกิดความเสียหาย
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ท้องที่เกิดเหตุโดยหน้าที่ราชการจะต้องมีความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาคำขอและตรวจสอบที่ดินของผู้ยื่นคำขอเสียก่อน สภาพที่ดินเป็นทุ่งนาไม่มีต้นไม้ ส่วนตอไม้ที่พบนั้นอยู่ในที่ดินที่มีหลักฐานเป็นใบจอง เจ้าของที่ดินก็ไม่เคยยื่นคำขอนำไม้ ถ้าจำเลยตรวจสอบและเรียกเจ้าของที่ดินที่ถูกอ้างว่าเป็นผู้ยื่นคำขอนำไม้ มาสอบถามก็จะทราบความจริงว่าคำขอนั้นเป็นเท็จและจำเลยก็ไม่เคยสอบถามคณะกรรมการตรวจสอบไม้ว่า ผู้ยื่นคำขอมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยแท้จริงหรือไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ของเจ้าพนักงานป่าไม้
ทางราชการกรมป่าไม้ กรมที่ดิน และกระทรวงมหาดไทยได้ตราระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติราชการเพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้แล้วนำมาสวมรอยอ้างว่าเป็นไม้ที่เจ้าพนักงานได้ตรวจและอนุญาตให้ตัด การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้กระทำหรือยอมให้น้องชายจำเลยนำดวงตราประทับไม้ประจำตัวจำเลยไปกระทำการตีรอยตราดังกล่าว เป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่จำเลยย่อมเล็งเห็นผลเสียหายของการกระทำนั้นได้ และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแล้ว จำเลยจะอ้างว่ากระทำไปโดยสุจริตหรือกระทำไปโดยความสำคัญผิดหาได้ไม่
ทางราชการกรมป่าไม้ กรมที่ดิน และกระทรวงมหาดไทยได้ตราระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติราชการเพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้แล้วนำมาสวมรอยอ้างว่าเป็นไม้ที่เจ้าพนักงานได้ตรวจและอนุญาตให้ตัด การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้กระทำหรือยอมให้น้องชายจำเลยนำดวงตราประทับไม้ประจำตัวจำเลยไปกระทำการตีรอยตราดังกล่าว เป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่จำเลยย่อมเล็งเห็นผลเสียหายของการกระทำนั้นได้ และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแล้ว จำเลยจะอ้างว่ากระทำไปโดยสุจริตหรือกระทำไปโดยความสำคัญผิดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3865/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าพนักงานป่าไม้ประทับตราไม้โดยมิชอบ เพื่อเอื้อประโยชน์การลักลอบตัดไม้ ถือเป็นความผิด
จำเลยเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้ท้องที่เกิดเหตุโดยหน้าที่ราชการจะต้องมีความละเอียดรอบคอบในการพิจารณาคำขอและตรวจสอบที่ดินของผู้ยื่นคำขอเสียก่อน สภาพที่ดินเป็นทุ่งนาไม่มีต้นไม้ ส่วนตอไม้ที่พบนั้นอยู่ในที่ดินที่มีหลักฐานเป็นใบจอง เจ้าของที่ดินก็ไม่เคยยื่นคำขอนำไม้ ถ้าจำเลยตรวจสอบและเรียกเจ้าของที่ดินที่ถูกอ้างว่าเป็นผู้ยื่นคำขอนำไม้ มาสอบถามก็จะทราบความจริงว่าคำขอนั้นเป็นเท็จและจำเลยก็ไม่เคยสอบถามคณะกรรมการการตรวจสอบไม้ว่า ผู้ยื่นคำขอมีกรรมสิทธิ์ในที่ดินโดยแท้จริงหรือไม่ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ของเจ้าพนักงานป่าไม้
ทางราชการกรมป่าไม้ กรมที่ดิน และกระทรวงมหาดไทย ได้ตราระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติราชการเพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้แล้วนำมาสวมรอยอ้างว่าเป็นไม้ที่เจ้าพนักงานได้ตรวจและอนุญาตให้ตัด การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้กระทำหรือยอมให้น้องชายจำเลยนำดวงตราประทับไม้ประจำตัวจำเลยไปกระทำการตีรอยตราดังกล่าว เป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่จำเลยย่อมเล็งเห็นผลเสียหายของการกระทำนั้นได้ และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแล้ว จำเลยจะอ้างว่ากระทำไปโดยสุจริตหรือกระทำไปโดยความสำคัญผิดหาได้ไม่
