พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4742/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องสัญญาจ้างทำของ: เริ่มนับแต่วันตรวจพบความชำรุดบกพร่อง ไม่ใช่นับแต่วันรู้ตัวผู้รับผิด
อายุความเกี่ยวกับการฟ้องผู้รับจ้างตามสัญญาจ้างทำของนั้น ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601ได้บัญญัติไว้โดยเฉพาะว่าห้ามฟ้องผู้รับจ้างเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้น กล่าวคือ นับแต่วันที่ตรวจพบความชำรุดบกพร่องหาใช่นับแต่เมื่ออธิบดีกรมโจทก์ ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเช่นคดีละเมิดไม่ เพราะผู้ที่พึงต้องใช้ค่าเสียหายก็คือผู้รับจ้างนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4742/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความจ้างทำของ: นับแต่วันตรวจพบความชำรุด ไม่ใช่วันรับรายงาน
อายุความเกี่ยวกับการจ้างทำของนั้น ตาม ป.พ.พ. มาตรา 601ห้ามมิให้ฟ้องผู้รับจ้างเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฏขึ้น กล่าวคือนับแต่วันที่ตรวจพบความชำรุดบกพร่อง หาใช่นับแต่วันที่อธิบดีกรมโจทก์ได้รับรายงานถึงความชำรุดบกพร่อง หรือหาใช่นับแต่วันรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเช่นคดีละเมิดไม่ เพราะผู้ที่พึงต้องใช้ค่าเสียหายในกรณีนี้ก็คือผู้รับจ้างนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4742/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดีจ้างทำของ เริ่มนับแต่วันพบความชำรุด ไม่ใช่วันทราบเรื่อง
อายุความเกี่ยวกับการจ้างทำของนั้น ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 601 ห้ามมิให้ฟ้องผู้รับจ้างเมื่อพ้นปีหนึ่งนับแต่วันการชำรุดบกพร่องได้ปรากฎขึ้น กล่าวคือนับแต่วันที่ตรวจพบความชำรุดบกพร่อง หาใช้นับแต่วันที่อธิบดีกรมโจทก์ได้รับรายงานถึงความชำรุดบกพร่อง หรือหาใช่นับแต่วันรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนเช่นคดีละเมิดไม่ เพราะผู้ที่พึงต้องใช้ค่าเสียหายในกรณีนี้ก็คือผู้รับจ้างนั่นเอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4740/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดคุ้มครองกว่าการครอบครองก่อนหน้า แม้จะเสียภาษี
โจทก์ซื้อที่ดินจากการขายทอดตลาดของศาลชั้นต้นจำเลยเข้าไปอยู่และครอบครองที่ดินพิพาทก่อนการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลชั้นต้น สิทธิของโจทก์ที่เป็นผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลโดยสุจริต ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย จำเลยจะยกเหตุที่เป็นผู้ครอบครองที่ดินพิพาทขึ้นต่อสู้สิทธิของโจทก์ไม่ได้โจทก์เป็นผู้มีสิทธิในที่ดินพิพาท และมีอำนาจฟ้องขับไล่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3836/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองที่ดินพิพาท: การเปลี่ยนแปลงลักษณะการยึดถือ และการฟ้องแย้งสิทธิเกินอายุความ
คำฟ้องและคำให้การแก้ฟ้องแย้งของโจทก์ไม่ปรากฎว่าโจทก์เคยเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือครอบครองที่พิพาท ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นว่ามีพิพาทเป็นของโจทก์หรือจำเลย ไม่มีประเด็นเรื่องการเปลี่ยนลักษณะการยึดถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1381 การที่ศาลล่างยกขึ้นวินิจฉัยเองว่า โจทก์เปลี่ยนลักษณะการยึดถือที่ดินพิพาทโดยการแย่งการครอบครองจากจำเลยจึงไม่ชอบเป็นการนอกเหนือประเด็นตามคำฟ้องและมิใช่ปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3630/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างก่อสร้างและการอายัดเงินของเจ้าหนี้ภาษีอากร
โจทก์รับโอนสิทธิเรียกร้องเงินค่าจ้างรับเหมาก่อสร้างจากบริษัทอ.ที่บริษัทอ.มีต่อกรมชลประทานโดยความยินยอมของกรมชลประทานโดยชอบแล้ว บริษัทอ. จึงไม่มีสิทธิเรียกร้องต่อกรมชลประทานอีกต่อไป กรมสรรพากร จำเลยที่ 7 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรของบริษัทอ.ย่อมจะขออายัดเงินที่กรมชลประทานจะต้องชำระให้แก่โจทก์ไม่ได้ แม้อายัดไปคำสั่งอายัดก็ย่อมไม่มีผลบังคับต่อกรมชลประทาน การที่คลังจังหวัดพะเยาโดยความยินยอมของกรมชลประทานได้ส่งเงินค่าจ้างซึ่งกรมชลประทานจะต้องชำระแก่โจทก์ไปให้จำเลยที่ 1ตามที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งอายัดไว้ ก็เป็นกรณีที่กรมชลประทานจะต้องรับผิดต่อการกระทำของตนเองกรณีดังกล่าวมิได้ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ที่จะได้รับชำระหนี้จากกรมชลประทานตามที่โจทก์ได้รับโอนมาจากบริษัทอ.เสื่อมเสียไปไม่ การกระทำของจำเลยทั้งสองไม่ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้า แม้ผู้กระทำผิดไม่ใช่กรรมการบริษัท แต่เป็นผู้ดำเนินการกิจการก็ต้องรับผิดทางอาญา
