คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวรรณ ตระการพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5426/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ของกลางในความผิดฐานช่วยเหลือคนต่างด้าวเข้าเมือง: รถยนต์ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดโดยตรง
จำเลยกระทำความผิดฐานช่วยคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืนพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง มาตรา 64 วรรคแรก เพื่อให้พ้นการจับกุมโดยใช้รถยนต์ของกลางเป็นพาหนะให้คนต่างด้าวนั่งมาในรถยนต์ของกลางด้วยนั้น ถือไม่ได้ว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่จำเลยได้ใช้ในการกระทำความผิดดังกล่าวโดยตรง จึงเป็นทรัพย์สินที่ไม่ควรริบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5426/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การริบรถยนต์ของกลางในคดีช่วยเหลือคนต่างด้าว รถยนต์ไม่ใช่ทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำผิดโดยตรง
การกระทำผิดฐานช่วยคนต่างด้าวที่เข้ามาในราชอาณาจักรโดยฝ่าฝืน พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง มาตรา 64 วรรคแรก เพื่อให้พ้นการจับกุม โดยใช้รถยนต์ของกลางเป็นพาหนะให้คนต่างด้าวนั่งมาในรถยนต์ของกลางด้วยนั้น ถือไม่ได้ว่ารถยนต์ของกลางเป็นทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดดังกล่าวโดยตรง ไม่ริบรถยนต์ของกลาง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5018/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการทรัพย์เพื่อชำระหนี้แทนการขายทอดตลาด ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 เป็นบทบัญญัติให้อำนาจศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการทรัพย์หรือการประกอบกิจการแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาเพื่อมุ่งที่จะคุ้มครองลูกหนี้ตามคำพิพากษาให้มีโอกาสชำระหนี้ โดยไม่จำต้องขายทรัพย์สินอันสามารถทำรายได้ให้แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษาไป เมื่อได้ความว่ารายได้จากการประกอบการอุตสาหกรรมอาหารสัตว์ของจำเลยอาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษา ศาลฎีกาให้ตั้งจำเลยเป็นผู้จัดการทรัพย์ที่ยึดเพื่อดำเนินกิจการแทนการขายทอดตลาดได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5018/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตั้งผู้จัดการทรัพย์เพื่อชำระหนี้จากกิจการที่สร้างรายได้ แทนการขายทอดตลาด
รถตัดและเครื่องชั่งที่โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดียึดนั้นจำเลยใช้ในการประกอบกิจการอุตสาหกรรมของจำเลยซึ่งทำรายได้ประจำปีเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษา จึงสมควรตั้งผู้จัดการทรัพย์ในการประกอบกิจการแทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สิน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดในเช็คพิพาท: ผู้สั่งจ่ายต้องรับผิดแม้ผู้รับโอนไม่สุจริต และลายมือชื่อไม่สมบูรณ์ไม่กระทบผู้อื่น
เมื่อได้ความว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์โดยมีมูลหนี้ระหว่างกันจึงหาต้องคำนึงถึงการรับโอนของผู้ทรงคนต่อมาว่าสุจริตหรือไม่ เพราะจำเลยไม่สามารถยกข้อต่อสู้ว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ขึ้นต่อสู้ผู้ทรงคนก่อนได้อยู่แล้ว
เช็คพิพาทเป็นเช็คส่วนตัวของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับดวงตราสำคัญแบบใหม่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งยังมิได้จดทะเบียนการใช้ จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย แต่การที่เช็คพิพาทลงลายมือชื่อบุคคลหลายคน มีทั้งบุคคลซึ่งไม่อาจเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นได้เลย หรือเป็นได้แต่ไม่เต็มผลย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความรับผิดของบุคคลอื่น ๆ นอกนั้นซึ่งคงต้องรับผิดตามตั๋วเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 902 ดังนั้นจำเลยที่ 2 จึงยังคงต้องรับผิดตามเช็ค
