คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวรรณ ตระการพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 439/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องรังวัดแบ่งแยกที่ดิน, ฟ้องเคลือบคลุม, ครอบครองปรปักษ์: ข้อเท็จจริงชัดเจน เจ้าของกรรมสิทธิ์มีสิทธิ
โจทก์มีชื่อถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดที่ดินย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยผู้ครอบครองให้ไปทำการรังวัดแบ่งแยกได้ โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ในฐานะผู้จัดการมรดกของซ. ได้ขายที่ดินให้โจทก์ตามสัญญาประนีประนอมยอมความว่าจำเลยยอมขายที่ดินตามโฉนดเลขที่ 46 ให้แก่โจทก์ครึ่งหนึ่งโดยจำเลยแบ่งที่ดินให้กับโจทก์ด้านติดกับที่ดินโฉนดเลขที่ 191 แต่จำเลยที่ 2 ในฐานะทายาทกองมรดกไม่ยอมไปทำการรังวัดแบ่งแยกโฉนดให้โจทก์ดังนี้ โจทก์ได้บรรยายฟ้องไว้ได้ความชัดเจนว่าโจทก์ฟ้องเพื่อให้จำเลยที่ 2 ไปทำการรังวัดแบ่งที่ดินครึ่งหนึ่งให้แก่โจทก์ส่วนที่ดินจะกว้างยาวขนาดใดเป็นเรื่องที่จะดำเนินการรังวัดต่อไปฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ก่อนทำสัญญาประนีประนอมยอมความได้มีการเรียกประชุมทายาทของซ.โดยจำเลยที่ 2 เข้าประชุมด้วย ที่ประชุมมีมติให้ขายที่ดินโฉนดเลขที่ 46 ให้โจทก์กึ่งหนึ่ง อีกครึ่งหนึ่งขายให้จำเลยที่ 2การที่จำเลยที่ 2 ครอบครองที่ดินโฉนดเลขที่ 46 ไว้ก่อนการประชุมทายาทจึงเป็นเพียงการครอบครองไว้แทนทายาทอื่นทุกคน จำเลยที่ 2มิได้ครอบครองยึดถือไว้เพื่อตนจึงไม่ทำให้จำเลยที่ 2 ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: โจทก์เปลี่ยนแปลงเหตุแห่งความเสียหายจากฐานรากเคลื่อนตัวเป็นรื้อถอนอาคาร เป็นการอ้างเหตุใหม่ที่ศาลอุทธรณ์ยังไม่ได้พิจารณา
ในชั้นอุทธรณ์โจทก์อุทธรณ์ว่า อาคารตึกแถวของโจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากฐานรากเคลื่อนตัว เพราะฐานรากอาคารตึกแถวของจำเลยลึกกว่าฐานรากอาคารตึกแถวของโจทก์ มิได้อ้างว่าเกิดจากการรื้อถอนอาคารตึกแถวหลังเก่าของจำเลย ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่าในการก่อสร้างอาคารตึกแถวของจำเลยได้มีการรื้อถอนอาคารหลังเก่าออกก่อน โดยทุบผนังอาคารดึงเสาอาคารเดิมซึ่งติดกับเสาอาคารตึกแถวของโจทก์ออก และทุบคานคอดินอาคารตึกแถวของโจทก์ ทำให้อาคารตึกแถวของโจทก์ได้รับความเสียหายจึงเป็นการอ้างเหตุแตกต่างกับเหตุที่โจทก์อ้างในชั้นอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 435/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกา: เหตุที่ฎีกาต่างจากที่อุทธรณ์ และมิใช่ปัญหาความสงบเรียบร้อย
ในชั้นอุทธรณ์โจทก์อุทธรณ์ว่า อาคารตึกแถวของโจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากฐานรากเคลื่อนตัว เพราะฐานรากอาคารตึกแถวของจำเลยลึกกว่าฐานรากอาคารตึกแถวของโจทก์ มิได้อ้างว่าเกิดจากการรื้อถอนอาคารตึกแถวหลังเก่าของจำเลย ดังนั้น ที่โจทก์ฎีกาว่า ในการก่อสร้างอาคารตึกแถวของจำเลยได้มีการรื้อถอนอาคารหลังเก่าออกก่อน โดยทุบผนังอาคารดึงเสาอาคารเดิมซึ่งติดกับเสาอาคารตึกแถวของโจทก์ออก และทุบคานคอดินอาคารตึกแถวของโจทก์ ทำให้อาคารตึกแถวของโจทก์ได้รับความเสียหายจึงเป็นการอ้างเหตุแตกต่างกับเหตุที่โจทก์อ้างในชั้นอุทธรณ์ เป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ทั้งมิใช่ปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 360/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงกฎหมายเช็ค: การออกเช็คแลกเงินสดไม่เป็นความผิดตาม พ.ร.บ.เช็คใหม่ แม้จะผิดตามกฎหมายเดิม
