คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวรรณ ตระการพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3385/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนนิติกรรมซื้อขาย-จำนองที่ดินจากใบมอบอำนาจปลอม แม้เป็นกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์มีชื่อเป็นเจ้าของที่ดินกับบ้านพิพาทบนที่ดินดังกล่าวแต่เพียงผู้เดียว แม้จะฟังว่าที่ดินกับบ้านพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับ ส. การทำนิติกรรมเกี่ยวกับทรัพย์สินของเจ้าของรวมจะมีผลผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนใดโดยไม่ผูกพันในส่วนของเจ้าของรวมคนอื่นนั้น จะต้องเป็นการทำนิติกรรมที่ชอบด้วยกฎหมายเพียงแต่ไม่ได้รับความยินยอมจากเจ้าของรวมคนอื่นเท่านั้นนิติกรรมนั้นจึงจะมีผลผูกพันเฉพาะส่วนของผู้ทำนิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1361 วรรคแรก แต่คดีนี้ส. ใช้ใบมอบอำนาจปลอมดำเนินการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมดังนั้น จึงถือได้ว่านิติกรรมทั้งหมดไม่มีผลผูกพันโจทก์ และต้องถือว่านิติกรรมซื้อขายกับจำนองที่ดินและบ้านพิพาทมิได้เกิดขึ้นโจทก์จึงมีอำนาจขอให้เพิกถอนการโอนทั้งหมด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3363/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบเงินประกันภาษีอากรเมื่อผิดสัญญาและคุ้มค่าภาษีที่ต้องชำระ ถือเป็นการชำระภาษีที่ครบถ้วนแล้ว
จำเลยทั้งสองนำเครื่องฉีดพลาสติกและรถตู้เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อร่วมงานแสดงสินค้า โดยได้รับยกเว้นภาษีอากรภายใต้เงื่อนไขว่าต้องส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรภายใน 6 เดือน นับแต่วันนำเข้าและทำทัณฑ์บนวางเงินสด 210,000 บาท พร้อมกับทำสัญญาประกันไว้ต่อโจทก์ที่ 1 โดยสัญญาว่าเงิน 210,000 บาทนี้ หากภายหลังปรากฏว่าไม่คุ้มกับค่าภาษีอากรที่จะพึงชำระ ยังขาดอีกเท่าใด จำเลยที่ 1 ยินยอมชำระเพิ่มให้ครบถ้วนโดยถือว่าเป็นการชำระเพิ่มเติม เนื่องจากการผิดสัญญา แสดงให้เห็นว่า สัญญาประกันดังกล่าวเป็นประกันค่าภาษีอากรที่โจทก์ที่ 1 ยกเว้นให้จำเลยที่ 1 โดยมีเงื่อนไข เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาประกัน โจทก์ที่ 1ริบเงินประกันไป จึงเป็นการริบไว้เป็นค่าภาษีอากรที่ยกเว้นให้ เมื่อเงินประกันที่โจทก์ที่ 1 ริบไปคุ้มค่าภาษีอากรที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าภาษีอากรอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3363/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกเว้นภาษีอากรภายใต้เงื่อนไข และการริบเงินประกันเมื่อผิดสัญญา สิทธิเรียกค่าภาษีอากร
จำเลยทั้งสองนำเครื่องฉีดพลาสติกและรถตู้เข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อร่วมงานแสดงสินค้า โดยได้รับยกเว้นภาษีอากรภายใต้เงื่อนไขว่าต้องส่งกลับออกนอกราชอาณาจักรภายใน 6 เดือนนับแต่วันนำเข้าและทำทัณฑ์บนวางเงินสด 210,000 บาท พร้อมกับทำสัญญาประกันไว้ต่อโจทก์ที่ 1 โดยสัญญาว่าเงิน 210,000 บาทนี้ หากภายหลังปรากฎว่าไม่คุ้มกับค่าภาษีอากรที่จะพึงชำระยังขาดอีกเท่าใด จำเลยที่ 1 ยินยอมชำระเพิ่มให้ครบถ้วนโดยถือว่าเป็นการชำระเพิ่มเติม เนื่องจากการผิดสัญญาแสดงให้เห็นว่า สัญญาประกันดังกล่าวเป็นประกันค่าภาษีอากรที่โจทก์ที่ 1 ยกเว้นให้จำเลยที่ 1 โดยมีเงื่อนไข เมื่อจำเลยที่ 1 ผิดสัญญาประกัน โจทก์ที่ 1 ริบเงินประกันไปจึงเป็นการริบไว้เป็นค่าภาษีอากรที่ยกเว้นให้ เมื่อเงินประกันที่โจทก์ที่ 1 ริบไปคุ้มค่าภาษีอากรที่จำเลยที่ 1ต้องชำระแล้ว โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าภาษีอากรอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การได้รับเงินเดือนซ้ำซ้อนและลาภมิควรได้ กรณีจำเลยรับเงินเดือนจากทั้งโจทก์และกรุงเทพมหานคร เกินระยะเวลาอายุความ
