คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวรรณ ตระการพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้รับขนส่งทางทะเล กรณีสินค้าสูญหายจากความประมาท ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า สินค้าของโจทก์เป็นเส้นใยฝ้ายจำนวน408 กล่อง น้ำหนัก 2,900 กิโลกรัม สูญหายทั้งหมด ซึ่งจำเลยก็ให้การรับว่าสินค้าของโจทก์ตกลงไปในทะเลและสูญหายทั้งหมด แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว รายการสินค้าที่เสียหายมีอย่างไร เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเล ซึ่งขณะเกิดข้อพิพาท พ.ร.บ.การรับขนของทางทะเล พ.ศ.2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับ ทั้งไม่ปรากฏคลองจารีต-ประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเล จึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเพียงบท-กฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง ตามมาตรา 4 แห่ง ป.พ.พ. อันได้แก่ บทบัญญัติตามป.พ.พ. บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 616 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการสูญหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัย เมื่อปรากฏว่า การบรรทุกสินค้าของจำเลยไม่รัดกุมพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อุปกรณ์ผูกรัดตลอดจนวิธีการผูกรัดตู้คอนเทนเนอร์ไม่มั่นคงพอที่จะป้องกันความเสียหายอันเกิดจากคลื่นลมแรงได้ ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือสินค้า มรสุมคลื่นลมแรงในทะเลย่อมเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าไม่อาจหาวิธีการอื่นใดในการผูกรัดและป้องกันการตกลงไปในทะเลของตู้คอนเทนเนอร์ให้ดีกว่าที่ปฏิบัติแล้วได้ และก่อนที่เรือจำเลยจะออกจากช่องแคบอังกฤษ ได้ทราบข่าวการพยากรณ์อากาศว่าจะเกิดคลื่นลมแรงแล้ว ดังนั้น หากนายเรือของจำเลยจะหยุดเรืออยู่ที่ช่องแคบอังกฤษรอจนกว่าคลื่นลมในอ่าวบิสเคย์สงบก่อน จึงค่อยออกเรือต่อไป ภัยพิบัติก็จะไม่เกิด จึงเป็นเรื่องที่นายเรือของจำเลยจะป้องกันได้ การที่นายเรือจำเลยอ้างว่าได้ทราบพยากรณ์-อากาศแล้วยังเดินเรือต่อไป เพราะเห็นว่าไม่เป็นอันตรายสำหรับเรือขนาดบรรทุก 20,500 ตัน นับว่าเป็นความประมาทของนายเรือจำเลยโดยแท้ ฉะนั้นจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อจำเลยมีภาระในการพิสูจน์ถึงเหตุสุดวิสัยเพื่อให้พ้นความรับผิดตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 แต่นำสืบไม่ได้ตามคำให้การ จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับขนทางทะเล: ความรับผิดของผู้ขนส่งกรณีสินค้าสูญหายจากความประมาทเลินเล่อ ไม่ใช่เหตุสุดวิสัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า สินค้าของโจทก์เป็นเส้นใยฝ้ายจำนวน408 กล่อง น้ำหนัก 2,900 กิโลกรัม สูญหายทั้งหมด ซึ่งจำเลยก็ให้การรับว่าสินค้าของโจทก์ตกลงไปในทะเลและสูญหายทั้งหมด แสดงว่าจำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีแล้ว รายการสินค้าที่เสียหายมีอย่างไรเป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หาจำต้องบรรยายมาในฟ้องไม่ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม คดีนี้เป็นเรื่องรับขนของทางทะเล ซึ่งขณะเกิดข้อพิพาทพระราชบัญญัติ การรับขนของทางทะเล พ.