คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวรรณ ตระการพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงและการฟ้องเคลือบคลุม ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยเรื่องดุลพินิจการรับฟังพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่ปรากฏว่าอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาว่าศาลชั้นต้นฟังพยานหลักฐานไม่ชอบนั้นเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายด้วยและอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงนั้นจึงหาถูกต้องไม่ แต่เนื่องด้วยคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ.มาตรา224 การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิวรรคท้าย จึงหาเป็นประโยชน์ไม่ ชอบที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายอื่นต่อไปทีเดียว
ที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาว่าศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบซึ่งศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้นปรากฏว่าจำเลยไม่ได้สืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงฟังข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ว่า ผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้เป็นฝ่ายประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย และกำหนดค่า-เสียหายที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ โดยอาศัยจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแม้โจทก์จะไม่ได้นำ ส.พยานอีกปากหนึ่งมาสืบด้วยก็ดี และการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนารายวันประจำวันเกี่ยวกับคดีก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันก็ตาม ก็โดยเหตุที่เป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกจึงหาต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยไม่ ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟังตามพยานหลักฐานของโจทก์จึงมิใช่การรับฟังพยานหลักฐานโดยขัดต่อกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นนั่นเอง อันเป็นข้อเท็จจริง
แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องในตอนแรกว่า จำเลยได้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากผู้มีชื่อ ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกจากการใช้รถที่ก่อความเสียหายขึ้น โดยผู้เอาประกันภัยหรือลูกจ้างหรือโดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัย ก็ตาม ก็คงเป็นการบรรยายถึงความรับผิดของจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุที่ขับไปชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยมีฐานะเช่นใด มีนิติสัมพันธ์กับผู้มีชื่อซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยอย่างไรที่จะทำให้ผู้มีชื่อจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น โดยเฉพาะผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยหรือไม่ อันทำให้จำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องร่วมรับผิดด้วย เช่นนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 172 เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม ประกันภัยรถยนต์ ต้องระบุความสัมพันธ์ผู้ขับขี่-ผู้เอาประกัน เพื่อให้จำเลยรับผิด
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้คู่ความยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ เมื่อศาลฎีกาเห็นว่าปัญหาที่คู่ความฎีกาข้อหนึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงแต่คดีนี้ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ศาลฎีกาย่อมวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายที่เหลือต่อไปได้ โดยหาต้องส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยชี้ขาดไม่ คำฟ้องของโจทก์มิได้บรรยายว่าผู้ขับรถยนต์คันที่จำเลยรับประกันภัยไว้มีฐานะและนิติสัมพันธ์กับผู้มีชื่อซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยอย่างไรที่จะทำให้ผู้มีชื่อต้องร่วมรับผิดในศาลแห่งละเมิดนั้น โดยเฉพาะผู้ขับรถยนต์ได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยหรือไม่ อันทำให้ผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องร่วมรับผิดด้วยจึงไม่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาเป็นฟ้องเคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1007/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเคลือบคลุม ความรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัย และการอุทธรณ์ปัญหาข้อเท็จจริงต่อศาลฎีกา