ทางราชการกรมป่าไม้ กรมที่ดิน และกระทรวงมหาดไทย ได้ตราระเบียบแบบแผนในการปฏิบัติราชการเพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้แล้วนำมาสวมรอยอ้างว่าเป็นไม้ที่เจ้าพนักงานได้ตรวจและอนุญาตให้ตัด การที่จำเลยซึ่งเป็นเจ้าพนักงานป่าไม้กระทำหรือยอมให้น้องชายจำเลยนำดวงตราประทับไม้ประจำตัวจำเลยไปกระทำการตีรอยตราดังกล่าว เป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่จำเลยย่อมเล็งเห็นผลเสียหายของการกระทำนั้นได้ และเมื่อเกิดความเสียหายขึ้นแล้ว จำเลยจะอ้างว่ากระทำไปโดยสุจริตหรือกระทำไปโดยความสำคัญผิดหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3420/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอนุญาตฎีกาปัญหาข้อเท็จจริงโดยผู้พิพากษาที่รับประเด็น และการพิจารณาว่าการกระทำหลายอย่างเป็นกรรมเดียว
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม พ.ร.บ.ป่าไม้ พ.ศ.2484 มาตรา 11, 69 วรรคสอง (2), 73 วรรคสอง (2) รวม2 กระทง จำคุกกระทงละ 3 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้ลงโทษจำคุกกระทงละ 2 ปี รวมจำคุก 4 ปี เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อยซึ่งโทษจำคุกแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157, 160, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) (ข) และ (ค) ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดรวม 3 กระทง จำคุกกระทงละ2 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ข) และมาตรา 157, 160ตามฟ้องข้อ 2 (ค) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 2 ปี ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) ดังนั้นเฉพาะความผิดตามฟ้องข้อ 2 (ข) และ (ค) เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อย คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 230 ที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนนั้น แม้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมีข้อความระบุให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดั่งศาลเดิม และศาลที่รับประเด็นมีอำนาจส่งประเด็นไปยังศาลอื่นอีกต่อหนึ่งได้ก็ตาม ความหมายก็คงจำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้น และตามป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ก็โดยมุ่งหมายให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาในศาลที่พิจารณาคดีนั้นเอง เพราะเป็นผู้ทราบดีว่าควรจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ส่วนผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นนั้นเป็นเพียงสืบแทนเฉพาะพยานหลักฐานที่ศาลที่พิจารณาคดีส่งมา หาได้ทราบถึงข้อเท็จจริงทั้งสำนวนไม่ ตลอดทั้งการวินิจฉัยคดีก็มิได้เกี่ยวข้องด้วย การที่จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นอนุญาตให้ฎีกานั้น จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามระเบียบปฏิบัติของกรมป่าไม้ การตรวจสอบการทำไม้ซึ่งรวมทั้งการใช้ตราประจำตัวประทับที่ตอไม้และหน้าตัดไม้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกับการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากป่า ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ใช้ตราประจำตัวประทับที่หน้าตัดไม้ซุงหน้าที่ว่าการอำเภอท้องที่โดยละเว้นการตรวจสอบไม้ของกลางตามระเบียบปฏิบัติดังกล่าวกับการที่จำเลยที่ 2 กรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ซึ่งทำขึ้นในวันเดียวกันก็เพื่ออำพรางให้ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบปฏิบัติที่ทางราชการวางไว้และเพื่อให้มีการนำไม้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จลุล่วงไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องข้อ 2 (ข)และ (ค) จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นสองกรรมต่างกันไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตาม ป.