พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1248/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การโอนสิทธิการเช่าที่สมบูรณ์ แม้ไม่ได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ การยินยอมของผู้เช่าเดิมและผู้ให้เช่าเพียงพอ
บันทึกการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าจากส.ผู้เช่าเดิมมาเป็นจำเลยผู้เช่าใหม่ในหนังสือสัญญาเช่าตึกแถวหน้าแรกระบุไว้ว่าโจทก์ในฐานะผู้ให้เช่าจำเลยในฐานะผู้เช่าใหม่และส. ในฐานะผู้เช่าเดิมได้ลงลายมือชื่อรับทราบการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าตึกแถวแล้วถือได้ว่าโจทก์และส. ได้บอกกล่าวการโอนและให้ความยินยอมการโอนสิทธิการเช่าตึกแถวเป็นหนังสือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา306วรรคหนึ่งการโอนสิทธิการเช่าตึกแถวจึงสมบูรณ์ แม้หนังสือสัญญาเช่าตึกแถวระหว่างโจทก์กับส. จะได้จดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่มาก่อนแต่ก็ไม่มีกฎหมายบังคับให้การเปลี่ยนแปลงผู้เช่าจากผู้เช่าเดิมมาเป็นผู้เช่าใหม่ต้องให้พนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมหนังสือสัญญาเช่ารับทราบด้วยแม้โจทก์จำเลยหรือส. ไม่ได้แจ้งการเปลี่ยนแปลงผู้เช่าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ผู้จดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมบันทึกเปลี่ยนแปลงผู้เช่าก็สมบูรณ์จำเลยย่อมต้องผูกพันต่อโจทก์ตามหนังสือสัญญาเช่าเมื่อจำเลยผิดสัญญาโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดสัญญา, ความรับผิดร่วม, อายุความ: การกระทำของกรรมการและตัวแทนเรือ, ผลกระทบต่อความเสียหายของบริษัท
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายไม่ได้รับเงินค่าระวางสินค้าเงินชดเชยค่าใช้จ่ายและค่าเจรจาในการปล่อยเรือส่วนรายละเอียดเรื่องค่าเสียหายโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณาฟ้องชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา172วรรคสอง สัญญาให้บริการร่วมกันระหว่างโจทก์กับบริษัทท.กำหนดให้บริษัทท. ต้องมอบหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่โจทก์ยึดถือเป็นประกันความเสียหายแต่จำเลยที่1ผู้อำนวยการของโจทก์ลงนามในสัญญาโดยมีแต่สำเนาหนังสือค้ำประกันและสั่งการเกี่ยวกับการเดินเรือโดยไม่ผ่านฝ่ายปฏิบัติการตามระเบียบทั้งยังทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่2มีอำนาจเต็มในนามจำเลยที่1เป็นเหตุให้จำเลยที่2ใช้เอกสารต่างๆแสดงต่อบุคคลภายนอกและก่อหนี้ขึ้นเมื่อเรือของโจทก์ถูกยึดโดยคำสั่งของศาลต่างประเทศเป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่างๆดังนี้แม้ว่าจำเลยที่1จะมีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนโจทก์ก็ตามแต่การกระทำต่างๆดังกล่าวของจำเลยที่1ก็เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหายทั้งเป็นการฝ่าฝืนต่อคำสั่งและระเบียบข้อบังคับของโจทก์และไม่ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังจึงต้องร่วมกับจำเลยที่2รับผิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ต่อบริษัทท.เพราะไม่มีต้นฉบับหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้โจทก์ยึดถือการสั่งการเดินเรือของจำเลยที่1เป็นเหตุให้จำเลยที่2นำเรือไปเดินรับส่งสินค้ายังท่าเรือที่มิได้ระบุในสัญญาเป็นเหตุให้เรือถูกยึดการที่จำเลยที่2นำหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่1ออกให้เป็นผู้แทนเรือไปใช้แสดงต่อบุคคลต่างๆหาประโยชน์ในทางมิชอบล้วนแต่เป็นผลโดยตรงของการที่จำเลยที่1กระทำละเมิดร่วมกับจำเลยที่2จำเลยที่1จึงต้องร่วมกับจำเลยที่2รับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดแก่โจทก์ หนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของโจทก์กำหนดว่ากรรมการ2นายมีอำนาจลงนามในสัญญาตราสารเอกสารสำคัญแทนบริษัทและประทับตราบริษัทดังนั้นเมื่อมีผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์อายุความ1ปีจึงเริ่มนับเมื่อกรรมการดังกล่าวรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนมิใช่นับแต่สภากรรมการรู้แต่เมื่อกรรมการ2นายผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้เข้าร่วมประชุมสภากรรมการด้วยจึงถือว่าได้รู้ในฐานะผู้แทนโจทก์แล้วแต่เมื่อขณะที่รู้นั้นเหตุละเมิดยังไม่เกิดอายุความจึงยังไม่เริ่มนับอายุความจะเริ่มนับเมื่อมีเหตุละเมิดเกิดขึ้นและผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 874/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดสัญญา-การกระทำละเมิดของผู้มีอำนาจ-อายุความ-ความรับผิดร่วมกัน
