คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวรรณ ตระการพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับมอบหุ้นโดยไม่สุจริตและผลของการคืนหุ้น/ชำระราคา
จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นของธนาคาร ก.แทนจำเลย จำนวน1,000 หุ้น จำเลยชำระเงินค่าหุ้นให้แก่โจทก์แล้วแต่โจทก์ยังมิได้ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลย ต่อมาจำเลยได้สั่งให้โจทก์ขายหุ้นของธนาคาร ก.จำนวน 2,000หุ้น โดยเป็นหุ้นที่จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อไว้แทนจำนวน 1,000 หุ้นดังกล่าวรวมกับหุ้นที่จำเลยมีอยู่เดิม โจทก์ได้ขายให้จำเลยแล้วในราคาหุ้นละ 303 บาท และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าขายหุ้นดังกล่าวให้แก่จำเลยแล้วในส่วนของหุ้นจำนวน 1,000 หุ้นเป็นเงิน 301,182 บาท โดยหักค่าธรรมเนียมการขายไว้ ต่อมาโจทก์ได้ส่งมอบใบหุ้นของธนาคาร ก.ให้แก่จำเลยอีกจำนวน 1,000 หุ้น โดยสำคัญผิดว่าเป็นหุ้นที่จำเลยได้สั่งซื้อไว้และโจทก์ยังมิได้ส่งมอบใบหุ้นให้ จำเลยรับไว้แล้วจำเลยส่งมอบใบหุ้นจำนวนเดียวกันนี้คืนโจทก์ในวันเดียวกัน โจทก์ก็รับไว้โดยเข้าใจว่าเป็นการส่งมอบใบหุ้นที่จำเลยได้สั่งขายในส่วนที่ยังค้างการส่งมอและได้จ่ายเงินค่าขายหุ้นส่วนที่เหลือจำนวน 301,182 บาท ให้แก่จำเลยไป การที่จำเลยรับใบหุ้นจากโจทก์โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีหุ้นของจำเลยเหลืออยู่ที่โจทก์อีก จึงเป็นการรับไว้โดยไม่สุจริต จำเลยต้องคืนหุ้น 1,000 หุ้น ให้โจทก์เต็มจำนวน หากคืนไม่ได้ต้องใช้ราคา 301,182 บาท แก่โจทก์เท่าจำนวนราคาหุ้นที่จำเลยรับไปจากโจทก์มิใช่ราคา 303,000 บาท ตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4860/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การส่งมอบใบหุ้นเกินไปโดยสำคัญผิด และการรับใบหุ้นโดยไม่สุจริต จำเลยต้องคืนหุ้นหรือชำระราคา
จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นของธนาคาร ก. แทนจำเลยจำนวน 1,000 หุ้น จำเลยชำระเงินค่าหุ้นให้แก่โจทก์แล้วแต่โจทก์ยังมิได้ส่งมอบใบหุ้นให้แก่จำเลย ต่อมาจำเลยได้สั่งให้โจทก์ขายหุ้นของธนาคาร ก. จำนวน 2,000 หุ้น โดยเป็นหุ้นที่จำเลยสั่งให้โจทก์ซื้อไว้แทนจำนวน 1,000 หุ้นดังกล่าวรวมกับหุ้นที่จำเลยมีอยู่เดิม โจทก์ได้ขายให้จำเลยแล้วในราคาหุ้นละ 303 บาท และโจทก์ได้จ่ายเงินค่าขายหุ้นดังกล่าวให้แก่จำเลยแล้วในส่วนของหุ้นจำนวน 1,000 หุ้น เป็นเงิน301,182 บาท โดยหักค่าธรรมเนียมการขายไว้ ต่อมาโจทก์ได้ส่งมอบใบหุ้นของธนาคาร ก. ให้แก่จำเลยอีกจำนวน1,000 หุ้น โดยสำคัญผิดว่าเป็นหุ้นที่จำเลยได้สั่งซื้อไว้และโจทก์ยังมิได้ส่งมอบใบหุ้นให้ จำเลยรับไว้แล้วจำเลยส่งมอบใบหุ้นจำนวนเดียวกันนี้คืนโจทก์ในวันเดียวกันโจทก์ก็รับไว้โดยเข้าใจว่าเป็นการส่งมอบใบหุ้นที่จำเลยได้สั่งขายในส่วนที่ยังค้างการส่งมอบและได้จ่ายเงินค่าขายหุ้นที่เหลือจำนวน 301,182 บาท ให้แก่จำเลยไป การที่จำเลยรับใบหุ้นจากโจทก์โดยจำเลยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีหุ้นของจำเลยเหลืออยู่ที่โจทก์อีก จึงเป็นการรับไว้โดยไม่สุจริต จำเลยต้องคืนหุ้น 1,000 หุ้น ให้โจทก์เต็มจำนวน หากคืนไม่ได้ต้องใช้ราคา 301,182 บาท แก่โจทก์เท่าจำนวนราคาหุ้นที่จำเลยรับไปจากโจทก์มิใช่ราคา 303,000 บาท ตามที่โจทก์ฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4846/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยึดอายัดทรัพย์สินและการคุ้มครองผู้ซื้อรถยนต์โดยสุจริตจากพ่อค้า
