พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5368/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากร: คดีพิพาทเกี่ยวกับหนี้ภาษีอากรและการเพิกถอนนิติกรรมฉ้อฉล
กรมสรรพากรโจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสองขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองมาเป็นมรดกของ น.ผู้ค้างชำระภาษีอากรแก่โจทก์ตามเดิม เนื่องจากจำเลยที่ 1ในฐานะผู้จัดการมรดกของ น.ได้โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2ทั้ง ๆ ที่จำเลยทั้งสองรู้ว่า น. เป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์อยู่ทำให้โจทก์เสียเปรียบเป็นการฉ้อฉล จำเลยทั้งสองให้การปฏิเสธหนี้ค่าภาษีอากรตามฟ้อง โดยจำเลยที่ 1 ต่อสู้ด้วยว่า น.ไม่ได้ค้างชำระค่าภาษีอากรหรือหนี้ใด ๆ แก่โจทก์ ประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีข้อหนึ่งมีว่า น. เจ้ามรดกค้างชำระหนี้ภาษีอากรต่อโจทก์อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีหรือไม่ ดังนั้นหากได้ความว่า น.เจ้ามรดกเป็นหนี้ค่าภาษีอากรจริงตามฟ้อง ศาลจึงจะต้องพิจารณาในประเด็นข้ออื่น ๆ ต่อไป หากไม่ได้ความเช่นนี้ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง ประเด็นที่ว่า น. เจ้ามรดกเป็นหนี้ค่าภาษีอากรหรือไม่จึงเป็นสาระสำคัญของคดีถือได้ว่าเป็นคดีที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตามมาตรา 7(2) แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 อยู่ในอำนาจของศาลภาษีอากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5368/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนนิติกรรมจากหนี้ภาษีค้างชำระ: คดีพิพาทสิทธิเรียกร้องของรัฐ
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนนิติกรรมการโอนที่ดินระหว่างจำเลยทั้งสองมาเป็นมรดกของ น.ผู้ค้างชำระภาษีอากรแก่โจทก์ตามเดิม เนื่องจากจำเลยที่ 1 ผู้จัดการมรดกของ น.ได้โอนที่ดินให้แก่จำเลยที่ 2 ทั้งที่รู้อยู่ว่า น.เป็นหนี้ค่าภาษีอากรโจทก์อยู่ ทำให้โจทก์เสียเปรียบ ในคดีดังกล่าวมีประเด็นข้อพิพาทข้อหนึ่งว่า น.เจ้ามรดกค้างชำระหนี้ภาษีอากรต่อโจทก์ อันจะทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องคดีหรือไม่ หากว่า น.เจ้ามรดกเป็นหนี้ค่าภาษีอากรจริง ศาลจะต้องพิจารณาในประเด็นข้ออื่น ๆ ต่อไป หากไม่ได้ความเช่นนั้นศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง ประเด็นที่ว่า น.เจ้ามรดกเป็นหนี้ค่าภาษีอากรหรือไม่ จึงเป็นสาระสำคัญของคดี ถือได้ว่าเป็นคดีที่พิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528มาตรา 7(2)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5342/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในการเพิกถอนการขายทอดตลาดในคดีล้มละลาย หากเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มอบหมายให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการแทน
การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้มอบให้เจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดที่ดินของจำเลยที่ 2 ผู้ถูกพิทักษ์ทรัพย์ในคดีล้มละลายแทนโดยที่ดินดังกล่าวได้ถูกยึดในคดีแพ่งเพื่อบังคับคดีตามคำพิพากษาตามยอมก่อนแล้วนั้น ถือได้ว่าเป็นการกระทำอย่างหนึ่งของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 146 การที่จำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดอ้างว่าการขายทอดตลาดกระทำไปโดยไม่สุจริต ซึ่งหากเป็นความจริงย่อมถือได้ว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายโดยการกระทำของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ จึงมีสิทธิยื่นคำร้องในคดีล้มละลายขอให้เพิกถอนการขายทอดตลาดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5191/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาตัวแทนและผลกระทบจากข้อจำกัดทางกฎหมายในการเช่าที่ราชพัสดุ
กรมธนารักษ์วางเงื่อนไขสำหรับผู้ประมูลสิทธิการเช่าเพื่อปลูกสร้างอาคารพาณิชย์ในที่ราชพัสดุแปลงพิพาทว่าจะต้องเป็นนิติบุคคลซึ่งมีทุนจดทะเบียนไม่ต่ำกว่า 10,000,000 บาท การที่โจทก์ทำสัญญามอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นตัวแทนโจทก์ไปดำเนินการดังกล่าวจึงไม่สามารถทำได้ เพราะโจทก์และจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4มิใช่นิติบุคคล ไม่มีสิทธิประมูล ข้อตกลงระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2ถึงที่ 4 จึงไม่มีผลบังคับ ขณะทำสัญญามอบอำนาจ จำเลยที่ 1 ยังไม่มีสถานะเป็นนิติบุคคลจำเลยที่ 1 จึงไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์ตามข้อตกลงดังกล่าว