คำฟ้องของโจทก์ที่เรียกเงินเดือนซึ่งจำเลยได้รับเงินจากโจทก์ในระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม 2518 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2521 คืนโดยได้แจ้งจำนวนยอดรวมทั้งหมดแล้ว ถือว่าชัดแจ้งพอที่จำเลยจะต่อสู้คดีได้ ถ้ายอดจำนวนเงินที่โจทก์ฟ้องมานั้นมากกว่าที่จำเลยได้รับ จำเลยก็ชอบที่จะต่อสู้มาในคำให้การได้โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยได้รับเดือนละเท่าใด หักภาษีแล้วเท่าใด เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
การที่จำเลยได้รับเงินเดือนทั้งจากโจทก์และกรุงเทพมหานครเป็นการฝ่าฝืนพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ.2505 ซึ่งกำหนดให้จำเลยรับเงินเดือนได้เพียงตำแหน่งเดียว เป็นกรณีที่จำเลยได้รับทรัพย์สินไปจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ อันเป็นลาภมิควรได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่จำเลยรับไปจากโจทก์คืนได้
คำให้การของจำเลยที่ว่า โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนซึ่งเงินเดือนที่จำเลยได้รับจากโจทก์นั้นเกินกว่าสิบปีแล้ว ฟ้องโจทก์ขาดอายุความ เป็นคำให้การชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้ว การที่จำเลยได้รับเงินจากโจทก์อันปราศจากมูลที่จะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจกท์เสียเปรียบ เข้าลักษณะลาภมิควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 406 จำเลยจึงจำต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ แต่ตามป.พ.พ.มาตรา 419 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่สิทธินั้นได้มีขึ้น ดังนั้นเงินที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกินสิบปีจึงขาดอายุความ จำเลยจำต้องคืนเงินที่จำเลยได้รับไปเฉพาะส่วนที่นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปไม่เกินสิบปีเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับเงินเดือนซ้ำซ้อนขัดกฎหมาย และอายุความการเรียกคืนเงินที่ได้รับไปโดยไม่ชอบ
คำฟ้องของโจทก์ที่เรียกเงินเดือนซึ่งจำเลยได้รับเงินจากโจทก์ในระหว่างวันที่ 15 พฤษภาคม 2518 ถึงวันที่ 30 มิถุนายน 2521 คืนโดยได้แจ้งจำนวนยอดรวมทั้งหมดแล้ว ถือว่าชัดแจ้งพอที่จำเลยจะต่อสู้คดีได้ ถ้ายอดจำนวนเงินที่โจทก์ฟ้องมานั้นมากกว่าที่จำเลยได้รับ จำเลยก็ชอบที่จะต่อสู้มาในคำให้การได้โจทก์ไม่จำต้องบรรยายฟ้องว่าเงินจำนวนดังกล่าวเป็นเงินที่จำเลยได้รับเดือนละเท่าใด หักภาษีแล้วเท่าใด เพราะเป็นรายละเอียดที่โจทก์นำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม การที่จำเลยได้รับเงินเดือนทั้งจากโจทก์และกรุงเทพมหานครเป็นการฝ่าฝืนพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปีบำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2505 ซึ่งกำหนดให้จำเลยรับเงินเดือนได้เพียงตำแหน่งเดียว เป็นกรณีที่จำเลยได้รับทรัพย์สินไปจากโจทก์โดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ อันเป็นลาภมิควรได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องเรียกเงินที่จำเลยรับไปจากโจทก์คืนได้ คำให้การของจำเลยที่ว่า โจทก์ฟ้องเรียกเงินคืนซึ่งเงินเดือนที่จำเลยได้รับจากโจทก์นั้นเกินกว่าสิบปีแล้ว ฟ้องโจทก์ขาดอายุความเป็นคำให้การชัดแจ้งและแสดงเหตุแห่งการขาดอายุความแล้วการที่จำเลยได้รับเงินจากโจทก์อันปราศจากมูลที่จะอ้างกฎหมายได้และเป็นทางให้โจทก์เสียเปรียบ เข้าลักษณะลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 406 จำเลยจึงจำต้องคืนเงินให้แก่โจทก์ แต่ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 419 