ศ. 2534 ยังไม่มีผลใช้บังคับทั้งไม่ปรากฏคลองจารีตประเพณีแห่งท้องถิ่นว่าด้วยรับขนของทางทะเลจึงต้องวินิจฉัยคดีโดยอาศัยเพียงบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่งตามมาตรา 4 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์อันได้แก่ บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ 3 ลักษณะ 8 รับขน มาตรา 616 ซึ่งบัญญัติว่า ผู้ขนส่งจะต้องรับผิดในการที่ของอันเขาได้มอบหมายแก่ตนนั้นสูญหาย เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าการสูญหายนั้นเกิดแต่เหตุสุดวิสัยเมื่อปรากฏว่า การบรรทุกสินค้าของจำเลยไม่รัดกุมพอ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้อุปกรณ์ผูกรัดตลอดจนวิธีการผูกรัดตู้คอนเทนเนอร์ไม่มั่นคงพอที่จะป้องกันความเสียหายอันเกิดจากคลื่นลมแรงได้ซึ่งเป็นที่แน่นอนว่าการขนส่งสินค้าทางทะเลโดยเรือสินค้ามรสุมคลื่นลมแรงในทะเลย่อมเป็นเรื่องที่อาจเกิดขึ้นเมื่อใดก็ได้ทั้งไม่ปรากฏว่าไม่อาจหาวิธีการอื่นใดในการผูกรัดและป้องกันการตกลงไปในทะเลของตู้คอนเทนเนอร์ให้ดีกว่าที่ปฏิบัติแล้วได้ และก่อนที่เรือจำเลยจะออกจากช่องแคบอังกฤษ ได้ทราบข่าวการพยากรณ์อากาศว่าจะเกิดคลื่นลมแรงแล้ว ดังนั้น หากนายเรือของจำเลยจะหยุดเรืออยู่ที่ช่องแคบอังกฤษรอจนกว่าคลื่นลมในอ่าวบิสเคย์สงบก่อนจึงค่อยออกเรือต่อไป ภัยพิบัติก็จะไม่เกิด จึงเป็นเรื่องที่นายเรือของจำเลยจะป้องกันได้ การที่นายเรือจำเลยอ้างว่าได้ทราบพยากรณ์อากาศแล้วยังเดินเรือต่อไป เพราะเห็นว่าไม่เป็นอันตรายสำหรับเรือขนาดบรรทุก 20,500 ตัน นับว่าเป็นความประมาทของนายเรือจำเลยโดยแท้ ฉะนั้นจึงมิใช่เหตุสุดวิสัย เมื่อจำเลยมีภาระในการพิสูจน์ถึงเหตุสุดวิสัยเพื่อให้พ้นความรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 616 แต่นำสืบไม่ได้ตามคำให้การ จำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2929/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางทะเล กรณีสินค้าสูญหายจากคลื่นลมแรง มิใช่เหตุสุดวิสัย หากการผูกรัดไม่มั่นคง
จำเลยผู้ขนส่งสินค้าทางทะเลบรรทุกสินค้าไม่รัดกุมพอ ใช้อุปกรณ์ผูกรัดตลอดจนวิธีการผูกรัดตู้คอนเทนเนอร์ไม่มั่นคงพอที่จะป้องกันความเสียหายอันเกิดจากคลื่นลมแรงได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าไม่อาจหาวิธีการอื่นใดในการผูกรัดและป้องกันการตกลงไปในทะเลของตู้คอนเทนเนอร์ให้ดีกว่าที่ปฏิบัติแล้วได้ อีกทั้งก่อนออกเรือนายเรือก็ทราบข่าวพยากรณ์อากาศว่าจะเกิดคลื่นลมแรง หากจะหยุดเรือรอจนกว่าคลื่นลมสงบก่อนก็ได้แต่ยังเดินเรือต่อไป เมื่อมีคลื่นลมแรงจัดซัดน้ำทะเลเข้าหาตัวเรือและดาดฟ้าเรือกระแทกตู้คอนเทนเนอร์จนลวดสลิงและโซ่ที่ใช้ผูกรัดตู้คอนเทนเนอร์ที่บรรทุกสินค้าของโจทก์อาจจะยืดหรือขาดทำให้ตู้คอนเทนเนอร์ตกลงไปในทะเล กรณีจึงไม่ใช่เหตุสุดวิสัยที่จำเลยจะไม่ต้องรับผิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 616

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2874/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรุกล้ำที่ดิน: แม้ครอบครองนาน ก็ยังต้องรื้อถอน หากละเมิดต่อเนื่อง อายุความไม่ขาด
