พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2315/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์: ครอบครองโดยสำคัญผิดถึงความเป็นเจ้าของก็มีผล
ที่พิพาทเป็นของจำเลย โจทก์ทั้งสองครอบครองโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันมาเป็นเวลา 10 ปีแล้วแม้จะครอบครองโดยสำคัญผิดว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์ทั้งสองก็ถือไม่ได้ว่าเป็นการครอบครองที่ดินของโจทก์ทั้งสองเอง หากแต่ต้องถือว่าเป็นการครอบครองที่ดินของบุคคลอื่น ดังนี้โจทก์ทั้งสองย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่พิพาทตามนัยแห่ง ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 หาจำต้องเป็นการครอบครองโดยรู้ว่าที่พิพาทเป็นที่ดินของบุคคลอื่นไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2213/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าของรถยนต์ไม่ต้องรับผิดตามมาตรา 437 หากไม่ได้ครอบครองหรือควบคุมรถขณะเกิดเหตุ
ข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 437เป็นกรณีที่เกี่ยวกับผู้ครอบครองหรือควบคุมดูแลรถยนต์ไปเกิดเหตุโดยตรงซึ่งจะต้องรับผิดต่อคู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งที่มิได้ครอบครองหรือควบคุมดูแลยานพาหนะอันเดินด้วยกำลังเครื่องจักรกล จำเลยไม่ได้ครอบครองหรือควบคุมดูแลรถยนต์ขณะเกิดเหตุ เป็นแต่เพียงมีชื่อเป็นเจ้าของในทะเบียนเท่านั้น ทั้งเป็นกรณีที่ยานพาหนะที่เดินด้วยกำลังเครื่องจักรกลชนกัน จึงไม่ต้องด้วยข้อสันนิษฐานของบทกฎหมายดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2206/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้จำนองต้องชัดเจนตามคำร้อง ศาลไม่อาจสั่งเกินกว่าที่ขอ
แม้หนังสือสัญญาจำนองและข้อตกลงต่อท้ายสัญญาจำนองกำหนดให้ผู้ร้องคิดดอกเบี้ยได้ในอัตราร้อยละ 18.5 ต่อปีและทรัพย์สินซึ่งจำนองย่อมเป็นประกันเพื่อการชำระหนี้กับทั้งค่าอุปกรณ์คือดอกเบี้ยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 715(1) ก็ตามแต่ตามคำร้องของผู้ร้อง ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองโดยยังมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา เพียงแต่ขอรับชำระหนี้จนถึงวันที่ 21 มีนาคม 2532 โดยมิได้คำนวณดอกเบี้ยนับแต่วันที่ 21 มีนาคม 2532 จนถึงวันยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนอง(วันที่ 27 มีนาคม 2532) และไม่ได้เรียกดอกเบี้ยนับแต่วันยื่นคำร้องจนถึงวันขายทอดตลาดมาด้วย ในเรื่องดอกเบี้ยจะเห็นได้ว่าผู้ร้องมิได้มีคำขอมาในคำร้องแต่อย่างใด ศาลจึงมิอาจมีคำสั่งให้สิ่งใด ๆ เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำร้องเพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2206/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอรับชำระหนี้จำนองต้องระบุดอกเบี้ยในคำร้อง หากมิได้ระบุ ศาลไม่อาจสั่งให้จ่ายดอกเบี้ยเกินกว่าที่ขอ
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองโดยผู้ร้องยังมิได้เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษา มิได้คำนวณดอกเบี้ยจนถึงวันยื่นคำร้องขอรับชำระหนี้จำนองและไม่ได้เรียกดอกเบี้ยนับแต่วันยื่นคำร้องจนถึงวันขายทอดตลาดมาด้วย ศาลจึงไม่อาจมีคำสั่งให้เกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฏในคำร้องเพราะต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2129/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจร แม้ฟ้องในความผิดฐานปล้นทรัพย์ ศาลลงโทษได้หากข้อเท็จจริงสนับสนุน