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาแล้วว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันทำละเมิดต่อโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย ไม่ได้รับเงินค่าระวางสินค้า เงินชดเชย ค่าใช้จ่าย และค่าเจรจาในการปล่อยเรือ ส่วนรายละเอียดเรื่องค่าเสียหายโจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา ฟ้องชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา 172 วรรคสอง
สัญญาให้บริการร่วมกันระหว่างโจทก์กับบริษัท ท.กำหนดให้บริษัท ท.ต้องมอบหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่โจทก์ยึดถือเป็นประกันความเสียหาย แต่จำเลยที่ 1 ผู้อำนวยการของโจทก์ลงนามในสัญญาโดยมีแต่สำเนาหนังสือค้ำประกันและสั่งการเกี่ยวกับการเดินเรือโดยไม่ผ่านฝ่ายปฏิบัติการตามระเบียบ ทั้งยังทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 มีอำนาจเต็มในนามจำเลยที่ 1เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ใช้เอกสารต่าง ๆ แสดงต่อบุคคลภายนอกและก่อหนี้ขึ้นเมื่อเรือของโจทก์ถูกยึดโดยคำสั่งของศาลต่างประเทศ เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้ แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนโจทก์ก็ตาม แต่การกระทำต่าง ๆ ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย ทั้งเป็นการฝ่าฝืนต่อคำสั่งและระเบียบข้อบังคับของโจทก์ และไม่ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์
โจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ต่อบริษัท ท.เพราะไม่มีต้นฉบับหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้โจทก์ยึดถือ การสั่งการเดินเรือของจำเลยที่ 1เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำเรือไปเดินรับส่งสินค้ายังท่าเรือที่มิได้ระบุในสัญญาเป็นเหตุให้เรือถูกยึด การที่จำเลยที่ 2 นำหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 ออกให้เป็นผู้แทนเรือไปใช้แสดงต่อบุคคลต่าง ๆ หาประโยชน์ในทางมิชอบ ล้วนแต่เป็นผลโดยตรงของการที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดแก่โจทก์
หนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับของโจทก์กำหนดว่า กรรมการ2 นาย มีอำนาจลงนามในสัญญาตราสารเอกสารสำคัญแทนบริษัทและประทับตราบริษัทดังนั้น เมื่อมีผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ อายุความ 1 ปี จึงเริ่มนับเมื่อกรรมการดังกล่าวรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนมิใช่นับแต่สภากรรมการรู้แต่เมื่อกรรมการ 2 นาย ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้เข้าร่วมประชุมสภากรรมการด้วย จึงถือว่าได้รู้ในฐานะผู้แทนโจทก์แล้ว แต่เมื่อขณะที่รู้นั้นเหตุละเมิดยังไม่เกิด อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ อายุความจะเริ่มนับเมื่อมีเหตุละเมิดเกิดขึ้นและผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
สัญญาให้บริการร่วมกันระหว่างโจทก์กับบริษัท ท.กำหนดให้บริษัท ท.ต้องมอบหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้แก่โจทก์ยึดถือเป็นประกันความเสียหาย แต่จำเลยที่ 1 ผู้อำนวยการของโจทก์ลงนามในสัญญาโดยมีแต่สำเนาหนังสือค้ำประกันและสั่งการเกี่ยวกับการเดินเรือโดยไม่ผ่านฝ่ายปฏิบัติการตามระเบียบ ทั้งยังทำหนังสือมอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 มีอำนาจเต็มในนามจำเลยที่ 1เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 ใช้เอกสารต่าง ๆ แสดงต่อบุคคลภายนอกและก่อหนี้ขึ้นเมื่อเรือของโจทก์ถูกยึดโดยคำสั่งของศาลต่างประเทศ เป็นเหตุให้โจทก์ต้องเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ดังนี้ แม้ว่าจำเลยที่ 1 จะมีอำนาจหน้าที่กระทำการแทนโจทก์ก็ตาม แต่การกระทำต่าง ๆ ดังกล่าวของจำเลยที่ 1 ก็เป็นการกระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่อทำให้โจทก์เสียหาย ทั้งเป็นการฝ่าฝืนต่อคำสั่งและระเบียบข้อบังคับของโจทก์ และไม่ใช้ความเอื้อเฟื้อสอดส่องอย่างบุคคลค้าขายผู้ประกอบด้วยความระมัดระวังจึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดต่อโจทก์
