พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4919/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขายทอดตลาดที่ดินที่ถูกเวนคืน: สิทธิของผู้ซื้อก่อนมีผลบังคับใช้กฎหมายเวนคืน
พระราชกฤษฎีกากำหนดแนวทางหลวงที่จะสร้างทางหลวงแผ่นดินสายคลองตัน-หนองงูเห่า และทางแยกเข้าหนองงูเห่า พ.ศ. 2524เป็นกฎหมาย จึงถือว่าผู้ร้องรู้ถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว ผู้ร้องอ้างไม่ได้ว่าขณะที่ผู้ร้องเข้าประมูลในการขายทอดตลาดผู้ร้องไม่รู้ถึงข้อความจริงเช่นว่านี้ จึงไม่เป็นการสำคัญผิดในคุณสมบัติของทรัพย์ที่ซื้อจากการขายทอดตลาด การออกพระราชกฤษฎีกากำหนดเขตที่ดินที่จะเวนคืน ก็เพื่อให้พนักงานเจ้าหน้าที่ดำเนินการสำรวจก่อนที่จะมีการตราพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ออกมาใช้บังคับกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์ตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว จึงยังไม่ตกเป็นของรัฐ ขณะมีการขายทอดตลาดกรรมสิทธิ์ในที่ดินที่ขายทอดตลาดยังเป็นของจำเลยที่ 2 และเมื่อไม่อยู่ในข่ายห้ามโอนตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศของคณะปฏิวัติฉบับที่ 295พ.ศ. 2530 แล้ว ก็สามารถทำนิติกรรมซื้อขายกันได้ตามกฎหมายแม้ต่อมาภายหลังจะได้มีพระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เพื่อสร้างทางหลวงแผ่นดินใช้บังคับและรวมที่ดินแปลงดังกล่าวอยู่ในเขตที่ดินที่ถูกเวนคืนด้วยก็ตาม เพราะเป็นกรณีที่เกิดขึ้นภายหลังการขายทอดตลาดที่เสร็จสิ้นไปแล้ว การขายทอดตลาด จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง การครอบครองปรปักษ์ และค่าเสียหายจากการบุกรุก
โจทก์บรรยายฟ้องแจ้งชัดว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ บ้านและที่ดินปลูกบ้าน จำเลยอาศัยในบ้านดังกล่าวและไม่ยอมออกขอบังคับให้จำเลยออกจากบ้านพิพาท เป็นการสมบูรณ์ทั้งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ เพราะเมื่อบ้านปลูกอยู่ในที่ดินโจทก์ไม่ว่าส่วนไหนโจทก์ก็ขอให้ขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำเป็นจะต้องมีแผนที่พิพาทประกอบอีกว่าบ้านอยู่ส่วนไหนของที่ดิน เนื่องจากแผนที่พิพาทเป็นรายละเอียดที่จะทำหรือนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม จำเลยฎีกาว่า แม้การยกให้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือแต่จำเลยอยู่ในบ้านดังกล่าวมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาเกิน 30 ปีแล้ว จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้คดีจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ป. เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 1 ซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่ 94123 เจ้าของที่ดินย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบด้วยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 วรรคสองเดิมดังนั้นเมื่อ ป. โอนที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่ ส.โดยไม่ปรากฏมีเงื่อนไขว่าโอนไปโดยไม่รวมถึงบ้านดังกล่าวก็ต้องถือว่าได้โอนบ้านนั้นด้วย โดยไม่จำเป็นต้องระบุว่าการโอนนั้นให้รวมถึงบ้านด้วยแต่อย่างใด ส. จึงมีสิทธิขายฝากบ้านดังกล่าวนั้นให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าวด้วย ส่วนบ้านเลขที่ 2 และ 2/1 ปลูกอยู่ในที่ดินของ ป.บางส่วนอีกทั้งฝ่ายจำเลยมิได้ให้การต่อสู้หรือนำสืบเลยว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินของ ป. และใช้สิทธินั้นปลูกบ้านทั้งสองหลังในที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 109 เดิม นอกจากนี้ยังได้ความว่าบ้านทั้งสองหลังได้ต่อเติมอย่างถาวรจากบ้านเลขที่ 1 จึงเป็นส่วนควบกับบ้านและที่ดินของ ป. ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ป. เมื่อ ป.ยกที่ดินให้ ส.ส. จึงได้กรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าวตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 107 วรรคสองเดิมส. จึงมีสิทธิขายฝากบ้านเลขที่ 2 และ 2/1 ให้ไว้แก่โจทก์ได้และโจทก์ย่อมได้กรรมสิทธิ์ในบ้าน 2 หลังนี้เช่นเดียวกับบ้านเลขที่ 1 ในชั้นอุทธรณ์ ฝ่ายจำเลยอุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหายแต่เพียงว่า จำเลยที่ 8 ถึงที่ 17 อยู่ในบ้านของตนเองโจทก์จึงไม่เสียหายเท่านั้น หาได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 2,000 บาท ต่อหลังสูงเกินไปและไม่ชอบเพราะเหตุใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะอ้างอิงขึ้นกล่าวไว้โดยชัดแจ้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยแล้วกำหนดค่าเสียหายของโจทก์ลดลงเหลือหลังละ 500 บาทต่อเดือนจึงเป็นการไม่ชอบและถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และให้บังคับเรื่องค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4885/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ในบ้านและที่ดิน การโอนกรรมสิทธิ์ และการครอบครองปรปักษ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยประเด็นใหม่