โจทก์กับจำเลยมีบ้านอยู่ติดกัน และหลังคาบ้านกับรางน้ำฝนบางส่วนของโจทก์รุกล้ำเข้ามาในเขตที่ดินของจำเลย ดังนี้ แม้โจทก์จะซื้อที่ดินพร้อมบ้านมาจากเจ้าของเดิมและโจทก์ได้ครอบครองทั้งบ้านและที่ดินมากว่า 20 ปี แต่การละเมิดที่หลังคาบ้านและรางน้ำฝนบางส่วนของโจทก์รุกล้ำแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยคงมีอยู่อย่างต่อเนื่องจนถึงวันฟ้องและปัจจุบัน จำเลยชอบที่จะฟ้องให้โจทก์รื้อหลังคาและรางน้ำฝนส่วนที่รุกล้ำแดนกรรมสิทธิ์ที่ดินของจำเลยได้ฟ้องแย้งของจำเลยจึงไม่ขาดอายุความ การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาว่า ถ้าโจทก์ไม่รื้อหลังคาและรางน้ำฝนส่วนที่รุกล้ำที่ดินของจำเลยออกไป ให้จำเลยเป็นผู้รื้อโดยโจทก์เป็นผู้ออกค่าใช้จ่ายนั้นเป็นการไม่ชอบ เพราะกรณีต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 296 ทวิ ซึ่งจำเลยชอบที่จะขอต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งเจ้าพนักงานบังคับคดีเป็นผู้ดำเนินการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปลูกสร้างอาคารร่นระยะอาคารโดยมิชอบ โจทก์แบ่งแยกที่ดินหลีกเลี่ยงข้อบัญญัติ จำเลยมีสิทธิไม่อนุญาตต่อเติม
ก่อนโจทก์ปลูกสร้างอาคาร ที่ดินที่ปลูกสร้างอาคารดังกล่าวด้านทิศเหนือและทิศใต้ติดกับทางสาธารณะซึ่งด้านทิศเหนือมีขนาดกว้างประมาณ 2 เมตรทิศใต้กว้างประมาณ 2.20 เมตร ถึง 3 เมตร และตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ.2522 ข้อ 72 วรรค 2 ได้กำหนดไว้ว่าตึกแถว ห้องแถว อาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรม และอาคารสาธารณะที่ปลูกสร้างริมทางสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 10 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะอย่างน้อย 6 เมตร แต่โจทก์ได้ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวด้านทิศเหนือและทิศใต้เป็นแนวตะเข็บกว้างประมาณ 0.80 เมตร ไปตลอดแนวเขตกั้นไว้ระหว่างที่ดินแปลงที่จะปลูกสร้างอาคารกับทางสาธารณะก่อนยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างประมาณ 20 วัน เห็นได้ชัดว่าโจทก์ทำเพื่อหลีกเลี่ยงข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครมิฉะนั้นจะต้องถอยร่นแนวอาคารทั้งสองด้านห่างทางสาธารณะประมาณ 4.50 เมตรถึง 5 เมตร จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้โจทก์จะอ้างว่าที่ทำแนวตะเข็บดังกล่าวเพื่อขยายทางสาธารณะ และทางจำเลยที่ 1 ขยายทางสาธารณะแล้วก็ตาม โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามข้อกำหนดกรุงเทพมหานคร โดยต้องถอยร่นแนวอาคารให้ห่างทางสาธารณะที่ขยายแล้วด้วย แม้เขตพระนครจะเคยอนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคาร 4 ชั้นแล้วในการพิจารณาคำขออนุญาตปลูกสร้างต่อเติมอาคารเป็น 11 ชั้น จำเลยที่ 1 ก็มีสิทธิพิจารณาถึงการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายของโจทก์ดังกล่าวได้ การที่จำเลยที่ 1 ไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารพิพาท จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2856/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การใช้สิทธิโดยไม่สุจริตในการก่อสร้างอาคารที่ขัดต่อข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครและการพิจารณาคำขออนุญาตก่อสร้าง
