พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5123/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วงทำเหมือง: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าสัญญาเกิดขึ้นได้ หากยังไม่ได้รับคำสั่งไม่อนุญาตจากรัฐมนตรี
ตามพระราชบัญญัติแร่ พ.ศ. 2510 มาตรา 76 และ 77 บัญญัติห้ามผู้ถือประทานบัตรยอมให้ผู้อื่นรับช่วงการทำเหมือง เว้นแต่จะได้รับอนุญาตจากรัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมาย และให้ผู้ถือประทานบัตรยื่นคำขอต่อทรัพยากรธรณีประจำท้องที่ และให้รัฐมนตรีหรือผู้ที่รัฐมนตรีมอบหมายเป็นผู้ออกใบอนุญาตให้มีการรับช่วงการทำเหมืองให้ตามที่จะพิจารณาเห็นสมควร บทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว จึงมิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาด หากรัฐมนตรีอนุญาตก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้ ดังนั้นสัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นแล้วและมีผลใช้บังคับ ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีจะอนุญาตหรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหาก ซึ่งหากรัฐมนตรีไม่อนุญาต การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวก็อาจเป็นพ้นวิสัยเท่านั้น แม้โจทก์จะมีบิดาเป็นคนต่างด้าวหรือไม่ก็ตามก็เป็นเพียงเงื่อนไขในการพิจารณาอนุญาตของรัฐมนตรี เมื่อรัฐมนตรียังไม่มีคำสั่งไม่อนุญาตให้มีการเช่าช่วงทำเหมืองพิพาทสัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยก็มีผลผูกพันให้คู่สัญญาไปดำเนินการยื่นคำขออนุญาตรับช่วงทำเหมืองพิพาทตามกฎหมายต่อไป การที่โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญารับช่วงทำเหมืองหินและขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย โดยอ้างเหตุที่จำเลยเข้าทำเหมืองเสียเองเป็นการละเมิดก็ตามเป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ตามสัญญาอย่างหนึ่งซึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะจึงมีอายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30จำเลยบอกเลิกสัญญาทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายเมื่อวันที่ 6กรกฎาคม 2522 นับถึงวันฟ้องยังไม่ถึง 10 ปี คดีโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5123/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าช่วงทำเหมือง: การใช้สิทธิเลิกสัญญาที่ไม่สุจริตและการชดใช้ค่าเสียหาย
พระราชบัญญัติแร่ฯ มาตรา 76 และ 77 มิได้ห้ามการรับช่วงทำเหมืองโดยเด็ดขาดหากรัฐมนตรีอนุญาตก็ย่อมรับช่วงการทำเหมืองได้สัญญาเช่าช่วงหรือรับช่วงทำเหมืองพิพาทระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเกิดขึ้นและมีผลใช้บังคับตั้งแต่ที่โจทก์จำเลยตกลงกัน ส่วนกรณีที่รัฐมนตรีจะอนุญาตหรือไม่เป็นอีกส่วนหนึ่งต่างหากซึ่งหากรัฐมนตรีไม่อนุญาต การชำระหนี้ตามสัญญาดังกล่าวก็อาจเป็นพ้นวิสัยเท่านั้นหาใช่สัญญายังไม่เกิดเพราะยังไม่ได้รับคำสั่งอนุญาตจากรัฐมนตรีไม่ โจทก์ฟ้องขอให้บังคับตามสัญญารับช่วงทำเหมืองหินและขอให้ชดใช้ค่าเสียหาย แม้โจทก์จะอ้างเหตุที่จำเลยเข้าทำเหมืองเสียเองเป็นการละเมิดก็ตามแต่ก็เป็นการฟ้องเรียกค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์ตามสัญญาอย่างหนึ่งเป็นกรณีที่ไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 193/30
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4967/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์และการพิสูจน์การชำระหนี้ค่าซื้อขายที่ดิน
ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทหรือไม่ จึงแปลได้ว่าถ้าการครอบครองที่พิพาทของจำเลยยังไม่เข้าเกณฑ์ที่จะได้กรรมสิทธิ์ โจทก์ก็ยังเป็นเจ้าของที่พิพาทอยู่ แต่ถ้าหากการครอบครองที่พิพาทของจำเลยเข้าเกณฑ์ได้กรรมสิทธิ์ โจทก์ก็ไม่ได้เป็นเจ้าของที่พิพาทอีกต่อไป ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ ผลก็คือโจทก์ไม่ได้เป็นเจ้าของที่พิพาทอีกต่อไปแล้วจึงถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยตามประเด็นข้อพิพาท ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 เพียงแต่ให้สิทธิแก่ผู้ชำระหนี้ในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จให้เท่านั้น ไม่ได้เป็นบทบังคับ ประกอบกับคดีนี้เป็นการชำระหนี้ค่าซื้อขายที่ดิน กฎหมายไม่ได้บังคับว่าการชำระหนี้ในเรื่องนี้จะต้องมีใบเสร็จมาแสดง จำเลยจึงมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบถึงการชำระหนี้ดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4967/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การครอบครองปรปักษ์และการชำระหนี้ค่าซื้อขายที่ดิน ศาลวินิจฉัยประเด็นตามที่จำเลยยกขึ้นได้