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดปีหนึ่งนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้นสิบปีนับแต่สิทธินั้นได้มีขึ้นดังนั้นเงินที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกินสิบปีจึงขาดอายุความ จำเลยจำต้องคืนเงินที่จำเลยได้รับไปเฉพาะส่วนที่นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปไม่เกินสิบปีเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3362/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้าราชการรับเงินเดือนสองตำแหน่งโดยมิชอบ เป็นลาภมิควรได้ ฟ้องคืนได้เฉพาะส่วนที่ยังไม่ขาดอายุความ
เมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2517 จำเลยได้รับบรรจุเป็นข้าราชการครู สังกัดกรุงเทพมหานคร โดยรับเงินเดือนในอัตราของตำแหน่งครูต่อมาจำเลยได้สอบคัดเลือกเข้ารับการบรรจุเป็นข้าราชการครูสังกัดกรมสามัญศึกษาโจทก์ตั้งแต่วันที่ 15 พฤษภาคม 2518 โดยรับเงินเดือนในอัตราชั้นตรี โดยจำเลยได้เงินเดือนสองตำแหน่งตลอดมาจนจำเลยออกจากราชการของกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน 2521 ตามพระราชกฤษฎีกา ว่าด้วยการจ่ายเงินเดือน เงินปี บำเหน็จ บำนาญและเงินอื่นในลักษณะเดียวกัน พ.ศ. 2505 มาตรา 28 บัญญัติให้ข้าราชการรับเงินเดือนได้เพียงตำแหน่งเดียวนั้น หมายความรวมทั้งกรณีที่ข้าราชการผู้นั้นได้ไปปฏิบัติหน้าที่ทั้งสองตำแหน่งหรือหลายตำแหน่งด้วย และถึงแม้การไปดำรงตำแหน่งมากกว่าหนึ่งตำแหน่งของจำเลยจะมิได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อน ก็ไม่ทำให้จำเลยมีสิทธิที่จะได้รับเงินเดือนทั้งสองตำแหน่งได้ ฉะนั้น จำเลยยังไม่ได้แสดงเจตนาว่าจะเลือกรับเงินเดือนในตำแหน่งใด และโจทก์ยังไม่ได้แจ้งให้จำเลยทราบว่าจะให้จำเลยรับเงินเดือนทางใด และขอคืนในอัตราของตำแหน่งใดก่อนจึงเป็นกรณีที่จำเลยได้รับเงินจากโจทก์อันปราศจากมูลที่จะอ้างกฎหมายได้ อันเป็นลาภมิควรได้ โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกเงินคืนได้ จำเลยต้องคืนเงินดังกล่าวแก่โจทก์ อายุความสำหรับเรียกทรัพย์คืนในเรื่องลาภมิควรได้นั้น มาตรา419 บัญญัติห้ามมิให้ฟ้องคดีเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งปีนับแต่เวลาที่ฝ่ายผู้เสียหายรู้ว่าตนมีสิทธิเรียกคืน หรือเมื่อพ้น 10 ปี นับแต่เวลาที่สิทธินั้นได้มีขึ้น ดังนั้น เงินที่จำเลยได้รับไปนับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปเกิน 10 ปี จึงขาดอายุความ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกคืน จำเลยจำต้องคืนเงินที่จำเลยได้รับไปเฉพาะส่วนที่นับแต่วันฟ้องย้อนหลังไปไม่เกินสิบปีเท่านั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3357/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรื้อถอนสิ่งกีดขวางทางสาธารณประโยชน์ ไม่ใช่ละเมิด จึงไม่อยู่ในบังคับอายุความ 1 ปี
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรื้อรั้วลวดหนาม ประตูเหล็กที่ปิดกั้นทางสาธารณประโยชน์ ถอนต้นลำไย ขนทรายและนำวัสดุที่นำมากองหรือกีดขวางไว้บนทางออก และทำให้ทางสาธารณประโยชน์เปิดตามเดิมมิใช่เรียกเอาค่าเสียหายอันเกิดแต่มูลละเมิดโดยตรง จึงไม่อยู่ในบังคับแห่งอายุความ 1 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิครอบครองที่ดินหลังประกาศเป็นป่าสงวน: เจตนาและหนังสือแจ้งผลคดี