ก่อนโจทก์ที่ 1 ปลูกสร้างอาคาร ที่ดินที่ปลูกสร้างอาคารดังกล่าวด้านทิศเหนือและทิศใต้ติดกับทางสาธารณะซึ่งด้านทิศเหนือมีขนาดกว้างประมาณ 2 เมตร ทิศใต้กว้างประมาณ 2.20 เมตร ถึง3 เมตร และตามข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2522 ข้อ 72 วรรคสองได้กำหนดไว้ว่า ตึกแถว ห้องแถวอาคารพาณิชย์ โรงงานอุตสาหกรรมและอาคารสาธารณะที่ปลูกสร้างริมทางสาธารณะที่มีความกว้างน้อยกว่า 10.00 เมตร ให้ร่นแนวอาคารห่างจากศูนย์กลางทางสาธารณะอย่างน้อย 6.00 เมตร แต่โจทก์ที่ 1ได้ดำเนินการแบ่งแยกที่ดินดังกล่าวด้านทิศเหนือและทิศใต้เป็นแนวตะเข็บกว้างประมาณ 0.80 เมตร ไปตลอดแนวเขตกั้นไว้ระหว่างที่ดินแปลงที่จะปลูกสร้างอาคารกับทางสาธารณะก่อนยื่นคำขออนุญาตปลูกสร้างประมาณ 20 วัน เห็นได้ชัดว่าโจทก์ที่ 1 ทำเพื่อหลีกเลี่ยงข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร จึงเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต แม้โจทก์จะอ้างว่าแนวตะเข็บดังกล่าว ทางจำเลยที่ 1 ขยายทางสาธารณะก็ตาม โจทก์ก็ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย แม้เขตพระนครจะเคยอนุญาตให้โจทก์ที่ 1 ปลูกสร้างอาคาร 4 ชั้นแล้วในการพิจารณาคำขออนุญาตปลูกสร้างต่อเติมอาคารเป็น 11 ชั้น จำเลยที่ 1 ก็มีสิทธิพิจารณาถึงการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายของโจทก์ทั้งสองดังกล่าวได้ การที่จำเลยที่ 1 ไม่อนุญาตให้โจทก์ปลูกสร้างอาคารพิพาท จึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การชำระค่าหุ้นที่ค้างชำระหลังขายทอดตลาด และการประมูลที่ไม่ขัดกฎหมาย
ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1125 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการขายทอดตลาดหุ้นที่ริบแล้วได้เงินมากกว่ามูลค่าหุ้นที่ผู้ถือหุ้นต้องรับผิด ก็ให้เอาหักใช้ค่าหุ้นที่เรียกกับดอกเบี้ยที่ค้างชำระ ถ้ายังมีเงินเหลือเท่าใด ต้องส่งคืนให้แก่ผู้ถือหุ้นส่วนกรณีที่ขายได้เงินน้อยกว่ามูลค่าหุ้นที่ผู้จองซื้อเป็นหนี้ค่าหุ้นบริษัทเป็นกรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1106ที่บัญญัติว่า การเข้าชื่อซื้อหุ้นนั้นย่อมผูกพันผู้เข้าชื่อโดยถ้าบริษัทตั้งขึ้นแล้วจะใช้จำนวนเงินค่าหุ้นนั้น ๆ ให้แก่บริษัทดังนี้ เมื่อจำเลยจองซื้อหุ้นของบริษัทโจทก์และต้องชำระเงินเต็มมูลค่าหุ้นแก่บริษัทโจทก์ แต่ไม่ชำระย่อมเป็นหนี้บริษัทโจทก์ซึ่งมีผลให้บริษัทโจทก์เรียกให้จำเลยชำระได้ดังหนี้ทั่วไป การที่บริษัทโจทก์ขายทอดตลาดหุ้นที่จำเลยจองซื้อได้เงินเท่าใดก็นำมาหักชำระหนี้ที่จำเลยค้างชำระเงินมูลค่าหุ้นได้ เมื่อยังขาดอยู่เท่าใดจำเลยก็ต้องรับผิดชดใช้ส่วนที่ขาดอยู่แก่โจทก์ ผู้เข้าสู้ราคาและซื้อหุ้นได้จากการขายทอดตลาดที่บริษัทโจทก์เป็นผู้ขายนั้นเป็นบริษัทที่ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ด้วย หรือเป็นบริษัทในเครือบริษัทโจทก์เท่านั้นถือว่าเป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัทโจทก์ จึงไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 511,512 ที่บัญญัติห้ามผู้ขายทอดตลาด หรือผู้ขายเข้าสู้ราคาหรือใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคาแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายทอดตลาดหุ้นที่จองซื้อแล้วไม่ชำระเงิน และสิทธิของบริษัทในการเรียกค่าหุ้นส่วนที่ขาด
