พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2017/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาคดีหนี้ร่วมที่ผิดระเบียบ หากจำเลยขาดนัดยื่นคำให้การโดยมิใช่ความผิดของตน
เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 5 ยื่นคำให้การในกำหนด คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่สั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การจนถึงชั้นพิพากษาย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ชอบที่จะสั่งให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 5 แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดในมูลหนี้ละเมิด จึงเป็นหนี้ร่วมที่มิอาจจะแบ่งแยกได้ การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนใดคนหนึ่งรับผิดในมูลหนี้ร่วมดังกล่าวจำต้องรับฟังพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยทุกคน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยมิใช่ความผิดของจำเลยที่ 5 พยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ที่จะนำสืบก็ยังไม่ปรากฏในสำนวน ไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ก่อน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดในมูลหนี้ละเมิด จึงเป็นหนี้ร่วมที่มิอาจจะแบ่งแยกได้ การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนใดคนหนึ่งรับผิดในมูลหนี้ร่วมดังกล่าวจำต้องรับฟังพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยทุกคน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยมิใช่ความผิดของจำเลยที่ 5 พยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ที่จะนำสืบก็ยังไม่ปรากฏในสำนวน ไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2017/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบส่งผลต่อการพิพากษาคดีร่วมกัน การย้อนสำนวนเพื่อรับฟังพยานหลักฐานจำเลย
เมื่อปรากฏว่า จำเลยที่ 5 ยื่นคำให้การในกำหนด คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นตั้งแต่สั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การจนถึงชั้นพิพากษาย่อมเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบ ชอบที่จะสั่งให้ย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาเฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 5 แล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดี โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันรับผิดในมูลหนี้ละเมิด จึงเป็นหนี้ร่วมที่มิอาจจะแบ่งแยกได้ การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนใดคนหนึ่งรับผิดในมูลหนี้ร่วมดังกล่าวจำต้องรับฟังพยานหลักฐานโจทก์และจำเลยทุกคน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยมิใช่ความผิดของจำเลยที่ 5 พยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ที่จะนำสืบก็ยังไม่ปรากฏในสำนวน ไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิพากษาคดีสำหรับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2017/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้ร่วมละเมิด: ศาลต้องรับฟังพยานหลักฐานจำเลยทั้งหมดก่อนพิพากษา หากจำเลยขาดนัดโดยไม่เป็นความผิด
โจทก์ฟ้อง ขอให้จำเลยทั้งห้าร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์หนี้ดังกล่าวเป็นหนี้ร่วมที่มิอาจแบ่งแยกได้ แม้การดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับจำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 จะชอบด้วยกฎหมาย แต่การที่ศาลจะพิพากษาให้จำเลยคนหนึ่งคนใดรับผิดชดใช้เงินให้แก่โจทก์เพียงใด จำเป็นที่ศาลจะต้องรับฟังพยานหลักฐานที่โจทก์และจำเลยทุกคนนำสืบให้ปรากฏในสำนวนร่วมกัน เมื่อศาลชั้นต้นสั่งให้จำเลยที่ 5 ขาดนัดยื่นคำให้การโดยมิใช่ความผิดของจำเลยที่ 5พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 5 จะนำสืบก็ยังไม่ปรากฏในสำนวน ไม่ชอบที่ศาลอุทธรณ์จะพิจารณาพิพากษาอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 และที่ 4ไปโดยไม่รอฟังพยานหลักฐานของจำเลยที่ 5 ก่อน ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาผิดระเบียบเฉพาะเกี่ยวกับจำเลยคนเดียวเมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำพิพากษาศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปแล้วพิพากษาใหม่ตามรูปคดีก็ชอบที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่เฉพาะเกี่ยวกับจำเลยดังกล่าวเพียงคนเดียว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลกรณีตัวแทนจำหน่ายสินค้าต่างประเทศ ศาลฎีกาวินิจฉัยการซื้อขายสินค้าตามสัญญาตัวแทนกับวิธีส่งสินค้าให้ลูกค้าโดยตรงมีลักษณะต่างกัน
