คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวรรณ ตระการพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขอเป็นผู้ดูแลคนไร้ความสามารถ (บุคคลวิกลจริต) และสิทธิในฐานะบุตรบุญธรรม
คำว่าบุคคลวิกลจริตตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 เดิม (มาตรา 28 ใหม่) นั้นมิได้หมายเฉพาะถึงบุคคลผู้มีจิตผิดปกติ หรือตามที่เข้าใจกันทั่ว ๆ ไปว่าเป็นบ้าเท่านั้นไม่ แต่หมายรวมถึงบุคคลผู้มีกิริยาอาการผิดปกติเพราะสติวิปลาส คือ ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึก และขาดความรับผิดชอบด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวนี้ไม่สามารถประกอบกิจการของตนหรือประกอบกิจส่วนตัวของตนได้ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจ. ซึ่งผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลสั่งเป็นคนไร้ความสามารถนั้นไม่รู้สึกตัวเอง และพูดจารู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้าง ซึ่งแพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองฝ่อหรือสมองเสื่อมขั้นรุนแรงไม่สามารถรักษาให้หายได้ตลอดจนไม่อาจปฏิบัติภารกิจส่วนตัวได้ แสดงให้เห็นว่าจ. เป็นคนไม่มีสติสัมปชัญญะ ไร้ความสามารถที่จะดำเนินกิจการทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตนเองได้ พอถือได้ว่าเป็นบุคคลวิกลจริตตามบทบัญญัติดังกล่าวแล้ว และผู้ร้องเป็นบุตรบุญธรรมของ จ. ถือว่าเป็นผู้สืบสันดาน ย่อมมีฐานะอย่างเดียวกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายและมีสิทธิรับมรดกของ จ. ผู้ร้องจึงสมควรเป็นผู้อนุบาล จ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5466/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ บุคคลวิกลจริตและการเป็นคนไร้ความสามารถตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
คำว่า "บุคคลวิกลจริต" ตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 เดิม (มาตรา 28 ใหม่) นั้นมิได้หมายเฉพาะถึงบุคคลผู้มีจิตผิดปกติหรือตามที่เข้าใจกันทั่ว ๆ ไปว่าเป็นบ้า เท่านั้น แต่หมายรวมถึงบุคคลผู้มีกิริยาอาการผิดปกติเพราะสติวิปลาส คือ ขาดความรำลึก ขาดความรู้สึก และขาดความรับผิดชอบด้วย เพราะบุคคลดังกล่าวนี้ไม่สามารถประกอบกิจการของตนหรือประกอบกิจการส่วนตัวของตนได้ จ. ไม่รู้สึกตัวเองและพูดจารู้เรื่องบ้างไม่รู้เรื่องบ้างซึ่งแพทย์ให้การวินิจฉัยว่าเป็นโรคสมองฝ่อ หรือสมองเสื่อมขั้นรุนแรงไม่สามารถรักษาให้หายได้ ตลอดจนไม่อาจปฏิบัติภารกิจส่วนตัวได้แสดงให้เห็นว่า จ. เป็นคนไม่มีสติสัมปชัญญะไร้ความสามารถที่จะดำเนินกิจการทุกสิ่งทุกอย่างด้วยตนเองได้ พอถือได้ว่าเป็นบุคคลวิกลจริตตามความหมายแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 29 เดิม(มาตรา 28 ใหม่) แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5430/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย แม้มีคดีอาญาที่เกี่ยวข้องแต่ไม่กระทบการวินิจฉัย
เกี่ยวกับมูลเหตุคดีนี้จำเลยถูกโจทก์ที่ 1 ดำเนินคดีอาญาข้อหาหลีกเลี่ยงภาษีอากรและสำแดงราคาสินค้าอันเป็นเท็จ แต่พนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องจำเลย แต่คดีนี้มิใช่คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา เฉพาะอย่างยิ่งคดีส่วนอาญาก็มิได้มีการฟ้องคดีต่อศาล จึงไม่จำต้องฟังข้อเท็จจริงตามความเห็นของพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการ การวินิจฉัยพยานหลักฐานคดีนี้ย่อมเป็นไปตามที่คู่ความนำสืบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5427/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีอากรที่ถูกต้องตามกฎหมาย และอายุความในการเรียกร้องค่าภาษี