การออกเช็คแลกเงินสดนั้นไม่ใช่การออกเช็คเพื่อชำระหนี้ที่มีอยู่จริง และบังคับได้ตามกฎหมาย ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 มาตรา 4 การที่จำเลยออกเช็คเพื่อแลกเงินสดจากโจทก์ แม้จะเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2497แต่ไม่เป็นความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค พ.ศ. 2534 จึงเป็นกรณีต้องตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 2 วรรคสอง ที่ว่าบทบัญญัติของกฎหมายที่บัญญัติในภายหลัง การกระทำเช่นนั้นไม่เป็นความผิดต่อไปให้ผู้ที่ได้กระทำการนั้นพ้นจากการเป็นผู้กระทำความผิด และถ้าได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ลงโทษแล้วก็ให้ถือว่าผู้นั้นไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำความผิดนั้น ถ้ารับโทษอยู่ก็ให้การลงโทษนั้นสิ้นสุดลง จึงต้องถือว่าจำเลยไม่เคยต้องคำพิพากษาว่าได้กระทำผิดและต้องปล่อยจำเลยพ้นจากการถูกลงโทษ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 260/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับโอนแคชเชียร์เช็คโดยไม่สุจริต คบคิดฉ้อฉล ธนาคารไม่ต้องรับผิด
ธนาคารจำเลยที่ 1 ได้ออกแคชเชียร์เช็คแก่จำเลยที่ 6โดยเชื่อตามคำหลอกลวงว่าเช็คที่จำเลยที่ 6 นำมาเข้าบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ที่มีจำเลยที่ 6 เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการที่ธนาคารสาขาของจำเลยที่ 1 เป็นของลูกค้าชั้นดีสามารถเรียกเก็บเงินได้ แต่ต่อมาปรากฏว่าเป็นเช็คที่จำเลยที่ 6 สั่งจ่ายและถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ทำให้ไม่มีเงินเข้าบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด ส. ที่ธนาคารสาขาของจำเลยที่ 1 แล้วในวันเดียวกันนั้นจำเลยที่ 6 ได้สลักหลังโอนแคชเชียร์เช็คแก่โจทก์แล้วเลิกกิจการหลบหนีไป ต่อมาโจทก์ได้นำไปเรียกเก็บเงิน ธนาคารจำเลยที่ 1 ปฏิเสธการใช้เงิน เมื่อปรากฏว่ามารดาโจทก์และพี่น้องของภรรยาจำเลยที่ 6 ได้ทราบปัญหาเกี่ยวกับความไม่สุจริตของจำเลยที่ 6จากเจ้าหน้าที่ของธนาคารจำเลยที่ 1 ตั้งแต่ตอนเย็นของวันที่ออกแคชเชียร์เช็คแล้ว เชื่อได้ว่ามารดาโจทก์และน้องสาวโจทก์ต้องรีบแจ้งให้โจทก์ทราบตั้งแต่คืนวันนั้นว่าจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นน้องเขยของโจทก์กำลังมีปัญหากับธนาคารเพราะโจทก์ยังมีเช็คของจำเลยที่ 6จำนวน 60 ฉบับ อยู่ที่ตนที่ยังไม่ได้นำไปเรียกเก็บเงิน จึงฟังได้ว่าโจทก์ได้ทราบถึงความไม่สุจริตของจำเลยที่ 6 ที่ได้แคชเชียร์เช็คมาจากธนาคารจำเลยที่ 1 ตั้งแต่คืนของวันที่ออกแคชเชียร์เช็คแล้วการที่โจทก์รับโอนไว้โดยอ้างว่าเพื่อชำระหนี้ในคืนนั้นจึงเป็นการรับโอนโดยไม่สุจริต คบคิดกันฉ้อฉลเพื่อยืมมือโจทก์มาฟ้องตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 916 ประกอบมาตรา 989ธนาคารจำเลยที่ 1 ไม่ต้องรับผิดใช้เงินตามแคชเชียร์เช็คแก่โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: ข้อเท็จจริงที่ศาลล่างฟังยุติแล้ว ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า จำเลยทั้งสองเป็นผู้เช่าที่ดินพิพาท จำเลยทั้งสองฎีกาว่าการเช่าอสังหาริมทรัพย์กฎหมายบังคับให้ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายที่ต้องรับผิดจึงจะฟ้องร้องให้บังคับคดีได้ แต่ศาลล่างทั้งสองกลับฟังว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาททั้งที่โจทก์ไม่มีหลักฐานการเช่ามาแสดง จึงเป็นการฟังพยานหลักฐานที่ไม่ชอบเพราะขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 และ 94ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการโต้เถียงว่าจำเลยทั้งสองมิได้เช่าที่พิพาท ซึ่งเป็นการเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังเป็นยุติแล้วว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาท เมื่อคดีนี้มีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงซึ่งต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากเป็นการเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างตัดสินแล้ว และมีทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท
ศาลล่างทั้งสองต่างฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า จำเลยทั้งสองมิได้ซื้อที่พิพาทหากแต่เช่าที่พิพาทจึงมิได้เป็นเจ้าของ ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานการเช่ามาแสดง การที่ศาลฟังว่า จำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาทจึงขัดต่อ ป.วิ.พ.มาตรา 93 และ 94นั้น จึงเป็นการเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังยุติต้องกันแล้วว่า จำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาทฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 246/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: คดีต่ำกว่าสองแสนบาท และเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างฟังยุติแล้ว
ศาลล่างทั้งสองต่างฟังข้อเท็จจริงต้องกันว่า จำเลยทั้งสองมิได้ซื้อที่พิพาท หากแต่เช่าที่พิพาทจึงมิได้เป็นเจ้าของ ที่จำเลยทั้งสองฎีกาว่า โจทก์ไม่มีหลักฐานการเช่ามาแสดง การที่ศาลฟังว่าจำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาทจึงขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93 และ 94 นั้น จึงเป็นการเถียงข้อเท็จจริงที่ศาลล่างทั้งสองฟังยุติต้องกันแล้วว่า จำเลยทั้งสองเช่าที่พิพาทฎีกาของจำเลยทั้งสองจึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง เมื่อทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคแรก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่รับวินิจฉัย เหตุฎีกาไม่ชัดแจ้งและไม่ได้ยกประเด็นในศาลชั้นต้น
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ โดยฟังว่าจำเลยมีพฤติการณ์ส่อไปในทางประวิงคดีไม่สมควรให้เลื่อนคดีและถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบแทนที่จำเลยจะฎีกาว่าที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร กลับฎีกาว่า โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องจำเลยและสัญญาเช่าอาคารพิพาทเป็นสัญญาเช่าพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งเพราะมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และเป็นฎีกาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันแล้วในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 141/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชัดแจ้ง – ประเด็นใหม่ – ประวิงคดี – ไม่รับวินิจฉัย
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ โดยฟังว่าจำเลยมีพฤติการณ์ส่อไปในทางประวิงคดี ไม่สมควรให้เลื่อนคดีและถือว่าจำเลยไม่มีพยานมาสืบ แทนที่จำเลยจะฎีกาว่าที่ศาลอุทธรณ์ฟังมาดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องอย่างไร กลับฎีกาว่า โจทก์ไม่มีสิทธินำคดีมาฟ้องจำเลยและสัญญาเช่าอาคารพิพาทเป็นสัญญาเช่าพิเศษยิ่งกว่าสัญญาเช่าธรรมดา จึงเป็นฎีกาที่ไม่ชัดแจ้งเพราะมิได้โต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ และเป็นฎีกาข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันแล้วในศาลชั้นต้น และศาลอุทธรณ์ด้วย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
of 65