โจทก์บรรยายฟ้องแจ้งชัดว่าโจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์บ้านและที่ดินปลูกบ้าน จำเลยอาศัยในบ้านดังกล่าวและไม่ยอมออก ขอบังคับให้จำเลยออกจากบ้านพิพาท เป็นการสมบูรณ์ทั้งสภาพแห่งข้อหา ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาและคำขอบังคับ เพราะเมื่อบ้านปลูกอยู่ในที่ดินโจทก์ไม่ว่าส่วนไหน โจทก์ก็ขอให้ขับไล่จำเลยได้โดยไม่จำเป็นจะต้องมีแผนที่พิพาทประกอบอีกว่าบ้านอยู่ส่วนไหนของที่ดินเนื่องจากแผนที่พิพาทเป็นรายละเอียดที่จะทำหรือนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม
จำเลยฎีกาว่า แม้การยกให้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่จำเลยอยู่ในบ้านดังกล่าวมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาเกิน 30 ปีแล้ว จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ คดีจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ป.เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 1 ซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่94123 เจ้าของที่ดินย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 107วรรคสองเดิม ดังนั้นเมื่อ ป.โอนที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่ ส.โดยไม่ปรากฏมีเงื่อนไขว่าโอนไปโดยไม่รวมถึงบ้านดังกล่าว ก็ต้องถือว่าได้โอนบ้านนั้นด้วย โดยไม่จำเป็นต้องระบุว่าการโอนนั้นให้รวมถึงบ้านด้วยแต่อย่างใด ส.จึงมีสิทธิขายฝากบ้านดังกล่าวนั้นให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าวด้วย
ส่วนบ้านเลขที่ 2 และ 2/1 ปลูกอยู่ในที่ดินของ ป.บางส่วนอีกทั้งฝ่ายจำเลยมิได้ให้การต่อสู้หรือนำสืบเลยว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินของ ป.และใช้สิทธินั้นปลูกบ้านทั้งสองหลังในที่ดินนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 109 เดิมนอกจากนี้ยังได้ความว่าบ้านทั้งสองหลังได้ต่อเติมอย่างถาวรจากบ้านเลขที่ 1จึงเป็นส่วนควบกับบ้านและที่ดินของ ป.ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ป. เมื่อ ป.ยกที่ดินให้ ส. ส.จึงได้กรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 107วรรรคสองเดิม ส.จึงมีสิทธิขายฝากบ้านเลขที่ 2 และ 2/1 ให้ไว้แก่โจทก์ได้และโจทก์ย่อมได้กรรรมสิทธิ์ในบ้าน 2 หลังนี้เช่นเดียวกับบ้านเลขที่ 1
ในชั้นอุทธรณ์ ฝ่ายจำเลยอุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหายแต่เพียงว่า จำเลยที่ 8 ถึงที่ 17 อยู่ในบ้านของตนเอง โจทก์จึงไม่เสียหายเท่านั้น หาได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 2,000 บาทต่อหลังสูงเกินไปและไม่ชอบเพราะเหตุใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะอ้างอิงขึ้นกล่าวไว้โดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยแล้วกำหนดค่าเสียหายของโจทก์ลดลงเหลือหลังละ500 บาทต่อเดือนจึงเป็นการไม่ชอบ และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และให้บังคับเรื่องค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
จำเลยฎีกาว่า แม้การยกให้จะไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ แต่จำเลยอยู่ในบ้านดังกล่าวมาโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาเกิน 30 ปีแล้ว จึงได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์นั้น จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ คดีจึงไม่มีประเด็นว่าจำเลยได้กรรมสิทธิ์ในบ้านโดยการครอบครองปรปักษ์หรือไม่ และเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ป.เป็นเจ้าของบ้านเลขที่ 1 ซึ่งเป็นส่วนควบของที่ดินโฉนดเลขที่94123 เจ้าของที่ดินย่อมมีกรรมสิทธิ์ในส่วนควบด้วยตาม ป.พ.พ.มาตรา 107วรรคสองเดิม ดังนั้นเมื่อ ป.โอนที่ดินโฉนดดังกล่าวให้แก่ ส.โดยไม่ปรากฏมีเงื่อนไขว่าโอนไปโดยไม่รวมถึงบ้านดังกล่าว ก็ต้องถือว่าได้โอนบ้านนั้นด้วย โดยไม่จำเป็นต้องระบุว่าการโอนนั้นให้รวมถึงบ้านด้วยแต่อย่างใด ส.จึงมีสิทธิขายฝากบ้านดังกล่าวนั้นให้แก่โจทก์ได้ โจทก์จึงได้กรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าวด้วย
