พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6827/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์รวมของคนต่างด้าวและสามีภริยาโดยไม่ได้จดทะเบียน การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการโอนที่ดิน
โจทก์เป็นบุคคลต่างด้าวสัญชาติอเมริกัน โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินพิพาทให้กลับมาเป็นของจำเลยที่ 1 ดังเดิม และเรียกค่าเสียหายหากไม่สามารถทำได้ก็ขอให้จำเลยร่วมกันชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ ไม่ใช่ฟ้องขอให้โจทก์มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท แม้ตามฟ้องโจทก์จะบรรยายถึงกรรมสิทธิ์รวมระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ในที่ดินพิพาทและโจทก์เป็นคนต่างด้าวก็ตาม โจทก์ก็มีสิทธิในส่วนของตน เพราะตามประมวลกฎหมายที่ดินมิได้ห้ามขาดไม่ให้คนต่างด้าวถือกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นแต่เพียงต้องเป็นไปตามเงื่อนไขและวิธีการซึ่งกำหนดโดยกฎกระทรวงและต้องได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยเท่านั้น และในกรณีที่คนต่างด้าวได้ที่ดินมาโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ให้คนต่างด้าวนั้นจัดการจำหน่ายภายในเวลาที่อธิบดีกำหนดให้ ถ้าไม่จำหน่ายที่ดินภายในเวลาที่กำหนด ให้อธิบดีกรมที่ดินมีอำนาจจำหน่ายที่ดินนั้นตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 94 แสดงว่าแม้จะเป็นคนต่างด้าวก็สามารถมีสิทธิในที่ดินได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
โจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างการทดลองใช้ชีวิตคู่ร่วมกันต่อมาได้มีพิธีสมรสตามประเพณีไทย แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่ดินพิพาท โดยเงินส่วนหนึ่ง ญาติผู้ใหญ่ให้ไว้ในวันแต่งงาน เงินดังกล่าวได้มาขณะอยู่ร่วมกัน โจทก์ย่อมมีส่วนด้วย อีกส่วนหนึ่งยืมจากมารดาโจทก์ และเงินอีกส่วนหนึ่งกู้ยืมจากธนาคาร โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งโจทก์ช่วยผ่อนชำระแก่ธนาคารจนหมดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหากินร่วมกัน โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมแม้จำเลยที่ 1 จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 เป็นหญิงหม้าย เจ้าพนักงานที่ดินจึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้
โจทก์กับจำเลยที่ 1 อยู่ระหว่างการทดลองใช้ชีวิตคู่ร่วมกันต่อมาได้มีพิธีสมรสตามประเพณีไทย แต่ยังไม่ได้จดทะเบียนสมรส ถือว่าโจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นสามีภริยาโดยมิได้จดทะเบียนสมรส โจทก์กับจำเลยที่ 1 ได้ซื้อที่ดินพิพาท โดยเงินส่วนหนึ่ง ญาติผู้ใหญ่ให้ไว้ในวันแต่งงาน เงินดังกล่าวได้มาขณะอยู่ร่วมกัน โจทก์ย่อมมีส่วนด้วย อีกส่วนหนึ่งยืมจากมารดาโจทก์ และเงินอีกส่วนหนึ่งกู้ยืมจากธนาคาร โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้กู้ โจทก์เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ซึ่งโจทก์ช่วยผ่อนชำระแก่ธนาคารจนหมดแล้ว ที่ดินพิพาทจึงเป็นทรัพย์สินที่เกิดจากการทำมาหากินร่วมกัน โจทก์กับจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมแม้จำเลยที่ 1 จะมีชื่อเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในโฉนดแต่ผู้เดียว จำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจขายโดยโจทก์ไม่ยินยอม การที่จำเลยที่ 1 แจ้งข้อความแก่เจ้าพนักงานที่ดินว่าจำเลยที่ 1 เป็นหญิงหม้าย เจ้าพนักงานที่ดินจึงจดทะเบียนโอนขายที่ดินพิพาทให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 โจทก์มีอำนาจฟ้องเรียกให้จำเลยที่ 1 ชดใช้ค่าเสียหายได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6705/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษี: การโอนสำนวนตรวจสอบภาษีทำให้เจ้าพนักงานสรรพากรเขต 3 มีอำนาจแจ้งการประเมินภาษีได้
เมื่อสำนักงานสรรพากรจังหวัดบุรีรัมย์โอนสำนวนการตรวจสอบไปยังสำนักงานสรรพากรเขต 3 เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับท้องที่สรรพากรเขต 3 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นสรรพากรเขต 3จึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6705/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การโอนสำนวนและผู้มีอำนาจ
เมื่อสำนักงานสรรพากรจังหวัดบุรีรัมย์โอนสำนวนการตรวจสอบไปยังสำนักงานสรรพากรเขต 3 เจ้าพนักงานประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับท้องที่สรรพากรเขต 3 ซึ่งมีตำแหน่งเป็นสรรพากรเขต 3จึงมีอำนาจประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลและแจ้งการประเมินไปยังโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องในคดีซื้อขายเมื่อจำเลยล้มละลาย โจทก์ต้องดำเนินการตามพ.ร.บ.ล้มละลาย ไม่เช่นนั้นไม่มีอำนาจฟ้อง