จำเลยที่ 2 ในฐานะหุ้นส่วนผู้จัดการก็ไม่จำต้องรับผิดต่อโจทก์เช่นกันและเมื่อจำเลยที่ 1 ยังไม่มีสภาพเป็นนิติบุคคล ขณะทำสัญญาจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงไม่อาจเป็นตัวแทนเชิดของจำเลยที่ 1 ได้ สัญญาตัวการตัวแทนต่างฝ่ายต่างมีสิทธิเลิกสัญญาเวลาใด ๆ ก็ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 827 จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ได้บอกเลิกสัญญาแล้วเพราะการดำเนินการตามที่มอบหมายขัดต่อกฎกระทรวงการคลัง การบอกเลิกสัญญาดังกล่าวจึงมิได้กระทำเมื่องานที่ได้รับมอบหมายได้กระทำสำเร็จแล้ว หาเป็นการใช้สิทธิโดยไม่สุจริต โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยที่ 1 ถึงที่ 4 รับผิดตามสัญญาโดยอ้างว่าจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เชิดให้จำเลยที่ 1 กระทำการในนามของตน จึงเป็นตัวการตัวแทนต้องรับผิดต่อโจทก์ ตามคำฟ้องไม่ได้กล่าวอ้างเรื่องการใช้ชื่อสกุลของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 เป็นชื่อของจำเลยที่ 1 มาเป็นเหตุให้ต้องรับผิดร่วมกัน ฎีกาข้อนี้ของโจทก์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์เป็นฎีกาไม่ชอบตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5184/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้าม – ทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสน – การโต้แย้งข้อเท็จจริง – ค่าสินไหมทดแทน – ละเมิด
โจทก์ทั้งสามต่างใช้สิทธิเฉพาะตัวฟ้องให้จำเลยที่ 2 และที่ 3กับพวกร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนในมูลละเมิดให้แก่โจทก์แต่ละคน แม้โจทก์ทั้งสามจะฟ้องรวมกันมาก็ตาม แต่ก็ต้องถือทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนแยกกันเป็นราย ๆ ไป ค่าสินไหมทดแทนของโจทก์ทั้งสามในส่วนของค่าขาดไร้อุปการะของโจทก์ทั้งสาม ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3ร่วมกับพวกรับผิดชำระแก่โจทก์ทั้งสามตามฟ้อง ส่วนค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายในการประกอบพิธีศพกับค่าเสียหายเกี่ยวกับค่าซ่อมรถจักรยานยนต์ของผู้ตาย ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมกับพวกรับผิดรายการละ 20,000 บาท ตามลำดับโดยศาลอุทธรณ์ฟังว่า ความเสียหายเป็นผลมาจากการประมาทเลินเล่อของจำเลยที่ 1 เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาโต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ทั้งสามตามฟ้อง โดยอ้างการตายของผู้ตายมิได้เกิดจากการกระทำโดยละเมิดของจำเลยที่ 1 และโจทก์ทั้งสามมิได้รับความเสียหายตามจำนวนเงินที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ ฎีกาของจำเลยที่ 2และที่ 3 จึงเป็นฎีกาโต้เถียงข้อเท็จจริง เมื่อจำนวนทุนทรัพย์ของโจทก์แต่ละคนที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท จึงต้องห้ามมิให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 2 และที่ 3 ขึ้นมานั้นเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
รายได้จากการขับรถสองแถวของผู้ที่มีอายุไม่ถึงเกณฑ์ตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นรายได้ที่ใช้ชดใช้ค่าเสียหายได้
ขณะถึงแก่ความตาย ผู้ตายมีอายุ 19 ปี ซึ่งตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 บัญญัติว่า ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตขับรถ และผู้ขอใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ ดังนั้นผู้ตายจึงต้องห้ามมิให้ขับรถยนต์สองแถวรับจ้างซึ่งจัดเป็นรถยนต์สาธารณะตามกฎหมาย การขับรถยนต์สองแถวรับจ้างของผู้ตายถือไม่ได้ว่าเป็นการทำงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2537 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผู้เยาว์ขับรถสาธารณะ: ไม่เข้าข่ายทำงานสมควรแก่ฐานะ, สิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
ขณะถึงแก่ความตาย ผู้ตายมีอายุ 19 ปี ซึ่งตาม พ.ร.บ.รถยนต์พ.ศ.2522 บัญญัติว่า ผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตขับรถ และผู้ขอใบอนุญาตขับรถยนต์-สาธารณะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า 25 ปีบริบูรณ์ ดังนั้นผู้ตายจึงต้องห้ามมิให้ขับรถยนต์สองแถวรับจ้างซึ่งจัดเป็นรถยนต์สาธารณะตามกฎหมาย การขับรถยนต์สองแถวรับจ้างของผู้ตายถือไม่ได้ว่าเป็นการทำงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูปตามป.พ.พ. มาตรา 445 โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเรียกร้องค่าเสียหายจากการขาดอุปการะ: ผู้ตายขับรถสองแถวโดยไม่ได้รับอนุญาต ไม่ถือเป็นการทำงานตามกฎหมาย
