พบผลลัพธ์ทั้งหมด 433 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำฟ้องนอกเหนือจากประเด็นเดิมและไม่สมบูรณ์ ทำให้ไม่สามารถรวมการพิจารณาได้
ตามคำฟ้องและคำขอแก้ไขคำฟ้องเดิมของโจทก์ สภาพแห่งข้อหาคือ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 และบุคคลอื่นเข้าหุ้นกัน มีลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญไม่จดทะเบียน จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขอเปิดบัญชีทดรองจ่ายเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสดตามบัญชีทดรองจ่ายเลขที่ 1146555-1 โดยมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นผู้ค้ำประกันรับผิดร่วมหรือยินยอมชำระหนี้สินแทนทุกประเภทของจำเลยที่ 1 นอกจากนี้สภาพแห่งข้อหาของโจทก์ยังฟ้องเน้นหนักถึงความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องรับผิดแก่โจทก์โดยการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้จำเลยที่ 2 และ/หรือจำเลยที่ 3เป็นผู้มีอำนาจสั่งให้โจทก์ดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์ตามบัญชีทดรองจ่ายของจำเลยที่ 1 ต่อมาจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้สั่งให้โจทก์ซื้อหลักทรัพย์ (หุ้น) การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 โดยเพิ่มข้อความว่าระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2535ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2535 กับระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม 2535 ถึงวันที่ 24พฤศจิกายน 2535 จำเลยที่ 2 ได้สั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นของสามบริษัท ตามบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146888-1 ของจำเลยที่ 2 และเมื่อวันที่ 11 กันยายน 2535จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 2 โดยค้ำประกันเต็มมูลหนี้และยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ส่วนบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146012-1ของจำเลยที่ 3 นั้น วันที่ 5 พฤศจิกายน 2535 จำเลยที่ 3 สั่งซื้อหุ้นโดยมีจำเลยที่ 2ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 3 ดังนี้ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแห่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 นี้จึงไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ตามที่โจทก์ตั้งฟ้องมา และข้อหาของโจทก์ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 จะขอบังคับให้จำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ต้องร่วมรับผิดไม่ได้ ทั้งมีผลทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของจำเลยที่ 2ที่ 3 ตามบัญชีซื้อขายหุ้นดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญกับจำเลยอื่น ๆเห็นได้ประจักษ์ว่าความเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และความรับผิดเต็มตามมูลหนี้ ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146888-1 ของจำเลยที่ 2 กับหนี้ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146012-1 ของจำเลยที่ 3 เป็นจำนวนหนี้นอกเหนือจากสัญญาขอเปิดบัญชีทดรองจ่ายเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสดที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ข้อความที่ขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2จึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและไม่ใช่การเพิ่มเติมข้อเท็จจริงในฟ้องเดิมให้สมบูรณ์ย่อมไม่อาจรวมการพิจารณาด้วยกันได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 179
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5889/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำฟ้องนอกเหนือจากฟ้องเดิมไม่สมบูรณ์ ไม่อาจรวมพิจารณาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179
ตามคำฟ้องและคำขอแก้ไขคำฟ้องเดิมของโจทก์ สภาพแห่งข้อหา คือ จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกค้าของโจทก์ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 และบุคคลอื่นเข้าหุ้นกัน มีลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ ไม่จดทะเบียน จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขอเปิดบัญชีทดรองจ่ายเงิน เพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสดตามบัญชีทดรองจ่าย เลขที่ 1146555-1 โดยมีจำเลยที่ 2 ถึงที่ 8 เป็นผู้ค้ำประกัน รับผิดร่วมหรือยินยอมชำระหนี้สินแทนทุกประเภทของจำเลยที่ 1 นอกจากนี้สภาพแห่งข้อหาของโจทก์ยังฟ้องเน้นหนัก ถึงความรับผิดของจำเลยที่ 1 ที่จะต้องรับผิดแก่โจทก์โดยการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจ ให้จำเลยที่ 