โจทก์ฟ้องโดยบรรยายถึงสภาพแห่งข้อหาสรุปได้ว่า จำเลยสั่งซื้อสินค้าประเภทนาฬิกาเข้ามาในราชอาณาจักร และจำเลยได้ยื่นใบขนสินค้าต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 โดยจำเลยสำแดงราคาสินค้าที่นำเข้า อากรขาเข้า ภาษีการค้า และภาษีบำรุงเทศบาลไว้ในเอกสารดังกล่าวตามเอกสารท้ายฟ้องโดยได้ระบุถึงประเภทของสินค้าที่นำเข้าและจำนวนภาษีอากรที่ต้องชำระด้วยแล้ว ซึ่งพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์ที่ 1 ตรวจพบว่าราคาสินค้าที่จำเลยสำแดงไว้ในใบขนสินค้าต่ำกว่าราคาแท้จริงของสินค้าที่จำเลยซื้อมาและต่ำกว่าราคาแท้จริงในท้องตลาด เป็นเหตุให้การชำระภาษีอากรไม่ครบถ้วนจึงประเมินราคาสินค้าใหม่และให้จำเลยเสียภาษีอากรเพิ่มเติมแต่จำเลยไม่ชำระ จึงฟ้องคดีขอให้บังคับจำเลยชำระภาษีอากรดังกล่าวฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องที่ได้บรรยายโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้วจึงเป็นฟ้องที่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 วรรคสอง ส่วนโจทก์ที่ 1 ทราบราคาสินค้าที่แท้จริงที่จำเลยซื้อมาได้อย่างไร และในท้องตลาดที่ใด ราคาเท่าใดเปรียบเทียบราคาดังกล่าวจากเอกสารอะไรนั้น เป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์สามารถนำสืบได้ในชั้นพิจารณา หาจำต้องบรรยายมาในคำฟ้องไม่ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ต้นฉบับเอกสารอยู่ที่ศุลกากรเมืองฮ่องกง เป็นกรณีที่ไม่สามารถนำต้นฉบับมาได้โดยประการอื่น และเท่ากับศาลภาษีอากรกลางได้อนุญาตให้นำสำเนาเอกสารมาสืบได้แล้วตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93(2) แม้จะเป็นภาพถ่ายสำเนาเอกสารที่ไม่มีผู้ลงชื่อรับรองสำเนาถูกต้องก็ตามก็รับฟังเอกสารดังกล่าวได้ ประมวลรัษฎากร มาตรา 19 เป็นบทบัญญัติที่กำหนดระยะเวลาให้เจ้าพนักงานประเมินมีอำนาจออกหมายเรียกตัวผู้ยื่นรายการมาไต่สวนในเมื่อมีเหตุอันควรเชื่อว่ารายการตามแบบที่ยื่นไม่ถูกต้องตามความจริงหรือไม่บริบูรณ์ได้ภายในกำหนด 5 ปี พ้นกำหนดนี้แล้วจะมีผลเพียงเจ้าพนักงานประเมินไม่มีอำนาจออกหมายเรียกผู้ยื่นรายการมาไต่สวนและออกหมายเรียกพยานกับสั่งให้ผู้ยื่นรายการหรือพยานนั้นนำบัญชี เอกสารหรือหลักฐานอื่นอันควรแก่เรื่องมาแสดงได้เท่านั้น หาใช่เป็นบทบัญญัติเรื่องอายุความในการเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรไม่ สิทธิเรียกร้องให้ชำระค่าภาษีอากรมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 167 เดิม(มาตรา 193/31 ที่แก้ไขใหม่)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5424/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดคดีมรดก: สิทธิทายาท vs. คำขอระงับการพิจารณาคดี
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรของล.และส.เมื่อล.ถึงแก่กรรม ส.ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของล.ได้จดทะเบียนโอนที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของล.ให้แก่โจทก์และโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอาศัยอยู่ในที่พิพาทอีกต่อไปจึงได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่พิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยอ้างว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียในที่พิพาทในฐานะผู้ร้องเป็นบุตรของล.มีสิทธิได้รับมรดกที่พิพาทร่วมกับโจทก์ ดังนี้การที่ผู้ร้องร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมดังกล่าวเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ แม้ตามคำร้องของผู้ร้องจะร้องสอดขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมแต่ก็ถือได้ว่าเป็นการร้องสอดเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อต่อสู้กับโจทก์และจำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 57(1) แต่การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามบทมาตราดังกล่าว คำร้องจะต้องแสดงโดยแจ้งชัดว่าสภาพแห่งสิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับความรับรองและคุ้มครองว่ามีอยู่อย่างไร พร้อมทั้งคำขอบังคับตามสิทธิที่ได้รับรองและคุ้มครองด้วย แม้ตามคำร้องของผู้ร้องที่อ้างว่ามีส่วนได้เสียในที่พิพาทเพราะผู้ร้องมีสิทธิได้รับมรดกที่พิพาทร่วมกับโจทก์นั้น ถือได้ว่าคำร้องได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งสิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับความรับรองและคุ้มครองแล้วก็ตาม แต่ที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งงดการพิจารณาคดีนี้ไว้ก่อนจนกว่าศาลจะได้มีคำสั่งแต่งตั้งทายาทโดยธรรมคนใดคนหนึ่งหรือทั้งหมดของล.