คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวรรณ ตระการพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3618/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าเสียหายจากสัญญาเช่า: ป.พ.พ. มาตรา 563 กับข้อผิดหน้าที่ทั่วไปของผู้เช่า
คดีที่ผู้ให้เช่าจะต้องฟ้องผู้เช่าเกี่ยวแก่สัญญาเช่าภายในกำหนด6 เดือน นับแต่วันส่งคืนทรัพย์สินที่เช่า ตาม ป.พ.พ. มาตรา 563 หมายถึงกรณีที่ผู้เช่าปฏิบัติผิดหน้าที่ของผู้เช่าโดยทั่วไป แต่โจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์จากการใช้รถยนต์พิพาทกับค่าเสียหายที่โจทก์ขายรถยนต์พิพาทได้ไม่คุ้มราคาค่าเช่าซื้อ ซึ่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์หรือกฎหมายอื่นมิได้บัญญัติอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 164 เดิมที่ใช้อยู่ในขณะโจทก์บังคับสิทธิเรียกร้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3569/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินราคาภาษีอากรที่ถูกต้องตามราคาตลาด และความรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้คือกระจกส่องหลัง พนักพิงหลังและแผ่นรองพื้น เป็นราคาต่ำกว่าราคาแท้จริงในท้องตลาดพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงประเมินราคาสินค้าและภาษีอากรใหม่ มีรายละเอียดตามสำเนาใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าท้ายฟ้อง สำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง มีข้อความระบุไว้ว่า ประเมินราคาสินค้าแต่ละรายการเพิ่มขึ้นเท่าใด คิดเป็นอากรขาเข้าและภาษีการค้าจำนวนเท่าใด คำฟ้องโจทก์แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
บัตรราคาเป็นเอกสารภายในที่โจทก์ทำขึ้น บุคคลภายนอกไม่อาจทราบได้ ทั้งมีข้อความส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งโจทก์ก็มิได้นำสืบถึงรายละเอียดของสินค้าตามบัตรราคาดังกล่าวว่าเป็นชนิดและขนาดใดมีลักษณะอย่างไร ราคาเป็นเงินไทยเท่าใด นำเข้าโดยใคร และเมื่อใด สินค้าตามบัตรราคาเป็นสินค้าสำหรับโซนยุโรป แต่สินค้ารายพิพาทมีแหล่งกำเนิดในโซนเอเชียซึ่งเป็นสินค้าต่างแหล่งกำเนิดกัน เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ได้ความดังกล่าว จึงไม่อาจนำราคาสินค้าตามบัตรราคามาใช้เป็นเกณฑ์ประเมินราคาสินค้ารายพิพาทได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดโดยอ้างว่า จำเลยที่ 1เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2จะอุทธรณ์เพียงผู้เดียว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องเนื่องจากโจทก์ประเมินภาษีอากรเพิ่มเติมสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าตามฟ้องไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) พ.ศ.2528 มาตรา 29

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3569/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรเพิ่มเติมที่ไม่ชอบตามกฎหมายและการรับผิดของหุ้นส่วนในห้างหุ้นส่วนจำกัด
โจทก์บรรยายฟ้องว่า ราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้คือกระจกส่องหลัง พนักพิงหลังและแผ่นรองพื้น เป็นราคาต่ำกว่าราคาแท้จริงในท้องตลาด พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงประเมินราคาสินค้าและภาษีอากรใหม่ มีรายละเอียดตามสำเนาใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าท้ายฟ้อง สำเนาเอกสารดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้อง มีข้อความระบุไว้ว่า ประเมินราคาสินค้าแต่ละรายการเพิ่มขึ้นเท่าใด คิดเป็นอากรขาเข้าและภาษีการค้าจำนวนเท่าใด คำฟ้องโจทก์แจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับแล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม บัตรราคาเป็นเอกสารภายในที่โจทก์ทำขึ้น บุคคลภายนอกไม่อาจทราบได้ ทั้งมีข้อความส่วนใหญ่เป็นภาษาอังกฤษ ไม่มีคำแปลเป็นภาษาไทย ซึ่งโจทก์ก็มิได้นำสืบถึงรายละเอียดของสินค้าตามบัตรราคาดังกล่าวว่าเป็นชนิดและขนาดใด มีลักษณะอย่างไร ราคาเป็นเงินไทยเท่าใด นำเข้าโดยใคร และเมื่อใดสินค้าตามบัตรราคาเป็นสินค้าสำหรับโซนยุโรป แต่สินค้ารายพิพาทมีแหล่งกำเนิดในโซนเอเซีย ซึ่งเป็นสินค้าต่างแหล่งกำเนิดกัน เมื่อโจทก์ไม่นำสืบให้ได้ความดังกล่าวจึงไม่อาจนำราคาสินค้าตามบัตรราคามาใช้เป็นเกณฑ์ประเมินราคาสินค้ารายพิพาทได้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยทั้งสามร่วมกันรับผิดโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นนิติบุคคลประเภทห้างหุ้นส่วนจำกัด จำเลยที่ 2และที่ 3 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 เป็นการฟ้องให้จำเลยทั้งสามชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 2จะอุทธรณ์เพียงผู้เดียว เมื่อฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดตามฟ้องเนื่องจากโจทก์ประเมินภาษีอากรเพิ่มเติมสำหรับใบขนสินค้าขาเข้าและแบบแสดงรายการการค้าตามฟ้องไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 1 และที่ 3 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 มาตรา 29