โจทก์ไม่สามารถบังคับชำระหนี้ต่อบริษัท ท.เพราะไม่มีต้นฉบับหนังสือค้ำประกันของธนาคารให้โจทก์ยึดถือ การสั่งการเดินเรือของจำเลยที่ 1เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำเรือไปเดินรับส่งสินค้ายังท่าเรือที่มิได้ระบุในสัญญาเป็นเหตุให้เรือถูกยึด การที่จำเลยที่ 2 นำหนังสือมอบอำนาจที่จำเลยที่ 1 ออกให้เป็นผู้แทนเรือไปใช้แสดงต่อบุคคลต่าง ๆ หาประโยชน์ในทางมิชอบ ล้วนแต่เป็นผลโดยตรงของการที่จำเลยที่ 1 กระทำละเมิดร่วมกับจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 รับผิดชดใช้ค่าเสียหายทั้งหมดแก่โจทก์
หนังสือบริคณห์สนธิ และข้อบังคับของโจทก์กำหนดว่า กรรมการ2 นาย มีอำนาจลงนามในสัญญาตราสารเอกสารสำคัญแทนบริษัทและประทับตราบริษัทดังนั้น เมื่อมีผู้กระทำละเมิดต่อโจทก์ อายุความ 1 ปี จึงเริ่มนับเมื่อกรรมการดังกล่าวรู้ถึงการละเมิด และรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนมิใช่นับแต่สภากรรมการรู้แต่เมื่อกรรมการ 2 นาย ผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์ได้เข้าร่วมประชุมสภากรรมการด้วย จึงถือว่าได้รู้ในฐานะผู้แทนโจทก์แล้ว แต่เมื่อขณะที่รู้นั้นเหตุละเมิดยังไม่เกิด อายุความจึงยังไม่เริ่มนับ อายุความจะเริ่มนับเมื่อมีเหตุละเมิดเกิดขึ้นและผู้เสียหายรู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้พึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 687/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย แม้ผู้เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามหมายเรียก ก็ยังมีสิทธิอุทธรณ์ได้
แม้ประมวลรัษฎากรมาตรา88ประกอบมาตรา87(3)จะมีบทบัญญัติห้ามมิให้อุทธรณ์การประเมินในกรณีที่ผู้มีหน้าที่เสียภาษีไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกของเจ้าพนักงานประเมินหรือไม่ยอมตอบคำถามของเจ้าพนักงานประเมินโดยไม่มีเหตุผลอันสมควรก็ตามแต่เมื่อการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวเป็นการประเมินที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายหาใช่เป็นการประเมินเพราะโจทก์ไม่ปฏิบัติตามหมายเรียกแต่เพียงอย่างเดียวอันจะทำให้โจทก์หมดสิทธิที่จะอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ต่อไปไม่โจทก์จึงมีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลขอให้เพิกถอนการประเมินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเช่าที่ดิน ต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ก่อน หากไม่ปฏิบัติตามเป็นการฟ้องคดีไม่ชอบ
การที่ผู้เช่านาจะฟ้องคดีขอให้ผู้รับโอนโอนนาที่เช่าให้แก่ผู้เช่าตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524โดยผู้เช่าอ้างว่าผู้ให้เช่าขายนาที่เช่าไปโดยไม่แจ้งให้ผู้เช่าทราบนั้นผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนกฎหมายเสียก่อนกล่าวคือต้องมีการร้องขอต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลเพื่อวินิจฉัยเสียก่อนซึ่งเป็นขั้นตอนที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามมาตรา54ของพระราชบัญญัติดังกล่าวหากผู้เช่าไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลก็ต้องอุทธรณ์ต่อไปยังคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดเพื่อวินิจฉัยซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามมาตรา56ของพระราชบัญญัติดังกล่าวเมื่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดวินิจฉัยแล้วยังไม่เป็นที่พอใจอยู่อีกผู้เช่าจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลหรือฟ้องศาลได้ตามมาตรา57ของพระราชบัญญัติดังกล่าวแต่โจทก์ฟ้องคดีนี้อ้างสิทธิตามพระราชบัญญัติดังกล่าวโดยมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังได้กล่าวข้างต้นจึงเป็นการฟ้องคดีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย โจทก์ฎีกาโต้แย้งเฉพาะประเด็นเรื่องโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524หรือไม่เท่านั้นแต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลสำหรับประเด็นเรื่องค่าเสียหายซึ่งโจทก์มิได้ฎีกามาด้วยจึงเป็นการเสียค่าขึ้นศาลเกินมาไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 100/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีเช่าที่ดินต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของ พ.ร.บ.เช่าที่ดินฯ ก่อน จึงจะชอบด้วยกฎหมาย