เป็นผู้จัดการมรดกของล.สืบแทน ส.ต่อไปนั้น มิใช่เป็นคำบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่ได้รับรองหรือคุ้มครองตามนัยแห่งมาตรา 57(1)จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5424/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การร้องสอดเป็นคู่ความที่สาม: สิทธิในการได้รับมรดก และขอบเขตคำร้องที่ชอบ
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นบุตรของ ล. และ ส.เมื่อ ล.ถึงแก่กรรม ส.ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกของ ล.ได้จดทะเบียนโอนที่พิพาทซึ่งเป็นมรดกของ ล.ให้แก่โจทก์และโจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยอาศัยอยู่ในที่พิพาทอีกต่อไปจึงได้ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากที่พิพาท จำเลยให้การและฟ้องแย้งว่า ที่พิพาทตกเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลยตาม ป.พ.พ.มาตรา 1382 ขอให้ยกฟ้องและพิพากษาว่าที่พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของจำเลย ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมโดยอ้างว่าผู้ร้องมีส่วนได้เสียในที่พิพาทในฐานะผู้ร้องเป็นบุตรของ ล.มีสิทธิได้รับมรดกที่พิพาทร่วมกับโจทก์ ดังนี้การที่ผู้ร้องร้องสอดเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมดังกล่าวเพราะเห็นว่าเป็นการจำเป็นเพื่อยังให้ได้รับความรับรองคุ้มครอง หรือบังคับตามสิทธิของตนที่มีอยู่ แม้ตามคำร้องของผู้ร้องจะร้องสอดขอเข้ามาเป็นโจทก์ร่วมแต่ก็ถือได้ว่าเป็นการร้องสอดเข้าเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเพื่อต่อสู้กับโจทก์และจำเลยตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (1) แต่การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตามบทมาตราดังกล่าว คำร้องจะต้องแสดงโดยแจ้งชัดว่าสภาพแห่งสิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับความรับรองและคุ้มครองว่ามีอยู่อย่างไร พร้อมทั้งคำขอบังคับตามสิทธิที่ได้รับรองและคุ้มครองด้วย แม้ตามคำร้องของผู้ร้องที่อ้างว่ามีส่วนได้เสียในที่พิพาทเพราะผู้ร้องมีสิทธิได้รับมรดกที่พิพาทร่วมกับโจทก์นั้น ถือได้ว่าคำร้องได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งสิทธิของผู้ร้องที่จะได้รับความรับรองและคุ้มครองแล้วก็ตาม แต่ที่ผู้ร้องขอให้ศาลมีคำสั่งงดการพิจารณาคดีนี้ไว้ก่อนจนกว่าศาลจะได้มีคำสั่งแต่งตั้งทายาทโดยธรรมคนใดคนหนึ่งหรือทั้งหมดของ ล.เป็นผู้จัดการมรดกของ ล.สืบแทน ส.ต่อไปนั้น มิใช่เป็นคำบังคับตามสิทธิของผู้ร้องที่ได้รับรองหรือคุ้มครองตามนัยแห่งมาตรา 57 (1) จึงเป็นคำร้องสอดที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5415/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การครอบครองปรปักษ์ต้องอ้างเจตนาเป็นเจ้าของต่อเนื่องสิบปี หากมิได้อ้าง ศาลวินิจฉัยนอกประเด็น
