คำพิพากษาที่เกี่ยวข้องกับผู้พิพากษา
สุวรรณ ตระการพันธุ์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 648 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5132-5135/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดหลายกรรมต่างกัน การรวมโทษ และวันสิ้นสุดคดี ศาลชอบแล้วที่จะออกหมายจำคุกแยกตามวันถึงที่สุดแต่ละสำนวน
จำเลยถูกฟ้องรวม4สำนวนซึ่งเป็นความผิดหลายกรรมต่างกันแม้จะเกี่ยวพันกันแต่ศาลชั้นต้นก็มิได้ให้รวมพิจารณาพิพากษาเข้าด้วยกันและมิได้อ่านคำพิพากษาในวันเดียวกันวันถึงที่สุดของแต่ละสำนวนย่อมแตกต่างกันจึงไม่ชอบที่จำเลยจะขอให้ออกหมายจำคุกเมื่อคดีถึงที่สุดในวันเดียวกันและในหมายจำคุกฉบับเดียวกันได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4982/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดทางละเมิดจากอุบัติเหตุทางรถยนต์ และการประเมินค่าเสียหายที่เกิดกับร่างกาย
โจทก์ที่ 5 ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 5 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุก รถยนต์ดังกล่าวของโจทก์ที่ 5 ได้ถูกจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศชนได้รับความเสียหายโดยความประมาทของจำเลยที่ 1 โจทก์ที่ 5 ต้องเสียค่าซ่อมไปเป็นเงิน 80,300 บาท เงินค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์ที่ 5 จำนวน 80,300 บาท นี้ เป็นยอดค่าเสียหายรวมที่โจทก์ที่ 5 ต้องการให้จำเลยทั้งสี่ทราบว่า ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 5 เสียหายคิดเป็นเงินทั้งหมดเท่าไร ค่าเสียหายส่วนนี้จำเป็นที่โจทก์ที่ 5 จะต้องบรรยายไว้ในฟ้อง ส่วนรายละเอียดแห่งความเสียหายที่ว่าโจทก์ที่ 5 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถส่วนไหนเป็นเงินเท่าไร แม้โจทก์ที่ 5 จะไม่ได้บรรยายฟ้องไว้ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ 5 เคลือบคลุมไม่ เพราะโจทก์ที่ 5 ชอบที่จะนำสืบถึงรายละเอียดแห่งการซ่อมในชั้นพิจารณาได้
จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุโดยประมาทเพียงฝ่ายเดียว หากจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันดังกล่าวล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนที่เกิดเหตุเข้าไปในช่องเดินรถของโจทก์ที่ 6การเฉี่ยวชนของรถยนต์ทั้งสองคันและความเสียหายทั้งปวงก็จะไม่เกิดขึ้น จำเลยที่ 3 นายจ้างของจำเลยที่ 1 จะเฉลี่ยความรับผิดไปให้แก่โจทก์ที่ 6 ด้วยไม่ได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 446 ผู้เสียหายจากการที่ถูกผู้อื่นทำให้เสียหายแก่ร่างกายและอนามัยชอบที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำให้เสียหายได้ แม้ค่าเสียหายนั้นจะมิใช่ตัวเงินก็ตาม กฎหมายมาตรานี้มิได้บังคับให้เรียกได้เฉพาะค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้ หากแต่บัญญัติเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายเรียกค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินไม่ได้แต่กำหนดขึ้นมาเพื่อทดแทนความเสียหายนั้น ที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ที่ 6 ที่ต้องทุกข์ทรมานในระหว่างรักษาตัวเป็นตัวเงินจึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว
ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 6 ได้รับอันตรายแก่กาย ถึงขนาดม้ามแตก ไตแตก และตับขาด จนแพทย์ต้องผ่าตัดไตทิ้งไปข้างหนึ่งเป็นเหตุให้ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายของเสียได้ตามปกติ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ร่างกายของโจทก์ที่ 6 ซึ่งมีอวัยวะไม่ครบบริบูรณ์จะต้องอ่อนแอกว่าตอนที่โจทก์ที่ 6ไม่ได้รับอันตรายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ลักษณะของความอ่อนแอหรือความเสื่อมโทรมของร่างกายของโจทก์ที่ 6 นี้ แม้โจทก์ที่ 6 จะยังประกอบการงานตามปกติได้ก็ตาม แต่ความอ่อนแอหรือความเสื่อมโทรมนั้นจะค่อยเป็นค่อยไปจนในที่สุดโจทก์ที่ 6 ก็จะมีร่างกายที่อ่อนแอหรือเสื่อมโทรมเร็วกว่าที่ควรจะเป็นไปตามปกติ และจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติเหมือนก่อน
ในระหว่างพักรักษาตัว โจทก์ที่ 5 ได้จ่ายค่าแรงงานให้โจทก์ที่ 6 เพียงครึ่งหนึ่งของค่าจ้างเงินค่าแรงงานส่วนที่โจทก์ที่ 6 ไม่ได้รับอีกครึ่งหนึ่งนี้เห็นได้ว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานอันเป็นผลจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โดยตรงโจทก์ที่ 6 ชอบที่จะเรียกร้องเอาจากจำเลยที่ 3 ผู้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1ผู้ทำละเมิดได้
ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อที่ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 4 หรือไม่ และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 4 มีผลประโยชน์ในกิจการเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3 หรือไม่นั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ให้การทั้งสองสำนวนรับว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว และจำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ทั้งจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไม่ได้ฎีกาขึ้นมาจึงไม่มีประเด็นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4982/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการประมาทของลูกจ้าง และการชดใช้ค่าเสียหายจากการบาดเจ็บทางร่างกาย
โจทก์ที่ 5 ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 5 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุก รถยนต์ดังกล่าวของโจทก์ที่ 5 ได้ถูกจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศชนได้รับความเสียหายโดยความประมาท ของจำเลยที่ 1โจทก์ที่ 5 ต้องเสียค่าซ่อมไปเป็นเงิน 80,300 บาทเงินค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์ที่ 5 จำนวน 80,300 บาท นี้เป็นยอดค่าเสียหายรวมที่โจทก์ที่ 5 ต้องการให้จำเลยทั้งสี่ทราบว่า ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 5 เสียหายคิดเป็นเงินทั้งหมดเท่าไร ค่าเสียหายส่วนนี้จำเป็นที่โจทก์ที่ 5 จะต้องบรรยายไว้ในฟ้อง ส่วนรายละเอียดแห่งความเสียหายที่ว่าโจทก์ที่ 5 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถส่วนไหนเป็นเงินเท่าไร แม้โจทก์ที่ 5 จะไม่ได้บรรยายฟ้องไว้ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ 5 เคลือบคลุมไม่ เพราะโจทก์ที่ 5 ชอบที่จะนำสืบถึงรายละเอียดแห่งการซ่อมในชั้นพิจารณาได้ จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุโดยประมาทเพียงฝ่ายเดียว หากจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันดังกล่าวล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนที่เกิดเหตุเข้าไปในช่องเดินรถของโจทก์ที่ 6 การเฉี่ยวชนของรถยนต์ทั้งสองคันและความเสียหายทั้งปวงก็จะไม่เกิดขึ้นจำเลยที่ 3 นายจ้างของจำเลยที่ 1 จะเฉลี่ยความรับผิดไปให้แก่โจทก์ที่ 6 ด้วยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 