ในคดีซึ่งบริษัทอ.ฟ้องบริษัทป.และศาลได้มีคำสั่งให้ใช้วิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษายึดและอายัดทรัพย์สินของบริษัทป.หลายรายการรวมทั้งรถยนต์พิพาทด้วย ต่อมา น. ยื่นคำร้องขัดทรัพย์และขอให้ปล่อยรถยนต์ 3 คันที่ถูกยึดรวมทั้งรถยนต์พิพาทโดยนำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมาวางประกันไว้ต่อศาลเพื่อขอให้ศาลสั่งปล่อยรถยนต์พิพาทที่ยึดไว้ และศาลมีคำสั่งอนุญาตดังนี้ หนังสือดังกล่าวเป็นเพียงหลักประกันเพื่อให้ น. นำรถยนต์พิพาทไปใช้ชั่วคราว โดยหากเกิดความเสียหายขึ้นในระหว่างรถยนต์พิพาทอยู่ในความครอบครองของ น. ก็สามารถบังคับเอาค่าเสียหายจากหลักประกันดังกล่าวได้ คำสั่งของศาลมิได้หมายความว่าให้นำหลักประกันมาแทนรถยนต์พิพาท และคดีที่มีการร้องขัดทรัพย์ก็ยังดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไป เพื่อให้ทราบว่ารถยนต์ที่พิพาทเป็นของผู้ใด เมื่อ น. มีสิทธิเพียงนำรถยนต์พิพาทไปใช้ชั่วคราวและศาลมิได้ชี้ขาดว่ารถยนต์พิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของ น. น.ย่อมไม่มีสิทธินำรถยนต์พิพาทไปจำหน่ายจ่ายโอน แต่เมื่อ น.ขายรถยนต์พิพาทให้ อ. และโจทก์ก็ได้ซื้อรถยนต์พิพาทโดยสุจริตจาก อ. ซึ่งประกอบอาชีพเป็นพ่อค้าขายรถยนต์โจทก์จึงไม่จำต้องคืนรถยนต์พิพาทให้แก่เจ้าของที่แท้จริง เว้นแต่จะได้รับชดใช้ราคาที่ซื้อมา และโจทก์ไม่อาจถูกรอนสิทธิเพราะได้รับความคุ้มครองตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1332 ฉะนั้นการที่กรมสรรพากรจำเลยซึ่งเป็นเจ้าหนี้ค่าภาษีอากรบริษัท ป. และได้มีคำสั่งยึดและอายัดทรัพย์สินของบริษัทป.รวมทั้งรถยนต์พิพาทหลังจากคดีร้องขัดทรัพย์ถึงที่สุดให้รถยนต์พิพาทเป็นของบริษัทป.มีหนังสือถึงผู้บังคับการกองทะเบียนยานพาหนะกรมตำรวจให้ระงับการโอนทะเบียนหรือเปลี่ยนแปลงรายการต่าง ๆ เกี่ยวกับรถยนต์พิพาทจึงเป็นการรอนสิทธิของโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4831/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางหนังสือค้ำประกันธนาคารเพื่อประกันค่าภาษีอากรตาม พ.ร.บ.ศุลกากร โดยมีเงื่อนไขการปฏิบัติตามพิธีการศุลกากร
พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 40 วรรคสอง
จำเลยผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักร ยื่นคำร้องขออ้างว่ามีความจำเป็นต้องรับของโดยรีบด่วนโดยให้ธนาคารค้ำประกันอากร และรับรองว่าจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนในภายหลัง และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดวงเงินประกันไว้ในคำร้องขอของจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยร้องขอว่ามีความจำเป็นที่จะต้องนำของไปจากอารักขาของศุลกากรโดยรีบด่วน และจำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกัน กับได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมีวงเงินเท่ากับจำนวนเงินประกันภาษีอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์กำหนดไว้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์อนุมัติสัญญาค้ำประกันของจำเลยและรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารไว้เป็นหลักประกันจึงเป็นกรณีที่จำเลยวางหนังสือประกันของธนาคารเพื่อเป็นประกันค่าภาษีอากรตามพ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 40 วรรคสอง
สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าจำเลยจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน 30 วัน อันเป็นเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดให้จำเลยผู้นำของเข้าปฏิบัติตามมาตรา 40 วรรคสอง เพื่อให้ได้ค่าภาษีอากร สัญญาค้ำประกันและหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่จำเลยได้วางต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นการประกันค่าภาษีอากรที่ต้องชำระ มิใช่สัญญาค้ำประกันการปฏิบัติพิธีการศุลกากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4831/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางประกันค่าภาษีอากรเพื่อนำของเข้าโดยรีบด่วน การชำระภาษีโดยธนาคารตามสัญญาค้ำประกัน และการไม่มีหนี้ภาษีคงเหลือ
จำเลยผู้นำของเข้ามาในราชอาณาจักร ยื่นคำร้องขออ้างว่ามีความจำเป็นต้องรับของโดยรีบด่วนโดยให้ธนาคารค้ำประกันอากรและรับรองว่าจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนในภายหลัง และพนักงานเจ้าหน้าที่ของจำเลยได้กำหนดวงเงินประกันไว้ในคำร้องขอของจำเลย จึงเป็นกรณีที่จำเลยร้องขอว่ามีความจำเป็นที่จะต้องนำของไปจากอารักขาของศุลกากรโดยรีบด่วน และจำเลยได้ทำสัญญาค้ำประกัน กับได้นำหนังสือค้ำประกันของธนาคารมีวงเงินเท่ากับจำนวนเงินประกันภาษีอากรที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์กำหนดไว้ เมื่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์อนุมัติสัญญาค้ำประกันของจำเลยและรับหนังสือค้ำประกันของธนาคารไว้เป็นหลักประกันจึงเป็นกรณีที่จำเลยวางหนังสือประกันของธนาคารเพื่อเป็นประกันค่าภาษีอากรตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469มาตรา 40 วรรคสอง สัญญาค้ำประกันมีข้อความว่าจำเลยจะปฏิบัติพิธีการศุลกากรให้ถูกต้องครบถ้วนภายใน 30 วัน อันเป็นเงื่อนไขที่อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดให้จำเลยผู้นำของเข้าปฏิบัติตามมาตรา 40 วรรคสอง เพื่อให้ได้ค่าภาษีอากร สัญญาค้ำประกันและหนังสือค้ำประกันของธนาคารที่จำเลยได้วางต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์จึงเป็นการประกันค่าภาษีอากรที่ต้องชำระ มิใช่สัญญาค้ำประกันการปฏิบัติพิธีการศุลกากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4796/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขาย: การชำระราคาครบถ้วนมีผลสมบูรณ์ แม้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ
การชำระราคาครบถ้วนตามสัญญาจะซื้อจะขายย่อมมีน้ำหนักดีกว่าการชำระราคาบางส่วน จึงถือได้ว่าการชำระหนี้ครบถ้วนเป็นการชำระหนี้บางส่วนได้โดยอนุโลมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 456 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4796/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สัญญาจะซื้อขายที่ยังไม่สมบูรณ์ แต่มีการชำระราคาครบถ้วน จำเลยมีอำนาจฟ้องแย้งได้
