พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนเงินภาษีการค้าจากประกาศผลักภาระให้ผู้ส่งออก และดอกเบี้ยตามประมวลรัษฎากร
โจทก์เป็นผู้ผลิตน้ำตาลทรายดิบและน้ำตาลทรายขาวออกจำหน่ายจึงเป็นผู้ประกอบการค้า และน้ำตาลทรายดิบเป็นสินค้าที่ระบุไว้ในบัญชีไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้า โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกรณีการขายน้ำตาลทรายดิบให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้า แม้ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าแต่เมื่อมีประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออก เท่ากับเป็นการเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตมาเป็นผู้ส่งออกจึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าและภาษีรายได้ส่วนท้องถิ่นให้แก่โจทก์ จังหวัดจำเลยที่ 2 เป็นเพียงหน่วยงานที่บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในส่วนภูมิภาค การจัดเก็บภาษีอากรเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1 โดยตรง จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคืนเงินโจทก์ ปัญหานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้ มาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้ผู้รับเงินภาษีอากรคืนได้ดอกเบี้ยด้วยโดยไม่คิดทบต้น แต่มิให้เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงิน เมื่อโจทก์ยื่นคำร้องวันที่ 26 พฤษภาคม 2524 ต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 27สิงหาคม 2524 เป็นต้นไป ให้จำเลยรับผิดดอกเบี้ยไม่เกินจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1558/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคืนภาษีการค้าจากผลักภาระภาษี การคิดดอกเบี้ย และอำนาจฟ้องของหน่วยงาน
โจทก์เป็นผู้ผลิตน้ำตาลทรายดิบและน้ำตาลทรายขาวออกจำหน่ายจึงเป็นผู้ประกอบการค้า และน้ำตาลทรายดิบเป็นสินค้าที่ระบุไว้ในบัญชีไม่ได้รับยกเว้นภาษีการค้า โจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกรณีการขายน้ำตาลทรายดิบให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้า แม้ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า แต่เมื่อมีประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออก เท่ากับเป็นการเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตมาเป็นผู้ส่งออก จึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าและภาษีรายได้ส่วนท้องถิ่นให้แก่โจทก์
จังหวัดจำเลยที่ 2 เป็นเพียงหน่วยงานที่บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในส่วนภูมิภาค การจัดเก็บภาษีอากรเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1โดยตรง จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคืนเงินโจทก์ ปัญหานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
มาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้ผู้รับเงินภาษีอากร-คืนได้ดอกเบี้ยด้วยโดยไม่คิดทบต้น แต่มิให้เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินเมื่อโจทก์ยื่นคำร้องวันที่ 26 พฤษภาคม 2524 ต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 27สิงหาคม 2524 เป็นต้นไป ให้จำเลยรับผิดดอกเบียไม่เกินจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ วรรคสอง