จำเลยให้การอ้างว่าได้ครอบครองที่พิพาทโดยความสงบและโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของเกินกว่า 10 ปีแล้วเป็นการอ้างว่าได้ครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 การที่ศาลชั้นต้นกำหนด ประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์เป็นเจ้าของที่พิพาทหรือไม่ จึงแปลได้ว่า ถ้าหากการครอบครองที่พิพาทของจำเลยยังไม่เข้าเกณฑ์ที่จะได้ กรรมสิทธิ์ โจทก์ก็ยังเป็นเจ้าของที่พิพาทอยู่ แต่ถ้าหากการครอบครอง ที่พิพาทของจำเลยเข้าเกณฑ์ได้กรรมสิทธิ์โจทก์ก็ไม่ได้เป็นเจ้าของ ที่พิพาทอีกต่อไป ดังนั้นที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าจำเลยครอบครองที่พิพาทจนได้กรรมสิทธิ์ตามมาตรา 1382 ผลก็คือโจทก์ไม่ได้ เป็นเจ้าของที่พิพาทอีกต่อไปแล้ว จึงถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัย ตามประเด็นข้อพิพาท ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 326 เพียงแต่ให้สิทธิแก่ผู้ชำระหนี้ในอันที่จะเรียกร้องให้ผู้รับชำระหนี้ออกใบเสร็จให้เท่านั้น ไม่ได้เป็นบทบังคับ ประกอบกับคดีมีปัญหาในเรื่องการชำระหนี้ค่าซื้อขายที่ดินซึ่งกฎหมายไม่ได้บังคับว่าการชำระหนี้ในเรื่องดังกล่าวนี้จะต้องมีใบเสร็จมาแสดงดังนี้แม้จำเลยจะไม่มีใบเสร็จมาแสดง จำเลยก็ย่อมมีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบถึงการชำระหนี้ดังกล่าวนี้ได้เพราะไม่มี กฎหมายบัญญัติห้ามไว้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4951/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทาง - ข้อตกลงปากเปล่า - ภาระจำยอมโดยอายุความ - ไม่เป็นภาระจำยอม
จำเลยยอมรับที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงของเจ้าของเดิมของที่ดินโฉนดเลขที่ 7086 ให้เส้นทางพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าวด้านทิศใต้กว้าง1.5 เมตร ยาวตลอดแนวที่ดินดังกล่าวแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ด้านหลังใช้เป็นทางเดินและเมื่อแรกที่จำเลยเข้าอยู่อาศัยในที่ดินโฉนดเลขที่ 7086 ก็ได้ทำรั้วโดยเว้นทางพิพาทไว้อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ดังนั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาทและต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในทางพิพาทออกไป
โจทก์ใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงเป็นการใช้โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 7086 จึงไม่อาจได้ภาระจำยอมโดยอายุความ และข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่เป็นทรัพยสิทธิตาม ป.พ.พ. บรรพ 4 จึงไม่เป็นภาระจำยอม
โจทก์ใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงเป็นการใช้โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 7086 จึงไม่อาจได้ภาระจำยอมโดยอายุความ และข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่เป็นทรัพยสิทธิตาม ป.พ.พ. บรรพ 4 จึงไม่เป็นภาระจำยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4951/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงใช้ทางเดินส่วนบุคคลไม่เป็นภารจำยอม แม้จะมีการปฏิบัติตามตกลง แต่เป็นการใช้สิทธิเจ้าของที่ดินเดิม
จำเลยยอมรับที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงของเจ้าของเดิมของที่ดินโฉนดเลขที่ 7086 ให้เส้นทางพิพาทซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินดังกล่าวด้านทิศใต้กว้าง 1.5 เมตร ยาวตลอดแนวที่ดินดังกล่าวแก่เจ้าของที่ดินที่อยู่ด้านหลังใช้เป็นทางเดินและเมื่อแรกที่จำเลยเข้าอยู่อาศัยในที่ดินโฉนดเลขที่ 7086 ก็ได้ทำรั้วโดยเว้นทางพิพาทไว้อันเป็นการปฏิบัติตามข้อตกลงดังกล่าวแล้ว ดังนั้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิปิดกั้นทางพิพาทและต้องรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในทางพิพาทออกไป โจทก์ใช้ทางพิพาทตามข้อตกลงเป็นการใช้โดยอาศัยสิทธิของเจ้าของที่ดินโฉนดเลขที่ 7086 จึงไม่อาจได้ภารจำยอมโดยอายุความและข้อตกลงดังกล่าวไม่ได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ ไม่เป็นทรัพยสิทธิตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ 4 จึงไม่เป็นภารจำยอม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4903/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมีข้อห้ามโอน: การส่งมอบการครอบครองเป็นสาระสำคัญในการพิจารณาโมฆะ
การทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามผู้มีสิทธิในที่ดินโอนที่ดินไปยังผู้อื่นภายใน10 ปี นับแต่วันที่ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้เป็นต้นไปในระหว่างระยะเวลาห้ามโอน และมีข้อตกลงกันว่าจะไปจดทะเบียนเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอน หากมิได้มีการส่งมอบการครอบครองภายในระยะเวลาห้ามโอนดังกล่าวอาจถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อห้ามการโอนตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 31 อันเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ซึ่งตกเป็นโมฆะเมื่อยังไม่ปรากฎข้อเท็จจริงเป็นที่แน่ชัดว่า ได้มีการส่งมอบการครอบครองที่ดินหรือโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินนั้นในระยะเวลาห้ามโอนแล้วหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่า นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามอย่างชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ พิพากษายกฟ้อง จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4903/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขายที่ดินมีข้อห้ามโอน: ผลโมฆะและการส่งมอบการครอบครอง
การทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามผู้มีสิทธิในที่ดินโอนที่ดินไปยังผู้อื่นภายใน10 ปี นับแต่วันที่ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้เป็นไปในระหว่างระยะห้ามโอน และมีข้อตกลงกันว่าจะไปจดทะเบียนเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอน หากมิได้มีการส่งมอบการครอบครองภายในระยะเวลาห้ามโอนดังกล่าว ย่อมถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อห้ามการโอนตามประมวลกฎหมายที่ดิน มาตรา 31อันเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมายซึ่งจะตกเป็นโมฆะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4903/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายที่ดินมีข้อห้ามโอน: การส่งมอบการครอบครองและโมฆะของนิติกรรม
การทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินที่มีหนังสือรับรองการทำประโยชน์ซึ่งมีข้อกำหนดห้ามผู้มีสิทธิในที่ดินโอนที่ดินไปยังผู้อื่นภายใน 10 ปี นับแต่วันที่ทางราชการออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ให้เป็นต้นไปในระหว่างระยะเวลาห้ามโอน และมีข้อตกลงกันว่าจะไปจดทะเบียนเมื่อพ้นกำหนดระยะเวลาห้ามโอน หากมิได้มีการส่งมอบการครอบครองภายในระยะเวลาห้ามโอนดังกล่าวอาจถือไม่ได้ว่าเป็นการจงใจหลีกเลี่ยงข้อห้ามการโอนตามประมวลกฎหมายที่ดินมาตรา 31 อันเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย ซึ่งตกเป็นโมฆะ เมื่อยังไม่ปรากฏข้อเท็จจริงเป็นที่แน่ชัดว่า ได้มีการส่งมอบการครอบครองที่ดินหรือโจทก์ได้เข้าครอบครองที่ดินนั้นในระยะเวลาห้ามโอนแล้วหรือไม่ การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้ววินิจฉัยว่า นิติกรรมระหว่างโจทก์จำเลยมีวัตถุประสงค์เป็นการต้องห้ามอย่างชัดแจ้งโดยกฎหมายเป็นโมฆะ พิพากษายกฟ้อง จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4880/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีละเมิดจากการจัดการสหกรณ์ที่บกพร่องทำให้เกิดความเสียหายต่อสินค้าคงเหลือ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นนายทะเบียนสหกรณ์ตามกฎหมาย มีอำนาจหน้าที่ตามพระราชบัญญัติสหกรณ์ พ.ศ. 2511 จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7เป็นคณะกรรมการดำเนินการของร้านสหกรณ์ ร. จำเลยที่ 8เป็นผู้จัดการร้านสหกรณ์ ร. จำเลยที่ 1 ถึงที่ 7 ได้ประชุมกรรมการและเลิกจ้างจำเลยที่ 8 โดยไม่ได้จัดให้มีการตรวจสอบหลักฐานทางบัญชีและการเงิน พร้อมทั้งสินค้าคงเหลือและจัดทำงบดุลแสดงฐานะอันแท้จริงของร้านสหกรณ์ ร. การกระทำของจำเลยทั้งเจ็ดเป็นการจงใจและประมาทเป็นเหตุให้โจทก์เกิดความเสียหายแก่ทรัพย์สินสินค้าขาดบัญชีโดยความเสียหายดังกล่าวเกิดขึ้นเพราะจำเลยที่ 8ไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามระเบียบข้อบังคับของโจทก์ จำเลยทั้งแปดต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ ขอให้บังคับจำเลยทั้งแปดร่วมกันหรือแทนกันชำระเงินค่าสินค้าที่ขาดบัญชี เช่นนี้ เป็นการฟ้องในมูลละเมิดที่กระทำต่อร้านสหกรณ์ ร. แม้ฟ้องโจทก์จะใช้ถ้อยคำว่าให้จำเลยชำระค่าสินค้าที่ขาดบัญชี ก็มิใช่กรณีฟ้องเรียกทรัพย์สินคืน อันเป็นการใช้สิทธิติดตามเอาคืนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1336เพราะไม่ปรากฏว่าทรัพย์สินที่ขาดหายอยู่ในความครอบครองของจำเลยทุกคนโจทก์ซึ่งเป็นนายทะเบียนสหกรณ์และฟ้องคดีแทนร้านสหกรณ์จึงต้องฟ้องคดีภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 448เมื่อโจทก์ยื่นฟ้องเกินหนึ่งปีแล้ว คดีจึงขาดอายุความ