2 และ/ หรือจำเลยที่ 3 เป็นผู้มีอำนาจสั่งให้โจทก์ดำเนินการซื้อขายหลักทรัพย์ตามบัญชีทดรองจ่ายของจำเลยที่ 1ต่อมาจำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ได้สั่งให้โจทก์ซื้อหลักทรัพย์ (หุ้น) การที่โจทก์ขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2โดยเพิ่มข้อความว่าระหว่างวันที่ 9 พฤศจิกายน 2535ถึงวันที่ 12 พฤศจิกายน 2535 กับระหว่างวันที่ 29 ตุลาคม 2535 ถึงวันที่ 24 พฤศจิกายน 2535 จำเลยที่ 2 ได้สั่งให้โจทก์ซื้อหุ้นของสามบริษัท ตามบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146888-1 ของจำเลยที่ 2 และเมื่อวันที่ 11กันยายน 2535 จำเลยที่ 3 ได้ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 2 โดยค้ำประกันเต็มมูลหนี้และยอมรับผิดอย่างลูกหนี้ร่วม ส่วนบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146012-1ของจำเลยที่ 3 นั้น วันที่ 5 พฤศจิกายน 2535 จำเลยที่ 3สั่งซื้อหุ้นโดยมีจำเลยที่ 2 ทำสัญญาค้ำประกันการชำระหนี้ของจำเลยที่ 3 ดังนี้ ข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแห่งคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 นี้จึงไม่เกี่ยวกับความรับผิดของจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8ตามที่โจทก์ตั้งฟ้องมา และข้อหาของโจทก์ตามคำร้องขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 จะขอบังคับให้จำเลยที่ 1กับจำเลยที่ 4 ถึงที่ 8 ต้องร่วมรับผิดไม่ได้ ทั้งมีผลทำให้ประเด็นแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป การกระทำของจำเลยที่ 2 ที่ 3 ตามบัญชีซื้อขายหุ้นดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญกับจำเลยอื่น ๆ เห็นได้ประจักษ์ว่าความเป็นลูกหนี้ของจำเลยที่ 2 ที่ 3 และความรับผิดเต็มตามมูลหนี้ในบัญชี ซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146888-1 ของจำเลยที่ 2 กับหนี้ในบัญชีซื้อขายหลักทรัพย์เลขที่ 1146012-1 ของจำเลยที่ 3เป็นจำนวนหนี้นอกเหนือจากสัญญาขอเปิดบัญชีทดรองจ่ายเงินเพื่อซื้อขายหลักทรัพย์ด้วยเงินสดที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 8ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ต่อโจทก์ ข้อความที่ขอแก้ไขคำฟ้องครั้งที่ 2 จึงไม่เกี่ยวข้องกับฟ้องเดิมและไม่ใช่การเพิ่มเติมข้อเท็จจริงในฟ้องเดิมให้สมบูรณ์ย่อมไม่อาจรวมการพิจารณาด้วยกันได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 179
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงจากการหลอกลวงรับชำระหนี้แทนเจ้าหนี้ โจทก์หลงเชื่อโอนเงินให้จำเลย
จำเลยได้มาหลอกลวงขอรับชำระหนี้เงินกู้จำนวน 200,000 บาทพร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์กู้เงินจาก ค. จากโจทก์ โดยจำเลยอ้างว่ารับแทน ค. และโจทก์หลงเชื่อได้มอบเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยจำนวน 216,000 บาท ให้จำเลยไปการกระทำของจำเลยจึงเป็นการหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จโดยเจตนาทุจริต เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตาม ป.อ.มาตรา 341
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5683/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฉ้อโกงจากการแสดงข้อความเท็จเพื่อหลอกลวงให้ชำระหนี้แทนเจ้าหนี้
จำเลยได้มาหลอกลวงขอรับชำระหนี้เงินกู้จำนวน200,000 บาท พร้อมดอกเบี้ยที่โจทก์กู้เงินจาก ค. จากโจทก์ โดยจำเลยอ้างว่ารับแทน ค. และโจทก์หลงเชื่อได้มอบเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยจำนวน 216,000 บาท ให้จำเลยไป การกระทำของจำเลยจึงเป็นการหลอกลวงโจทก์ด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จโดยเจตนาทุจริตเป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหาย การกระทำของจำเลยจึงเป็นความผิดฐานฉ้อโกงตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 341
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5091/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น: การวินิจฉัยพยานหลักฐานเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ไม่ใช่ข้อกฎหมาย