การที่ผู้เช่านาจะฟ้องคดีขอให้ผู้รับโอนโอนนาที่เช่าให้แก่ผู้เช่าตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 โดยผู้เช่าอ้างว่าผู้ให้เช่าขายนาที่เช่าไปโดยไม่แจ้งให้ผู้เช่าทราบนั้น ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายเสียก่อน กล่าวคือ ต้องมีการร้องขอต่อคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบลเพื่อวินิจฉัยเสียก่อน ซึ่งเป็นขั้นตอนที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 54 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว หากผู้เช่าไม่พอใจคำวินิจฉัยของคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำตำบล ก็ต้องอุทธรณ์ต่อไปยังคณะกรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดเพื่อวินิจฉัย ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่งที่ผู้เช่าจะต้องปฏิบัติตามมาตรา 56 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว เมื่อคณะ-กรรมการการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมประจำจังหวัดวินิจฉัยแล้วยังไม่เป็นที่พอใจอยู่อีก ผู้เช่าจึงจะมีสิทธิอุทธรณ์ต่อศาลหรือฟ้องศาลได้ตามมาตรา 57 ของ พ.ร.บ.ดังกล่าว แต่โจทก์ฟ้องคดีนี้อ้างสิทธิตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวโดยมิได้ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติไว้ดังได้กล่าวข้างต้น จึงเป็นการฟ้องคดีโดยมิชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฎีกาโต้แย้งเฉพาะประเด็นเรื่องโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524หรือไม่เท่านั้น แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลสำหรับประเด็นเรื่องค่าเสียหายซึ่งโจทก์มิได้ฎีกามาด้วย จึงเป็นการเสียค่าขึ้นศาลเกินมาไม่ถูกต้อง
โจทก์ฎีกาโต้แย้งเฉพาะประเด็นเรื่องโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องเพราะไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนตามพระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524หรือไม่เท่านั้น แต่โจทก์เสียค่าขึ้นศาลสำหรับประเด็นเรื่องค่าเสียหายซึ่งโจทก์มิได้ฎีกามาด้วย จึงเป็นการเสียค่าขึ้นศาลเกินมาไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7471/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งปริมาณการผลิตล่าช้าถือเป็นการฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกำหนดราคาสินค้า แม้ไม่มีผลเสียต่อราชการ
ประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด กำหนดให้ผู้ผลิตสินค้าควบคุมแจ้งปริมาณการผลิตหรือการนำเข้าของแต่ละเดือนเป็นประจำทุกไตรมาส (3 เดือน) ต่อเลขาธิการภายในเดือนแรกของไตรมาส(3 เดือน) ถัดไป ย่อมหมายถึงว่าผู้ผลิตสินค้าควบคุมมีหน้าที่ต้องยื่นแบบแจ้งปริมาณการผลิตภายในเวลาที่กำหนด การที่จำเลยจัดทำแบบแจ้งปริมาณการผลิตเสร็จเมื่อวันที่ 27 เมษายน 2528 แล้วไม่ยื่นแบบแจ้งต่อเลขาธิการคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดภายในวันที่ 30 เมษายน 2528 จะถือว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามประกาศดังกล่าวหาได้ไม่ จำเลยจึงมีความผิดตาม พ.ร.บ.กำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาด มาตรา 43
การที่จำเลยแจ้งปริมาณการผลิตหรือการนำเข้าของแต่ละเดือนเป็นประจำทุกไตรมาสล่าช้ากว่ากำหนด 4 วัน และจำเลยไม่ได้รับประโยชน์และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ก็ถือว่าจำเลยมีเจตนาฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดแล้ว เพราะประกาศดังกล่าวประกาศใช้เพื่อควบคุมสินค้าบางประเภทที่ทางราชการเห็นว่าผู้ผลิตผู้จำหน่ายอาจจะเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