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากรกรณีการขายน้ำตาลทรายดิบให้ผู้ส่งออกเป็นผู้เสียภาษีการค้า แม้ว่าโจทก์มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้า แต่เมื่อมีประกาศผลักภาระการเสียภาษีให้แก่ผู้ส่งออก เท่ากับเป็นการเปลี่ยนตัวผู้เสียภาษีการค้าจากผู้ผลิตมาเป็นผู้ส่งออก จึงต้องคืนเงินค่าภาษีการค้า เงินเพิ่มภาษีการค้าและภาษีรายได้ส่วนท้องถิ่นให้แก่โจทก์
จังหวัดจำเลยที่ 2 เป็นเพียงหน่วยงานที่บังคับบัญชาเจ้าหน้าที่ของจำเลยที่ 1 ในส่วนภูมิภาค การจัดเก็บภาษีอากรเป็นหน้าที่ของจำเลยที่ 1โดยตรง จำเลยที่ 2 ไม่ต้องรับผิดคืนเงินโจทก์ ปัญหานี้เป็นเรื่องเกี่ยวกับอำนาจฟ้องซึ่งเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้จำเลยที่ 2 จะมิได้อุทธรณ์ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
มาตรา 4 ทศ แห่งประมวลรัษฎากร บัญญัติให้ผู้รับเงินภาษีอากร-คืนได้ดอกเบี้ยด้วยโดยไม่คิดทบต้น แต่มิให้เกินจำนวนเงินภาษีอากรที่ได้รับคืน เริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันถัดจากวันครบระยะเวลาสามเดือน นับแต่วันยื่นคำร้องขอคืนเงินเมื่อโจทก์ยื่นคำร้องวันที่ 26 พฤษภาคม 2524 ต้องเริ่มคิดดอกเบี้ยตั้งแต่วันที่ 27สิงหาคม 2524 เป็นต้นไป ให้จำเลยรับผิดดอกเบียไม่เกินจำนวนเงินภาษีที่โจทก์ได้รับคืนตามมาตรา 4 ทศ วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1520/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดสรรที่ดินเป็นภารจำยอม, การใช้ภารจำยอมเกินขอบเขต, สิทธิเจ้าของภารยทรัพย์, การรื้อถอนกำแพง
การที่จำเลยแบ่งแยกที่ดินแปลงใหญ่ออกเป็นแปลงย่อย ปลูกสร้างตึกแถวออกจำหน่ายถึง 60 แปลง และจัดให้มีการทำถนนออกสู่ถนนเพชรบุรีตัดใหม่ และถนนอโศก-ดินแดง โดยจัดสร้างขึ้นพร้อม ๆกับการสร้างตึกแถวขายเพื่อประโยชน์ของผู้ซื้อตึกแถวเป็นการจัดจำหน่ายที่ดินติดต่อกันเป็นแปลงย่อยมีจำนวนตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปซึ่งนาง ศ. กับพวกได้ซื้อตึกแถว 1 ห้อง และได้ขายให้โจทก์ภายหลังการกระทำของจำเลยจึงเป็นการแสดงออกโดยปริยายว่าจำเลยได้จัดให้มีสาธารณูปโภค อันถือได้ว่าเป็นการจัดสรรที่ดินตามประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ข้อ 30 การที่จำเลยจะขออนุญาตจัดสรรที่ดินหรือไม่ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งต่างหาก อันเป็นการฝ่าฝืนประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 286 ก็ไม่ทำให้การดำเนินการของจำเลยไม่เป็นการจัดสรรที่ดินตามกฎหมาย ดังนั้น ถนนคอนกรีตหน้าตึกแถวของโจทก์ซึ่งเป็นของจำเลยจึงเป็นภารจำยอมแก่ที่ดินและตึกแถวของโจทก์ จำเลยหามีสิทธิปิดกั้นไม่ การที่โจทก์รื้อกำแพงของจำเลยด้านหลังตึกแถวโจทก์ออกและยอมให้บริษัท ง. จำกัด ใช้ถนนที่เป็นภารจำยอมโดยให้รถยนต์แล่นทะลุผ่านตึกแถวชั้นล่างของโจทก์เข้าออกถนนสาธารณะ ทำให้จำเลยซึ่งเป็นเจ้าของภารยทรัพย์ต้องรับภาระมากเกินควรกว่าปกติต้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1388 แต่ก็ไม่เป็นเหตุที่จะให้จำเลยปิดกั้นถนนภารจำยอมดังกล่าวได้ จำเลยคงมีสิทธิห้ามบุคคลอื่นใช้หรือเรียกค่าเสียหายหากเกิดมีขึ้นเท่านั้น ดังนั้นจำเลยจึงมีสิทธิที่จะให้โจทก์ก่อสร้างกำแพงของจำเลยตามเดิม เพื่อมิให้บุคคลอื่นใช้ถนนพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1510/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเชิดตัวแทนทางกฎหมาย: นิติบุคคลเป็นตัวแทนเชิดของบุคคลธรรมดาได้ และบุคคลธรรมดาต้องรับผิดชอบในการกระทำของตัวแทน