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3566/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเพิกถอนการฉ้อฉล: เริ่มนับเมื่อผู้มีอำนาจโจทก์ทราบเรื่อง
อธิบดีกรมโจทก์เป็นผู้แทนมีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ เมื่ออธิบดีกรมโจทก์ได้ทราบเรื่องการโอนที่ดินอันเป็นทางให้โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้เสียเปรียบเมื่อวันที่ 2 มกราคม 2530 ซึ่งเป็นเหตุให้เพิกถอนการโอนได้ การนับระยะเวลาที่จะใช้สิทธิเรียกร้องเพิกถอนการโอนจึงต้องนับแต่วันดังกล่าว แม้เจ้าหน้าที่ระดับต่าง ๆของโจทก์ได้ทราบเรื่องที่จะขอให้เพิกถอนโอนเกินกำหนด 1 ปีแต่บุคคลดังกล่าวมิใช่ผู้ที่มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์จึงยังถือว่าโจทก์ได้รู้ถึงสิทธิเรียกร้องดังกล่าวไม่ได้ โจทก์มาฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม 2530 จึงเป็นการฟ้องคดีภายในกำหนดอายุความ1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 240 แล้ว ฟ้องโจทก์ไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3463/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภารจำยอมในที่ดินจัดสรร: การเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างบนที่ดินสาธารณูปโภคที่จัดสรร
จ. ได้นำที่ดินมาแบ่งแยกจัดสรรขายให้แก่ประชาชนทั่วไปโดยได้กันเนื้อที่ดินบางส่วนทำเป็นถนนเพื่อให้บุคคลที่อยู่ในหมู่บ้านจัดสรรใช้เป็นทางสัญจรจากหมู่บ้านไปสู่ถนนสาธารณะ ต่อมาที่ดินที่เป็นทางบางส่วน จ. ได้รังวัดแบ่งแยกแล้วจดทะเบียนยกให้เป็นทางสาธารณประโยชน์คงเหลือเฉพาะที่ดินที่เป็นทางพิพาทซึ่ง จ. ได้ให้โจทก์เช่าปลูกสร้างอาคารและโจทก์ได้รับอนุญาตให้ปลูกสร้างอาคารได้ ดังนี้ แม้ที่ดินที่โจทก์จะปลูกสร้างอาคารดังกล่าว จ. จะมิได้ยกให้เป็นสาธารณะ แต่เมื่อที่ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่มีสภาพเป็นสาธารณูปโภค ซึ่ง จ.ผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตจัดสรรจึงต้องด้วยบทบัญญัติของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่286 ข้อ 30ที่บัญญัติ ให้ถือว่าตกอยู่ในภารจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรรและให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปที่จะบำรุงรักษากิจการดังกล่าวให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไปและจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกไม่ได้ ดังนั้น จ. จะนำไปให้ผู้หนึ่งผู้ใดเช่าเพื่อปลูกสร้างอาคารอันเป็นการกระทำที่เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภารจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกไม่ได้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ซึ่งเป็นเจ้าพนักงานท้องถิ่นก็ไม่มีอำนาจออกใบอนุญาตให้มีการสร้างอาคารในที่ดินนั้น จำเลยที่ 1 และที่ 2ย่อมมีสิทธิตามกฎหมายที่จะเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างที่ออกให้แก่โจทก์ ทั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อได้พิจารณาถึงข้อเท็จจริงดังกล่าวแล้วก็ย่อมมีอำนาจให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ได้เช่นกัน คำวินิจฉัยของจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว การดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลนั้น ประเด็นแห่งคดีย่อมเกิดจากคำฟ้องและคำให้การ เมื่อจำเลยได้ให้การต่อสู้ถึงสภาพของที่ดินที่โจทก์ก่อสร้างอาคารว่าเป็นภารจำยอมที่ผู้จัดสรรที่ดินจัดให้มีขึ้น ประเด็นแห่งคดีจึงมีว่าที่ดินดังกล่าวตกอยู่ในภารจำยอมหรือไม่รวมอยู่ด้วย หาใช่ประเด็นมีเพียงเท่าที่จำเลยที่ 3 ถึง 11ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยเท่านั้นไม่ และข้อวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวก็ไม่ผูกมัดให้ศาลต้องถือตามแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3463/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระจำยอมสาธารณูปโภค: การเช่าที่ดินสาธารณูปโภคกระทบสิทธิการใช้ประโยชน์และอำนาจเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้าง