อ.มาตรา 157, 160, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) (ข) และ (ค) ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุดรวม 3 กระทง จำคุกกระทงละ2 ปี รวมจำคุก 6 ปี ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 2 มีความผิดตามป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ข) และมาตรา 157, 160ตามฟ้องข้อ 2 (ค) เป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 157อันเป็นบทที่มีโทษหนักที่สุด จำคุก 2 ปี ยกฟ้องโจทก์สำหรับจำเลยที่ 2 ในข้อหาตาม ป.อ. มาตรา 157, 162 (1) (4) ตามฟ้องข้อ 2 (ก) ดังนั้นเฉพาะความผิดตามฟ้องข้อ 2 (ข) และ (ค) เป็นเพียงแก้ไขเล็กน้อย คู่ความจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคแรก
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 230 ที่ให้อำนาจศาลที่พิจารณาคดีส่งประเด็นให้ศาลอื่นสืบพยานหลักฐานแทนนั้น แม้ตามบทบัญญัติดังกล่าวจะมีข้อความระบุให้ศาลที่รับประเด็นมีอำนาจและหน้าที่ดั่งศาลเดิม และศาลที่รับประเด็นมีอำนาจส่งประเด็นไปยังศาลอื่นอีกต่อหนึ่งได้ก็ตาม ความหมายก็คงจำกัดอยู่ในขอบอำนาจของการสืบพยานหลักฐานแทนตามที่ได้รับมอบหมายให้ลุล่วงไปเท่านั้น และตามป.วิ.อ. มาตรา 221 ที่ให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาคนใดซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาหรือทำความเห็นแย้งในศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์อนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงได้นั้น ก็โดยมุ่งหมายให้อำนาจแก่ผู้พิพากษาในศาลที่พิจารณาคดีนั้นเอง เพราะเป็นผู้ทราบดีว่าควรจะอนุญาตหรือไม่อนุญาต ส่วนผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นนั้นเป็นเพียงสืบแทนเฉพาะพยานหลักฐานที่ศาลที่พิจารณาคดีส่งมา หาได้ทราบถึงข้อเท็จจริงทั้งสำนวนไม่ ตลอดทั้งการวินิจฉัยคดีก็มิได้เกี่ยวข้องด้วย การที่จำเลยทั้งสองฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงโดยมีผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาในศาลที่รับประเด็นอนุญาตให้ฎีกานั้น จึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติดังกล่าวข้างต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามระเบียบปฏิบัติของกรมป่าไม้ การตรวจสอบการทำไม้ซึ่งรวมทั้งการใช้ตราประจำตัวประทับที่ตอไม้และหน้าตัดไม้เป็นขั้นตอนต่อเนื่องกับการนำไม้เคลื่อนที่ออกจากป่า ดังนั้น การที่จำเลยที่ 2 ใช้ตราประจำตัวประทับที่หน้าตัดไม้ซุงหน้าที่ว่าการอำเภอท้องที่โดยละเว้นการตรวจสอบไม้ของกลางตามระเบียบปฏิบัติดังกล่าวกับการที่จำเลยที่ 2 กรอกข้อความอันเป็นเท็จลงในใบเบิกทางนำไม้เคลื่อนที่ซึ่งทำขึ้นในวันเดียวกันก็เพื่ออำพรางให้ถูกต้องตามขั้นตอนของระเบียบปฏิบัติที่ทางราชการวางไว้และเพื่อให้มีการนำไม้เคลื่อนที่ไปยังจุดหมายปลายทางได้สำเร็จลุล่วงไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ตามฟ้องข้อ 2 (ข)และ (ค) จึงเป็นกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบท หาใช่เป็นสองกรรมต่างกันไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท-การเพิ่มโทษเกินกรอบ: กรณีประทับตราอนุญาตชักลากไม้และทำบัญชีเท็จ
ตามระเบียบการตรวจวัดประทับตราอนุญาตชักลากไม้ และตามคำสั่งของป่าไม้เขตที่ให้จำเลยออกไปตรวจวัดประทับตราอนุญาตชักลากไม้ จำเลยจะต้องทำบัญชีอนุญาตชักลากไม้ด้วย ดังนั้น การที่จำเลยทำบัญชีอนุญาตชักลากไม้เป็นเท็จก็เพื่อให้การประทับตราอนุญาตชักลากไม้ไม่ถูกต้อง ตามระเบียบเสร็จสิ้นไปโดยบริบูรณ์ การทำบัญชีอนุญาตชักลากไม้เป็นเท็จกับการประทับตราอนุญาตชักลากไม้ไม่ถูกต้องตามระเบียบจึงเป็นกรรมเดียวกันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้ขั้นตอนที่จะต้องกระทำ จำเลยต้องประทับตราอนุญาตชักลากไม้ก่อนแล้วจึงทำบัญชีอนุญาตชักลากก็หาทำให้การกระทำของจำเลยเป็นสองกรรมต่างกันไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 