การซื้อขายสินค้าของโจทก์มี 2 วิธี วิธีที่ 1 โจทก์สั่งซื้อสินค้าเข้ามาในสต็อกของโจทก์เพื่อขายให้ลูกค้า ส่วนวิธีที่ 2ในกรณีสินค้ามีมูลค่าสูงหรือเสื่อมสภาพง่าย โจทก์จะไม่สั่งซื้อเข้ามาในสต็อก แต่เมื่อมีลูกค้ามาสั่งซื้อ โจทก์ก็จะทำสัญญาซื้อขายกับลูกค้า แล้วโจทก์จะสั่งซื้อจากบริษัทผู้ขายในต่างประเทศที่มีสัญญาตั้งโจทก์เป็นผู้แทนจำหน่าย (DistributorshipAgreement) เป็นหนังสือโดยให้บริษัทดังกล่าวส่งสินค้าให้กับลูกค้าและลูกค้าชำระราคาให้กับผู้ขายในต่างประเทศโดยตรงแต่โจทก์เป็นผู้กำหนดราคาขายสินค้าให้กับลูกค้าเอง โจทก์มีอิสระในการขาย ถ้าสินค้าที่ขายชำรุดบกพร่องโจทก์ต้องรับผิดต่อลูกค้าโจทก์ดำเนินธุรกิจซื้อขายด้วยทุนของตนเอง หากมีการขาดทุนหรือมีกำไรก็ตกเป็นของโจทก์ นอกจากนี้ใบกำกับสินค้าในการซื้อขายตามวิธีที่ 2 นี้ก็ยังออกในนามของโจทก์ กรณีจึงเป็นเรื่องที่โจทก์ประกอบกิจการซื้อขายสินค้าในประเทศไทยด้วยตนเอง มิได้เป็นลูกจ้าง ผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้กับบริษัทผู้ขายในต่างประเทศ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตหน้าที่ภาษีจากการเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้าต่างประเทศ: กรณีตัวแทนจำหน่าย vs. ผู้ทำการแทน
บริษัทในต่างประเทศทำสัญญาตั้งโจทก์ให้เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าแต่ผู้เดียวในประเทศไทย การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับบริษัทต่างประเทศดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ประกอบกิจการซื้อขายสินค้าในประเทศไทยด้วยตนเองมิได้เป็นลูกจ้างผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้บริษัทผู้ขายในต่าง-ประเทศ โจทก์จึงไม่มีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการ และเสียภาษี-เงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับบริษัทในต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้ทำสัญญาตั้งผู้แทนจำหน่าย จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ทำการแทนหรือทำการติดต่อให้บริษัทดังกล่าว โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎกร มาตรา 76 ทวิ
การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับบริษัทในต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้ทำสัญญาตั้งผู้แทนจำหน่าย จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ทำการแทนหรือทำการติดต่อให้บริษัทดังกล่าว โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎกร มาตรา 76 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1971/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายสินค้าโดยผู้แทนจำหน่ายต่างประเทศ: หน้าที่ในการยื่นภาษีเงินได้นิติบุคคล
บริษัทในต่างประเทศทำสัญญาตั้งโจทก์ให้เป็นผู้แทนจำหน่ายสินค้าแต่ผู้เดียวในประเทศไทย การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับบริษัทต่างประเทศดังกล่าว จึงเป็นกรณีที่โจทก์ประกอบกิจการซื้อขายสินค้าในประเทศไทยด้วยตนเองมิได้เป็นลูกจ้างผู้ทำการแทนหรือผู้ทำการติดต่อให้บริษัทผู้ขายในต่างประเทศ โจทก์จึงไม่มีหน้าทีและความรับผิดในการยื่นรายการ และเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ การซื้อขายสินค้าระหว่างโจทก์กับบริษัทในต่างประเทศ ซึ่งไม่ได้ทำสัญญาตั้งผู้แทนจำหน่าย จึงเป็นกรณีที่โจทก์มิได้ทำการแทนหรือทำการติดต่อให้บริษัทดังกล่าว โจทก์จึงมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการและเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลแทนบริษัทต่างประเทศตามประมวลรัษฎากร มาตรา 76 ทวิ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1945/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบอกเลิกสัญญาค้ำประกันมีผลทันทีเมื่อเจ้าหนี้ได้รับแจ้ง และจำเลยไม่ต้องรับผิดในหนี้ที่เกิดขึ้นภายหลัง
การค้ำประกันการทำงานของ ณ. ที่จำเลยทำไว้ต่อโจทก์เป็นการค้ำประกันเพื่อกิจการเนื่องกันไปหลายคราว เมื่อจำเลยได้ส่งหนังสือบอกเลิกสัญญาค้ำประกันไปยังโจทก์ที่สำนักงานของโจทก์ โดยณ. ในฐานะผู้จัดการของโจทก์ลงลายมือชื่อรับไว้ตั้งแต่วันที่3 กันยายน 2530 ถือว่าการบอกเลิกสัญญาค้ำประกันมีผลทันที โดยไม่จำต้องให้ที่ประชุมคณะกรรมการดำเนินการของโจทก์อนุมัติก่อนฉะนั้นการที่ ณ.เบียดบังเอาเงินของโจทก์ไปเมื่อวันที่ 30 กันยายน2530 และวันที่ 30 ตุลาคม 2530 เป็นวันหลังจากวันที่จำเลยพ้นจากการเป็นผู้ค้ำประกันแล้ว จำเลยจึงไม่ต้องรับผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1907/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เช็คไม่มีมูลหนี้เนื่องจากสัญญาเลิกกันโดยปริยาย สิทธิฟ้องอาญาจึงระงับ