การที่จำเลยแจ้งปริมาณการผลิตหรือการนำเข้าของแต่ละเดือนเป็นประจำทุกไตรมาสล่าช้ากว่ากำหนด 4 วัน และจำเลยไม่ได้รับประโยชน์และก่อให้เกิดความเสียหายแก่ทางราชการ ก็ถือว่าจำเลยมีเจตนาฝ่าฝืนประกาศคณะกรรมการกลางกำหนดราคาสินค้าและป้องกันการผูกขาดแล้ว เพราะประกาศดังกล่าวประกาศใช้เพื่อควบคุมสินค้าบางประเภทที่ทางราชการเห็นว่าผู้ผลิตผู้จำหน่ายอาจจะเอารัดเอาเปรียบผู้บริโภค
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6892/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายจากเพลิงไหม้: โจทก์ต้องพิสูจน์การกระทำละเมิดของจำเลย ไม่ใช่ความเสียหายจากตัวทรัพย์
กรณีที่เข้าข้อสันนิษฐานตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 437 นั้น จะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดจากตัวทรัพย์นั้นโดยตรง แม้กระแสไฟฟ้าจะเป็นทรัพย์ที่เกิดอันตรายโดยสภาพแต่ตามฟ้องโจทก์อ้างเหตุละเมิดเพราะจำเลยทั้งสองไม่ตัดกระแสไฟฟ้าให้ไม่ปลอดภัยต่อการดับเพลิง เป็นเหตุให้เพลิงลุกลามไหม้บ้านโจทก์ ซึ่งเป็นการกระทำของบุคคล หาใช่ความเสียหายที่เกิดจากตัวทรัพย์คือกระแสไฟฟ้าไม่ โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6892/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานความเสียหายจากทรัพย์สิน: การกระทำของบุคคลไม่ใช่ความเสียหายจากตัวทรัพย์
กรณีที่เข้าข้อสันนิษฐานตาม ป.พ.พ. มาตรา 437 นั้น จะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดจากตัวทรัพย์นั้นโดยตรง แม้กระแสไฟฟ้าจะเป็นทรัพย์ที่เกิดอันตรายโดยสภาพ แต่ตามฟ้องโจทก์อ้างเหตุละเมิดเพราะจำเลยทั้งสองไม่ตัดกระแส-ไฟฟ้าทำให้ไม่ปลอดภัยต่อการดับเพลิง เป็นเหตุให้เพลิงลุกลามไหม้บ้านโจทก์ ซึ่งเป็นการกระทำของบุคคล หาใช่ความเสียหายที่เกิดจากตัวทรัพย์คือกระแสไฟฟ้าไม่โจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมในที่ดินซื้อขณะสมรสโดยมิได้จดทะเบียน และการฉ้อฉลในการโอนขาย
โจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวสัญชาติอเมริกัน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทให้กลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ดังเดิม และเรียกค่าเสียหายหากไม่สามารถทำได้ก็ขอให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ไม่ใช่ฟ้องขอให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้ตามฟ้องโจทก์จะบรรยายถึงกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาทและโจทก์เป็นคนต่างด้าวก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิในส่วนของตน เพราะตามประมวลกฎหมายที่ดินมิได้ห้ามขาดไม่ให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นแต่เพียงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวงและต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น และในกรณีที่คนต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94แสดงว่าแม้จะเป็นคนต่างด้าวก็สามารถมีสิทธิในที่ดินได้โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง โจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างการทดลองใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ต่อมาได้มีพิธีสมรสตามประเพณีไทย แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่ดินพิพาท โดยเงินส่วนหนึ่ง ญาติผู้ใหญ่ให้ไว้ในวันแต่งงานเงินดังกล่าวได้มาขณะอยู่ร่วมกัน โจทก์ย่อมมีส่วนด้วยอีกส่วนหนึ่งยืมจากมารดาโจทก์ และเงินอีกส่วนหนึ่งกู้ยืมจากธนาคาร โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งโจทก์ช่วยผ่อนชำระแก่ธนาคารจนหมดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหากินร่วมกัน โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมแม้จำเลยที่ 1จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1ก็ไม่มีอำนาจขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 เป็นหญิงหม้ายเจ้าพนักงานที่ดินจึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2ถึงที่ 4 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้