คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวรรณ ตระการพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2452/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าจากสินค้าขาดบัญชีและการหักอัตราความสูญเสียในการผลิต
เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีการค้าแก่โจทก์โจทก์อุทธรณ์การประเมินภาษีทั้งสองประเภทโดยในปัญหาสินค้าขาดจากบัญชีคุมสินค้านั้นโจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินมิได้ไปทำการตรวจสอบสินค้าและบัญชีคุมสินค้าที่สำนักงานของโจทก์เพียงแต่ตรวจบัญชีของบริษัทและพบว่ามีสินค้าขาดไปโจทก์มิได้มีเจตนาที่จะทำให้บัญชีไม่ตรงเช่นนั้นการอุทธรณ์เช่นนี้แม้จะขาดเหตุผลในรายละเอียดของสินค้าขาดบัญชีและผู้อุทธรณ์ขอให้ลดเบี้ยปรับเท่านั้นก็ถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแล้วโจทก์จึงชอบที่จะฟ้องคดีโดยอ้างเหตุผลคัดค้านการประเมินเพิ่มเติมจากที่อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ดอกเบี้ยค้างจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี2526แม้โจทก์จะได้รับแจ้งให้ชำระในรอบระยะเวลาบัญชีปี2527โจทก์ก็ต้องนำมาคำนวณหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี2526การที่โจทก์นำมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี2527จึงต้องห้ามตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ตรี(9) กรณีที่ให้ถือว่าสินค้าขาดจากบัญชีคุมสินค้าเป็นการขายสินค้าและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับตามประมวลรัษฎากรมาตรา79ทวิ(6)นั้นเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่ภาษีการค้าไม่มีบทบัญญัติให้นำไปใช้ในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินให้ถือว่าสินค้าที่ขาดจากบัญชีคุมสินค้าเป็นการขายเพื่อถือเป็นเงินได้ในการคำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กระบวนการบังคับคดีและการดำเนินคดีในชั้นร้องขัดทรัพย์: การขาดนัดยื่นคำให้การและการทิ้งฟ้อง
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกง นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยขายทอดตลาดเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษา การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาชั้นร้องขัดทรัพย์ซึ่ง ป.วิ.พ. มาตรา 288 วรรคสอง ให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดา โดยโจทก์ร่วมมีฐานะเป็นจำเลย โจทก์หาใช่ผู้ร้องขอให้บังคับคดีจึงไม่มีฐานะเป็นจำเลย ดังนั้น แม้ศาลจะมีคำสั่งในคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ให้โจทก์ให้การแก้คดี แต่เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งมีฐานะเป็นจำเลยได้ให้การแก้คดีแล้ว จึงมิใช่กรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคแรก ผู้ร้องในฐานะโจทก์ไม่จำต้องยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่า โจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การ ศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 198 วรรคสอง หาได้ไม่
การที่ศาลมีคำสั่งในคำให้การโจทก์ร่วมแต่เพียงว่า "รอฟังโจทก์จำเลยก่อน" เท่านั้น มิได้กำหนดให้ผู้ร้องดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรและได้ส่งคำสั่งโดยชอบ จะถือว่าผู้ร้องทิ้งฟ้องและจำหน่ายคดีตาม ป.วิ.พ.มาตรา 132 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1900/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องขัดทรัพย์บังคับคดี: สถานะคู่ความ, การขาดนัดยื่นคำให้การ, และการจำหน่ายคดี