การที่บุคคลผู้ใดเชิดบุคคลอีกคนหนึ่งออกแสดงเป็นตัวแทนของตนบุคคลนั้นต้องรับผิดต่อบุคคลภายนอกผู้สุจริตเสมือนว่าบุคคลอีกคนหนึ่งนั้นเป็นตัวแทนของตน ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 821 และบุคคลที่เป็นตัวแทนเชิดได้หาจำต้องเฉพาะแต่บุคคลธรรมดาเท่านั้นไม่ เพราะแม้แต่การตั้งตัวแทนทั่วไป นิติบุคคลโดยผู้มีอำนาจกระทำการแทนย่อมเป็นตัวแทนได้ เพราะนิติบุคคลย่อมมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับบุคคลธรรมดาเว้นแต่สิทธิและหน้าที่ซึ่งโดยสภาพจะพึงมีพึงเป็นได้เฉพาะแก่บุคคลธรรมดาเท่านั้น และความประสงค์ของนิติบุคคลย่อมแสดงออกโดยผู้แทนของนิติบุคคล เมื่อ ช. เป็นผู้แทนของนิติบุคคลทั้งหลายที่ใช้ติดต่อค้าขายกับจำเลยแสดงว่านิติบุคคลเหล่านั้นเป็นเพียงตัวแทนเชิดของ ช.ซึ่งช. เป็นตัวการและเป็นเจ้าของลูกเดือยพิพาทเมื่อช.ยกกรรมสิทธิ์ในลูกเดือยพิพาทให้แก่จำเลย เพื่อนำออกจำหน่ายชำระค่าเสียหายในกรณีที่ ช.ในนามของบริษัท ม. ผิดสัญญาบอกเลิกการซื้อข้าวสารกับจำเลยจำเลยจึงมีสิทธิในลูกเดือยพิพาท โจทก์ซึ่งเป็นเพียงตัวแทนเชิดของช.จึงไม่สามารถอ้างสิทธิตามสัญญาซื้อขายลูกเดือย ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1499/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีอากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย และความรับผิดของตัวการต่อการกระทำของตัวแทน
จำเลยที่ 2 หุ้นส่วนผู้จัดการจำเลยที่ 1 อ้างตนเองเป็นพยานเบิกความโดยไม่มีพยานหลักฐานอื่นมานำสืบสนับสนุน ส่วนโจทก์มี อ.และ ส. เบิกความเกี่ยวกับสินค้าของจำเลยถูกต้องตรงกันว่าสินค้าพิพาทของจำเลยที่ 1 ไม่ใช่เศษผ้าต้องชำระอากรในประเภทพิกัด60.01 พยานโจทก์ดังกล่าวเป็นเจ้าพนักงานซึ่งปฏิบัติตามหน้าที่ไม่มีเหตุระแวงสงสัยว่าจะกลั่นแกล้งเบิกความปรักปรำจำเลยโดยปราศจากความจริง พยานหลักฐานโจทก์จึงมีน้ำหนักในการรับฟังมากกว่าพยานจำเลย การกระทำของตัวแทนที่กระทำไปภายในขอบอำนาจแห่งฐานการเป็นตัวแทน จำเลยที่ 1 ตัวการต้องรับผิดจะอ้างไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมร่วม: เจตนา ยกทรัพย์สินให้กัน และการเป็นพยานในพินัยกรรม
พินัยกรรมที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำร่วมกันในฉบับเดียวซึ่งสาระสำคัญของข้อกำหนดพินัยกรรมข้อ (ก) เป็นกรณีที่ผู้ร้องกับผู้ตายแสดงเจตนาไว้ว่า หากผู้ร้องหรือผู้ตายคนใดคนหนึ่งถึงแก่ความตายไปก่อน ให้ทรัพย์สินของผู้ที่ถึงแก่ความตายไปก่อนตกเป็นสินส่วนตัวของผู้ทำพินัยกรรมที่ยังมีชีวิตอยู่แต่เพียงผู้เดียวและให้เป็นผู้มีสิทธิและหน้าที่รวบรวมเก็บรักษาจัดจำหน่ายหรือแบ่งปัน และยกทรัพย์สินดังกล่าวให้แก่บุคคลใดก็ได้ตามแต่เจ้าของพินัยกรรมผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่ จะเห็นสมควรภายใต้ข้อกำหนดซึ่งระบุไว้ในข้อ (ข) แสดงว่าผู้ร้องและผู้ตายมีเจตนาที่จะยกทรัพย์สินให้แก่อีกฝ่ายหนึ่งหากว่าฝ่ายใดถึงแก่ความตายไปก่อน เพียงแต่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินที่ได้ตามพินัยกรรมให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในข้อ (ข) โดยให้ผู้รับพินัยกรรมกำหนดให้มากน้อยเท่าใดตามแต่ใจ กรณีถือได้ว่าเงื่อนไขนั้นเป็นอันไม่มีเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1707 ข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนที่ผู้ตายยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องจึงยังคงสมบูรณ์ใช้บังคับได้ มิใช่กรณีที่กำหนดให้ผู้ทำพินัยกรรมที่มีชีวิตอยู่กำหนดทรัพย์สินให้แก่ทายาทมากน้อยตามแต่ใจตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1706(3) แต่อย่างใด การที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำพินัยกรรมในฉบับเดียวกัน ต่างยกทรัพย์สินให้แก่กันและกัน เมื่อพินัยกรรมดังกล่าวได้ทำเป็นหนังสือลงวันเดือนปีในขณะที่ทำขึ้น