ผู้เสียหายจากการที่ถูกผู้อื่นทำให้เสียหายแก่ร่างกายและอนามัยชอบที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำให้เสียหายได้ แม้ค่าเสียหายนั้น มิใช่ตัวเงินก็ตาม กฎหมายมาตรานี้มิได้บังคับให้เรียกได้เฉพาะค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้หากแต่บัญญัติเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายเรียกค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินไม่ได้แต่กำหนดขึ้นมาเพื่อทดแทนความเสียหายนั้นที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ที่ 6ที่ต้องทุกข์ทรมานในระหว่างรักษาตัวเป็นตัวเงินจึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 6 ได้รับอันตรายแก่กาย ถึงขนาดม้ามแตก ไตแตก และตับ ขาด จนแพทย์ต้องผ่าตัดไตทิ้งไปข้างหนึ่งเป็นเหตุให้ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายของเสียได้ตามปกติ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ร่างกายของโจทก์ที่ 6 ซึ่งมีอวัยวะไม่ครบบริบูรณ์จะต้องอ่อนแอ กว่าตอนที่โจทก์ที่ 6 ไม่ได้รับอันตรายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ลักษณะของความอ่อนแอ หรือความเสื่อมโทรมของร่างกายของโจทก์ที่ 6 นี้ แม้โจทก์ที่ 6จะยังประกอบการงานตามปกติได้ก็ตาม แต่ความอ่อนแอ หรือความเสื่อมโทรมนั้นจะค่อยเป็นค่อยไปจนในที่สุดโจทก์ที่ 6ก็จะมีร่างกายที่อ่อนแอ หรือเสื่อมโทรมเร็วกว่าที่ควรจะเป็นไปตามปกติ และจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติเหมือนก่อน ในระหว่างพักรักษาตัว โจทก์ที่ 5 ได้จ่ายค่าแรงงานให้โจทก์ที่ 6 เพียงครึ่งหนึ่งของค่าจ้างเงินค่าแรงงานส่วนที่โจทก์ที่ 6 ไม่ได้รับอีกครึ่งหนึ่งนี้เห็นได้ว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานอันเป็นผลจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โดยตรงโจทก์ที่ 6 ชอบที่จะเรียกเอาจากจำเลยที่ 3 ผู้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1ผู้ทำละเมิดได้ ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อที่ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 4 หรือไม่ และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 4 มีผลประโยชน์ในกิจการเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3หรือไม่นั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ให้การทั้งสองสำนวนรับว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว และจำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ทั้งจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไม่ได้ฎีกาขึ้นมาจึงไม่มีประเด็นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4960/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากราคาปุ๋ยที่ขายให้เกษตรกร โดยไม่จำเป็นต้องระบุชื่อผู้ซื้อในใบเสร็จ
โจทก์ออกใบเสร็จรับเงินแก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นเกษตรกรมิใช่ออกให้แก่ผู้ซื้อซึ่งทำการค้าสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าที่ขายนั้นจึงไม่จำต้องแสดงชื่อหรือยี่ห้อและที่อยู่ของผู้ซื้อไว้ในใบเสร็จรับเงินที่ตองออกทุกคราวที่ได้รับชำระเงินหรือชำระราคาตามมาตรา105ทวิแห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4960/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ใบเสร็จรับเงินสำหรับเกษตรกร: ไม่ต้องระบุชื่อผู้ซื้อ