แม้ที่ดินที่โจทก์จะปลูกสร้างอาคาร ผู้จัดสรรที่ดินยังมิได้ยกให้เป็นที่สาธารณะ แต่ที่ดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่มีสภาพเป็นสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นในที่ดินที่ได้รับอนุญาตจัดสรร จึงต้องด้วยบทบัญญัติของประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 ที่บัญญัติว่าสาธารณูปโภคซึ่งผู้จัดสรรที่ดินได้จัดให้มีขึ้นเหนือการจัดสรรที่ดินตามแผนผังและโครงการที่ได้รับอนุญาตให้ถือว่าตกอยู่ในภาระจำยอมเพื่อประโยชน์แก่ที่ดินที่จัดสรรและให้เป็นหน้าที่ของผู้จัดสรรที่ดินหรือผู้รับโอนกรรมสิทธิ์คนต่อไปที่จะบำรุงรักษาให้คงสภาพดังเช่นที่ได้จัดทำขึ้นโดยตลอดไปและจะกระทำการใด ๆ อันเป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกไม่ได้การที่ผู้จัดสรรที่ดินนำที่ดินสาธารณูปโภคดังกล่าวไปให้โจทก์เช่าเพื่อปลูกสร้างอาคารถือเป็นการกระทำที่เป็นเหตุให้ประโยชน์แห่งภาระจำยอมลดไปหรือเสื่อมความสะดวกเมื่อที่ดินนั้นเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินอันมีสภาพเป็นสาธารณูปโภค จำเลยที่ 1 และที่ 2ย่อมมีสิทธิตามกฎหมายที่จะเพิกถอนใบอนุญาตก่อสร้างที่ออกให้แก่โจทก์ได้ ทั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 ซึ่งเป็นคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ก็ย่อมมีอำนาจให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ได้เช่นกัน

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3452/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความประมาทในการขับรถแซง การชนเกิดจากผู้ขับขี่เร่งความเร็วแซงโดยไม่ระมัดระวัง
ก่อนเกิดเหตุจำเลยที่ 1 และโจทก์ที่ 2 ขับรถตามกันมามีรถยนต์เก๋งอยู่กลาง เมื่อถึงที่เกิดเหตุ จำเลยที่ 1 ให้สัญญาณไฟเลี้ยวขวา โจทก์ที่ 2 ขับรถแซงขวา ด้วยความเร็วสูง และตามรถคันหน้าอย่างกระชั้นชิด จึงไม่สามารถหยุดหรือชะลอความเร็วลงได้ชนกับรถยนต์ของจำเลยที่ 1 เหตุที่รถชนกันจึงเกิดจากความประมาทเลินเล่อของโจทก์ที่ 2 ฝ่ายเดียว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกจดทะเบียนรับโอนทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวเป็นเหตุให้ถูกถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
จำเลยในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกไปจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายมาเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวโดยไม่แบ่งปันให้แก่ทายาทเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการละเลยไม่กระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดก จึงมีเหตุถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3414/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผู้จัดการมรดกจดทะเบียนรับโอนทรัพย์มรดกแต่ผู้เดียวโดยไม่แบ่งปันให้ทายาทอื่น ถือเป็นละเลยหน้าที่และมีเหตุถอนจากการเป็นผู้จัดการมรดก
จำเลยในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกไปจดทะเบียนรับโอนที่พิพาทซึ่งเป็นทรัพย์มรดกของผู้ตายมาเป็นของจำเลยแต่เพียงผู้เดียวโดยไม่แบ่งปันให้แก่ทายาทเป็นการกระทำโดยไม่ชอบด้วยกฎหมายเป็นการละเลยไม่กระทำตามหน้าที่ของผู้จัดการมรดก จึงมีเหตุถอนจำเลยจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1727 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3385/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ นิติกรรมที่เกิดจากใบมอบอำนาจปลอมเป็นโมฆะ เจ้าของกรรมสิทธิ์รวมไม่ต้องผูกพัน
โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินกับบ้านพิพาทตบนที่ดินดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว แม้จะฟังว่าที่ดินกับบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับ ส.การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของเจ้าของรวมจะมีผลผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนใดโดยไม่ผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนอื่นนั้น จะต้องเป็นการทำนิติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงแต่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นเท่านั้นนิติกรรมนั้นจึงจะมีผลผูกพันเฉพาะส่วนของผู้ทำนิติกรรมตาม ป.พ.พ. มาตรา 1361วรรคแรก แต่คดีนี้ ส. ใช้ใบมอบอำนาจปลอมดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ดังนั้น จึงถือได้ว่านิติกรรมทั้งหมดไม่มีผลผูกพันโจทก์ และตย้องถือว่านิติกรรมซื้อขายกับจำนองที่ดินและบ้านพิพาทมิได้เกิดขึ้น โจทก์จึงมีอำนาจขอให้เพิกถอนการโอนทั้งหมด
of 65