และผู้ทำพินัยกรรมลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ในขณะนั้น จึงเข้าแบบพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 แม้ผู้ร้องกับผู้ตายจะทำพินัยกรรมในเอกสารฉบับเดียวกันก็ไม่ผิดแบบแต่อย่างใดและมิใช่การพนันขันต่อเพราะเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์มรดกของตนเองหรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลบังคับได้ตามกฎหมายในเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายก่อนตามมาตรา 1646 การที่บุคคลจะเป็นผู้เขียนหรือเป็นพยานในพินัยกรรมนั้นประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671 บัญญัติว่า บุคคลนั้นต้องลงลายมือชื่อของตนทั้งระบุว่าเป็นผู้เขียนหรือเป็นพยานไว้ต่อท้ายลายมือชื่อของตนด้วย ดังนั้น เมื่อผู้ร้องลงลายมือชื่อในฐานะผู้ทำพินัยกรรมไม่มีข้อความว่าเป็นพยาน จึงจะถือว่าเป็นพยานในพินัยกรรมด้วยไม่ได้ พินัยกรรมจึงหาเป็นโมฆะด้วยเหตุที่ผู้ร้องจะเป็นพยานในพินัยกรรมไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมร่วม เงื่อนไขจำหน่ายทรัพย์ และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
การที่ผู้ร้องร่วมกับผู้ตายทำพินัยกรรมในฉบับเดียวกันแสดงเจตนาที่จะยกทรัพย์สินให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง หากว่าฝ่ายใดถึงแก่ความตายไปก่อน เพียงแต่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินที่ได้ตามพินัยกรรมให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม โดยให้ผู้รับพินัยกรรมกำหนดให้มากน้อยเท่าใดตามแต่ใจ กรณีจึงถือได้ว่าเงื่อนไขดังกล่าวนั้นเป็นอันไม่มีเลยตาม ป.พ.พ. มาตรา 1707 มิใช่กรณีตามมาตรา1706 (3) ดังนี้ ข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนที่ผู้ตายยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องยังคงสมบูรณ์ใช้บังคับได้หาเป็นโมฆะไม่
พินัยกรรมที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำเป็นหนังสือลงวันเดือนปีในขณะที่ทำขึ้นและผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ขณะนั้น จึงเข้าแบบพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ผู้ร้องกับผู้ตายจะทำพินัยกรรมในเอกสารฉบับเดียวกันก็ไม่ผิดแบบแต่อย่างใด และก็มิไช่การพนันขันต่อเพราะเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์มรดกของตนเองหรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลได้ตามกฎหมายในเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646
เมื่อผู้ร้องลงชื่อในฐานะผู้ทำพินัยกรรม มิได้ลงชื่อในฐานะพยานทั้งมิได้มีข้อความระบุว่าเป็นพยานต่อท้ายลายมือชื่อของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1671วรรคหนึ่ง กรณีจึงไม่อาจถือว่าผู้ร้องเป็นพยานในพินัยกรรม ดังนั้น พินัยกรรมหาได้ตกเป็นโมฆะตาม มาตรา 1653 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย มาตรา 1 05 ไม่
แม้ผู้ร้องจะมีอายุมากแล้ว และเคยเข้ารับการรักษาตัวที่โรง-พยาบาล แต่ปรากฏว่าผู้ร้องมีสติสัมปชัญญะดี มีความรู้สึกผิดชอบ มีความสามารถที่จะดำเนินการทำนิติกรรมใด ๆ ได้ และผู้ร้องก็ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 ทั้งผู้ร้องก็เป็นทายาทโดยพินัยกรรมตาม มาตรา 1603 วรรคสาม ได้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตาย เท่ากับผู้ตายตัดมิให้ผู้คัดค้านได้รับมรดกของตน แม้ผู้คัดค้านจะมีสิทธิในสินสมรสร่วมกับผู้ตายและเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตาม แต่ผู้คัดค้านไปอยู่กินฉันสามีภรรยากับชายอื่นขณะที่ยังไม่ขาดจากการสมรสกับผู้ตาย ตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่สมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