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ในข้อหาความผิดฐานปล้นทรัพย์แต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในทางพิจารณากลับฟังได้ว่า จำเลยที่ 2กระทำความผิดฐานรับของโจร ดังนี้ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 192 วรรคสาม บัญญัติว่า ข้อแตกต่างดังกล่าวเป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดมิให้ถือว่าแตกต่างในข้อสาระสำคัญ ทั้งมิให้ถือว่าข้อที่พิจารณาได้ความนั้นเป็นเรื่องเกินคำขอ หรือเป็นข้อหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษ ประกอบกับจำเลยที่ 2 ไม่ได้หลงข้อต่อสู้ จึงชอบที่ศาลจะลงโทษจำเลยที่ 2 ในความผิดฐานรับของโจรได้ ส่วนการที่พนักงานสอบสวน มิได้แจ้งข้อกล่าวหาและสอบสวนจำเลยที่ 2 ในข้อหาฐานรับของโจรเป็นเรื่องที่กฎหมายห้ามมิให้พนักงานอัยการนำคดีในข้อหาดังกล่าวมาฟ้องต่อศาลเท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษฐานลักทรัพย์แทนวิ่งราวทรัพย์ แม้โจทก์มิได้ขอโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยชิงทรัพย์ของผู้เสียหาย โดยใช้กำลังประทุษร้ายด้วยการใช้มือบีบและกดคอของผู้เสียหาย แล้วกระชากสร้อยคอของผู้เสียหายโดยแรงจนสร้อยคอขาดแล้วพาวิ่งหลบหนีไปซึ่งหน้าโดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยฉกฉวยเอาสร้อยคอของผู้เสียหายพาหนีไปซึ่งหน้าอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานวิ่งราวทรัพย์คงลงโทษจำเลยได้ในข้อหาความผิดฐานลักทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 335(1)วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192วรรคท้าย เท่านั้น แม้จำเลยไม่อุทธรณ์ข้อนี้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2127/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์ประกอบความผิดชิงทรัพย์ vs. ลักทรัพย์ และอำนาจแก้ไขศาลอุทธรณ์
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยชิงทรัพย์ของผู้เสียหาย โดยใช้กำลังประทุษร้ายด้วยการใช้มือบีบและกดคอของผู้เสียหาย แล้วกระชากสร้อยคอของผู้เสียหายโดยแรงจนสร้อยคอขาดแล้วพาวิ่งหลบหนีไปซึ่งหน้า โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องว่า จำเลยฉกฉวยเอาสร้อยคอของผู้เสียหายพาหนีไปซึ่งหน้าอันเป็นองค์ประกอบของความผิดฐานวิ่งราวทรัพย์ และคำขอท้ายฟ้องก็มิได้ขอให้ลงโทษฐานวิ่งราวทรัพย์ จึงเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษจำเลยฐานวิ่งราวทรัพย์คงลงโทษจำเลยได้ในข้อหาความผิดฐานลักทรัพย์ตาม ป.อ. มาตรา 335 (1)วรรคสอง ซึ่งเป็นความผิดที่ประกอบเป็นองค์ประกอบอย่างหนึ่งของความผิดฐานชิงทรัพย์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคท้าย เท่านั้น แม้จำเลยไม่อุทธรณ์ข้อนี้ศาลอุทธรณ์มีอำนาจแก้ไขได้ เพราะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยตามป.วิ.อ. มาตรา 195 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2122/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกร้องช่วงและดอกเบี้ยจากการชำระค่าสินไหมทดแทน: ผู้รับประกันภัยมีสิทธิคิดดอกเบี้ยนับแต่วันชำระค่าสินไหมทดแทน