ส่วนบ้านเลขที่ 2 และ 2/1 ปลูกอยู่ในที่ดินของ ป.บางส่วนอีกทั้งฝ่ายจำเลยมิได้ให้การต่อสู้หรือนำสืบเลยว่าตนเป็นผู้มีสิทธิในที่ดินของ ป.และใช้สิทธินั้นปลูกบ้านทั้งสองหลังในที่ดินนั้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 109 เดิมนอกจากนี้ยังได้ความว่าบ้านทั้งสองหลังได้ต่อเติมอย่างถาวรจากบ้านเลขที่ 1จึงเป็นส่วนควบกับบ้านและที่ดินของ ป.ย่อมตกเป็นกรรมสิทธิ์ของ ป. เมื่อ ป.ยกที่ดินให้ ส. ส.จึงได้กรรมสิทธิ์ในบ้านดังกล่าวตาม ป.พ.พ.มาตรา 107วรรรคสองเดิม ส.จึงมีสิทธิขายฝากบ้านเลขที่ 2 และ 2/1 ให้ไว้แก่โจทก์ได้และโจทก์ย่อมได้กรรรมสิทธิ์ในบ้าน 2 หลังนี้เช่นเดียวกับบ้านเลขที่ 1
ในชั้นอุทธรณ์ ฝ่ายจำเลยอุทธรณ์ในเรื่องค่าเสียหายแต่เพียงว่า จำเลยที่ 8 ถึงที่ 17 อยู่ในบ้านของตนเอง โจทก์จึงไม่เสียหายเท่านั้น หาได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลชั้นต้นที่กำหนดค่าเสียหายให้โจทก์เดือนละ 2,000 บาทต่อหลังสูงเกินไปและไม่ชอบเพราะเหตุใด จึงเป็นอุทธรณ์ที่มิได้ยกข้อเท็จจริงหรือข้อกฎหมายที่จะอ้างอิงขึ้นกล่าวไว้โดยชัดแจ้งตาม ป.วิ.พ.มาตรา 225 ที่ศาลอุทธรณ์หยิบยกขึ้นวินิจฉัยแล้วกำหนดค่าเสียหายของโจทก์ลดลงเหลือหลังละ500 บาทต่อเดือนจึงเป็นการไม่ชอบ และถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย และให้บังคับเรื่องค่าเสียหายไปตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาภาษีอากรที่ถูกประเมิน และผลกระทบของการแจ้งการประเมินต่ออายุความ
การที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 30 (2) บัญญัติว่า "เว้นแต่ในกรณีห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 33 ให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์" ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศาลพิจารณาว่า การประเมินและคำวินิจฉัยชอบหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิก หรือเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลอยู่ จำเลยมีสิทธิจะได้รับชำระภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน และคณะ-กรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่ จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อน การที่โจทก์ไม่ชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณา-อุทธรณ์ จึงหาได้เป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยไม่ จำเลยจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง
เมื่อจำเลยแจ้งการประเมินภาษีให้โจทก์ทราบแล้ว ถือว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้องอันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี เพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามป.พ.พ. มาตรา 193/14
เมื่อศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งต้องมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
เมื่อจำเลยแจ้งการประเมินภาษีให้โจทก์ทราบแล้ว ถือว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้องอันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี เพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามป.พ.พ. มาตรา 193/14
เมื่อศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งต้องมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งทั้งหมดตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคแรก ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 มาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการฟ้องแย้งของเจ้าหนี้ในคดีอุทธรณ์ภาษีอากรและการสะดุดหยุดอายุความจากการบังคับตามกฎหมาย
เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลอยู่ จำเลยจะมีสิทธิได้รับชำระภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่ ต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อน การที่โจทก์ไม่ชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์หาเป็นการโต้แย้งสิทธิที่จำเลยจะนำคดีมาฟ้องไม่ เมื่อจำเลยแจ้งการประเมินภาษีให้โจทก์ทราบแล้ว ถือว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมายเพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้อง อันมีผลใช้ลูกหนี้อาจถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นในอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดีเพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 193/14 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่แก้ไขใหม่ ซึ่งมีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4793/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องแย้งคดีภาษีอากรและการสะดุดหยุดอายุความจากการสั่งบังคับภาษี
การที่ประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) บัญญัติว่า "เว้นแต่ในกรณีห้ามอุทธรณ์ตามมาตรา 33 ให้อุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลภายในกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์" ก็โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ศาลพิจารณาว่า การประเมินและคำวินิจฉัยชอบหรือไม่ ศาลจึงมีอำนาจเปลี่ยนแปลง แก้ไข ยกเลิก หรือเพิกถอนการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้เมื่อโจทก์อุทธรณ์คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาลอยู่จำเลยมีสิทธิจะได้รับชำระภาษีอากรตามที่เจ้าพนักงานประเมินแจ้งการประเมิน และคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีคำวินิจฉัยแล้วหรือไม่ จึงต้องรอคำวินิจฉัยชี้ขาดของศาลเสียก่อน การที่โจทก์ไม่ชำระภาษีอากรตามคำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จึงหาได้เป็นการโต้แย้งสิทธิของจำเลยไม่ จำเลยจึงยังไม่มีอำนาจฟ้องแย้ง เมื่อจำเลยแจ้งการประเมินภาษีให้โจทก์ทราบแล้ว ถือว่าเป็นการสั่งบังคับตามอำนาจกฎหมาย เพื่อให้ลูกหนี้ใช้หนี้ค่าภาษีอากรตามที่เรียกร้องอันมีผลให้ลูกหนี้อาจต้องถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดโดยไม่ต้องฟ้องคดีต่อศาล การสั่งบังคับดังกล่าวจึงถือได้ว่าเป็นการที่เจ้าหนี้ได้ทำการอื่นใดอันนับว่ามีผลเป็นอย่างเดียวกันกับการฟ้องคดี เพื่อให้ใช้หนี้ตามที่เรียกร้อง มีผลทำให้อายุความสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14 เมื่อศาลสั่งไม่รับฟ้องแย้งต้องมีคำสั่งให้คืนค่าขึ้นศาลในส่วนฟ้องแย้งทั้งหมดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 151 วรรคแรก ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 17
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4763/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: การเข้าถึงทางสาธารณะเมื่อที่ดินถูกล้อมรอบ และการพิจารณาความสะดวกในการใช้ทาง
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เดิมที่ดินของโจทก์และของจำเลยที่ 1เป็นที่ดินแปลงเดียวกัน ต่อมามีการแบ่งแยกเป็นแปลงย่อย ทำให้ที่ดินของโจทก์ไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะทั้ง ๆ ที่โจทก์และบริวารได้ใช้ทางพิพาทตลอดแนวที่ดินของจำเลยที่ 1 ด้านทิศตะวันออกเป็นทางออกสู่ทางสาธารณะดังกล่าวโดยความสงบและโดยเปิดเผยมาเป็นเวลากว่า 10 ปีแล้ว โจทก์ถือว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือทางจำเป็นแก่โจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งสองไปจดทะเบียนและรื้อรั้วเฉพาะส่วนที่ปิดกั้นทางพิพาท ข้อความที่ว่าทางพิพาทเป็นทางภารจำยอมหรือทางจำเป็น เป็นเพียงข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเท่านั้น ซึ่งเป็นเรื่องที่ศาลจะต้องพิจารณาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายว่าความจริงทางดังกล่าวเป็นทางประเภทใดกันแน่ คำบรรยายฟ้องของโจทก์ดังกล่าวเป็นคำบรรยายฟ้องโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม เมื่อปรากฏว่าที่ดินของโจทก์ถูกที่ดินแปลงอื่นซึ่งแบ่งแยกออกมาจากที่ดินแปลงเดิมกับที่ดินของโจทก์ล้อมอยู่จนไม่มีทางออกทางสาธารณะได้ แม้จะได้ความว่าจำเลยที่ 1 ได้แบ่งยกที่ดินทางทิศตะวันตกให้เป็นทางสาธารณะอีกทางหนึ่ง แต่หากโจทก์ใช้ทางดังกล่าวจะต้องผ่านที่ดินแปลงอื่นอีกสามแปลงและสามเจ้าของซึ่งผิดกับทางพิพาทที่โจทก์ผ่านเข้าออกที่ดินของจำเลยที่ 1 ด้านทิศตะวันตกและมีทางออกสู่ทางสาธารณะอยู่ก่อนแล้ว มีระยะทางสั้นกว่าประมาณ15 เมตร เท่านั้น การใช้ทางพิพาทจึงสะดวกกว่าการไปใช้ทางอื่นทางพิพาทจึงเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การนำสืบชำระหนี้ – ดอกเบี้ยเกินอัตรา – นำไปชำระต้นเงินได้ – มาตรา 94(ข) ว.พ.พ.