พินัยกรรมที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำเป็นหนังสือลงวันเดือนปีในขณะที่ทำขึ้นและผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ขณะนั้น จึงเข้าแบบพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง ดังนั้น แม้ผู้ร้องกับผู้ตายจะทำพินัยกรรมในเอกสารฉบับเดียวกันก็ไม่ผิดแบบแต่อย่างใด และก็มิไช่การพนันขันต่อเพราะเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์มรดกของตนเองหรือในการต่าง ๆ อันจะให้เกิดเป็นผลได้ตามกฎหมายในเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายก่อนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1646
เมื่อผู้ร้องลงชื่อในฐานะผู้ทำพินัยกรรม มิได้ลงชื่อในฐานะพยานทั้งมิได้มีข้อความระบุว่าเป็นพยานต่อท้ายลายมือชื่อของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 1671วรรคหนึ่ง กรณีจึงไม่อาจถือว่าผู้ร้องเป็นพยานในพินัยกรรม ดังนั้น พินัยกรรมหาได้ตกเป็นโมฆะตาม มาตรา 1653 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย มาตรา 1 05 ไม่
แม้ผู้ร้องจะมีอายุมากแล้ว และเคยเข้ารับการรักษาตัวที่โรง-พยาบาล แต่ปรากฏว่าผู้ร้องมีสติสัมปชัญญะดี มีความรู้สึกผิดชอบ มีความสามารถที่จะดำเนินการทำนิติกรรมใด ๆ ได้ และผู้ร้องก็ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 171 ทั้งผู้ร้องก็เป็นทายาทโดยพินัยกรรมตาม มาตรา 1603 วรรคสาม ได้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตาย เท่ากับผู้ตายตัดมิให้ผู้คัดค้านได้รับมรดกของตน แม้ผู้คัดค้านจะมีสิทธิในสินสมรสร่วมกับผู้ตายและเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตาม แต่ผู้คัดค้านไปอยู่กินฉันสามีภรรยากับชายอื่นขณะที่ยังไม่ขาดจากการสมรสกับผู้ตาย ตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่สมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
พินัยกรรมร่วม เงื่อนไขการโอนมรดก และการแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
การที่ผู้ร้องร่วมกับผู้ตายทำพินัยกรรมในฉบับเดียวกันแสดงเจตนาที่จะยกทรัพย์สินให้แก่อีกฝ่ายหนึ่ง หากว่าฝ่ายใดถึงแก่ความตายไปก่อน เพียงแต่กำหนดเงื่อนไขให้ผู้รับพินัยกรรมจำหน่ายทรัพย์สินที่ได้ตามพินัยกรรมให้แก่บุคคลตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรม โดยให้ผู้รับพินัยกรรมกำหนดให้มากน้อยเท่าใดตามแต่ใจ กรณีจึงถือได้ว่าเงื่อนไขดังกล่าวนั้นเป็นอันไม่มีเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1707 มิใช่กรณีตามมาตรา 1706(3) ดังนี้ ข้อกำหนดพินัยกรรมในส่วนที่ผู้ตายยกทรัพย์สินให้แก่ผู้ร้องยังคงสมบูรณ์ใช้บังคับได้หาเป็นโมฆะไม่ พินัยกรรมที่ผู้ร้องกับผู้ตายทำเป็นหนังสือลงวันเดือนปีในขณะที่ทำขึ้นและผู้ทำพินัยกรรมได้ลงลายมือชื่อไว้ต่อหน้าพยานอย่างน้อยสองคนพร้อมกัน ซึ่งพยานสองคนได้ลงลายมือชื่อรับรองลายมือชื่อผู้ทำพินัยกรรมไว้ขณะนั้น จึงเข้าแบบพินัยกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1656 วรรคหนึ่ง ดังนั้นแม้ผู้ร้องกับผู้ตายจะทำพินัยกรรมในเอกสารฉบับเดียวกันก็ไม่ผิดแบบแต่อย่างใด และก็มิใช่การพนันขันต่อเพราะเป็นการแสดงเจตนากำหนดการเผื่อตายในเรื่องทรัพย์มรดกของตนเองหรือในการต่าง ๆอันจะให้เกิดเป็นผลได้ตามกฎหมายในเมื่อฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตายก่อนตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1646 