ศาลชั้นต้นยกคำร้องขอของผู้ร้องโดยวินิจฉัยพยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำสืบและไม่เชื่อพยานหลักฐานผู้ร้อง ซึ่งเป็นดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริงเป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องขอโดยอาศัยข้อเท็จจริงแม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่มีเหตุมาร้องขอคดีนี้ด้วยก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากไม่เชื่อพยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำสืบนั่นเอง คดีจึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่าผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 223 ทวิ ได้แต่เมื่อผู้ร้องได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นในปัญหา ข้อเท็จจริงด้วยว่า พยานหลักฐานผู้ร้องรับฟังได้ว่าผู้ร้อง ได้กรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนตามคำร้องขอโดยการครอบครองแล้วการที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ผู้ร้องเฉพาะปัญหา ข้อกฎหมายที่ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ถูกต้องศาลฎีกาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5091/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น: ศาลฎีกาไม่อนุญาตอุทธรณ์โดยตรงเมื่อมีการโต้แย้งข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นยกคำร้องขอของผู้ร้องโดยวินิจฉัยพยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำสืบและไม่เชื่อพยานหลักฐานผู้ร้อง ซึ่งเป็นดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานอันเป็นปัญหาข้อเท็จจริง เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นยกคำร้องขอโดยอาศัยข้อเท็จจริง แม้ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่าผู้ร้องไม่มีเหตุมาร้องขอคดีนี้ด้วย ก็เป็นผลสืบเนื่องมาจากไม่เชื่อพยานหลักฐานที่ผู้ร้องนำสืบนั่นเอง คดีจึงไม่มีประเด็นที่ผู้ร้องจะอุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นเป็นปัญหาข้อกฎหมายว่าผู้ร้องมีสิทธิยื่นคำร้องขออุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 223 ทวิ ได้ แต่เมื่อผู้ร้องได้อุทธรณ์โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นในปัญหาข้อเท็จจริงด้วยว่า พยานหลักฐานผู้ร้องรับฟังได้ว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนตามคำร้องขอโดยการครอบครองแล้ว การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ผู้ร้องเฉพาะปัญหาข้อกฎหมายที่ยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงไม่ถูกต้อง ศาลฎีกาให้ยกคำสั่งศาลชั้นต้นที่สั่งอนุญาตให้ผู้ร้องยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา แล้วให้ศาลชั้นต้นดำเนินการส่งสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเยาวชน: การส่งตัวไปฝึกอบรมและการโต้แย้งข้อเท็จจริง
กรณีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 121(1) ที่ศาลเยาวชนและครอบครัว พิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกและอบรม ยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมี กำหนด 1 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 74(5) คดีจึงต้องห้ามฎีกาแต่เฉพาะกรณีที่ฎีกาเกี่ยวกับการที่ ศาลใช้ดุลพินิจส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางเท่านั้นส่วนการที่คู่ความจะฎีกาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในกรณีอื่นได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอย่างคดีธรรมดาซึ่งเมื่อนำพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534มาตรา 6 มาประกอบแล้ว ก็คือบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 218 วรรคหนึ่ง การที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนด 1 ปี แทนการลงโทษ ทางอาญาแก่จำเลยนั้น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษา ให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี เมื่อศาลอุทธรณ์ แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 ประกอบมาตรา 6 และ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4984/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเยาวชน: การส่งตัวจำเลยฝึกอบรมแทนการลงโทษทางอาญา
กรณีตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 121(1) ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวพิพากษาให้ส่งตัวจำเลยไปรับการฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนด 1 ปี ตาม ป.อ.มาตรา 74 (5) คดีจึงต้องห้ามฎีกาแต่เฉพาะกรณีที่ฎีกาเกี่ยวกับการที่ศาลใช้ดุลพินิจส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางเท่านั้น ส่วนการที่คู่ความจะฎีกาเกี่ยวกับข้อเท็จจริงในกรณีอื่นได้หรือไม่ต้องพิจารณาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอย่างคดีธรรมดา ซึ่งเมื่อนำ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 6 มาประกอบแล้ว ก็คือบทบัญญัติแห่งป.วิ.อ.ที่บัญญัติไว้ในมาตรา 218 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนด 1 ปี แทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลยนั้น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี เมื่อศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 124 ประกอบมาตรา 6และ ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนส่งตัวจำเลยไปฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนด 1 ปี แทนการลงโทษทางอาญาแก่จำเลยนั้น ถือได้ว่าศาลชั้นต้นมิได้พิพากษาให้ลงโทษจำคุกจำเลยเกินห้าปี เมื่อศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษายืน คู่ความจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 มาตรา 124 ประกอบมาตรา 6และ ป.วิ.อ.มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4682/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาล: เหตุแห่งการคัดค้าน, ความชอบด้วยกฎหมาย, การไต่สวนพยานหลักฐาน