โจทก์จำเลยมีเจตนาที่จะไปทำสัญญาซื้อขายที่พิพาทเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ให้ถูกต้องตามกฎหมาย แต่ยังไม่ได้ทำสัญญาเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่เพราะมีอุปสรรค เนื่องจากที่พิพาทติดจำนอง และโจทก์ไม่ยอมไปไถ่ถอนจำนองให้ก่อนตามที่ได้ตกลงกันไว้ ถือว่าสัญญาซื้อขายที่พิพาทระหว่างโจทก์จำเลยเป็นสัญญาจะซื้อขายไม่ใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แม้สัญญาจะซื้อขายจะมิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือลงลายมือชื่อโจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายจะต้องรับผิดเป็นสำคัญ แต่จำเลยก็ได้ชำระราคาค่าที่พิพาทให้แก่โจทก์ครบถ้วนแล้ว ซึ่งการชำระราคาครบถ้วนย่อมมีน้ำหนักดีกว่าการชำระราคาบางส่วนจึงถือได้ว่าการชำระหนี้ครบถ้วนเป็นการชำระหนี้บางส่วนได้โดยอนุโลมจำเลยจึงมีอำนาจฟ้องแย้งให้บังคับคดีแก่โจทก์ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 456 วรรคสอง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีเช็คต้องระบุหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมายโดยมีจำเลยลงชื่อสั่งจ่ายชำระหนี้ที่มีอยู่จริงให้โจทก์แต่ที่โจทก์มิได้ระบุว่าเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายด้วยเป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบของความผิดตามมาตรานี้คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4746/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องเช็คเด้งต้องระบุหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้ทรงเช็คโดยชอบด้วยกฎหมาย โดยมีจำเลยลงชื่อสั่งจ่ายชำระหนี้ที่มีอยู่จริงให้โจทก์ แต่ที่โจทก์มิได้ระบุว่าเป็นหนี้ที่บังคับได้ตามกฎหมายด้วย เป็นการบรรยายฟ้องที่ขาดองค์ประกอบของความผิดตามมาตรานี้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4744/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฉ้อโกงจากการรับปากช่วยฝากเข้าโรงเรียนนายสิบทหารบก ศาลฎีกายืนยันผู้เสียหายมีสิทธิฟ้อง
จำเลยตกลงกับ ร.ว่าถ้าให้เงิน60,000บาทบุตรของร.จะเข้าโรงเรียนนายสิบทหารบกได้ร. ได้ต่อรองเหลือ 50,000 บาทและ ร.ได้มอบเงินแก่จำเลยจนครบถ้วนแล้วแต่ต่อมาบุตรของร.สอบเข้าเรียนไม่ได้ เพราะจำเลยไม่สามารถช่วยให้เข้าเรียนได้ก็เป็นการหลอกลวง ร.ทั้งไม่ปรากฏว่าร. ได้ให้เงินแก่จำเลยเพื่อให้จำเลยนำไปให้แก่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้องในการสอบคัดเลือกให้กระทำการอันมิชอบด้วยหน้าที่โดยทุจริต การที่จำเลยรับว่าจะช่วยบุตรของ ร.จึงเป็นการหลอกลวงร. เพื่อต้องการได้เงินจาก ร.เท่านั้นไม่ถือว่าร. ร่วมกับจำเลยนำสินบนไปให้เจ้าพนักงาน อันเป็นการใช้ให้เจ้าพนักงานกระทำความผิดร. ย่อมเป็นผู้เสียหายตามกฎหมาย และมีสิทธิร้องทุกข์ขอให้ดำเนินคดีแก่จำเลยในความผิดฐานฉ้อโกงได้ ศาลอุทธรณ์ยังมิได้วินิจฉัยว่า จำเลยหลอกลวงและได้รับเงินไปจากผู้เสียหายหรือไม่ เพื่อให้คดีเป็นไปตามลำดับชั้นศาล ศาลฎีกาเห็นสมควรย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาพิพากษาใหม่
of 65