การล้มละลายของจำเลยที่ 3 มีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 62เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 3เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลยที่ 3 หรือซึ่งจำเลยที่ 3 จะได้รับจากผู้อื่น ประนีประนอมยอมความหรือฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 เมื่อจำเลยที่ 3ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 จึงตกอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์ซึ่งมีสิทธิตามสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทที่มีต่อจำเลยที่ 3จะดำเนินการได้ก็แต่โดยวิธีการที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 122 และหากโจทก์ได้รับความเสียหาย โดยเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายได้ โจทก์ไม่ได้ดำเนินการตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483มาตรา 122 ทั้งโจทก์ก็มิใช่เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่จำเลยที่ 3 ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลายด้วย การที่โจทก์กลับนำสิทธิตามสัญญามาฟ้องจำเลยที่ 3 หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 3 เป็นบุคคลล้มละลายและยังไม่พ้นภาวะจากการล้มละลายโดยจำเลยที่ 3 ไม่มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเองในขณะนั้น ประกอบกับที่ดินพิพาทได้โอนไปยังจำเลยที่ 2ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแล้วและหากที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทให้กลับคืนสู่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ต่อไปตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทที่ยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งได้โอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลายได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6450/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของการล้มละลายต่อสิทธิของเจ้าหนี้และการจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้
การล้มละลายของจำเลยที่ 3 มีผลตั้งแต่วันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ตาม พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 62 เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 3 แล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 เก็บรวบรวมและรับเงินหรือทรัพย์สินซึ่งจะตกได้แก่จำเลยที่ 3หรือซึ่งจำเลยที่ 3 จะได้รับจากผู้อื่น ประนีประนอมยอมความหรือฟ้องร้องหรือต่อสู้คดีใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 22 เมื่อจำเลยที่ 3 ต้องคำพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 จึงตกอยู่ในอำนาจของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามบทบัญญัติดังกล่าวโจทก์ซึ่งมีสิทธิตามสัญญาซื้อขายที่ดินแปลงพิพาทที่มีต่อจำเลยที่ 3 จะดำเนินการได้ก็แต่โดยวิธีการที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 122 และหากโจทก์ได้รับความเสียหาย โดยเหตุที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาดังกล่าว โจทก์มีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายได้
โจทก์ไม่ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 122 ทั้งโจทก์ก็มิใช่เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่จำเลยที่ 3ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลายด้วย การที่โจทก์กลับนำสิทธิตามสัญญามาฟ้องจำเลยที่ 3หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 3 เป็นบุคคลล้มละลายและยังไม่พ้นภาวะจากการล้มละลาย โดยจำเลยที่ 3 ไม่มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเองในขณะนั้น ประกอบกับที่ดินพิพาทได้โอนไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแล้วและหากที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทให้กลับคืนสู่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ต่อไปตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทที่จะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งได้โอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลายได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
โจทก์ไม่ได้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483มาตรา 122 ทั้งโจทก์ก็มิใช่เจ้าหนี้ที่ได้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีที่จำเลยที่ 3ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลายด้วย การที่โจทก์กลับนำสิทธิตามสัญญามาฟ้องจำเลยที่ 3หลังจากศาลพิพากษาให้จำเลยที่ 3 เป็นบุคคลล้มละลายและยังไม่พ้นภาวะจากการล้มละลาย โดยจำเลยที่ 3 ไม่มีอำนาจจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตนเองในขณะนั้น ประกอบกับที่ดินพิพาทได้โอนไปยังจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแล้วและหากที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 3 ก็เป็นอำนาจหน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะเพิกถอนการโอนที่ดินพิพาทให้กลับคืนสู่กองทรัพย์สินของจำเลยที่ 3 ต่อไปตามพ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 โจทก์จึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียในที่ดินพิพาทที่จะยกความเสียเปล่าแห่งโมฆะกรรมขึ้นกล่าวอ้างแก่จำเลยที่ 1 ซึ่งได้โอนขายที่ดินพิพาทแก่จำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ต้องคำพิพากษาให้ล้มละลายได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยินยอมของผู้ค้ำประกันต่อการต่ออายุสัญญากู้ แม้ไม่มีข้อความระบุโดยตรง หากมีข้อตกลงเกี่ยวกับการผ่อนเวลาชำระหนี้ ย่อมถือว่ายินยอม