ก่อนตายผู้ตายมีรายได้จากการขับรถยนต์สองแถวรับจ้างนำรายได้มาเลี้ยงครอบครัวของโจทก์ผู้เป็นมารดา แต่ขณะถึงแก่ความตายผู้ตายมีอายุ 19 ปี ซึ่งตามพระราชบัญญัติรถยนต์พ.ศ. 2522 ต้องห้ามมิให้ขับรถยนต์สองแถวรับจ้างการขับรถยนต์สองแถวรับจ้างของผู้ตายถือไม่ได้ว่าเป็นการทำงาน ตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(3) โจทก์ไม่มีสิทธิใช้ให้ผู้ตายทำงานดังกล่าว ฉะนั้น รายได้จากการขับรถยนต์สองแถว รับจ้างที่ผู้ตายได้รับจึงมิใช่รายได้ที่เกิดจากการที่ผู้ตาย มีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่โจทก์ ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในครัวเรือนตามมาตรา 445 โจทก์จึง เรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5183/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าเสียหายจากรถสองแถว: ผู้ขับขี่อายุไม่ถึงเกณฑ์ตามกฎหมาย ไม่ถือเป็นการทำงานเพื่อเลี้ยงครอบครัว
แม้ก่อนตายผู้ตายจะมีรายได้จากการขับรถยนต์สองแถวรับจ้างนำรายได้มาเลี้ยงครอบครัวโจทก์ก็ตาม แต่ขณะถึงแก่ความตายผู้ตายมีอายุเพียง 19 ปี ซึ่งตามพระราชบัญญัติรถยนต์ พ.ศ. 2522 มาตรา 42บัญญัติว่าผู้ขับรถต้องได้รับใบอนุญาตขับรถ และมาตรา 49(2)บัญญัติว่า ผู้ขอใบอนุญาตขับรถยนต์สาธารณะต้องมีอายุไม่ต่ำกว่า25 ปี บริบูรณ์ ผู้ตายจึงต้องห้ามมิให้ขับรถยนต์สองแถวรับจ้างซึ่งจัดเป็นรถยนต์สาธารณะตามกฎหมายดังกล่าว การขับรถยนต์สองแถวรับจ้างของผู้ตายถือไม่ได้ว่าเป็นการทำงานตามสมควรแก่ความสามารถและฐานานุรูปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1567(3)โจทก์ผู้เป็นมารดาไม่มีสิทธิใช้ผู้ตายซึ่งเป็นบุตรให้ทำงานดังกล่าวฉะนั้น รายได้จากการขับรถยนต์สองแถวรับจ้างจึงมิใช่รายได้ที่เกิดจากการที่ผู้ตายมีความผูกพันตามกฎหมายที่จะต้องทำการงานให้เป็นคุณแก่โจทก์ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกในครัวเรือนดังความที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 445 โจทก์จึงเรียกค่าเสียหายในส่วนนี้ไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5123/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเช่าช่วงทำเหมือง: สัญญาผูกพันจนกว่ารัฐมนตรีไม่อนุญาต และอายุความฟ้องละเมิดสัญญา
ตาม พ.ร.บ.แร่ พ.ศ.2510 มาตรา 76 และ 77 บัญญัติห้ามผู้ถือประทานบัตรยอมให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมือง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย และให้ผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และให้รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้มีการรับช่วงการทำเหมืองให้ตามที่จะพิจารณาเห็นสมควร บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวจึงมิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาด หากรัฐมนตรีอนุญาตก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้ ดังนั้นสัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้วและมีผลใช้บังคับ ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีจะอนุญาตหรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ซึ่งหากรัฐมนตรีไม่อนุญาต การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวก็อาจเป็นพ้นวิสัยเท่านั้น แม้โจทก์จะมีบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือไม่ก็ตามก็เป็นเพียงเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตของรัฐมนตรี เมื่อรัฐมนตรียังไม่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการเช่าช่วงทำเหมืองพิพาท สัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยก็มีผลผูกพันให้คู่สัญญาไปดำเนินการยื่นคำขออนุญาตรับช่วงทำเหมืองพิพาทตามกฎหมายต่อไป
การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญารับช่วงทำเหมืองหิน และขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย โดยอ้างเหตุที่จำเลยเข้าทำเหมืองเสียเองเป็นการละเมิดก็ตามเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ตามสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/30 จำเลยบอกเลิกสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญารับช่วงทำเหมืองหิน และขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย โดยอ้างเหตุที่จำเลยเข้าทำเหมืองเสียเองเป็นการละเมิดก็ตามเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ตามสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา193/30 จำเลยบอกเลิกสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 6 กรกฎาคม2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