โจทก์ออกใบเสร็จรับเงินแก่ผู้ซื้อซึ่งเป็นเกษตรกร มิใช่ออกให้แก่ผู้ซื้อซึ่งทำการค้าสินค้าประเภทเดียวกับสินค้าที่ขายนั้น จึงไม่จำต้องแสดงชื่อหรือยี่ห้อและที่อยู่ของผู้ซื้อไว้ในใบเสร็จรับเงินที่ต้องออกทุกคราวที่ได้รับชำระเงินหรือชำระราคาตามมาตรา 105 ทวิ แห่งประมวลรัษฎากร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3486/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสัญญาซื้อขายทรัพย์สินสมรสที่ไม่ได้รับความยินยอมจากคู่สมรส โดยอ้างกรรมสิทธิ์รวม
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาซื้อขายที่พิพาททั้งแปลง ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้เพิกถอนเพียงครึ่งหนึ่ง จำเลยฎีกาขอให้พิพากษายกฟ้อง ทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาจึงมีเพียงครึ่งหนึ่งของราคาที่พิพาท
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยที่ 1 ขายที่พิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 ให้แก่จำเลยที่ 2 และที่ 3 โดยไม่ได้รับความยินยอมจากโจทก์ซึ่งเป็นสามี ถือได้ว่าโจทก์อ้างว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของรวมกันทำนองเดียวกับการมีกรรมสิทธิ์รวมตามมาตรา 1356แห่ง ป.พ.พ. การที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าที่พิพาทเป็นทรัพย์สินที่โจทก์และจำเลยที่ 1 มีกรรมสิทธิ์รวมกันในฐานะเจ้าของรวมคนละกึ่งหนึ่งตาม ป.พ.พ.มาตรา 1357 และพิพากษาให้เพิกถอนการขายที่พิพาทกึ่งหนึ่ง จึงไม่เป็นการพิพากษาเกินไปกว่าหรือนอกจากที่ปรากฎในคำฟ้อง และไม่ใช่ข้อวินิจฉัยที่นอกประเด็นที่กำหนดไว้ เพราะคดีนี้ไม่มีการชี้สองสถานกำหนดประเด็นข้อพิพาท เนื่องจากจำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3452/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้และภาษีการค้าจากสินค้าขาดบัญชีและการสูญเสียในขั้นตอนการผลิต
เจ้าพนักงานประเมินได้แจ้งการประเมิน ภาษีเงินได้นิติบุคคลและ ภาษีการค้าแก่โจทก์โจทก์อุทธรณ์การประเมินภาษีทั้งสองประเภทโดยในปัญหาสินค้าขาดจากบัญชีคุมสินค้านั้นโจทก์อุทธรณ์ว่าเจ้าพนักงานประเมินมิได้ไปทำการตรวจสอบสินค้าและบัญชีคุมสินค้าที่สำนักงานของโจทก์เพียงแต่ตรวจบัญชีของบริษัทและพบว่ามีสินค้าขาดไปโจทก์มิได้มีเจตนาที่จะทำให้บัญชีไม่ตรงเช่นนั้นการอุทธรณ์เช่นนี้แม้จะขาดเหตุผลในรายละเอียดของสินค้าขาดบัญชีและผู้อุทธรณ์ขอให้ ลดเบี้ยปรับเท่านั้นก็ถือได้ว่าเป็นการอุทธรณ์คัดค้านการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินแล้วโจทก์จึงชอบที่จะ ฟ้องคดีโดยอ้างเหตุผลคัดค้านการประเมินเพิ่มเติมจากที่ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ได้ ดอกเบี้ยค้างจ่ายของรอบระยะเวลาบัญชีปี2526แม้โจทก์จะได้รับแจ้งให้ชำระในรอบระยะเวลาบัญชีปี2527โจทก์ก็ต้องนำมาคำนวณหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิของรอบระยะเวลาบัญชีปี2526การที่โจทก์นำมาหักเป็นรายจ่ายในรอบระยะเวลาบัญชีปี2527จึงต้องห้ามตามมาตรา65ตรี(9)แห่งประมวลรัษฎากร กรณีที่ให้ถือว่าสินค้าขาดจาก บัญชีคุมสินค้าเป็น การขายสินค้าและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็น รายวันตามมาตรา70ทวิ(6)แห่งประมวลรัษฎากรนั้นเป็นบทบัญญัติที่ใช้บังคับแก่ ภาษีการค้า หามีบทบัญญัติให้นำไปใช้ในการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลไม่ดังนั้นการที่เจ้าพนักงานประเมินให้ถือว่าสินค้าที่ขาดจาก บัญชีคุมสินค้าเป็นการขายเพื่อถือเป็นเงินได้ในการ คำนวณภาษีเงินได้นิติบุคคลจึงเป็นการไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขายสินค้าที่ไม่ได้ลงบัญชี