ตามสัญญาค้ำประกันในการประกันการเพิ่มวงเงินมีข้อความว่า ถ้าผู้ให้กู้ผ่อนเวลา การชำระหนี้หรือต่ออายุสัญญาเงินกู้ให้แก่ผู้กู้โดยจะแจ้งหรือมิได้แจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก็ตาม ผู้ค้ำประกันเป็นอันยอมตกลงด้วยการให้ผ่อนเวลาการชำระหนี้หรือการให้ต่ออายุสัญญาเงินกู้เช่นว่านั้นทุกครั้งไป แม้สัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นก่อนการค้ำประกันการเพิ่มวงเงินกู้นั้นจะมีข้อความแตกต่างไปโดยไม่มีข้อความเกี่ยวกับการต่ออายุสัญญาเงินกู้ แต่ก็มีข้อตกลงว่า ถ้าผู้ให้กู้ผ่อนเวลาให้แก่ผู้กู้ชำระหนี้โดยจะได้แจ้งหรือมิได้แจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก็ตาม ผู้ค้ำประกันเป็นอันยอมตกลงด้วยในการผ่อนเวลานั้นทุกครั้งไป การต่ออายุสัญญาเงินกู้ให้ผู้กู้ในกรณีนี้ก็หมายถึงการผ่อนเวลาชำระหนี้นั่นเองแม้ไม่มีข้อความระบุถึงการต่ออายุสัญญาโดยตรง เมื่อมีการผ่อนเวลาชำระหนี้โดยต่ออายุสัญญากู้ให้ลูกหนี้ก็ถือว่าผู้ค้ำประกันยินยอมตกลงด้วยผู้ค้ำประกันจึงยกเอาเหตุนี้มาปลดเปลื้องความรับผิดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6192/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การผ่อนเวลาชำระหนี้และการต่ออายุสัญญากู้ของผู้กู้มีผลผูกพันผู้ค้ำประกันตามข้อตกลงในสัญญาค้ำประกัน
ตามสัญญาค้ำประกันในการประกันการเพิ่มวงเงินมีข้อความว่าถ้าผู้ให้กู้ผ่อนเวลาการชำระหนี้หรือต่ออายุสัญญาเงินกูัให้แก่ผู้กู้โดยจะแจ้งหรือมิได้แจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก็ตาม ผู้ค้ำประกันเป็นอันยอมตกลงด้วยการให้ผ่อนเวลาการชำระหนี้หรือการให้ต่ออายุสัญญาเงินกู้เช่นว่านั้นทุกครั้งไป แม้สัญญาค้ำประกันที่ทำขึ้นก่อนการค้ำประกันการเพิ่มวงเงินกู้นั้นจะมีข้อความแตกต่างไปโดยไม่มีข้อความเกี่ยวกับการต่ออายุสัญญาเงินกู้ แต่ก็มีข้อตกลงว่า ถ้าผู้ให้กู้ผ่อนเวลาให้แก่ผู้กู้ชำระหนี้โดยจะได้แจ้งหรือมิได้แจ้งให้ผู้ค้ำประกันทราบก็ตาม ผู้ค้ำประกันเป็นอันยอมตกลงด้วยในการผ่อนเวลานั้นทุกครั้งไป การต่ออายุสัญญาเงินกู้ให้ผู้กู้ในกรณีนี้ก็หมายถึงการผ่อนเวลาชำระหนี้นั่นเอง แม้ไม่มีข้อความระบุถึงการต่ออายุสัญญาโดยตรง เมื่อมีการผ่อนเวลาชำระหนี้โดยต่ออายุสัญญากู้ให้ลูกหนี้ก็ถือว่าผู้ค้ำประกันยินยอมตกลงด้วยผู้ค้ำประกันจึงยกเอาเหตุนี้มาปลดเปลื้องความรับผิดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6110/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาต้องบังคับชำระหนี้ตามกฎหมายล้มละลาย แม้ทรัพย์สินยังอยู่กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์
การที่โจทก์ซึ่งแม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตามจะได้รับชำระหนี้นั้น จะต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ล้มละลายพ.ศ.2483 โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนำเงินประกันการขอทุเลาการบังคับที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์วางไว้ต่อศาลซึ่งยังเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ โดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายล้มละลายดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6110/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการชำระหนี้หลังการล้มละลาย: เจ้าหนี้ต้องปฏิบัติตามกฎหมายล้มละลายเพื่อรับชำระหนี้
การที่โจทก์ซึ่งแม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตามจะได้รับชำระหนี้นั้น จะต้องบังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนำเงินประกันการขอทุเลาการบังคับที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์วางไว้ต่อศาลซึ่งยังเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์ โดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายล้มละลายดังกล่าวหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6110/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีและการชำระหนี้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาในคดีล้มละลาย ต้องเป็นไปตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
การที่โจทก์ซึ่งแม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาของลูกหนี้ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตาม จะได้รับชำระหนี้นั้น จะต้องบังคับตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 โจทก์จะขอให้เจ้าพนักงานบังคับคดีนำเงินประกันการขอทุเลาการบังคับที่จำเลยวางไว้ต่อศาลซึ่งยังเป็นทรัพย์สินของลูกหนี้อยู่มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาแก่โจทก์โดยไม่ปฏิบัติตามกฎหมายล้มละลายดังกล่าวหาได้ไม่