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่า ศ.เป็นคนไร้ความสามารถและตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ผู้คัดค้านทั้งสามร้องคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ศ. เนื่องจากคำร้องของผู้ร้องที่ขอเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. และคำร้องขอเป็นผู้อนุบาลของ ศ.เป็นความเท็จ และเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาโดยไม่สุจริตปิดบังข้อเท็จจริง และปิดบังพินัยกรรมของบิดาผู้ร้องที่ตั้งผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของนางสาวศรีสกุล ทั้งศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ.อยู่ก่อนที่ผู้ร้องจะขอเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. และคดีที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ผู้คัดค้านที่ 1 ได้ร้องคัดค้านขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งดังกล่าวซึ่งศาลอุทธรณ์ได้พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้นให้ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี ประกอบกับคำร้องคัดค้านของผู้คัดค้านไม่ได้ขอถอนการเป็นผู้อนุบาลโดยอ้างเหตุตามนัยแห่ง ป.พ.พ. มาตรา 1598/8 เนื่องจากมาตรา 28 วรรคสอง บัญญัติให้การแต่งตั้งผู้อนุบาลอำนาจหน้าที่ของผู้อนุบาล และการสิ้นสุดของความเป็นผู้อนุบาลให้เป็นไปตามบทบัญญัติบรรพ 5 แห่ง ป.พ.พ.นี้และมาตรา 1598/18 วรรคสอง บัญญัติให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับในกรณีที่บุคคลอื่นซึ่งมิใช่บิดามารดาหรือมิใช่คู่สมรสเป็นผู้อนุบาลให้นำบทบัญญัติว่าด้วยสิทธิและหน้าที่ของผู้ปกครองมาใช้บังคับโดยอนุโลมดังนั้น การแต่งตั้งผู้อนุบาลจึงต้องอนุโลมตามการแต่งตั้งผู้ปกครองด้วย ดังนี้ เมื่อได้ความว่า หากปรากฏว่าบุคคลที่ศาลตั้งให้เป็นผู้อนุบาล เป็นผู้ต้องห้ามมิให้เป็นผู้อนุบาลตามมาตรา 1587 อยู่ในขณะที่ศาลตั้งให้เป็นผู้อนุบาล โดยปรากฏแก่ศาลเองหรือผู้มีส่วนได้เสียหรืออัยการร้องขอ ก็ให้ศาลสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาลนั้นเสียอันเป็นกรณีร้องขอให้เพิกถอนคำสั่งตั้งผู้อนุบาลที่มีคุณสมบัติไม่เหมาะสมตามมาตรา1588 ภายหลังจากศาลมีคำสั่งตั้งแล้ว จึงไม่ใช่กรณีที่ยื่นคำร้องคัดค้านเมื่อล่วงเลยเวลาที่จะยื่นคำคัดค้านแล้ว ทั้งไม่ใช่กรณีที่ขอถอนผู้อนุบาลตามมาตรา 1598/8ผู้คัดค้านจึงยื่นคำคัดค้านได้
ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสามมีข้อพิพาทกันอยู่แล้ว แต่คดียังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาชั้นอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ ศ.โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้เพื่อให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์โดยไม่ชอบนั้น ผู้ร้องยอมรับอยู่ว่า คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2537 ตั้งผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ครั้นวันที่ 16 พฤศจิกายน 2537 ผู้คัดค้านที่ 1 ร้องคัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านเพราะยื่นล่วงเลยกำหนดเวลา ผู้คัดค้านที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ และมีคำสั่งไปตามรูปคดี ต่อมาศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ และในวันที่ 29 มกราคม 2539มีคำพิพากษาตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 ผู้ร้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น วันที่ 14 มกราคม 2540 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของผู้ร้องและคดีถึงที่สุด ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีนี้ ก็เพื่อให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลนางสาวศรีสกุลจึงไม่ใช่กรณีร้องซ้อน
ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลโดยอ้างเหตุแห่งการคัดค้านหลายประการดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จึงจำเป็นต้องฟังพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความเสียก่อนที่จะวินิจฉัยว่ามีเหตุควรเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ศ.หรือไม่ ชอบที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนพยานหลักฐานของผู้คัดค้านและผู้ร้องแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