ไม่ถือเป็นรายได้เพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ภาษีเงินได้นิติบุคคลจะจัดเก็บจากกำไรสุทธิซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการมี "รายได้" จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำ สำหรับการขายสินค้าไปเพียงใด ในราคาเท่าใด สามารถตรวจสอบได้ตามหลักบัญชีโดยทั่วไป การที่เพียงแต่ไม่ได้ลงบัญชีคุมสินค้า และไม่แสดงสินค้าคงเหลือในงบดุลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี จะถือว่าจำนวนสินค้าดังกล่าวเป็นการขายไปแล้วไม่ได้ ทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้ถือเอากรณีดังกล่าวเป็นการขายสินค้า สำหรับบทบัญญัติตามมาตรา 79 ทวิ (6) ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นที่บัญญัติว่า ถ้าผู้ประกอบการค้า ตามประเภทการค้า 1 และประเภทการค้า 2 แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้า มีสินค้าเกินจากบัญชีคุมสินค้า ขาดจากบัญชีคุมสินค้า หรือมีสินค้าโดยไม่ทำหรือลงบัญชีคุมสินค้า ให้ถือว่าเป็นการขายสินค้า และให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับนั้น ก็เป็นกรณีที่เกี่ยวกับภาษีการค้า จะนำมาเทียบเคียงใช้กับการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคล: การถือเป็นรายได้จากการไม่มีบัญชีคุมสินค้าและสินค้าคงเหลือ
ตามประมวลรัษฎากรมาตรา65ภาษีเงินได้นิติบุคคลจะจัดเก็บจากกำไรสุทธิซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการมี"รายได้"จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำสำหรับการขายสินค้าไปเพียงใดในราคาเท่าใดสามารถตรวจสอบได้ตามหลักบัญชีโดยทั่วไปการที่เพียงแต่ไม่ได้ลงบัญชีคุมสินค้าและไม่แสดงสินค้าคงเหลือในงบดุลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีจะถือว่าจำนวนสินค้าดังกล่าวเป็นการขายไปแล้วไม่ได้ทั้งไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายที่ให้ถือเอากรณีดังกล่าวเป็นการขายสินค้าสำหรับบทบัญญัติตามมาตรา79ทวิ(6)ซึ่งใช้บังคับในขณะนั้นที่บัญญัติว่าถ้าผู้ประกอบการค้าตามประเภทการค้า1และประเภทการค้า2แห่งบัญชีอัตราภาษีการค้ามีสินค้าเกินจากบัญชีคุมสินค้าขาดจากบัญชีคุมสินค้าหรือมีสินค้าโดยไม่ทำหรือลงบัญชีคุมสินค้าให้ถือว่าเป็นการขายสินค้าและให้ถือมูลค่าของสินค้าดังกล่าวเป็นรายรับนั้นก็เป็นกรณีที่เกี่ยวกับภาษีการค้าจะนำมาเทียบเคียงใช้กับการจัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลที่มีบัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3307/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลจากสินค้าที่ไม่ได้ลงบัญชีคุมสินค้าและไม่มีสินค้าคงเหลือปลายงวด
ประมวลรัษฎากรมาตรา65ให้จัดเก็บภาษีเงินได้นิติบุคคลจากกำไรสุทธิซึ่งเป็นผลต่อเนื่องจากการมี"รายได้"จากกิจการหรือเนื่องจากกิจการที่กระทำสำหรับการขายสินค้าไปเพียงใดในราคาเท่าใดสามารถตรวจสอบได้ตามหลักบัญชีโดยทั่วไปกล่าวคือตรวจสอบจากปริมาณสินค้าคงเหลือต้นงวดบวกด้วยปริมาณสินค้าที่ซื้อมาในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีเพื่อให้ได้ปริมาณสินค้าที่มีเพื่อขายทั้งสิ้นแล้วหักด้วยปริมาณสินค้าที่เหลือปลายงวดรวมทั้งบิลขายและบัญชีขายก็จะทราบถึงปริมาณและราคาของสินค้าที่ขายไปแต่การที่ไม่ได้ลงบัญชีคุมสินค้าและไม่แสดงสินค้าคงเหลือในงบดุลเมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีจะถือว่าจำนวนสินค้าดังกล่าวเป็นการขายไปแล้วไม่ได้
of 65