เมื่อผู้ร้องลงชื่อในฐานะผู้ทำพินัยกรรม มิได้ลงชื่อในฐานะพยานทั้งมิได้มีข้อความระบุว่าเป็นพยานต่อท้ายลายมือชื่อของตนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1671 วรรคหนึ่ง กรณีจึงไม่อาจถือว่าผู้ร้องเป็นพยานในพินัยกรรม ดังนั้น พินัยกรรมหาได้ตกเป็นโมฆะตาม มาตรา 1653 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย มาตรา 1705 ไม่ แม้ผู้ร้องจะมีอายุมากแล้ว และเคยเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล แต่ปรากฏว่าผู้ร้องมีสติสัมปชัญญะดี มีความรู้สึกผิดชอบ มีความสามารถที่จะดำเนินการทำนิติกรรมใด ๆ ได้ และผู้ร้องก็ไม่เป็นบุคคลต้องห้ามมิให้เป็นผู้จัดการมรดกตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1718 ทั้งผู้ร้องก็เป็นทายาทโดยพินัยกรรมตาม มาตรา 1603 วรรคสาม ได้รับมรดกทั้งหมดของผู้ตาย เท่ากับผู้ตายตัดมิให้ผู้คัดค้านได้รับมรดกของตนแม้ผู้คัดค้านจะมีสิทธิในสินสมรสร่วมกับผู้ตายและเป็นภรรยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตายก็ตาม แต่ผู้คัดค้านไปอยู่กินฉันสามีภรรยากับชายอื่นขณะที่ยังไม่ขาดจากการสมรสกับผู้ตาย ตามพฤติการณ์แห่งคดีจึงไม่สมควรตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1408/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตัวเกินสมควรแก่เหตุ การแทงเพื่อป้องกันตัวจากขาโต๊ะ ศาลลดโทษตามมาตรา 69
จำเลยแทงผู้ตายเพราะผู้ตายใช้ขาโต๊ะตีจำเลยก่อน แต่ไม่ถูกและผู้ตายจะตีซ้ำ การกระทำของจำเลยเป็นการป้องกัน แต่การที่ผู้ตายใช้เพียงขาโต๊ะทำร้ายจำเลย จำเลยสามารถหยุดยั้งผู้ตายด้วยวิธีการอื่นได้ แต่ไม่กระทำ กลับใช้มีดแทงผู้ตายทันทีที่บริเวณหน้าอกอันเป็นอวัยวะสำคัญ การกระทำของจำเลยจึงเป็นการเกินสมควรแก่เหตุ ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยน้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดนั้นเพียงใดก็ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 69
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1381/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยึดทรัพย์และการบุกรุก: สิทธิเจ้าหนี้ในการเข้ายึดทรัพย์ในบ้านเช่าของผู้เช่าและลูกหนี้ร่วม
การที่จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของสามีโจทก์กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นสามีจำเลยที่ 1 ในฐานะเป็นผู้มีส่วนได้เสียในหนี้สินที่สามีโจทก์ต่อจำเลยที่ 1ไปตามช่างกุญแจมาไขประตูบ้านที่โจทก์เช่าเพื่อยึดทรัพย์ของสามีโจทก์ โดยความรู้เห็นยินยอมของเจ้าพนักงานบังคับคดีซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 279 วรรคสองบัญญัติให้เจ้าพนักงานบังคับคดีมีอำนาจกระทำการตามสมควรเพื่อเปิดสถานที่หรือบ้านที่อยู่ของลูกหนี้หรือที่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาได้ปกครองอยู่ได้ ดังนี้แม้สามีโจทก์จะไม่ได้เป็นผู้เช่า แต่เมื่ออยู่ในบ้านที่เช่าด้วยก็เท่ากับปกครองบ้านหลังดังกล่าวร่วมกับโจทก์ด้วย จำเลยทั้งสองย่อมมีสิทธิยึดทรัพย์ของสามีโจทก์ในบ้านดังกล่าวได้ ไม่เป็นความผิดฐานบุกรุก และการที่จำเลยที่ 1 ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าพนักงานบังคับคดีให้เป็นผู้รักษาทรัพย์ที่ถูกยึดนำลูกกุญแจลูกใหม่มาใช่ประตูบ้าน หลังจากที่เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการยึดทรัพย์ไว้แล้วทำให้โจทก์เข้าบ้านไม่ได้นั้นเมื่อปรากฏว่าโจทก์ไม่ได้อยู่บ้านถึง 7 เดือนแล้ว การกระทำดังกล่าวจึงเป็นการกระทำเพื่อป้องกันมิให้ทรัพย์ที่ถูกยึดสูญหาย จึงไม่เป็นการรบกวนการครอบครองของโจทก์