โจทก์ร่วมซึ่งเป็นผู้เสียหายในความผิดฐานฉ้อโกงนำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดทรัพย์สินของจำเลยขายทอดตลาดเพื่อบังคับชำระหนี้ตามคำพิพากษาการที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาขั้นร้องขัดทรัพย์ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา288วรรคสองให้ศาลพิจารณาและชี้ขาดคดีเหมือนอย่างคดีธรรมดาโดยโจทก์ร่วมมีฐานะเป็นจำเลยโจทก์หาใช่ผู้ร้องขอให้บังคับคดีจึงไม่มีฐานะเป็นจำเลยดังนั้นแม้ศาลจะมีคำสั่งในคำร้องขอให้ปล่อยทรัพย์ให้โจทก์ให้การแก้คดีแต่เมื่อโจทก์ร่วมซึ่งมีฐานะเป็นจำเลยได้ให้การแก้คดีแล้วจึงมิใช่กรณีที่จำเลยขาดนัดยื่นคำให้การตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคแรกผู้ร้องในฐานะโจทก์ไม่จำต้องยื่นคำขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์ขาดนัดยื่นคำให้การศาลจะมีคำสั่งจำหน่ายคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา198วรรคสองหาได้ไม่ การที่ศาลมีคำสั่งในคำให้การโจทก์ร่วมแต่เพียงว่า"รอฟังโจทก์จำเลยก่อน"เท่านั้นมิได้กำหนดให้ผู้ร้องดำเนินคดีภายในเวลาตามที่ศาลเห็นสมควรและได้ส่งคำสั่งโดยชอบจะถือว่าผู้ร้องทิ้งฟ้องและจำหน่ายคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา132หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพัน-ข้อยกเว้น & การรับช่วงสิทธิ
พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับจำเลยและ ว. ฐานขับรถยนต์โดยประมาท และบันทึกข้อตกลงเรื่องค่าเสียหายที่จำเลยและ ว. ตกลงกันว่าต่างคนต่างซ่อมรถเองไว้ในรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดี ข้อตกลงดังกล่าวมีลักษณะเป็นการระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันโดยการสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่จะพึงมีต่อกัน จึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นผลให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไป
เจ้าของรถที่ ว. ขับยินยอมให้ ว. แสดงออกว่าเป็นตัวแทนในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความ เจ้าของรถนั้นจึงต้องผูกพันและรับเอาผลของการที่ ว. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยมาเป็นของตน จะอ้างว่าการตั้งว. เป็นตัวแทนไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 798 ไม่ได้
หลังจาก ว. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยแล้วเจ้าของรถที่ ว. ขับกับจำเลยไปตกลงกันใหม่ในเรื่องค่าเสียหายต่อหน้าพนักงานสอบสวนว่า คู่กรณีขอไปทำความตกลงกันเอง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เจ้าของรถที่ ว. ขับนำไปเป็นหลักฐานแสดงต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยเพื่อให้โจทก์รับผิดตามสัญญาประกันภัย ข้อตกลงดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับแก่จำเลยและเจ้าของรถที่ ว. ขับและไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้ก่อนแล้ว
เมื่อมูลหนี้อันเกิดจากการละเมิดระงับไปโดยสัญญาประนีประนอมยอมความแล้ว แม้โจทก์ผู้รับประกันภัยจะชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เจ้าของรถที่เอาประกันภัยไปก็ไม่อาจเข้ารับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพัน & การระงับข้อพิพาท, ตัวแทน, และความสุจริต
จำเลยและว.ต่างขับรถยนต์โดยประมาทและต่างถูกร้อยตำรวจโทอ.พนักงานสอบสวนเปรียบเทียบปรับการที่ร้อยตำรวจโทอ.เปรียบเทียบปรับจำเลยและว. และค่าเสียหายของรถยนต์ทั้งสองคันได้มีการตกลงกันให้ต่างคนต่างซ่อมโดยขณะนั้นช. เจ้าของรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยและเป็นผู้มีส่วนได้เสียโดยตรงเกี่ยวกับรถยนต์ที่มีการชนกันไม่ได้คัดค้านแสดงว่าเหตุที่รถยนต์ทั้งสองคันชนกันเกิดจากความประมาทของจำเลยและว. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันจึงได้มีการตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันโดยการสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่จะพึงมีต่อกันข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความและเป็นผลให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไป การที่ช. ยินยอมให้ว. ตกลงระงับข้อพิพาทในมูลละเมิดโดยการทำสัญญาประนีประนอมยอมความเท่ากับช.แสดงออกหรือยอมให้ว. แสดงออกว่าว. เป็นตัวแทนของช. ในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความช. จึงต้องผูกพันและรับเอาผลของการที่ว. ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตที่มีเหตุควรเชื่อว่าว.เป็นตัวแทนของช.ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา821โจทก์จะอ้างว่าการตั้งตัวแทนไม่ได้ทำเป็นหนังสือตามมาตรา789ไม่ได้ แม้ร้อยตำรวจโทอ. พนักงานสอบสวนเป็นผู้ทำบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีเพื่อเปรียบเทียบปรับจำเลยและว.แต่เมื่อเอกสารดังกล่าวมีข้อตกลงระหว่างคู่กรณีที่มุ่งจะระงับข้อพิพาททางแพ่งที่เกิดขึ้นแล้วซึ่งมีลักษณะเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความที่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1892/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาประนีประนอมยอมความ: ผลผูกพันคู่กรณี & การระงับข้อพิพาททางแพ่ง
โจทก์ซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยผู้รับช่วงสิทธิไม่ได้นำสืบแจ้งชัดว่าจำเลยเป็นฝ่ายขับรถยนต์โดยประมาทเลินเล่อมากกว่า ว.การที่พนักงานสอบสวนทำบันทึกรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีแม้เพียงเพื่อเปรียบเทียบปรับทั้งจำเลยและ ว. แต่เมื่อเอกสารนั้นมีข้อตกลงกันให้ต่างคนต่างซ่อมรถยนต์ที่เสียหายโดยที่ขณะนั้นเจ้าของรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไม่ได้คัดค้านแสดงว่าเหตุเกิดจากความประมาทของจำเลยและ ว. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันจึงได้มีการตกลงกันเพื่อระงับข้อพิพาทที่เกิดขึ้นให้เสร็จไปด้วยต่างยอมผ่อนผันให้แก่กันโดยการสละสิทธิเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนที่จะพึงมีต่อกันจึงเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความเป็นผลให้มูลละเมิดซึ่งมีอยู่ระงับสิ้นไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา850-852และเท่ากับเจ้าของรถยนต์แสดงออกหรือยอมให้ ว. แสดงออกว่า ว.เป็นตัวแทนในการทำสัญญาประนีประนอมยอมความกับจำเลยซึ่งเป็นบุคคลภายนอกผู้สุจริตตามมาตรา821ส่วนที่มีการทำรายงานประจำวันเกี่ยวกับคดีขึ้นอีกหนึ่งฉบับในภายหลังเมื่อจำเลยและเจ้าของรถยนต์ไม่ได้มีเจตนาที่จะผูกพันกันตามที่ทำบันทึกไว้จึงไม่มีผลบังคับและไม่กระทบกระเทือนถึงความสมบูรณ์ของสัญญาประนีประนอมยอมความที่ทำไว้ก่อนแล้วโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยให้รับผิดในมูลละเมิดที่ระงับสิ้นไปแล้วในฐานะผู้รับช่วงสิทธิได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1280/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: คดีค่าเช่าและค่าเสียหายเกินทุนทรัพย์ที่ฟ้องร้องในชั้นฎีกา
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองนำรถยนต์โดยสารเข้ามาจอดหรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่เช่าของโจทก์และขอให้ชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายในอนาคตอีกเดือนละ20,000บาทจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าเป็นเรื่องผิดสัญญาเช่ามิใช่ละเมิดโดยเดิมจำเลยที่2เคยเช่าในราคาเดือนละ10,000บาทแต่ต่อมาโจทก์ขอขึ้นค่าเช่าเป็นเดือนละ20,000บาทซึ่งสูงเกินไปจึงไม่เช่าต่อดังนั้นจุดประสงค์ของคดีคือพิพาทกันเรื่องค่าเช่าที่ค้างและเงินค่าเสียหายจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้แม้โจทก์มีคำขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองนำรถยนต์โดยสารเข้ามาจอดหรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่เช่าของโจทก์ก็ตามก็เป็นเพียงผลต่อเนื่องมาจากความประสงค์สำคัญที่ขอให้ศาลกำหนดเงินค่าเช่าและค่าเสียหายคดีจึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1280/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์พิพาทไม่เกินสองแสนบาท และการโต้แย้งดุลพินิจศาล