การให้การต่อสู้ว่าครอบครองทรัพย์สินของผู้อื่นจนได้กรรมสิทธิ์เป็นข้ออ้างที่เป็นการรอนสิทธิในทรัพย์สินของผู้อื่น ดังนั้นข้ออ้างจะต้องชัดแจ้งตามเกณฑ์ที่ได้บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 กล่าวคือ นอกจากจะต้องอ้างว่าได้ครอบครองโดยสงบและเปิดเผยแล้ว ยังจะต้องอ้างว่าโดยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาสิบปีแล้วด้วย ถ้าทรัพย์สินนั้นเป็นอสังหาริมทรัพย์ เมื่อจำเลยให้การแต่เพียงว่าได้ครอบครองที่พิพาทโดยสงบและเปิดเผย โดยมิได้อ้างว่าด้วยเจตนาเป็นเจ้าของติดต่อกันเป็นเวลาสิบปี ถือไม่ได้ว่าจำเลยให้การต่อสู้ว่าได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ จึงไม่มีประเด็นข้อพิพาทดังกล่าวในคดีการที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยที่ 3 ได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นการวินิจฉัยนอกประเด็นข้อพิพาทและปัญหานี้เป็นปัญหาเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนโจทก์มีสิทธิยกขึ้นอ้างในชั้นศาลฎีกาได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีที่ฟ้องแย่งคืนที่ดิน: โจทก์ต้องพิสูจน์ข้ออ้างการมอบที่ดินให้ทำกินต่างดอกเบี้ย ไม่ใช่จำเลย
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่าโจทก์มอบที่ดินให้จำเลยทั้งสองทำกินต่างดอกเบี้ย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า โจทก์ขายที่พิพาทให้จำเลยทั้งสองแล้ว ถือว่าจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธโดยมิได้ตั้งประเด็นขึ้นมาใหม่เพราะข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ขายที่พิพาทให้จำเลยทั้งสองแล้วนั้นเป็นเพียงเหตุผลของการปฏิเสธเท่านั้น โจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ที่ว่า โจทก์มอบที่ดินให้จำเลยทั้งสองทำกินต่างดอกเบี้ย ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ว่าลายมือชื่อของผู้ขายในหนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นของโจทก์ อ. เป็นผู้พิมพ์หนังสือสัญญาขายที่ดินและเป็นผู้จดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทย่อมเป็นพยานบุคคลที่ได้เห็นหรือทราบข้อความเกี่ยวกับเรื่องที่จะเบิกความเป็นพยานนั้นโดยตรง จึงเป็นประจักษ์พยาน ไม่ใช่พยานชั้นสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีแย่งคืนที่ดิน: โจทก์ต้องพิสูจน์การมอบที่ดินให้ทำกินต่างดอกเบี้ย
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่าโจทก์มอบที่ดินให้จำเลยทั้งสองทำกินต่างดอกเบี้ย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า โจทก์ขายที่พิพาทให้จำเลยทั้งสองแล้ว ถือว่าจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธโดยมิได้ตั้งประเด็นขึ้นมาใหม่เพราะข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ขายที่พิพาทให้จำเลยทั้งสองแล้วนั้นเป็นเพียงเหตุผลของการปฏิเสธเท่านั้น โจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ที่ว่า โจทก์มอบที่ดินให้จำเลยทั้งสองทำกินต่างดอกเบี้ย ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ว่าลายมือชื่อของผู้ขายในหนังสือสัญญาขายที่ดินเป็นของโจทก์
อ.เป็นผู้พิมพ์หนังสือสัญญาขายที่ดินและเป็นผู้จดทะเบียนซื้อขายที่พิพาทย่อมเป็นพยานบุคคลที่ได้เห็นหรือทราบข้อความเกี่ยวกับเรื่องที่จะเบิกความเป็นพยานนั้นโดยตรง จึงเป็นประจักษ์พยาน ไม่ใช่พยานชั้นสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5400/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หน้าที่การนำสืบพยานในคดีที่พิพาทเรื่องการครอบครองที่ดิน: ผู้ฟ้องต้องพิสูจน์ข้ออ้างของตนเอง
โจทก์ฟ้องเรียกที่ดินคืนจากจำเลยทั้งสองโดยอ้างว่าโจทก์มอบที่ดินให้จำเลยทั้งสองทำกินต่างดอกเบี้ย จำเลยทั้งสองให้การต่อสู้ว่า โจทก์ขายที่พิพาทให้จำเลยทั้งสองแล้ว ถือว่าจำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธโดยมิได้ตั้งประเด็นขึ้นมาใหม่เพราะข้อเท็จจริงที่ว่าโจทก์ขายที่ดินให้จำเลยทั้งสองแล้วนั้นเป็นเพียงเหตุผลของการปฏิเสธ โจทก์ต้องมีหน้าที่นำสืบข้อเท็จจริงเพื่อสนับสนุนข้ออ้างตามคำฟ้องของโจทก์ที่ว่า โจทก์มอบที่พิพาทให้จำเลยทั้งสองทำกินต่างดอกเบี้ย ไม่ใช่เป็นหน้าที่ของจำเลยทั้งสองที่จะต้องนำสืบพิสูจน์ว่าลายมือผู้ขายในสัญญาขายที่พิพาทเป็นของโจทก์
of 65