จำเลยครอบครองที่พิพาทมาก่อนที่ทางราชการจะประกาศให้ที่ดินบริเวณที่พิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติ แม้จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีครั้งแรกและพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏเหตุผลที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยในครั้งนั้น ทั้งไม่ได้ความจากการนำสืบของโจทก์ว่าได้มีการแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการให้จำเลยทราบ หรือได้มีการแจ้งให้จำเลยออกจากที่พิพาท และจำเลยยังคงครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมา แม้การที่จำเลยจะไม่ได้ไปแจ้งการครอบครองที่พิพาทต่อนายอำเภอท้องที่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ทางราชการประกาศให้ที่ดินบริเวณที่พิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติมีผลจะถือว่าจำเลยได้สละสิทธิในที่พิพาทและไม่มีสิทธิครอบครองอีกต่อไปก็ตาม แต่การที่พนักงานอัยการมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยไปยังหัวหน้าพนักงานสอบสวนโดยไม่ระบุเหตุผลการสั่งไม่ฟ้องและไม่ได้ความว่าได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบและแจ้งให้จำเลยออกจากที่พิพาทด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้จำเลยซึ่งเป็นชาวบ้านธรรมดาในชนบทเข้าใจได้ว่ายังคงมีสิทธิครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทได้อีกต่อไป ประกอบกับเมื่อจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีในครั้งนี้ จำเลยก็ให้การภาคเสธตลอดมาตั้งแต่ชั้นจับกุมว่าที่พิพาทเป็นที่ดินที่มีหนังสือแจ้งการครอบครองมาก่อน คดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนายึดถือครอบครองป่าสงวนแห่งชาติ ตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองป่าสงวนแห่งชาติก่อนประกาศใช้กฎหมาย และเจตนาในการครอบครอง
จำเลยครอบครองที่พิพาทมาก่อนที่ทางราชการจะประกาศในที่ดินบริเวณที่พิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติ แม้จำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีครั้งแรกและพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยก็ตาม แต่ก็ไม่ปรากฏเหตุผลที่พนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องจำเลยในครั้งนั้น ทั้งไม่ได้ความจากการนำสืบของโจทก์ว่าได้มีการแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องของพนักงานอัยการให้จำเลยทราบ หรือได้มีการแจ้งให้จำเลยออกจากที่พิพาทและจำเลยยังคงครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมา แม้การที่จำเลยจะไม่ได้ไปแจ้งการครอบครองที่พิพาทต่อนายอำเภอท้องที่ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ทางราชการประกาศให้ที่ดินบริเวณที่พิพาทเป็นป่าสงวนแห่งชาติมีผลจะถือว่าจำเลยได้สละสิทธิในที่พิพาทและไม่มีสิทธิครอบครองอีกต่อไปก็ตาม แต่การที่พนักงานอัยการมีหนังสือแจ้งคำสั่งไม่ฟ้องจำเลยไปยังหัวหน้าพนักงานสอบสวนโดยไม่ระบุเหตุผลการสั่งไม่ฟ้องและไม่ได้ความว่าได้แจ้งคำสั่งดังกล่าวให้จำเลยทราบและแจ้งให้จำเลยออกจากที่พิพาทด้วย พฤติการณ์ดังกล่าวย่อมทำให้จำเลยซึ่งเป็นชาวบ้านธรรมดาในชนบทเข้าใจได้ว่ายังคงมีสิทธิครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทได้อีกต่อไป ประกอบกับเมื่อจำเลยถูกเจ้าพนักงานตำรวจจับกุมดำเนินคดีในครั้งนี้ จำเลยก็ให้การภาคเสธตลอดมาตั้งแต่ชั้นจับกุมว่าที่พิพาทเป็นที่ดินที่มีหนังสือแจ้งการครอบครองมาก่อน คดีจึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยมีเจตนายึดถือครอบครองป่าสงวนแห่งชาติ ตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3240/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองที่ดินตาม น.ส.3ก. และความรับผิดทางละเมิดของผู้รับมรดก
หนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3 ก.) มีชื่อโจทก์เป็นผู้ครอบครองในเบื้องต้นจะต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1373 ม. มารดาจำเลยปักเสาไฟฟ้าและเดินสายไฟฟ้าผ่านที่พิพาทของโจทก์โดยโจทก์มิได้ยินยอมจึงเป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์เมื่อ ม. ถึงแก่ความตายจำเลยเป็นทายาทผู้รับมรดกของ ม.จึงต้องรับผิดต่อโจทก์
of 65