จำเลยที่ 1 ออกเช็คตามฟ้องให้โจทก์เป็นมัดจำในการว่าจ้างช่วงให้โจทก์ทำเฟอร์นิเจอร์แก่ อ. เช็คตามฟ้องจึงมีมูลหนี้ แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำงานตามสัญญาจ้างระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1ไปแล้วหรือไม่เพียงใด อ. ก็ได้ตกลงว่าจ้างโจทก์ทำเฟอร์นิเจอร์แก่ อ. เสียเอง ซึ่งจำเลยที่ 1 มิได้ทักท้วงอย่างใด ถือได้ว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้เลิกสัญญากันโดยปริยาย เมื่อไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ทำงานตามสัญญาให้แก่จำเลยที่ 1 แล้วหรือไม่ และฝ่ายใดเป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงต้องคืนมัดจำแก่จำเลยที่ 1หนี้ที่จำเลยที่ 1 ได้ออกเช็คเพื่อใช้เงินจึงสิ้นผลผูกพันไปก่อนศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ซึ่งพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 7 ให้ถือว่าคดีเลิกกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา และเป็นกฎหมายที่บัญญัติในภายหลังเป็นคุณแก่ผู้กระทำผิดมากกว่าพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497 มาตรา 5 ที่ใช้ในการกระทำความผิดจึงต้องใช้พระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็คพ.ศ. 2534 มาตรา 7 บังคับแก่กรณีนี้ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3โดยถือว่าคดีเลิกกัน สิทธินำคดีอาญามาฟ้องของโจทก์ย่อมระงับไปตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39(3)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1823/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดการมรดกไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้จัดการมรดกยักย้ายทรัพย์สินและถูกกำจัดมิให้รับมรดก
แม้ผู้จัดการมรดกได้โอนกรรมสิทธิ์ที่ดินมรดกมาเป็นของตนก่อนถูกฟ้องคดีถึง 7 ปี เศษแล้วก็ตาม ก็เป็นเรื่องดำเนินการในฐานะผู้จัดการมรดก หาใช่การจัดการแบ่งปันทรัพย์มรดกตามที่กฎหมายกำหนดไว้ไม่ เมื่อไม่ปรากฏว่าหลังจากศาลตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้วได้มีการแบ่งมรดกให้แก่ทายาทแต่อย่างใด จึงถือได้ว่าผู้จัดการมรดกได้ครอบครองทรัพย์มรดกทั้งหมดไว้แทนทายาทการจัดการมรดกยังไม่เสร็จสิ้น ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 ผู้จัดการมรดกมีหน้าที่ต้องจัดการแบ่งปันตามส่วนสัดของทรัพย์มรดกทั้งหมดแก่ทายาทตามกฎหมาย เว้นแต่ทายาทจะตกลงยินยอมกันการที่ผู้จัดการทรัพย์มรดกโอนที่ดินพิพาทอันเป็นทรัพย์มรดกเป็นของตนทั้งหมด และภายหลังโอนยกให้โดยเสน่หาแก่บุตรของผู้จัดการมรดกซึ่งเป็นทายาทคนหนึ่ง โดยไม่ยอมแบ่งปันแก่บุตรต่างบิดาซึ่งเป็นทายาทของเจ้ามรดก ทั้งที่ผู้จัดการมรดกทราบดีว่าเจ้ามรดกมีบุตรกี่คนแสดงให้เห็นว่าผู้จัดการมรดกมีพฤติการณ์ยักย้ายถ่ายเททรัพย์มรดกมากกว่าส่วนที่ตนจะได้ จึงถูกกำจัดมิให้ได้รับมรดกของเจ้ามรดกเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1605 วรรคแรก จำเลยที่ 1 ไม่ได้ยกประเด็นเรื่องฟ้องเคลือบคลุมเป็นข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การ แม้จำเลยที่ 2 ได้ให้การไว้ว่าฟ้องโจทก์เคลือบคลุมแต่ในชั้นชี้สองสถานศาลมิได้กำหนดไว้เป็นประเด็นข้อพิพาทจึงถือว่าจำเลยที่ 2 สละประเด็นข้อต่อสู้ดังกล่าวแล้ว ฎีกาของจำเลยทั้งสองในประเด็นนี้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวกันมาแล้วตั้งแต่ศาลชั้นต้นอีกทั้งไม่ใช่ปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีการค้าจากประกาศผลักภาระให้ผู้ส่งออก และดอกเบี้ยตามประมวลรัษฎากร
โจทก์เป็นผู้ผลิตน้ำตาลทรายดิบและน้ำตาลทรายขาวออกจำหน่ายจึงเป็นผู้ประกอบการค้า และน้ำตาลทรายดิบเป็นสินค้าที่ระบุไว้ในบัญชีไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้า โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกรณีการขายน้ำตาลทรายดิบให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้า แม้ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าแต่เมื่อมีประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออก เท่ากับเป็นการเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตมาเป็นผู้ส่งออกจึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าและภาษีรายได้ส่วนท้องถิ่นให้แก่โจทก์ จังหวัดจำเลยที่ 2 เป็นเพียงหน่วยงานที่บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในส่วนภูมิภาค การจัดเก็บภาษีอากรเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 โดยตรง จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคืนเงินโจทก์ ปัญหานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ มาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้ผู้รับเงินภาษีอากรคืนได้ดอกเบี้ยด้วยโดยไม่คิดทบต้น แต่มิให้เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงิน เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องวันที่ 26 พฤษภาคม 2524 ต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 27สิงหาคม 2524 เป็นต้นไป ให้จำเลยรับผิดดอกเบี้ยไม่เกินจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ วรรคสอง