โจทก์จ่ายเงินแทน ป. ผู้เอาประกันภัยครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2530 โจทก์จึงเป็นผู้รับช่วงสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 880 สิทธิของโจทก์ย่อมเกิดขึ้นนับตั้งแต่วันที่โจทก์ได้ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไปโดยมิต้องบอกกล่าวจึงชอบที่จะคิดดอกเบี้ยได้นับแต่วันที่โจทก์ชำระค่าสินไหมทดแทนเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2065/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดี, การบรรยายฟ้อง, และการคิดดอกเบี้ยผิดนัดในสัญญากู้
ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า คณะกรรมการโจทก์เป็นใครแต่การที่โจทก์มีหนังสือมอบอำนาจโดย ส. ซึ่งเป็นประธานกรรมการลงนามแทนคณะกรรมการบรรษัทโจทก์ มอบอำนาจให้ ศ.มีอำนาจกระทำกิจการอันเป็นธุรกิจของบรรษัทแทน ซึ่งรวมทั้งการฟ้องคดีส่งมาท้ายฟ้องด้วย แสดงว่า ส.และศ.เป็นผู้แทนโจทก์ ซึ่งจำเลยอาจใช้สิทธิตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 66 ได้ ไม่ทำให้จำเลยเสียเปรียบ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ฟ้องโจทก์มิได้บรรยายให้แจ้งชัดว่า โจทก์คำนวณเปรียบเทียบอัตราเงินสกุลต่างประเทศมาเป็นเงินไทยในอัตราหน่วยละเท่าใดคิดอัตราเปรียบเทียบในวันที่เท่าใด คิดดอกเบี้ยในอัตราดังกล่าวตั้งแต่เมื่อใด และในอัตราดอกเบี้ยกี่เปอร์เซนต์นั้น เมื่อโจทก์ได้บรรยายถึงวิธีการคิดอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยพร้อมทั้งอัตราดอกเบี้ยและวิธีการคิดดอกเบี้ยไว้ในฟ้องแล้วและได้ส่งรายละเอียดแห่งการเป็นหนี้ของจำเลยมาท้ายฟ้องด้วย ซึ่งทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดี ฟ้องจึงไม่เคลือบคลุม ตามพระราชบัญญัติบรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยพ.ศ. 2502 มาตรา 22 บัญญัติไว้ว่า "ในส่วนกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอกให้ผู้จัดการทั่วไปมีอำนาจกระทำการแทนบรรษัทแต่ผู้จัดการทั่วไปจะมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำแทนตนในกิจการใดก็ได้" การฟ้องคดีเป็นส่วนกิจการที่เกี่ยวกับบุคคลภายนอก ดังนั้นศ.ซึ่งเป็นกรรมการและผู้จัดการทั่วไปของโจทก์จึงมีอำนาจกระทำการแทนบรรษัทโจทก์ได้ โดยไม่จำต้องให้คณะกรรมการมอบอำนาจอีกปัญหาเรื่องโจทก์สละประโยชน์แห่งเงื่อนเวลาชำระหนี้ เพราะเมื่อจำเลยผิดนัดโจทก์คิดดอกเบี้ยเพิ่มมาตลอด โจทก์มิได้ถือข้อตกลงในสัญญากู้ที่ระบุว่าถ้าจำเลยที่ 1 ผิดนัดไม่ชำระเงินหรือดอกเบี้ยงวดใดงวดหนึ่ง ถือว่าผิดนัดทุกงวด เป็นสาระสำคัญหรือไม่นั้นจำเลยมิได้ต่อสู้ไว้ในคำให้การ จึงมิใช่ปัญหาที่ว่ากันมาในศาลชั้นต้น แม้ศาลอุทธรณ์จะได้วินิจฉัยปัญหานี้มาก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันโดยชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2024/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรบกวนสิทธิครอบครองบ้านหลังการซื้อสิทธิเช่าซื้อ ถือเป็นความผิดฐานบุกรุก
จำเลยขายสิทธิเช่าซื้อบ้านพิพาทให้โจทก์และส่งมอบการครอบครองแล้วโจทก์จึงเป็นผู้มีสิทธิครอบครองในบ้านพิพาท ดังนั้น การที่จำเลยไล่บุตรและน้องภรรยาของโจทก์ซึ่งอาศัยสิทธิของโจทก์อยู่ในบ้านพิพาทออกไปโดยไม่มีสิทธิและจำเลยได้ปิดประตูบ้านพิพาทใส่กุญแจไว้เพื่อป้องกันมิให้โจทก์หรือคนของโจทก์เข้าไปในบ้านโดยจำเลยไม่มีอำนาจที่จะกระทำได้ อันเป็นการรบกวนสิทธิครอบครองบ้านพิพาทของโจทก์โดยปกติสุข จำเลยจึงมีความผิดฐานบุกรุก