ศาลชั้นต้นอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา แต่ปรากฏว่าอุทธรณ์ของจำเลยในปัญหาว่าศาลชั้นต้นฟังพยานหลักฐานไม่ชอบนั้นเป็นอุทธรณ์โต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐาน ซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าปัญหาข้อนี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายด้วยและอนุญาตให้จำเลยอุทธรณ์ต่อศาลฎีกาโดยตรงนั้นจึงหาถูกต้องไม่ แต่เนื่องด้วยคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นอุทธรณ์ไม่เกินห้าหมื่นบาท ต้องห้ามอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 224 การที่ศาลฎีกาจะส่งสำนวนคืนไปให้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยตามมาตรา 223 ทวิ วรรคท้าย จึงหาเป็นประโยชน์ไม่ ชอบที่ศาลฎีกาจะได้วินิจฉัยในปัญหาข้อกฎหมายอื่นต่อไปทีเดียว ที่จำเลยอุทธรณ์ในปัญหาว่าศาลชั้นต้นรับฟังพยานหลักฐานไม่ชอบซึ่งศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้นปรากฏว่าจำเลยไม่ได้สืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงฟังข้อเท็จจริงตามทางนำสืบของโจทก์ว่าผู้ขับรถยนต์ที่จำเลยรับประกันภัยไว้เป็นฝ่ายประมาทชนรถยนต์ที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย และกำหนดค่าเสียหายที่จำเลยจะต้องชำระแก่โจทก์ โดยอาศัยจากพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบแม้โจทก์จะไม่ได้นำ ส.พยานอีกปากหนึ่งมาสืบด้วยก็ดี และการที่โจทก์ไม่ได้ส่งสำเนารายวันประจำวันเกี่ยวกับคดีก่อนวันสืบพยานไม่น้อยกว่า 3 วันก็ตาม ก็โดยเหตุที่เป็นเอกสารที่อยู่ในความครอบครองของบุคคลภายนอกจึงหาต้องส่งสำเนาเอกสารให้จำเลยไม่ที่ศาลชั้นต้นใช้ดุลพินิจรับฟังตามพยานหลักฐานของโจทก์จึงมิใช่การรับฟังพยานหลักฐานโดยขัดต่อกฎหมาย อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้นนั่นเอง อันเป็นข้อเท็จจริง แม้โจทก์จะบรรยายฟ้องในตอนแรกว่า จำเลยได้รับประกันภัยค้ำจุนรถยนต์คันเกิดเหตุไว้จากผู้มีชื่อ ซึ่งจำเลยจะต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่บุคคลภายนอกจากการใช้รถที่ก่อความเสียหายขึ้นโดยผู้เอาประกันภัยหรือลูกจ้างหรือโดยความยินยอมของผู้เอาประกันภัยก็ตาม ก็คงเป็นการบรรยายถึงความรับผิดของจำเลยตามกรมธรรม์ประกันภัยเท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้บรรยายให้เห็นว่า ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุที่ขับไปชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยมีฐานะเช่นใด มีนิติสัมพันธ์กับผู้มีชื่อซึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยอย่างไรที่จะทำให้ผู้มีชื่อจะต้องร่วมรับผิดในผลแห่งละเมิดนั้น โดยเฉพาะผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยหรือไม่ อันทำให้จำเลยผู้รับประกันภัยค้ำจุนจะต้องร่วมรับผิดด้วย เช่นนี้ ฟ้องโจทก์จึงไม่ได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 เป็นฟ้องที่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ภาษีอากร ไม่ใช่คดีภาษีโดยตรง
แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง ได้จัดตั้งแผนกคดีภาษีอากรขึ้นในศาลแพ่งซึ่งเปิดทำการเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2529 มีอำนาจและเขตอำนาจเช่นเดียวกับศาลภาษีอากรกลาง ซึ่งต่อมาเปิดทำการเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2529 ก็ตาม แต่คดีนี้โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินโฉนดตราจองกลับคืนมาเป็นมรดกของ น. เจ้ามรดกที่ค้างชำระหนี้ค่าภาษีอากรอยู่แก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7(2) และไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของแผนกคดีภาษีอากรของศาลแพ่งตามมาตรา31 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 10 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ภาษีอากร ไม่เป็นคดีภาษีอากร แต่อยู่ในอำนาจศาลแพ่ง