จำเลยทั้งสองรับว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพียงแต่อ้างว่าไม่ต้องรับผิดตามเช็ค ดังนี้แม้เช็คพิพาทจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้องข้อเท็จจริงก็รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2 ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เช็คมีมูลหนี้ ผู้ลงลายมือชื่อต้องรับผิด แม้มีข้อโต้แย้งเรื่องดวงตราและอากรแสตมป์
เมื่อได้ความว่าจำเลยออกเช็คพิพาทให้โจทก์โดยมีมูลหนี้ระหว่างกันจึงหาต้องคำนึงถึงการรับโอนของผู้ทรงคนต่อมาว่าสุจริตหรือไม่ เพราะจำเลยไม่สามารถยกข้อต่อสู้ว่าเช็คไม่มีมูลหนี้ขึ้นต่อสู้ผู้ทรงคนก่อนได้อยู่แล้ว เช็คพิพาทเป็นเช็คส่วนตัวของจำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัท จำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายและประทับดวงตราสำคัญแบบใหม่ของจำเลยที่ 1 ซึ่งยังมิได้จดทะเบียนการใช้ จึงไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่าย แต่การที่เช็คพิพาทลงลายมือชื่อบุคคลหลายคน มีทั้งบุคคลซึ่งไม่อาจเป็นคู่สัญญาแห่งตั๋วเงินนั้นได้เลยหรือเป็นได้แต่ไม่เต็มผล ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความรับผิดของบุคคลอื่น ๆ นอกนั้นซึ่งคงต้องรับผิดตามตั๋วเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 902 ดังนั้นจำเลยที่ 2 จึงยังคงต้องรับผิดตามเช็ค จำเลยทั้งสองรับว่าจำเลยที่ 2 เป็นผู้ลงลายมือชื่อสั่งจ่ายเช็คพิพาทเพียงแต่อ้างว่าไม่ต้องรับผิดตามเช็ค ดังนี้แม้เช็คพิพาทจะปิดอากรแสตมป์ไม่ถูกต้อง ข้อเท็จจริงก็รับฟังได้ว่าจำเลยที่ 2ได้สั่งจ่ายเช็คพิพาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4991/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดเช็ค: ผู้สั่งจ่ายส่วนตัว, ดวงตราบริษัท, และผลของการขาดอากรแสตมป์
การที่เช็คพิพาทประทับดวงตราสำคัญของบริษัทจำเลยที่ 1ไม่ถูกต้อง ไม่ผูกพันจำเลยที่ 1 นั้น ย่อมไม่กระทบกระทั่งถึงความรับผิดของจำเลยที่ 2 กรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ซึ่งลงชื่อสั่งจ่ายในฐานะส่วนตัว ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 902 เช็คพิพาทชำระค่าอากรแสตมป์ไม่ครบตามที่กฎหมายกำหนด ผลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 118 หมายถึง จะใช้ต้นฉบับ คู่ฉบับ คู่ฉีกหรือสำเนาตราสารนั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแพ่งไม่ได้เท่านั้นมิใช่จะฟ้องบังคับคดีตามเช็คไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4955/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและอำนาจการประเมินภาษี: เจ้าหนี้ภาษีไม่ผูกมัดการประนอมหนี้และมีอำนาจเรียกเก็บภาษีได้
เมื่อศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ถูกจำกัดอำนาจโดยมีบุคคลอื่นจัดการทรัพย์สินหรือกิจการแทนตามล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 58 แล้วโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ย่อมมีความสามารถประกอบกิจการ หรือจัดการทรัพย์สินได้ต่อไป เมื่อการให้ถ้อยคำ ต่อเจ้าพนักงานประเมินตามที่โจทก์ถูกเรียกตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษี การอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่งจึงอยู่ในอำนาจของโจทก์ที่จะจัดการได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องกรมสรรพากร ขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ หนี้เกี่ยวกับภาษีอากร แม้โจทก์จะได้รับการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแล้ว แต่กรมสรรพากรจำเลยก็มิได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้นั้นจึงไม่อาจผูกมัดเจ้าพนักงานประเมินในการเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์เพราะโจทก์ไม่อาจหลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวโดยคำสั่งปลดจากล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 56,77 ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 77บัญญัติเพียงว่าคำสั่งปลดจากล้มละลายทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้ โดยมีข้อยกเว้นหนี้อันพึงขอรับชำระได้เพียง 2 กรณี ซึ่งข้อยกเว้นกรณีนี้กฎหมายหาได้มีบัญญัติว่าต้องเป็นหนี้ที่ได้ยื่นขอรับชำระแล้วหรือเป็นบทบัญญัติที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 91 เจ้าพนักงานประเมินจึงมีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ แม้กรมสรรพากรจำเลย มิได้ยื่นขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดตามมาตรา 91 ก็ตาม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4955/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ภายหลังการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายและการประเมินภาษี
เมื่อศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย และโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ถูกจำกัดอำนาจโดยมีบุคคลอื่นจัดการทรัพย์สินหรือกิจการแทนตามพ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 58 โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ย่อมมีความสามารถประกอบกิจการหรือจัดการทรัพย์สินได้ต่อไป เมื่อการให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานประเมินตามที่โจทก์ถูกเรียกตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษี การอุทธรณ์การประเมินต่อคณะ-กรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่งจึงอยู่ในอำนาจของโจทก์ที่จะจัดการได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้
แม้โจทก์จะได้รับการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแล้วแต่จำเลยมิได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้นั้น จึงไม่อาจผูกมัดเจ้าพนักงานประเมินในการเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์ เพราะโจทก์ไม่อาจหลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวโดยคำสั่งปลดจากล้มละลายตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 56, 77
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 77 บัญญัติเพียงว่าคำสั่งปลดจากล้มละลายทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระได้โดยมีข้อยกเว้นหนี้อันพึงขอรับชำระได้เพียง 2 กรณี ซึ่งข้อยกเว้นกรณีนี้กฎหมายหาได้บัญญัติว่าจะต้องเป็นหนี้ที่ได้ยื่นขอรับชำระแล้ว หรือเป็นบทบัญญัติที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 91 แม้จำเลยมิได้ยื่นขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดตาม มาตรา 91 เจ้าพนักงาน-ประเมินก็มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4955/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจประเมินภาษีหลังการประนอมหนี้และการยกเว้นหนี้ภาษีในคดีล้มละลาย
เมื่อศาลเห็นชอบด้วยการประนอมหนี้ก่อนล้มละลาย และโจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ไม่ถูกจำกัดอำนาจโดยมีบุคคลอื่นจัดการทรัพย์สินหรือกิจการแทนตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 58โจทก์ซึ่งเป็นลูกหนี้ย่อมมีความสามารถประกอบกิจการหรือจัดการทรัพย์สินได้ต่อไป เมื่อการให้ถ้อยคำต่อเจ้าพนักงานประเมินตามที่โจทก์ถูกเรียกตรวจสอบไต่สวนการเสียภาษี การอุทธรณ์การประเมินต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์และการฟ้องขอให้เพิกถอนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ เป็นการจัดการทรัพย์สินอย่างหนึ่งจึงอยู่ในอำนาจของโจทก์ที่จะจัดการได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ แม้โจทก์จะได้รับการประนอมหนี้ก่อนล้มละลายซึ่งศาลเห็นชอบด้วยแล้ว แต่จำเลยมิได้ยินยอมด้วยในการประนอมหนี้นั้น จึงไม่อาจผูกมัดเจ้าพนักงานประเมินในการเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์เพราะโจทก์ไม่อาจหลุดพ้นจากหนี้ดังกล่าวโดยคำสั่งปลดจากล้มละลายตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 56,77พระราชบัญญัติ ญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 77 บัญญัติเพียงว่าคำสั่งปลดจากล้มละลายทำให้บุคคลล้มละลายหลุดพ้นจากหนี้ทั้งปวงอันพึงขอรับชำระหนี้ได้โดยมีข้อยกเว้นหนี้อันพึงขอรับชำระได้เพียง2 กรณี ซึ่งข้อยกเว้นกรณีนี้กฎหมายหาได้บัญญัติว่าจะต้องเป็นหนี้ที่ได้ยื่นขอรับชำระแล้ว หรือเป็นบทบัญญัติที่อยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 91 แม้จำเลยมิได้ยื่นขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดตามมาตรา 91 เจ้าพนักงานประเมินก็มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีอากรจากโจทก์
of 65