โจทก์ฟ้องขอให้ห้ามจำเลยทั้งสองนำรถยนต์โดยสารเข้ามาจอดหรือใช้ประโยชน์ในพื้นที่เช่าของโจทก์และขอให้ชำระค่าเสียหายพร้อมดอกเบี้ยและค่าเสียหายในอนาคตอีกเดือนละ20,000บาทจำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่าเป็นเรื่องผิดสัญญาเช่ามิใช่ละเมิดโดยเดิมจำเลยที่2เคยเช่าโดยค่าเช่าเดือนละ10,000บาทต่อมาโจทก์ขอขึ้นค่าเช่าเป็นเดือนละ20,000บาทจึงไม่เช่าต่อดังนั้นจุดประสงค์ของคดีคือพิพาทกันเรื่องค่าเช่าที่ค้างและเงินค่าเสียหายส่วนคำขอของโจทก์ที่ห้ามจำเลยทั้งสองมิให้กระทำการดังกล่าวเป็นเพียงผลต่อเนื่องมาจากความประสงค์สำคัญที่ขอให้ศาลกำหนดเงินค่าเช่าและค่าเสียหายซึ่งเป็นคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้เมื่อคดีมีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาทจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1256/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายขึ้นอยู่กับข้อเท็จจริงเรื่องกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ศาลอาญาพิพากษา
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งเจ็ดบุกรุกที่พิพาทของโจทก์ขอให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา362,365(2)และบังคับให้ขับไล่จำเลยทั้งเจ็ดและให้ร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายในส่วนคดีแพ่งถือเป็นคดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญาเมื่อศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโดยวินิจฉัยว่าพยานหลักฐานโจทก์ไม่พอฟังว่าจำเลยทั้งเจ็ดบุกรุกที่ดินโจทก์ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโดยวินิจฉัยว่าคดีฟังไม่ได้แน่ชัดว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์คดีอาญาจึงต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา220ส่วนคดีแพ่งศาลฎีกาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามมาตรา46ซึ่งเท่ากับศาลอุทธรณ์ฟังว่าที่พิพาทไม่ใช่ของโจทก์จึงฟังไม่ได้ว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งเจ็ด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโอนสิทธิเช่าและการบอกเลิกสัญญาเช่า: การบอกเลิกสัญญาเช่าที่ชอบด้วยกฎหมายหลังสิ้นสุดสัญญาเดิม
แม้สัญญาเช่าตึกแถวพิพาทระหว่างโจทก์กับ ส. จะได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่แต่ก็ไม่มีกฎหมายบังคับให้การเปลี่ยนแปลงผู้เช่าจากผู้เช่าเดิมมาเป็นผู้เช่าใหม่ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จดทะเบียนการเช่าดังกล่าวรับทราบด้วย โจทก์จำเลยและ ส. ลงลายมือชื่อรับทราบการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าตึกแถวพิพาทจาก ส. มาเป็นจำเลยถือว่าโจทก์และ ส.ได้บอกกล่าวการโอนและให้ความยินยอมการโอนสิทธิการเช่าเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306วรรคหนึ่งแล้ว แม้หนังสือเลิกการเช่าของโจทก์ที่ส่งไปยังจำเลยเป็นระยะเวลาน้อยกว่ากำหนดเวลาที่ต้องชำระค่าเช่าระยะหนึ่งซึ่งไม่ชอบด้วยมาตรา566แต่โจทก์ฟ้องคดีเมื่อเกินกว่าชั่วกำหนดเวลาดังกล่าวถือว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาเช่าโดยชอบแล้วจึงมีสิทธิฟ้องขับไล่ได้
of 65