คดีที่กรมสรรพากรโจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2ให้เพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินกลับคืนมาเป็นมรดกของ น. ที่ค้างชำระหนี้ค่าภาษีอากรอยู่แก่โจทก์ มิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 และไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของแผนกคดีภาษีอากรของศาลแพ่งตามมาตรา 31 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 10 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ที่ใช้บังคับอยู่ในขณะยื่นฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 896/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีเพิกถอนนิติกรรมโอนที่ดินเพื่อชำระหนี้ภาษีอากร ไม่เป็นคดีภาษีอากรโดยตรง
ขณะโจทก์ยื่นฟ้องคดีนี้ที่ศาลจังหวัดสงขลา ได้มีการจัดตั้งแผนกคดีภาษีอากรขึ้นในศาลแพ่ง ซึ่งมีอำนาจและเขตอำนาจเช่นเดียวกับศาลภาษีอากรกลาง แต่คดีนี้โจทก์ใช้สิทธิฟ้องจำเลยทั้งสองให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินกลับคืนมาเป็นมรดกของ น. ที่ค้างชำระค่าภาษีอากรอยู่แก่โจทก์ จึงมิใช่เป็นคดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ภาษีอากรตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 และไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของแผนกคดีภาษีอากรของศาลแพ่งตามมาตรา31 วรรคสอง ประกอบด้วยมาตรา 10 วรรคแรก แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวศาลจังหวัดสงขลารับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 836/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายโมฆะเนื่องจากผู้ขายไม่มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน และการสำคัญผิดในสาระสำคัญ
ที่ดินพิพาทเป็นที่ดินที่ภริยาของจำเลยได้รับยกให้ฝ่ายเดียวในระหว่างอยู่กินฉันสามีภริยากับจำเลยโดยมิได้จดทะเบียนสมรสจึงบังคับตามบทบัญญัติเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาไม่ได้ทั้งมิใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ด้วยกันที่จะแบ่งกึ่งหนึ่งในฐานะหุ้นส่วนได้ เมื่อที่ดินพิพาทมิใช่กรรมสิทธิ์ของจำเลยการที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกับโจทก์ จึงเป็นกรณีที่จำเลยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม เป็นเหตุให้นิติกรรมดังกล่าวตกเป็นโมฆะ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 836/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาซื้อขายที่ดินโมฆะจากความผิดพลาดในกรรมสิทธิ์: จำเลยไม่มีสิทธิในที่ดินที่นางตาได้รับยกให้
เมื่อจำเลยและนาง ต. มิได้จดทะเบียนสมรสกัน ที่ดินพิพาทที่นางต. ได้รับการยกให้จากพี่ชายในระหว่างที่อยู่กินด้วยกันกับจำเลย จึงบังคับตามบทบัญญัติเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาไม่ได้ และที่ดินพิพาทดังกล่าวนาง ต. ได้รับการยกให้ฝ่ายเดียวจึงมิใช่ทรัพย์สินที่ทำมาหาได้ด้วยกันกับจำเลย อันจะแบ่งในฐานะหุ้นส่วนครึ่งหนึ่งดังที่โจทก์อ้าง จำเลยจึงไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทเลย การที่จำเลยทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินดังกล่าวกับโจทก์จึงเป็นกรณีที่จำเลยสำคัญผิดในสิ่งซึ่งเป็นสาระสำคัญแห่งนิติกรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ จำกัดสิทธิฎีกาในคดีมีทุนทรัพย์เกิน 200,000 บาท กรณีข้อพิพาทบังคับตามสัญญาหลังหย่า
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่ารวมเป็นเงินทั้งสิ้น 92,000 บาท จำเลยให้การโต้เถียงว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามบันทึกข้อตกลงแก่โจทก์จึงเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเป็นคดีมีทุนทรัพย์ไม่ใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัวเมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาทจึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 808/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามในข้อเท็จจริงเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท คดีบังคับตามสัญญาหลังหย่า
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยชำระเงินตามบันทึกข้อตกลงท้ายทะเบียนการหย่า จำเลยให้การโต้เถียงว่าจำเลยไม่ต้องรับผิดชำระเงินตามบันทึกข้อตกลงแก่โจทก์ จึงเป็นคดีที่โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาซึ่งเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ไม่ใช่คดีเกี่ยวด้วยสิทธิในครอบครัว การที่จำเลยฎีกาโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์เป็นการฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก
of 65