ผู้ร้องและผู้คัดค้านทั้งสามมีข้อพิพาทกันอยู่แล้ว แต่คดียังไม่มีคำพิพากษาถึงที่สุดโดยคดียังอยู่ในระหว่างการพิจารณาชั้นอุทธรณ์ว่า ผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ ศ.โดยชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ การที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องเข้ามาในคดีนี้เพื่อให้ศาลไต่สวนและมีคำสั่งว่าผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์โดยไม่ชอบนั้น ผู้ร้องยอมรับอยู่ว่า คดีดังกล่าวศาลชั้นต้นมีคำสั่งเมื่อวันที่ 16 กันยายน 2537 ตั้งผู้ร้องเป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ครั้นวันที่ 16 พฤศจิกายน 2537 ผู้คัดค้านที่ 1 ร้องคัดค้าน ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องคัดค้านเพราะยื่นล่วงเลยกำหนดเวลา ผู้คัดค้านที่ 1 อุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์มีคำสั่งให้ศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ และมีคำสั่งไปตามรูปคดี ต่อมาศาลชั้นต้นทำการไต่สวนใหม่ และในวันที่ 29 มกราคม 2539มีคำพิพากษาตั้งให้ผู้คัดค้านที่ 1 เป็นผู้พิทักษ์ของ ศ. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 146 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2539 ผู้ร้องอุทธรณ์คำพิพากษาศาลชั้นต้น วันที่ 14 มกราคม 2540 ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษาให้ยกอุทธรณ์ของผู้ร้องและคดีถึงที่สุด ดังนั้น การที่ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านเข้ามาในคดีนี้ ก็เพื่อให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลนางสาวศรีสกุลจึงไม่ใช่กรณีร้องซ้อน
ผู้คัดค้านทั้งสามยื่นคำร้องคัดค้านเพื่อขอให้ศาลชั้นต้นเพิกถอนคำสั่งศาลชั้นต้นที่ตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาลโดยอ้างเหตุแห่งการคัดค้านหลายประการดังกล่าวมาแล้วข้างต้น จึงจำเป็นต้องฟังพยานหลักฐานให้สิ้นกระแสความเสียก่อนที่จะวินิจฉัยว่ามีเหตุควรเพิกถอนคำสั่งตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล ศ.หรือไม่ ชอบที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้น จึงชอบที่ศาลชั้นต้นจะต้องทำการไต่สวนพยานหลักฐานของผู้คัดค้านและผู้ร้องแล้วมีคำสั่งใหม่ตามรูปคดี
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4474/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การได้มาซึ่งที่ดินโดยการชำระหนี้ การครอบครองปรปักษ์ และสิทธิในการครอบครองที่ดิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่พิพาทตามหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน (ส.ค.1) จาก ป. และจ. ป. และ จ. ได้มอบสิทธิครอบครองที่พิพาทและหนังสือแบบแจ้งการครอบครองที่ดิน ส.ค.1 ให้แก่โจทก์เข้าครอบครองอย่างเป็นเจ้าของตลอดมา จำเลยทั้งสี่ให้การต่อสู้คดีว่า ป. และ จ. ได้กู้เงินโจทก์และมอบที่พิพาทให้โจทก์ทำกินต่างดอกเบี้ย คดีจึงมีประเด็นพิพาทว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่ การที่โจทก์นำสืบว่า ป. กู้เงินโจทก์ และมอบ ส.ค.1 ที่พิพาทให้โจทก์ยึดถือไว้เป็นประกัน หากไม่ชำระเงินกู้คืนภายในกำหนด ป.ยินยอมสละสิทธิที่พิพาทแก่โจทก์ ต่อมา ป. ไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนดจึงยกที่พิพาทชำระหนี้ โจทก์เข้าครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมา การนำสืบของโจทก์ดังกล่าวจึงมีความหมายว่า โจทก์ได้ซื้อที่พิพาทจาก ป. ในราคาเท่ากับจำนวนเงินที่ ป. กู้เงินโจทก์ไป เป็นการนำสืบให้เห็นถึงที่มาของที่พิพาทว่าโจทก์ได้ที่พิพาทมาอย่างไรซึ่งเป็นการนำสืบในประเด็นเดียวกันว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาทหรือไม่นั่นเอง จึงมิใช่เป็นการนำสืบนอกฟ้องนอกประเด็น โจทก์เป็นผู้ครอบครองที่พิพาทอย่างเป็นเจ้าของ โดย จ.ผู้มีสิทธิครอบครองเดิมมิได้เกี่ยวข้องกับที่พิพาทแล้วการที่ จ. ไปขอออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ น.ส.3 ก.สำหรับที่พิพาทตามที่เจ้าพนักงานแนะนำเพื่อโอนที่พิพาทให้โจทก์ มิใช่เพื่อยึดถือที่พิพาทเป็นของ จ. เองจ. ย่อมไม่มีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาท ป. ได้กู้เงินโจทก์ และไม่ชำระเงินคืนภายในกำหนดจึงยกที่พิพาทชำระหนี้แก่โจทก์ตามสัญญา โจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่พิพาทตลอดมาโดยความสงบ เปิดเผย ด้วยเจตนาเป็นเจ้าของ โจทก์ย่อมเป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่พิพาท