160, 162 แต่ละกรรมเป็นความผิดตามมาตรา 157 ด้วย ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนักทั้งสองกระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี ข้อหาทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติด้วย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยตามมาตรา 160, 162 เป็นความผิดกรรมเดียวกัน พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 160, 162 และ 157 ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด จำคุก 10 ปี ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงเดียว 10 ปี เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 160, 162 แต่ละกรรมเป็นความผิดตามมาตรา 157 ด้วย ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนักทั้งสองกระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี ข้อหาทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติด้วย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยตามมาตรา 160, 162 เป็นความผิดกรรมเดียวกัน พิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 160, 162 และ 157 ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด จำคุก 10 ปี ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยหนักขึ้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยกระทงเดียว 10 ปี เป็นการพิพากษาเพิ่มเติมโทษจำเลย ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 101/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมเดียวผิดหลายบท: การประทับตราอนุญาตชักลากไม้เท็จ และการทำบัญชีขนาดไม้เป็นเท็จ
ตามระเบียบการตรวจวัดประทับตราอนุญาตชักลากไม้ และตามคำสั่งของป่าไม้เขต ที่ให้จำเลยออกไปตรวจวัด ประทับตราอนุญาตชักลากไม้ จำเลยจะต้องทำบัญชีอนุญาต ชักลากไม้ด้วย ดังนั้น การที่จำเลยทำบัญชีอนุญาตชักลากไม้ เป็นเท็จก็เพื่อให้การประทับตราอนุญาตชักลากไม้ไม่ถูกต้อง ตามระเบียบเสร็จสิ้นไปโดยบริบูรณ์ การทำบัญชีอนุญาต ชักลากไม้เป็นเท็จกับการประทับตราอนุญาตชักลากไม้ไม่ถูกต้อง ตามระเบียบจึงเป็นกรรมเดียวกันเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท แม้ขั้นตอนที่จะต้องกระทำ จำเลยต้องประทับตราอนุญาต ชักลากไม้ก่อนแล้วจึงทำบัญชีอนุญาตชักลากไม้ ก็หาทำให้ การกระทำของจำเลยเป็นสองกรรมต่างกันไม่
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 160,162 แต่ละกรรมเป็นความผิดตามมาตรา 157ด้วย ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนักทั้งสองกระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี ข้อหาทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษ จำเลยฐานทำไม้ใน เขตป่าสงวนแห่งชาติด้วย ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่าการกระทำ ของจำเลยตามมาตรา 160,162 เป็นความผิดกรรมเดียวกัน พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมี ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 160,162 และ 157 ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่ง เป็นบทหนักที่สุด จำคุก 10 ปี ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ ขอให้ลงโทษจำเลย หนักขึ้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ลงโทษ จำคุกจำเลย กระทงเดียว 10 ปี เป็นการพิพากษา เพิ่มเติม โทษจำเลยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 160,162 แต่ละกรรมเป็นความผิดตามมาตรา 157ด้วย ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่งเป็นบทหนักทั้งสองกระทง จำคุกกระทงละ 5 ปี ข้อหาทำไม้ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ให้ยกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ขอให้ลงโทษ จำเลยฐานทำไม้ใน เขตป่าสงวนแห่งชาติด้วย ศาลอุทธรณ์ วินิจฉัยว่าการกระทำ ของจำเลยตามมาตรา 160,162 เป็นความผิดกรรมเดียวกัน พิพากษาแก้เป็นว่าจำเลยมี ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 160,162 และ 157 ให้ลงโทษตามมาตรา 157 ซึ่ง เป็นบทหนักที่สุด จำคุก 10 ปี ดังนี้ ถือไม่ได้ว่าโจทก์อุทธรณ์ ขอให้ลงโทษจำเลย หนักขึ้น การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษา ลงโทษ จำคุกจำเลย กระทงเดียว 10 ปี เป็นการพิพากษา เพิ่มเติม โทษจำเลยไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 212