แถบป้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมที่จดทะเบียนไว้แล้วใช้ผ้าพื้นสีกรมท่าตัวอักษรคำว่า KIKADA สีเหลือง แต่ที่จำเลยทำขึ้นใช้ผ้าพื้นสีขาว ตัวอักษรคำว่า KIKDA สีดำ ซึ่งต่างกันแต่เพียงสีของแถบป้ายกับสีของตัวอักษรและลีลาการเขียนอักษรเท่านั้นแต่ชื่อที่เรียกขานเป็นอย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าของจำเลยจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม ซึ่งเมื่อนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันแล้ว อาจทำให้ผู้ซื้อหลงผิดได้ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเลียนแบบเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นซึ่งได้จดทะเบียนแล้ว เพื่อให้ประชาชนหลงเชื่อว่าเป็นเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นนั้น ในความรับผิดทางอาญานั้น หากนิติบุคคลกระทำความผิดนอกจากนิติบุคคลนั้นจะต้องรับผิดแล้ว ผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดนั้นย่อมต้องรับผิดด้วย โดยไม่คำนึงถึงว่าผู้นั้นจะเป็นกรรมการของนิติบุคคลนั้นหรือไม่ เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของบริษัท ก. ที่กระทำความผิดฐานเลียนเครื่องหมายการค้าของผู้อื่น จำเลยจึงมีความผิดด้วย แม้จำเลยจะมีหนังสือรับรองการจดทะเบียนมาแสดงว่าจำเลยมิใช่กรรมการของบริษัทก. ก็ตาม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เครื่องหมายการค้าคล้ายกันทำให้ผู้บริโภคสับสน และความรับผิดทางอาญาของผู้มีส่วนร่วม
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมและที่จำเลยทำขึ้นใช้คำว่า"KIKADA" เช่นเดียวกัน โดยแถบป้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมใช้ผ้าพื้นสีกรมท่า ตัวอักษรคำว่า KIKADA สีเหลือง ส่วนที่จำเลยทำขึ้นใช้ผ้าพื้นสีขาว ตัวอักษรคำว่า KIKADA สีดำ ซึ่งต่างกันแต่เพียงสีของแถบป้ายกับสีของตัวอักษรและลีลาการเขียนตัวอักษรเท่านั้น แต่ชื่อที่เรียกขานเป็นชื่ออย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำขึ้นจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม เมื่อนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันแล้วอาจทำให้ผู้ซื้อหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมได้
ในความรับผิดทางอาญา หากนิติบุคคลกระทำความผิดนอกจากนิติบุคคลจะต้องรับผิดแล้ว ผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดย่อมต้องรับผิดด้วย โดยไม่คำนึงว่าผู้นั้นจะเป็นกรรมการของนิติบุคคลหรือไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของบริษัท ก.จำกัด ที่ยึดได้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบโจทก์ร่วมเป็นของกลาง จำเลยย่อมมีความผิดทางอาญาด้วย
ในความรับผิดทางอาญา หากนิติบุคคลกระทำความผิดนอกจากนิติบุคคลจะต้องรับผิดแล้ว ผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดย่อมต้องรับผิดด้วย โดยไม่คำนึงว่าผู้นั้นจะเป็นกรรมการของนิติบุคคลหรือไม่ เมื่อจำเลยเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของบริษัท ก.จำกัด ที่ยึดได้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบโจทก์ร่วมเป็นของกลาง จำเลยย่อมมีความผิดทางอาญาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3620/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลียนแบบเครื่องหมายการค้าจนผู้ซื้อหลงเชื่อ แม้สีและลีลาการเขียนต่างกัน แต่ชื่อเหมือนกัน ถือเป็นความผิดทางอาญา
เครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมและที่จำเลยทำขึ้นใช้คำว่า"KIKADA" เช่นเดียวกัน โดยแถบป้ายเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วมใช้ผ้าพื้นสีกรมท่า ตัวอักษรคำว่า KIKADA สีเหลือง ส่วนที่จำเลยทำขึ้นใช้ผ้าพื้นสีขาว ตัวอักษรคำว่า KIKADA สีดำ ซึ่งต่างกันแต่เพียงสีของแถบป้ายกับสีของตัวอักษรและลีลาการเขียนตัวอักษรเท่านั้นแต่ชื่อที่เรียกขานเป็นชื่ออย่างเดียวกัน เครื่องหมายการค้าที่จำเลยทำขึ้นจึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ร่วม เมื่อนำมาใช้กับสินค้าประเภทเดียวกันแล้วอาจทำให้ผู้ซื้อหลงผิดว่าเป็นสินค้าของโจทก์ร่วมได้ ในความรับผิดทางอาญา หากนิติบุคคลกระทำความผิดนอกจากนิติบุคคลจะต้องรับผิดแล้ว ผู้ที่มีส่วนในการกระทำความผิดย่อมต้องรับผิดด้วย โดยไม่คำนึงว่าผู้นั้นจะเป็นกรรมการของนิติบุคคลหรือไม่เมื่อจำเลยเป็นผู้ดำเนินการเกี่ยวกับกิจการของบริษัทก. จำกัดที่ยึดได้เครื่องหมายการค้าที่เลียนแบบโจทก์ร่วมเป็นของกลางจำเลยย่อมมีความผิดทางอาญาด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่าซื้อ: แยกพิจารณาตามลักษณะการผิดสัญญาของผู้เช่า
คดีที่ผู้ให้เช่าจะต้องฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าภายในกำหนด 6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 563 หมายถึงกรณีที่ผู้เช่าปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าโดยทั่วไปแต่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์พิพาทกับค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์พิพาทได้ไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 164 เดิมที่ใช้อยู่ในขณะโจทก์บังคับสิทธิเรียกร้องได้