จำเลยจองซื้อหุ้นของโจทก์แล้วไม่ชำระค่าหุ้นตามที่โจทก์เรียกให้ส่งโจทก์จึงริบหุ้นของจำเลยและเอาออกขายทอดตลาดแต่ได้เงินน้อยกว่ามูลค่าหุ้นที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าหุ้นส่วนที่ยังขาดอยู่แก่โจทก์ได้ตามรูปการแห่งหนี้ทั่วไป ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 511,512 ห้ามผู้ทอดตลาดหรือผู้ขายเข้าสู้ราคาหรือใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาด แม้บริษัท ม. ผู้ซื้อหุ้นของจำเลยได้จากการขายทอดตลาดจะเป็นบริษัทที่ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ด้วยหรือเป็นบริษัทในเครือบริษัทโจทก์ก็ตาม แต่บริษัท ม. ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัทโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ใช้ให้บริษัท ม. หรือลูกจ้างโจทก์หรือบุคคลอื่นใดเข้าประมูลสู้ราคาแทนโจทก์การขายทอดตลาดหุ้นดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ดำเนินการขายทอดตลาดตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ดำเนินการขายทอดตลาดโดยไม่ชอบอย่างไร จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2837/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิของเจ้าหนี้ในการริบหุ้นและฟ้องชำระหนี้ส่วนที่ขาด แม้การขายทอดตลาดได้เงินน้อยกว่าหนี้
จำเลยจองซื้อหุ้นของโจทก์แล้วไม่ชำระค่าหุ้นตามที่โจทก์เรียกให้ส่งโจทก์จึงริบหุ้นของจำเลยและเอาออกขายทอดตลาดแต่ได้เงินน้อยกว่ามูลค่าหุ้นที่จำเลยเป็นหนี้โจทก์ ดังนี้ โจทก์มีอำนาจฟ้องให้จำเลยชำระค่าหุ้นส่วนที่ยังขาดอยู่แก่โจทก์ได้ตามรูปการแห่งหนี้ทั่วไป
ป.พ.พ. มาตรา 511, 512 ห้ามผู้ทอดตลาดหรือผู้ขายเข้าสู้ราคา หรือใช้ให้ผู้หนึ่งผู้ใดเข้าสู้ราคาในการขายทอดตลาด แม้บริษัท ม. ผู้ซื้อหุ้นของจำเลยได้จากการขายทอดตลาดจะเป็นบริษัทที่ผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่ถือหุ้นในบริษัทโจทก์ด้วย หรือเป็นบริษัทในเครือบริษัทโจทก์ก็ตาม แต่บริษัท ม.ก็เป็นนิติบุคคลต่างหากจากบริษัทโจทก์ เมื่อข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ใช้ให้บริษัท ม.หรือลูกจ้างโจทก์หรือบุคคลอื่นใดเข้าประมูลสู้ราคาแทนโจทก์การขายทอดตลาดหุ้นดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
จำเลยฎีกาว่าโจทก์ไม่ดำเนินการขายทอดตลาดตามวิธีการที่กฎหมายกำหนดไว้ แต่จำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในประเด็นข้อนี้ไว้ ทั้งข้อเท็จจริงไม่ปรากฏว่าโจทก์ดำเนินการขายทอดตลาดโดยไม่ชอบอย่างไร จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2808/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งประเด็นไปสืบพยานนอกประเด็นข้อพิพาท ศาลชอบที่จะไม่อนุญาต
ตามคำให้การของจำเลยและตามประเด็นข้อพิพาทที่ศาลชั้นต้นกำหนดในการชี้สองสถาน ไม่มีประเด็นข้อที่ว่าจำเลยได้ชำระหนี้ตามฟ้องให้โจทก์เสร็จสิ้นแล้วหรือไม่ เมื่อคดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทกันดังกล่าว แต่จำเลยขอส่งประเด็นไปสืบพยานจำเลยทั้งสองปากในประเด็นนั้น ดังนี้ จึงเป็นการขอส่งประเด็นไปสืบพยานจำเลยที่ไม่เกี่ยวกับประเด็นข้อพิพาทในคดี ที่ศาลชั้นต้นไม่อนุญาตให้จำเลยส่งประเด็นและงดสืบพยานจำเลยจึงชอบแล้ว
of 65