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1736/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดเจ้าพนักงานปลอมแปลงเอกสารและยินยอมให้ผู้อื่นใช้ตราประทับของราชการโดยมิชอบ ทำให้ราชการเสียหาย
จำเลยรับราชการเป็นพนักงานจ้าง ตำแหน่งพนักงานบำรุงป่าได้รับมอบหมายให้ใช้และรักษาดวงตราก้อนเหล็กประทับไม้ต.3986 ของกรมป่าไม้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรต้องแต่งตั้งโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา75 พระราชบัญญัติป่าไม้ พ.ศ.2484 จำเลยจึงเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม มาตรา4(16) ที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติ ดังกล่าวจำเลยได้รับมอบหมายให้ช่วยป่าไม้อำเภอตรวจสอบไม้ผ่านด่านออกใบเบิกทางจำเลยจึงเป็นเจ้าพนักงานตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 160
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ป่าไม้ประทับตราไม้ผิดระเบียบ ทำให้รัฐเสียหาย มีเจตนาทุจริต
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ช่วยป่าไม้จังหวัดประทับตราประจำตัวของจำเลย และประทับตราค่าภาคหลวงอันเป็นตราของทางราชการซึ่งจำเลยมีหน้าที่รักษาและใช้ตามอำนาจหน้าที่ที่ไม้ของกลาง 7 ท่อนเป็นไม้ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ตัดและฝ่าฝืนระเบียบของกรมป่าไม้โดยมิได้ประทับตราประจำตัวพร้อมเลขเรียงลำดับท่อนภาคหลวงของไม้ท่อนที่ตัดทอนจากตอนนั้นและเลขปี พ.ศ. ที่ประทับตราไว้ที่หน้าตัดของตอไม้ทุกตอ ทำให้กรมชลประทานและกรมป่าไม้เสียหายนั้น จำเลยจึงมีความผิดตาม มาตรา 160 และการที่จำเลยประทับตราฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวของกรมป่าไม้ที่วางไว้เพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้อื่นแล้วนำมาสวมรอยอ้างว่าเป็นไม้ที่เจ้าพนักงานได้ตรวจคัดเลือกอนุญาตให้ตัด นั้นเป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลเสียหายของการกระทำนั้นได้ และก็ได้เกิดความเสียหายขึ้นแล้ว จะอ้างว่ากระทำไปโดยสุจริตหรือกระทำไปด้วยความสำคัญผิดหาได้ไม่ ต้องถือว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 592/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหน้าที่ป่าไม้ประทับตราไม้ผิดระเบียบ ทำให้เสียหาย มีเจตนาความผิดตามมาตรา 160
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้ช่วยป่าไม้จังหวัดประทับตราประจำตัวของจำเลย และประทับตราค่าภาคหลวงอันเป็นตราของทางราชการซึ่งจำเลยมีหน้าที่รักษาและใช้อำนาจหน้าที่ ที่ไม้ของกลาง 7 ท่อน เป็นไม้ที่ไม่ได้รับอนุญาตให้ตัดและฝ่าฝืนระเบียบของกรมป่าไม้ โดยมิได้ประทับตราประจำตัวพร้อมเลขเรียงลำดับท่อนภาคหลวงของไม้ท่อนที่ตัดทอนจากตอนั้น และเลขปี พ.ศ. ที่ประทับตราไว้ที่หน้าตัดของตอไม้ทุกตอ ทำให้กรมชลประทานและกรมป่าไม้เสียหายนั้น จำเลยจึงมีความผิดตามมาตรา 160 และการที่จำเลยประทับตราฝ่าฝืนระเบียบดังกล่าวของกรมป่าไม้ที่วางไว้เพื่อป้องกันการลักลอบตัดไม้อื่นแล้วนำมาสวมรอยอ้างว่าเป็นไม้ที่เจ้าหน้าที่ได้ตรวจคัดเลือกอนุญาตให้ตัด นั้น เป็นการกระทำอันมิชอบด้วยหน้าที่ จำเลยย่อมเล็งเห็นผลเสียหายของการกระทำนั้นได้ และก็ได้เกิดความเสียหายขึ้นแล้ว จะอ้างว่า กระทำไปโดยสุจริตหรือกระทำไปด้วยความสำคัญผิดหาไม่ได้ ต้องถือว่าจำเลยมีเจตนากระทำความผิด