การนำสืบถึงการชำระเงินที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดง หรือมีการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม หรือแทงเพิกถอนในเอกสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสอง หมายถึงการนำสืบถึงการชำระต้นเงินเท่านั้นไม่รวมถึงการชำระดอกเบี้ยด้วย จำเลยจึงนำสืบถึงจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระไปได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข) จำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองชำระให้โจทก์สูงกว่าดอกเบี้ยจากต้นเงินตามสัญญากู้และสัญญาจำนองนับแต่วันกู้ยืมมาจนถึงวันฟ้องเงินส่วนที่ชำระดอกเบี้ยซึ่งเกินดังกล่าวต้องนำไปชำระต้นเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 329 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้ การหักชำระดอกเบี้ยออกจากต้นเงิน และการนำสืบพยานหลักฐานการชำระหนี้
การนำสืบถึงการชำระเงินที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดง หรือมีการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม หรือแทงเพิกถอนในเอกสารตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 653 วรรคสอง หมายถึงการนำสืบถึงการชำระต้นเงินเท่านั้นไม่รวมถึงการชำระดอกเบี้ยด้วย จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบถึงจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระไปได้ ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94(ข) เมื่อปรากฏว่าจำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยชำระให้โจทก์ไปแล้ว มีจำนวนสูงกว่าจำนวนดอกเบี้ยที่โจทก์มีสิทธิจะได้ตามสัญญากู้และสัญญาจำนอง จึงต้องนำส่วนที่เกินไปชำระต้นเงินตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา329 วรรคแรก และเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องคิดยอดเงินมาให้ถูกต้อง เมื่อโจทก์คิดยอดหนี้มาไม่ถูกต้อง จึงชอบที่จะยกฟ้องแต่ไม่ตัดสิทธิโจทก์ที่จะยื่นฟ้องใหม่ภายในอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4755/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระหนี้กู้ยืม: หลักฐานการชำระเงินต้น vs. ดอกเบี้ย และการนำไปชำระหนี้
การนำสืบถึงการชำระเงินที่ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อผู้ให้กู้มาแสดง หรือมีการเวนคืนเอกสารอันเป็นหลักฐานแห่งการกู้ยืม หรือแทงเพิกถอนในเอกสารตาม ป.พ.พ. มาตรา 653 วรรคสอง หมายถึงการนำสืบถึงการชำระต้นเงินเท่านั้น ไม่รวมถึงการชำระดอกเบี้ยด้วย จำเลยจึงนำสืบถึงจำนวนดอกเบี้ยที่ชำระไปได้ ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
จำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองชำระให้โจทก์สูงกว่าดอกเบี้ยจากต้นเงินตามสัญญากู้และสัญญาจำนองนับแต่วันกู้ยืมมาจนถึงวันฟ้อง เงินส่วนที่ชำระดอกเบี้ยซึ่งเกินดังกล่าวต้องนำไปชำระต้นเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคแรก
จำนวนดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองชำระให้โจทก์สูงกว่าดอกเบี้ยจากต้นเงินตามสัญญากู้และสัญญาจำนองนับแต่วันกู้ยืมมาจนถึงวันฟ้อง เงินส่วนที่ชำระดอกเบี้ยซึ่งเกินดังกล่าวต้องนำไปชำระต้นเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 329 วรรคแรก